อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone ที่มาภาพจากเฟสบุ๊คไลฟ์มติชน

Posted: 30 Jan 2019 01:05 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Wed, 2019-01-30 16:05


ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone เปิดภูมิทัศน์ คนรุ่นใหม่กับมุมมองทางการเมืองและการใช้โซเชียลมีเดีย ระบุกระแสคนรุ่นใหม่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก จากแรงบีบคั้นหลายมิติ ชี้พผู้ใช้ทวิตเตอร์จำนวนมากเป็นวัยรุ่นที่ปกติคุยกันเรื่องดาราเกาหลี แต่สนใจการเมืองด้วย แนะทวิตเวอร์ ยูทูบ ไลน์ เป็นช่องทางการสื่อสารที่มีกลุ่มผู้รับสารคนละกลุ่ม กังวลคุมหาเสียงออนไลน์อาจทำให้เกิด ‘สงครามตัวแทน’

30 ม.ค. 2562 ที่โรงแรม พูลแมน คิงพาวเวอร์ สำนักข่าวมติชนได้จัดเวทีเสนวาหัวข้อ “เลือกตั้ง 62 จุดเปลี่ยนประเทศไทย” โดยมีวิยากรประกอบด้วย ศาสตราจารย์สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการธนาคารเกียรตินาคิน รองศาสตรารย์โคทม อารียา ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone

ทั้งนี้เวทีแบ่งออกเป็นสองส่วน ในช่วงแรกได้เปิดเวทีให้วิทยากรทั้งหมดได้อภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเชียวชาญ จากนั้นเป็นเวทีเสวนารวม สำหรับอิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone ได้อภิปรายถึงเรื่อง มุมมองคนรุ่นใหม่ต่อการเมือง การใช้โซเชียลมีเดีย และการควบคุมการหาเสียงออนไลน์ของ กกต. โดยมีรายละเอียดดังนี้


จุดเปลี่ยนประเทศไทย(2): ปริญญาแนะ คสช. ถอยเป็นคนกลาง ได้ ส.ว. 250 ควรพอได้แล้ว

อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ : Landscape มุมมองคนรุ่นใหม่ต่อการเมือง และใช้โซเชียลมีเดีย

อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone พูดถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมุมมองการเมืองของคนรุ่นใหม่ โดยระบุว่า ประเด็นเรื่องคนรุ่นใหม่ไม่ได้เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายมุมโลก เช่น การประท้วงที่ประเทศฝรั่งเศส ของกลุ่มเสื้อกั้กเหลือง ซึ่งเป็นข่าวใหญ่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา คนที่ออกมาประท้วงส่วนใหญ่เป็นคนรุ่นใหม่ และประเด็นที่ออกมาประท้วงไม่ใช่ประเด็นการเมือง แต่เป็นประเด็นเรื่องเศรษฐกิจ เพราะพวกเขารู้สึกว่าชีวิตของคนรุ่นใหม่ในยุคนี้ถูกบีบคั้นอย่างมาก สินค้าแพง น้ำมันแพง อาหารขึ้นราคา และมีความเหลื่อมล้ำสูง สภาวะแบบนี้กำลังเกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่ทั้งโลก ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น

เขา กล่าวต่อว่า ในอีกด้านหนึ่งการการบีบคั้นไม่ได้เกิดจากสภาพเศรษฐกิจ และสังคมเท่านั้น แต่มีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้วย เมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น ก็เกิดการทำลายอุตสาหกรรมเดิม ยกตัวอย่างเช่นร้าน amazon go ซึ่งไม่ได้ใช้แรงงานมนุษย์แล้ว แต่มีการใช้กล้องและเซ็นเซอร์ในการให้บริการ เมื่อลูกค้าเข้าไปในร้านและเลือกหยิบสิ้นค้า ระบบก็จะรู้ทันทีว่า ลูกค้าซื้ออะไร ราคาเท่าไหร่ ซึ่งนี่คือการท้าทายอุตสาหกรรมค้าปลีกที่มีอยู่เดิม

เขา ระบุต่อว่า ปัจจัยเรื่องการเมืองเองก็มีส่วนในการบีบคั้นคนรุ่นใหม่เช่นกัน ยกตัวอย่าง ในปี 2016 การเมืองการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐอเมริกาได้ โดนัล ทรัมป์ ขึ้นเป็นประธานาธิบดี สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นคือความแยกแตกในสังคมอเมริกัน ต่อมาในการเลือกตั้งมิดเทอมช่วงปลายปี 2018 ก็เกิดปรากฎการณ์ที่คนรุ่นใหม่ได้เข้าไปเป็น ส.ส. ในรัฐสภาเยอะเป็นประวัติการณ์ เพราะเกิดจากความรู้สึกของคนรุ่นใหม่ที่ไม่ชอบการเมืองในแบบของ โดนัล ทรัมป์ จึงลงสมัครเป็น ส.ส. เองเพื่อส่งเสียงของคนรุ่นใหม่ให้ดังขึ้นในรัฐสภา

