ชาวริมโขงสิ้นหวัง อัดรัฐจัดเวทีหนุนเขื่อนปากแบงแทนที่จะฟังข้อเท็จจริงของชุมชน

Posted: 19 May 2017 08:25 AM PDT  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)

19 พ.ค. 2560 รายงานข่าวแจ้งว่า เมื่อวันที่ 18 พ.ค. ที่ผ่านมา ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเวี ยงแก่น จังหวัดเชียงราย ได้มีการจัดเวทีให้ข้อมู ลโครงการเขื่อนปากแบง ซึ่งกั้นแม่น้ำโขงในสาธารณรั ฐประชาธิปไตประชาชน (สปป.) ลาว โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ อาทิ คณะกรรมการลุ่มน้ำกก-โขง เครือข่ายอาสาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน ชาวบ้านจากเขตอำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงแก่น เข้าร่วมประมาณ 150 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในเวทีตัวแทนผู้เชี่ยวชาญของประเทศไทยได้ นำเสนอรายงานความคิดเห็นทางเทคนิค หรือ Technical Reviews Report ซึ่งจัดทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่ สำนักงานเลขาธิการแม่น้ำโขง (MRCs) โดยศึกษาทบทวนรายงานที่เกี่ยวข้ องกับเขื่อนปากแบงจำนวน 20 เล่ม โดยในครั้งนี้มีการนำเสนอข้อมูลใน 3 ด้านคือ ด้านอุทกวิทยาและตะกอน ความปลอดภัยของเขื่อน ด้านประมง ด้านเศรษฐกิจและสังคม โดยสรุปคือ เนื้อหาในรายงานโครงการเขื่อนปากแบงยังไม่มีความสมบูรณ์ ในแทบทุกด้าน และจำเป็นต้องมีการจัดทำการศึกษาเพิ่มเติม

นวลลออ วงศ์พินิจ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาบริหารลุ่มน้ำโขง กรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า ขณะนี้โครงการเขื่อนปากแบงอยู่ ในขั้นตอนการเจรจาในประเทศสมาชิกของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง (MRC) โดยได้จัดเวทีนี้เพื่อรับฟังข้อกังวลและประเด็นจากผู้มีส่ วนได้เสียในพื้นที่ 8 จังหวัดและเพื่อประกอบท่าทีของไทยต่อสปป.ลาว เจ้าของโครงการ และวันนี้มาทำตามกรอบความตกลงของ MRC ที่ร่างขึ้นมาอยู่บนหลักการใช้น้ำอย่างสมเหตุผลและเป็นธรรม ทั้งนี้ลาวมีอำนาจอธิปไตยในกาดำเนินโครงการของตัวเอง และตามหลักการต้องมีการเคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น และต้องมีความโปร่งใสและซื่อสัตย์ คือการต้องบอกกล่าวต่อเพื่อนบ้านว่าจะเกิดอะไรขึ้น

นวลลออ กล่าวว่ากระบวนนี้ เราไม่มีสิทธิในการยับยั้งการก่อสร้าง แต่ประเทศเจ้าของโครงการต้องคำนึงถึงสิทธิของประเทศเพื่ อนบ้าน และไม่ใช่กระบวนการที่ “ให้หรือไม่ให้” ก่อสร้างโครงการแต่อย่างใด ต้องนำเอาข้อมูลรับฟังความเห็นไปเป็นข้อมู ลประกอบการเจรจาในระดับอธิบดีของ 4 ประเทศ เพื่อกำหนดมาตรการลดผลกระทบร่วมกันของประเทศสมาชิก และสิ่งที่ได้ทำมาแล้วคือ ได้ไปคุยกับรัฐบาลลาวอย่างไม่ เป็นทางการ โดยนำเอาข้อมูลห่วงกังวลไปคุยกับรัฐบาลลาวและขอข้อมูลทางเทคนิคจากรัฐบาลเพื่อจะทำอย่างไรไม่ ให้เกิดผลกระทบต่อฝั่งไทย มีการส่งข้อมูลที่ไม่เป็นทางการและจะเป็นกระบวนการที่เป็นทางการต่อไป ต่อมาก็ได้มีการจัดการประชุมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องว่าเกิดขึ้นอะไรขึ้น นอกจากนี้ได้มีการจัดงบประมาณและศึกษาผลกระทบข้ามพรมแดนในแม่น้ำโขง เริ่มเก็บฐานข้อมูลของหน่วยงานตนเอง เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงที่ จะเกิดขึ้น พื้นที่เสี่ยงที่ไหนบ้าง ทำโดยประเทศไทย ยังไม่ไปไม่ถึงเรื่องการชดเชย

