นักวิเคราะห์ประเมินว่าประเทศคู่กรณีกับจีนอาจได้เห็นการกลับมาถมทะเลในทะเลจีนใต้อีกครั้ง
ขณะนี้สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนกำลังจัดประชุมใหญ่ที่เกิดขึ้นทุก 5 ปี และกลุ่มผู้นำจีนถูกคาดหมายว่าจะส่งสัญญาณถึงท่าทีว่าจะใช้มาตรการแข็งกร้าวหรือผ่อนปรนต่อความขัดแย้งที่จีนมีต่อประเทศคู่กรณีเรื่องดินแดนในทะเลจีนใต้ จากการประชุมพรรคครั้งสำคัญนี้
นักวิเคราะห์ฟาบริซิโอ โบซซาโต (Fabrizio Bozzato) แห่งสมาคม Taiwan Strategy Research กล่าวว่า กลุ่มผู้นำจีนน่าจะย้ำถึงนโยบายด้านความมั่นคงทางทะเลเดิมที่มีอยู่ของจีน โดยจีนน่าจะคงยืนตามแนวทางเดิมที่กรุงปักกิ่งมักกล่าวว่าทางการจีนสนับสนุนการแก้ไขปัญหาอย่าง
A paramilitary policeman stands guard before a giant portrait of late Chinese Chairman Mao Zedong at the Tiananmen gate, a day before the 19th National Congress of the Communist Party of China begins, in Beijing, China, October 17, 2017.
ขณะเดียวกัน อาจารย์ดักลาส กิลฟอยล์ (Douglas Guilfoyle) จากมหาวิทยาลัย Monash ที่ออสเตรเลีย กล่าวว่า จีนอาจหยิบยกเนื้อหาของกฎหมายทางทะเลของสหประชาชาติ มาอธิบายจุดยืนของตน วิธีดังกล่าวช่วยให้จีนตีกรอบประเด็นความขัดแย้งโดยการอ้างอิงบรรทัดฐานสากล เพื่อให้ได้รับการยอมรับที่กว้างขวางมากขึ้น
ศาลระหว่างประเทศตัดสินเมื่อเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว ว่าการอ้างกรรมสิทธิ์ของจีนในทะเลจีนใต้ขาดน้ำหนักทางกฎหมาย ซึ่งจีนปฏิเสธคำวินิจฉัยดังกล่าว
ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จีนพยายามเป็นมิตรมากขึ้นกับประเทศคู่พิพาทเรื่องเขตอธิปไตยในทะเลจีนใต้ เช่น บรูไน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
An aerial view of uninhabited island of Spratlys in the disputed South China Sea, April 21, 2017.
นอกจากนั้น อาจารย์ Oh Ei Sun จากมหาวิทยาลัยนานยางแห่งสิงคโปร์กล่าวว่า จีนปรับท่าทีให้อ่อนลงเรื่องการถมพื้นที่ทางทะเลในปีนี้
นักวิเคราะห์กล่าวว่า จีนไม่น่าเปลี่ยนแนวทางการทูตที่ดำเนินมา และผลจากที่ประชุมใหญ่พรรคที่เริ่มในวันพุธนี้ อาจเป็นเพียงการรับรู้ถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น เพื่อสะท้อนกรณีสำคัญ เช่น การส่งเรือรบของสหรัฐฯ เข้ามาในน่านน้ำใกล้หมู่เกาะ Paracel ก่อนหน้านี้ เป็นต้น
ตัวอย่างการใช้ภาษาที่กว้างๆ เห็นได้จากรายงานที่การประชุมใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนในอดีต เช่นเมื่อ 5 ปีก่อน รายงานของประธานพรรคในขณะนั้น ระบุถึง “ความไม่มั่นคงที่เพิ่มมากขึ้น และความวุ่นวายที่มากขึ้นในระบบระหว่างประเทศ” ซึ่งน่าจะหมายถึง สถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ปะทุขึ้นในปี ค.ศ. 2008 ตามการวิเคราะห์ของสถาบัน Hoover แห่งมหาวิทยาลัย Stanford
นักวิเคราะห์กล่าวว่า ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน น่าจะได้เป็นผู้นำต่ออย่างแน่นอนที่การประชุมใหญ่ครั้งนี้ และอาจผนึกฐานอำนาจให้แข็งแกร่งขึ้นด้วย
ดังนั้นจึงน่าติดตามต่อไปว่า อิทธิพลทางการเมืองที่มากขึ้นของประธานาธิบดี สี หลังจากการประชุมพรรคครั้งนี้ อาจนำไปสู่นโยบายที่แข็งกร้าวมากขึ้นหรือไม่เรื่องทะเลจีนใต้
ซึ่งนักวิเคราะห์ ฟาบริซิโอ โบซซาโต ประเมินว่า ประเทศคู่กรณีกับจีนอาจได้เห็นการกลับมาถมทะเลในบริเวณที่มีความขัดแย้งด้านอำนาจอธิปไตยในทะเลจีนใต้อีกครั้ง
(รัตพล อ่อนสนิท เรียบเรียงจากรายงานของ Ralph Jennings)
แสดงความคิดเห็น