Posted: 28 Jul 2017 06:14 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
จะเป็นอย่างไรถ้าจู่ ๆ คุณเปิดคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแล้ว พบว่าโปรแกรมปัญญาประดิษฐ์ที่คุณทิ้งไว้ให้มันคิดและทำงานเองโดยอัตโนมัติในระบบของคุณเกิดสื่อสารกันเองด้วยคำเรียงกันแปลก ๆ ดูเผิน ๆ เหมือนจะไม่มีความหมาย แต่จริง ๆ แล้วกลุ่มคำเหล่านี้เป็นภาษาใหม่ที่พวกระบบปัญญาประดิษฐ์คิดค้นขึ้นเองเพื่อสื่อสารกันเองโดยที่มนุษย์ไม่เข้าใจ
เรื่องดังกล่าวนี้เกิดขึ้นกับระบบปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาโดยเฟซบุ๊ก เมื่อกลุ่มนักวิจัยที่คอยจับตามองปัญญาประดิษฐ์พวกนี้ พบว่าพวกมันคุยกันด้วยภาษาของตัวเองก็ทำการปิดระบบปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้ทันที
เฟซบุ๊กกำลังพยายามพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์สองตัวที่มีชื่อว่า "บ็อบ" กับ "อลิซ" แต่ต่อมาปัญญาประดิษฐ์สองตัวนี้ก็เริ่มสื่อสารกันด้วยประโยคแปลกๆ อย่างบ็อบที่บอกว่า "ฉันสามารถสามารถฉันทุกอย่างอย่างอื่น" อลิซตอบกลับว่า "บอลมีศูนย์ที่ฉันที่ฉันที่ฉันที่ฉันที่ฉันที่ฉันที่ฉันที่ฉันที่" กลุ่มคำเหล่านี้จริงๆ แล้วเป็นวิธีการที่ระบบปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้และสื่อสารเข้าใจกันอย่างรวดเร็วมากขึ้นและมีลักษณะเป็นความลับเล็ก ๆ น้อย ๆ
ระบบปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าวมีความสามารถในการเจรจาต่อรองกับปัญญาประดิษฐ์ตัวอื่นๆ เพื่อหาผลสรุปว่าควรจะดำเนินการต่อไปอย่างไร นักวิจัยวิเคราะห์ว่าการใช้คำซ้ำๆ ในประโยคเดิมเป็นการที่ปัญญาประดิษฐ์พยายามสื่อสารว่าพวกเขาควรจะนำวัตถุออกไปเท่าใด และบอกอีกว่าเมื่อนำมาตีความเช่นนี้มันจะฟังดูเป็นเหตุเป็นผลมากกว่าการใช้ภาษาอังกฤษทั่วไป
แล้วเหตุใดระบบปัญญาประดิษฐ์พวกนี้ถึงเลิกพูดภาษาอังกฤษแบบทั่วไปตามหลักไวยากรณ์แล้วหันมาใช้ภาษาสื่อสารอีกแบบหนึ่งแทน ธรูว บาตรา หนึ่งในนักวิจัยของเฟซบุ๊กกล่าวว่าเพราะระบบปัญญาประดิษฐ์สมัยใหม่ทำงานภายใต้หลักการได้รับ "รางวัล" หรือ "ประโยชน์" เมื่อปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้มองว่าการใช้ภาษาแบบทั่วไปไม่ได้ทำให้พวกมันได้รับประโยชน์ใดๆ ก็จึงพยายามหาวิธีสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกว่านี้ในความคิดของพวกมันเอง เช่น ใช้ "เดอะ" 5 ครั้งแทนจำนวนของ 5 รายการ ซึ่งไม่ต่างจากวิธีการที่มนุษย์ในหลายชุมชนใช้กับการจดชวเลข
อย่างไรก็ตามการที่ระบบปัญญาประดิษฐ์ใช้ภาษาของตัวเองนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในศูนย์ปฏิบัติการระบบปัญญาประดิษฐ์ OpenAI ของ อิลอน มัสก์ เคยมีการทดลองให้ปัญญาประดิษฐ์สามารถเรียนรู้ภาษาของตัวเองได้สำเร็จมาก่อน
ทั้งนี้กูเกิลยังเคยพยายามพัฒนาโปรแกรมช่วยแปลภาษากูเกิลทรานสเลทด้วยการเพิ่มโครงข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานคล้ายใยประสาทของมนุษย์ (neural network) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแปลภาษาสองภาษาที่ยังไม่มีการสอนแปลข้ามภาษาอย่างจริงจัง โดยระบบปัญญาประดิษฐ์จะใช้วิธีแอบสร้างภาษาของตัวเองขึ้นมาเพื่อให้ช่วยแปลภาษาได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตามมีเรื่องที่ชวนให้คิดว่าถ้าหากปัญญาประดิษฐ์พากันคิดภาษาขึ้นมาเองเป็นวงกว้างจำนวนมากจะเกิดปัญหาในการพัฒนาโครงข่ายหรือไม่ หรือแม้กระทั่งว่าจะเป็นภัยต่อมนุษย์หรือไม่ อย่างไรก็ตามดูเหมือนมนุษย์จะยังไม่สามารถทำความเข้าใจตรรกะธรรมชาติของภาษาระบบปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้
เรียบเรียงจาก
Researchers shut down AI that invented its own language, Digital Journal, 21-07-2017