อภิชาติ เติมวิชากร ผู้เชี่ยวชาญด้านการประมง กล่าวว่า จากรายงานการศึกษาเรื่องประมงของเขื่อนปากแบง มีระยะเวลาในการเก็บข้อมูลสั้นมาก การเก็บตัวอย่าง 6 สถานีละครั้ง (2 ฤดู) ถ้าจะนำมาใช้ในงานวิชาการถือว่าไม่เพียงพอ ถ้าหากมีการสร้างเขื่อนแล้ว ปลาหายไป จะทำอย่างไร แต่เขาจะเอาข้อมูลที่เก็บมาอ้างว่ามีเท่านี้ แต่ที่จริงมีชนิดพันธุ์ ปลามากกว่านี้ พื้นที่วางไข่และเลี้ยงตัวอ่อนของปลา ไม่มีข้อมูลเรื่องนี้เลย ข้อมูลเฉพาะปลาบึกขึ้นมาไข่ และมีข้อมูลปลาอีกหลายตัวที่ อพยพยาวๆ เช่น ปลาเลิม พื้นที่เลี้ยงตัวของปลาลูกปลาและแหล่งที่ชาวบ้านต้องทำมาหากินต้องหายไป ทางปลาผ่าน ยาว 1.6 กิโลเมตร อัตราส่วนความชัน 1.8 /1 เมตร ค่อนข้างชัน โอกาสที่ปลาแม่น้ำโขงจะสามารถว่ายผ่านขึ้นไปเป็นไปได้ยากมาก การอพยพของปลามันไม่ได้ขึ้นทางตรง มันจะต้องมีการพักระยะทาง ไม่มีที่พักแหล่งน้ำของปลา เพ่อสะสมพลังงานก่อนที่จะขึ้นสูงไปอีก และจะต้องมีจุดดึงดูดให้ปลาขึ้นคือ ความเร็วของน้ำและกระแสน้ำที่ เหมาะสม ต้องมีระบบควบคุมจัดการน้ำให้ เร็วเพื่อล่อปลาให้ขึ้นอพยพ

หาญณรงค์ เยาวเลิศ ตัวแทนอนุกรรมการสิทธิชุมชน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวว่า ส่วนตัวยังกังวลเรื่องผลกระทบข้ามพรมแดน เรื่องการเดินเรือของธุรกิจท่องเที่ยว ในรายงานไม่มีระบุ หากเศรษฐกิจการท่องเที่ยวหายไป หากน้ำท่วมแก่งหินในลำน้ำ โขงหายไป ก็ไม่มีนักท่องเที่ยวแน่นอน เรื่องระดับน้ำจากจุดที่สร้างเขื่อนน้ำจะเท้อขึ้นมาถึงบริเวณพรมแดนไทย และระหว่างการก่อสร้างไม่มีการประเมินผลกระทบ คนที่จะมาตอบคำถามของประชาชนวันนี้ควรจะเป็นตัวแทนของบริษัทด้วยซ้ำ

