กรณี "เบนซ์ ชน ฟอร์ด"
นักกฎหมายโดยทั่วไปจะวางแผนให้ #รอดคุก ดังนี้


1. ก่อนขับรถกินยาที่มีฤทธิ์กล่อมประสาท
(ยาที่ตรวจพบในรถ)
เพราะป่วย มีประวัติการรักษา
ทำให้มีอาการง่วงซึม

2. เมื่อง่วงซึม แล้วขับรถ จึงหลับใน
เมื่อหลับใน ก็เป็น "ประมาท" (ไม่ใช่เจตนา)

3. เมื่อขับรถโดย "ประมาท"
เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
จึงมีความผิดตาม ป.อาญา ม.291
ระวางโทษ จำคุก ไม่เกิน 10 ปี
(ความผิดใดก็ตามที่ทำโดย "ประมาท" โทษจะไม่หนัก)

4. พนักงานสอบสวนตั้งข้อกล่าวหาตามข้อ 3.
พนักงานอัยการก็ฟ้องตามข้อหานี้

5. ศาลจึงพิจารณาตามข้อกล่าวหาตามคำฟ้อง
คือ ฐานกระทำ(ขับรถ)โดย "ประมาท"
เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ตาม ป.อาญา ม.291
ระวางโทษ จำคุก ไม่เกิน 10 ปี

6. ศาลจึงตัดสินว่า
- จำเลยมีความผิดตามที่ฟ้อง
ลงโทษจำคุก 6 ปี (โทษสูงสุดไม่เกิน 10 ปี)
- จำเลยรับสารภาพมาโดยตลอด
เป็นประโยชน์แก่รูปคดี
จึงลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือ จำคุก 3 ปี
- จำเลยไม่เคยต้องโทษจำคุกมาก่อน
จึงให้รอลงอาญาไว้ มีกำหนด 3 ปี
- และให้จำเลยอยู่ในเงื่อนไขการคุมประพฤติ

__________ จบ... รอดคุก! __________

#แต่ๆๆๆๆ ถ้าข้อเท็จจริงต่างออกไป
เช่น เสพยา เมายา เมาเหล้า
มีประวัติการขับรถเร็ว การชน มาก่อน
ฐานความผิดอาจจะเปลี่ยนไป
ที่ร้ายแรงเลย อาจผิดฐานฆ่าผู้อื่น (ม.288)
โดยเจตนาย่อมเล็งเห็นผล
(ย่อมเล็งเห็นได้ว่า เมื่อเสพยา เมา
จะขับเร็ว ควบคุมยาก อาจชนคนอื่นตายได้)
หรือข้อหาเดิม(ม.291) แต่ศาลอาจลงโทษหนักขึ้น
หรืออาจไม่รอลงอาญา ต้องติดคุกจริงๆ

แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับ
การสืบหาพยานหลักฐานของตำรว
การตั้งข้อกล่าวหา สรุปสำนวน
การสั่งฟ้องของอัยการ การสืบพยาน
จึงจะทำให้ ข้อหา ข้อเท็จจริง เหล่านั้นขึ้นมาสู่ศาล
ศาลจึงจะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาได้
เพราะตามกฎหมายนั้น
ศาลไม่มีอำนาจลงโทษเกินไปกว่า ความผิดที่ฟ้อง

#ฝนมันตกเท่ากันแหละ
แต่คนรวยมีเงินมากกว่าคนจน
จึงซื้อภาชนะได้ใหญ่กว่าคนจ
จึงรองน้ำฝนได้มากกว่าคนจน
#ความยุติธรรมก็เช่นกัน
#เหมือนเช่นฝนที่ตกลงมา
______________________


แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.