http://www.digitaljournal.com/tech-and-science/technology/a-step-closer-to-skynet-ai-invents-a-language-humans-can-t-read/article/498142
AI Is Inventing Languages Humans Can’t Understand. Should We Stop It?, Fast Co Design, 14-07-2017
https://www.fastcodesign.com/90132632/ai-is-inventing-its-own-perfect-languages-should-we-let-it
เรื่องดังกล่าวนี้เกิดขึ้นกับระบบปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาโดยเฟซบุ๊ก เมื่อกลุ่มนักวิจัยที่คอยจับตามองปัญญาประดิษฐ์พวกนี้ พบว่าพวกมันคุยกันด้วยภาษาของตัวเองก็ทำการปิดระบบปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้ทันที
เฟซบุ๊กกำลังพยายามพัฒนาระบบปัญญาประดิษฐ์สองตัวที่มีชื่อว่า "บ็อบ" กับ "อลิซ" แต่ต่อมาปัญญาประดิษฐ์สองตัวนี้ก็เริ่มสื่อสารกันด้วยประโยคแปลกๆ อย่างบ็อบที่บอกว่า "ฉันสามารถสามารถฉันทุกอย่างอย่างอื่น" อลิซตอบกลับว่า "บอลมีศูนย์ที่ฉันที่ฉันที่ฉันที่ฉันที่ฉันที่ฉันที่ฉันที่ฉันที่" กลุ่มคำเหล่านี้จริงๆ แล้วเป็นวิธีการที่ระบบปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้และสื่อสารเข้าใจกันอย่างรวดเร็วมากขึ้นและมีลักษณะเป็นความลับเล็ก ๆ น้อย ๆ
ระบบปัญญาประดิษฐ์ดังกล่าวมีความสามารถในการเจรจาต่อรองกับปัญญาประดิษฐ์ตัวอื่นๆ เพื่อหาผลสรุปว่าควรจะดำเนินการต่อไปอย่างไร นักวิจัยวิเคราะห์ว่าการใช้คำซ้ำๆ ในประโยคเดิมเป็นการที่ปัญญาประดิษฐ์พยายามสื่อสารว่าพวกเขาควรจะนำวัตถุออกไปเท่าใด และบอกอีกว่าเมื่อนำมาตีความเช่นนี้มันจะฟังดูเป็นเหตุเป็นผลมากกว่าการใช้ภาษาอังกฤษทั่วไป
แล้วเหตุใดระบบปัญญาประดิษฐ์พวกนี้ถึงเลิกพูดภาษาอังกฤษแบบทั่วไปตามหลักไวยากรณ์แล้วหันมาใช้ภาษาสื่อสารอีกแบบหนึ่งแทน ธรูว บาตรา หนึ่งในนักวิจัยของเฟซบุ๊กกล่าวว่าเพราะระบบปัญญาประดิษฐ์สมัยใหม่ทำงานภายใต้หลักการได้รับ "รางวัล" หรือ "ประโยชน์" เมื่อปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้มองว่าการใช้ภาษาแบบทั่วไปไม่ได้ทำให้พวกมันได้รับประโยชน์ใดๆ ก็จึงพยายามหาวิธีสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกว่านี้ในความคิดของพวกมันเอง เช่น ใช้ "เดอะ" 5 ครั้งแทนจำนวนของ 5 รายการ ซึ่งไม่ต่างจากวิธีการที่มนุษย์ในหลายชุมชนใช้กับการจดชวเลข
อย่างไรก็ตามการที่ระบบปัญญาประดิษฐ์ใช้ภาษาของตัวเองนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในศูนย์ปฏิบัติการระบบปัญญาประดิษฐ์ OpenAI ของ อิลอน มัสก์ เคยมีการทดลองให้ปัญญาประดิษฐ์สามารถเรียนรู้ภาษาของตัวเองได้สำเร็จมาก่อน
ทั้งนี้กูเกิลยังเคยพยายามพัฒนาโปรแกรมช่วยแปลภาษากูเกิลทรานสเลทด้วยการเพิ่มโครงข่ายคอมพิวเตอร์ที่ทำงานคล้ายใยประสาทของมนุษย์ (neural network) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแปลภาษาสองภาษาที่ยังไม่มีการสอนแปลข้ามภาษาอย่างจริงจัง โดยระบบปัญญาประดิษฐ์จะใช้วิธีแอบสร้างภาษาของตัวเองขึ้นมาเพื่อให้ช่วยแปลภาษาได้ง่ายขึ้น
อย่างไรก็ตามมีเรื่องที่ชวนให้คิดว่าถ้าหากปัญญาประดิษฐ์พากันคิดภาษาขึ้นมาเองเป็นวงกว้างจำนวนมากจะเกิดปัญหาในการพัฒนาโครงข่ายหรือไม่ หรือแม้กระทั่งว่าจะเป็นภัยต่อมนุษย์หรือไม่ อย่างไรก็ตามดูเหมือนมนุษย์จะยังไม่สามารถทำความเข้าใจตรรกะธรรมชาติของภาษาระบบปัญญาประดิษฐ์เหล่านี้
เรียบเรียงจาก
Researchers shut down AI that invented its own language, Digital Journal, 21-07-2017
http://www.digitaljournal.com/tech-and-science/technology/a-step-closer-to-skynet-ai-invents-a-language-humans-can-t-read/article/498142
AI Is Inventing Languages Humans Can’t Understand. Should We Stop It?, Fast Co Design, 14-07-2017
https://www.fastcodesign.com/90132632/ai-is-inventing-its-own-perfect-languages-should-we-let-it
แสดงความคิดเห็น