หาญณรงค์กล่าวว่า หากถ้าข้อมูลยังไม่นิ่งไม่ควรสร้างเขื่อนไปแล้ว และต้องมาชี้แจงต่อ MRCs ก่อนจะดำเนินการต่อ ในฐานะที่ได้เข้าร่วมประชุมระดั บภูมิภาคที่กรุงเวียงจันทน์ ได้เสนอว่าต้องเป็นการบริหารร่ วมระหว่างไทยกับลาว ถ้าหากระดับน้ำมีผลกระทบเกิดน้ำ ท่วมมาถึงไทยต้องรับผิดชอบ ต้องถามถึงความรับผิดชอบของบริ ษัทว่าฝ่ายใดจะรับผิดชอบ รัฐบาลหรือใคร กรมทรัพยากรน้ำในฐานะเลขาฯ ต้องเอาข้อกังวลไปเสนอให้เวที กรณีข้อตกลงแม่น้ำโขงที่ ประเทศไทยไม่สิทธิคัดค้าน แต่เรามีสิทธิที่จะคัดค้านได้ มันมีผลในเชิงที่เป็นเรื่องสิทธิว่าจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยและรัฐบาลมีสิทธิที่จะห่วงกังวลในนามกรมน้ำฯ หรือในนามชาวบ้าน เขื่อนปากแบง เป็นที่ชัดเจนว่าท้ายน้ำจะท่วมมาถึงไทย ที่ผ่านมามีการร้องเรียนไปที่ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ และได้เชิญกรมแผนที่ทหารไปชี้ แจงและแจ้งว่า ยังไม่มีแผนจะปักปันชายแดนระหว่ างไทยลาว โดยขณะนี้มีแม่น้ำโกลกเพี ยงสายเดียวทีปักปันเขตแดน ไทยกับมาเลเซีย ข้อเสนออาจจะต้องให้ระดั บนโยบายมาตัดสินใจ ระดับการบริหารแม่น้ำโขงต้ องอาศัยระดับรัฐมนตรี เป็นหลายเรื่องที่ต้องไปข้างหน้ า

สายันต์ ข้ามหนึ่ง ผู้แทนสมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต กล่าวว่า มีข้อกังวลหนักมากเรื่องปริมาณน้ำสะสมจากเขื่อนจิงหงในจีน และจะมีเขื่อนปากแบงที่อยู่ตอนล่าง ซึ่งหากมีการปล่อยน้ำจากเขื่อนจีนและกักเก็บน้ำในช่วงเวลาเดียวกัน จะเกิดผลกระทบต่อพื้นที่ชาวบ้านเขตเชียงแสน เชียงของ เวียงแก่น แน่นอน ประสบการณ์น้ำท่วมปี 2551 และผลกระทบจากการขึ้นลงของน้ำที่มาหลายสิบปี ขณะนี้ยังไม่การแสดงความรับผิดชอบต่อเจ้าของเขื่อนแต่อย่างไร การแลกเปลี่ยนข้อมูลการปล่อยน้ำของเขื่อนจีนก็ยังไม่มี และหากเกิดกรณีน้ำท่วมอีกประเทศไหนหรือใครจะรับผิดชอบระหว่างเขื่อนจิงหงและเขื่อนปากแบง

