Atukkit Sawangsuk

เพิ่งเห็นอันนี้ กรูขรรมว่าในอาจารย์ที่ไปสัมภาษณ์ ที่ทำเป็นพูดดี บางคนแม่-ตัวดีเลย เบี้ยวสอน แต่มาลอยหน้าลอยตาข้างนอก


มหาลัยไทยไม่ใช่แค่จุฬาหรอกครับ เป็นเหมือนกันเกือบหมด ผมเคยนะ อุตส่าห์ฝ่ารถติดขับไปส่งลูกเรียนเก้าโมง กำลังจะถึง เพื่อนไลน์มาบอก อาจารย์งด ซะงั้น สงสัยแม่-ตื่นมาไม่ทัน แต่ถ้ามันมาทันเด็กไปไม่ทัน เด็กซวย

มหาลัยปัจจุบันมันอยู่ในวัฒนธรรมที่ไม่ต่างจาก ร.ร.ประถม มัธยม เด็กไม่ได้มีอิสระ ถูกบังคับใส่เครื่องแบบ จดชื่อ ไม่ใช่อุดมศึกษาแบบที่เห็นนักศึกษาเป็นผู้ใหญ่ ให้ค้นคิด ยังบังคับเด็กเหมือนมัธยม ในขณะที่ตัวอาจารย์เองกลับมีอิสระกว่าครูประถม มัธยม แม่-นึกจะเบี้ยวสอนก็เบี้ยวกันดื้อๆ
........................
แนท (นามสมมติ) นิสิตจุฬาฯ ชั้นปีที่ 2 เล่าถึงความอัดอั้นที่อุตส่าห์ตั้งใจสอบเข้าจุฬาฯ เพื่อหวังว่าจะได้เจอสังคมที่ดี อาจารย์ที่ดี แต่พอมาเจอกับความจริงก็ฝันสลาย เธอได้เรียนกับอาจารย์ที่บกพร่องในการสอนตั้งแต่เทอมแรกของการเรียน และนอกจากการไม่เข้าสอนแนทยังเล่าต่อไปถึงวิธีการให้คะแนนที่ไม่มีสัดส่วนชัดเจนของอาจารย์ อีกทั้งยังปรับเปลี่ยนงานและคะแนนตามใจชอบโดยไม่อิงกับประมวลรายวิชา


ในขณะที่ พีท (นามสมมติ) นิสิตชาย ชั้นปีที่ 4 ก็เล่าว่าเคยเรียนกับอาจารย์ที่บกพร่องในหน้าที่การสอนไม่ต่างจากแนท แต่ในกรณีของพีทนอกจากจะเจอกับการให้คะแนนตามใจชอบของอาจารย์แล้ว เขายังถูกอาจารย์ไม่ชอบด้วยทัศนคติทางการเมืองอีกด้วย

“อาจารย์ตอนนั้นเขาเป็น กปปส. ตอนแรกเขาก็ชอบพี่นะ ซึ่งพี่ก็ไม่เคยแสดงทัศนคติทางการเมืองในคณะ แต่มีวันนึงอาจารย์พูดถึงการเมืองในคาบ เพื่อนก็เลยชี้มาทางเราบอกว่าเราเป็นเสื้อแดง ตั้งแต่นั้นมาเขาก็ไม่ชอบพี่ มีการพูดเสียดสีในคาบ และเกรดก็ออกมาไม่ดีทั้งที่เรามั่นใจว่าทำได้”
....................
เคสหลังนี่แม่-ทุเรศสัด อ้างตัวเป็นคนดีแต่ไม่มีจรรยาบรรณของความเป็นครู

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.