เครือข่ายภาคปชช. ด้านต้นไม้ในเมือง ออกแถลงการณ์ ร้องรัฐปฏิรูปต้นไม้ในเมือง

Posted: 19 May 2017 07:48 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)


กรณี ต้นไทรที่ ถ.ชิดลม ล้มจนมีผู้เสียชีวิต เครือข่ายภาคประชาชนที่ทำงานด้านต้นไม้ในเมืองทั้ง 5 องค์กรใหญ่ ร้องรัฐสร้างระบบบริหารจัดการต้นไม้ในเมือง ย้ำอย่าด่วนตัดต้นไม้ทิ้งทั้งหมด ตามที่มีบางกระแส

19 พ.ค. 2560 เครือข่ายภาคประชาชนที่ทำงานด้านต้นไม้ในเมืองทั้ง 5 องค์กรใหญ่ ประกอบด้วย เครือข่ายต้นไม้ ในเมือง มหาวิทยาลยัธรรมศาสตร์ กล่มุบิ๊กทรี สมาคมภมูิสถาปนิกประเทศไทย และโครงการอนรุักษ์ต้นไม้ใหญ่ สถาบันจิตเวชศาสตร์ สมเด็จเจ้าพระยา ร่วมออกแถลงการณ์ “ข้อเรียกร้องต่อภาครัฐ ให้เกิดระบบบริหารจัดการต้นไม้ในเมือง” กรณี : ต้นไทรที่ ถ.ชิดลม ล้มจนมีผู้เสียชีวิต"

แถลงการณ์ระบุด้วยว่า จากกรณีดังกล่าว เครือข่ายภาคประชาชนที่ทำงานด้านต้นไม้ในเมืองทั้ง 5 องค์กรใหญ่ ขอร่วมแสดง ความเสียใจกับครอบครัวของผู้เสียชีวิต และขอยื่นข้อเรียกร้องต่อรัฐบาล และทุกหน่วยงานที่ดูแลต้นไม้ในเมือง คือ กรุงเทพมหานคร กฟน.กฟภ ฯลฯ เพื่อให้เกิดการสร้างระบบบริหารจดัการต้นไม้ในเมือง เป็นการป้องกันไม่ให้เกิด ความสูญเสียของประชาชนและประเทศชาติเช่นนี้อีก โดยข้อเรียกร้องของกลุ่มเครือข่ายประกอบไปด้วย ข้อ เรียกร้องในระยะเร่งด่วน คือ ข้อ 1-3 และข้อเรียกร้องในระยะยาว คือ ข้อ 4-6 ดังนี้

1. อย่าด่วนตัดต้นไม้ทิ้งทั้งหมด ตามที่มีบางกระแสเรียกร้อง ซึ่งเป็นการตัดสินใจด้วยความรู้สึก คือ “ความกลัว” สิ่งที่ควรทำคือการแก้ปัญหาด้วย “ความรู้” โดยใช้ศาสตร์ “รุกขกรรม”

2. จัดทีมรุกขกรและนักวิชาการ เร่งสำรวจต้นไม้อันตราย (ต้นไม้ป่วย) อย่างเป็นระบบ พร้อมทำ สัญลักษณ์ต้นไม้ป่วยให้ประชาชนได้ทราบ และกำหนดแนวทางแก้ปัญหาที่ได้ประโยชน์สูงสุด คือได้ รักษาต้นไม้ใหญ่ และได้เพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับให้ประชาชน และควรจัดทำค่มูือ ประชาชนในการสังเกตต้นไม้ป่วย เพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสำรวจ

3. จัดทีมตรวจรักษาต้นไม้อันตราย (ต้นไม้ป่วย) โดยมีรุกขกรทำหน้าที่หมอต้นไม้ ในการประเมิน ระดับการรักษา บางต้นอาจใช้การตัดแต่ง บางต้นอาจใช้การค้ำยัน บางต้นอาจต้องปรับปรุงระบบราก และปรับวัสดุดาษแข็งที่ทับระบบราก ยกเว้นบางกรณีที่เกินเยียวยาจริงๆ ถึงมีความจำเป็นต้องตัดทิ้ง

4. จัดตั้งบริษัท รุกขกรรมนครหลวง โดยเป็นการบรูณาการร่วมกัน ระหว่าง กรุงเทพมหานคร การไฟฟ้า นครหลวง การไฟฟ้าสว่นภมูิภาค ฯลฯ เพื่อให้เกิดองค์กรที่มีความรู้ ทักษะ และอปุกรณ์ที่ได้มาตรฐานใน ระดับสากล เพื่อให้บริการหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบดแูลต้นไม้ใหญ่ในเมือง

5. กำหนดระเบียบปฎิบัติ ให้ทุกหน่วยงานที่่ดูแลต้นไม้ในเมือง ต้องมีรุกขกรีที่ได้มาตราฐาน โดยมี การส่งเสริมการฝึกอบรมรุกขกร พฒันาระบบควบคมุคุณภาพรุกขกร โดยมีการออกใบรับรองความรู้รุกขกร เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการตัดแต่ง รักษาต้นไม้ของหน่วยงาน ซงึ่เป็นมาตราการสากลที่นานาประเทศ ใช้กันทั้ง ญี่ปุ่น แคนาดา สิงคโปร์ ฯลฯ

6. ควรออกกฎหมายคุ้มครองต้นไม้ใหญ่ในเมือง เพื่อครอบคลมุต้นไม้ใหญ่ในเมือง ทั้งที่อยู่ในการดูแล ของภาครัฐและเอกชน โดยกำหนดมาตรการการค้มุครองดูแล และเกณท์การปฎิบัติต่อต้นไม้ในเมืองที่ ได้รับการขึ้นทะเบียน (ตามชนิด ขนาด และสถานที่) ให้มีมาตราฐานปฎิบัติเดียวกันและตรวจสอบได้ ตามหลักสากลของโลก (เป็นสิ่งที่รัฐบาลอังกฤษและสิงคโปร์ทำ)

เครือข่ายภาคประชาชนที่ทำงานด้านต้นไม้ในเมืองทั้ง 5 องค์กรใหญ่ ยินดีให้ความร่วมมือทั้งในด้านข้อมลู ปฏิบัติการ และการสื่อสารกับภาคประชาชน เป็นการยื่นข้อเรียกร้องไปพร้อมๆ กับการยื่นมือเพื่อเป็นเพื่อนร่วมงาน ให้เกิดการร่วมกันสร้าง “ระบบ บริหารจัดการต้นไม้ในเมือง” เช่นเดียวกบันานาอารยประเทศ เพื่อให้ทุกเมืองในประเทศไทยมีความร่มรื่น ทุกชีวิต ได้รับประโยชน์จากต้นไม้ในเมืองในทุกมิติ และประชาชนมีความปลอดภัยในการใช้ชีวิตร่วม เป็นส่วนหนึ่งของ ระบบนิเวศน์ของ ต้นไม้ในเมือง


แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.