ทองสุข อินทะวงศ์ ราษฎรบ้านห้วยลึก อำเภอเวียงแก่นกล่าวว่า โครงการสร้างเขื่อน ข้อมูลระบุว่าสันเขื่อนตรงสั นเขื่อนจะกักน้ำสูง 340 ม.รทก. แต่ระดับของที่ตั้งบ้านห้วยลึ กอยู่ระดับ 315 ม.รทก. เราอยู่ต่ำน้ำมาก หากเกิดความเสียหายมาใครจะรับผิ ดชอบและจะรับผิดชอบอย่างไร หากแม่น้ำกลายเป็นน้ำนิ่ง ขยะที่ไหลมากับน้ำมันลอยมากองที่ หน้าบ้าน สารเคมีที่จะไหลลงอีกจะเป็นอย่างไร อยากจะฝากให้ไปทบทวนให้มีการสร้างเขื่อนแห่งนี้ “ถ้าท่วมแล้วใครจะยืนยันได้หรื อรับผิดชอบ ไฟฟ้าจะขายให้กับประเทศไทย สาเหตุที่จะให้มีการสร้างและผลกระทบน่าจะมี ผลกระทบและน่าจะพูดคุย ถ้าจะสร้างก็ควรจะให้ ลดผลกระทบลง ท่วมแล้วมันแก้ไขปัญหาไม่ได้ รัฐบาลส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างข้ามพรมแดน ระหว่างทางน้ำจะควบคุมร่องน้ำ ในการเดินเรือ ค่าใช้จ่ายในการล่องเรือจะเป็นอย่างไร ได้ยินว่า ลาวเขาไม่ฟังเรา ท่านเป็นคณะกรรมการได้อย่างไร ถ้าพูดแล้วเขาไม่ฟัง ผลกระทบการระเบิดเกาะแก่งที่ผ่านมา การสร้างเขื่อนจีนหลังโครงการเสร็จ มันมีผลกระทบอะไรต่อหลังน้ำขึ้ นลงไม่เป็นปกติ เรือชาวบ้านไหลไปติดที่ฝั่งลาว ต้องเสียเงินไปไถ่เอาคืนมา ถ้าสร้างปากแบง หน้าฝนถ้าเขื่อนปิดจะเป็นอย่างไร ถ้าอยู่ในอ่าง ขึ้นไปบนดอยก็ถูกป่าไม้ไล่อีก” ทองสุข กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในระหว่างการดำเนินการชี้แจงข้อมูลมีชาวบ้านเวียงแก่นรายหนึ่ง กล่าวว่า บ้านอยู่ริมน้ำโขง ถ้าน้ำท่วมพื้นที่ การเกษตรของชาวเวียงแก่น จะมีแก้ไขปัญหาผลกระทบอย่างไร

"ตอนนี้วิตกกังวลมาก ถ้าน้ำมามันจะกระทบแน่นอน ใครจะเป็นคนรับผิดชอบ” ชาวบ้าน กล่าว


ด้าน ธนดล คำมะวงศ์ กำนันตำบลหล่ายงาว อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า มองเวทีวันนี้แล้วสิ้นหวัง คือ ฝ่ายจะเดินหน้าโครงการก็ตั้ งใจจะเดินหน้าแต่ไม่มี ใครมามองผลเสียหายที่เกิดกั บรากหญ้า ถึงเวลาที่แผ่นดินไทยหายไปตอนเขื่อนสร้างเสร็จ ประเทศไทยจะให้คำตอบประชากรตัวเองอย่างไร ส่วนตัวไม่เชื่อและไม่ศรัทธาในกระบวนการปรึกษาหารือล่วงหน้าหรือ PNPCA แล้ว แม้ว่ามีมานานและจะสิ้นสุ ดลงในวันที่ 19 มิถุนายน นี้ แต่ก็ไม่เคยเชื่อใจกรมทรั พยากรน้ำ ว่าจะสรุปแบบเป็นธรรม “เวทีวันนี้ คือ เวทีหนุนเขื่อนเหมือนเดิม ทุกคนจะสร้าง จะเดินหน้าให้ได้ แต่ถามว่าปากท้องเรา คนจน คนติดแม่น้ำโขงที่ต้องเสียรายได้ อาชีพ แผ่นดินที่มันค่อยๆหายไป ใครจะมาแยแส ถ้าท่านไม่ฟังคำค้านของเราก็ ควรหาคำตอบให้เราว่าหลังสร้ างเขื่อนเราจะอยู่ยังไง คือ จะพูดว่าไปคุยกับลาวเพื่ อลดผลเสียหายต่อไทยไม่ได้ แม่น้ำโขงมันผลเสียหายต่อลาวด้ วยไง ต้องไปคุยว่า มันเสียหายทุกคน ทุกประเทศที่ใช้น้ำโขง จึงจะถูกต้อง” ธนดล กล่าว






แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.