เขา ยกตัวอย่างถึง ประเด็นที่มีนัยสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งคือ ชัยชนะในการเลือกตั้งของบาร์เทรนเดอร์สาว วัย 29 ปี คือ อเล็กซานเดรีย คาโอซิโอ-คอร์เตช สังกัดพรรคเดโมแครต ซึ่งได้รับชัยชนะเหนือคู่แข่งซึ่งเป็นในการเมืองรุ่นใหญ่ที่เป็นอดีต ส.ส. มานานถึง 20 ปี อย่างไรก็ตามยังมีการโจมตีทางการเมืองเกิดขึ้นโดยมีคนนำคลิปที่เธอเต้น ในช่วงที่ยังเรียนมหาวิทยาลัยมาเผยแพร่ในโซเชียลมีเดีย เพื่อชี้ให้เห็นว่าเธอเคยมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมมาก่อนที่จะได้รับเลือกตั้ง สิ่งที่เธอโต้ตอบกลับไปคือ การอัดคลิปเต้นที่หน้าห้องทำงานของเธอ แล้วโพสต์ลงโซเชียลมีเดีย ซึ่งปรากฎการณ์ทำให้ขนบของการเมืองแบบเดิมเริ่มเปลี่ยนแปลง

เขา กล่าวต่อว่า เมื่อมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย การเลือกตั้งครั้งสุดท้ายที่มีผลในทางปฎิบัติคือ การเลือกตั้งในปี 2554 นับมาถึงวันนี้ผ่านมาถึง 8 ปีแล้ว มีหลายสิ่งหลายอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกในปี 2554 เวลานี้มีอายุ 26 ปี ส่วนผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งแรกในปี 2562 เมื่อ 8 ปีที่ผ่านมามีอายุเพียง 10 ปี ตามสถิติที่รวบรวบโดย iLaw คนที่มีอายุระหว่าง 18-26 ปี มีจำนวนประมาณ 6.4 ล้านคน เทียบกับจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 52 ล้านคน พบว่ามีสัดส่วนมากถึง 12% นี่จึงเป็นปัจจัยใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยนานแล้ว ที่คนรุ่นใหม่จะมีบทบาทในทางการเมืองมากขนาดนี้ แต่คำถามสำคัญคือ คนกลุ่มนี้ จะเลือกใคร

เขา อ้างอิงข้อมูลจาก WISESIGHT ซึ่งเป็นสถิติข้อมูลจากใช้โซเชียลมีเดียลของไทย ที่แสดงข้อมูลสำคัญที่มีการโพสต์ในเฟสบุ๊คและทวิตเตอร์ คือคำว่า เลือกตั้ง โดยพบว่านับตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย. 2561 – 28 ม.ค. 2562 มีผู้ใช้เฟสบุ๊คพูดถึงคำว่า เลือกตั้ง ประมาณ 5 แสนข้อความ และหากนับการมีส่วนร่วม (Engagement) เช่น ไลค์ คอมเม้น แชร์ รวมทั้งหมดแล้วมีจำนน 17 ล้านครั้ง โดยช่วงที่มีการพูดถึงคำว่า เลือกตั้ง พบว่าเป็นช่วงปลายปี 2561 และ ช่วงต้นปี 2562 ซึ่งคาดเดาได้ว่า ยิ่งเข้าใกล้การเลือกตั้งจำนวนการพูดคุยเรื่อเหล่านี้จะยิ่งเพิ่มสูงขึ้นไปอีก

ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone ชี้ให้เห็ว่า โซเชียลมีเดียที่มีบทบาทสำคัญ และยังไม่มีคนพูดถึงมากนักคือ ทวิตเตอร์ ยูทูบ และ ไลน์ สำหรับทวิตเตอร์ เป็นพื้นที่ที่คนรุ่นใหม่เข้าไปใช้งานจำนวนมาก สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วงที่มีข่าวเลื่อนเลือกตั้ง คือปฏิกิริยาของผู้ใช้ทวิตเตอร์ที่พร้อมใจกันติดแฮชแท็ก “เลื่อนแม่มึงสิ” จนติดอับดับที่ 1 ของแฮชแท็กในประเทศไทย และที่สำคัญผู้ใช้ทวิตเตอร์จำนวนมาเหล่านี้คือวัยรุ่น ที่ปกติมักคุยกันเรื่องดาราเกาหลี แต่เมื่อมีการเลื่อนเลือกตั้ง หรือในช่วงใกล้เลือกตั้ง พวกเขาคุยกันเรื่องการเลือกตั้ง เรื่องบัตรเลือกตั้งที่เหลือแค่ใบเดียว จะเลือกใครพรรคไหนดี และจำนวนของการโต้ตอบกันในทวิตเตอร์มีจำนวนมหาศาล

สำหรับยูทูบ เขา เผยว่า เมื่อเข้าไปค้นหาคำว่า เลือกตั้ง สิ่งแรกที่เจอคือ ข่าวของสำนักข่าวต่างๆ แต่ถ้าคัดข่าวเหล่านี้ออกไป สิ่งที่พบคือ คลิปของผู้ใช้ยูทูบรายย่อย เช่น เพลงล้อเล่น และคลิปของ พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ ซึ่งข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่า กลุ่มผู้ฟังยูทูบ เป็นคนละกลุ่มกลุ่มกับผู้ใช้ทวิตเตอร์ และผู้ใช้ยูทูบส่วนมาเป็นคนที่ไม่ถนัดในการอ่านเนื้อหายาวๆ แต่ชอบดูและฟังมากกว่า ซึ่งนี่เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสารกับคนอีกกลุ่มหนึ่งได้

ส่วนไลน์ เขาระบุว่า เมื่อมีแบรนด์ต่างๆ เข้ามาใช้ช่องทางการสื่อสารในไลน์ ส่วนมากจะเปิดไลน์ออฟฟิเชียลให้คนกดติดตาม เพื่อส่งข่าวสารไปถึงกลุ่มผู้ติดตาม แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือ ผู้ใช้ไลน์จำนวนมากมักจะบล็อคการส่งข้อความเหล่านั้น เพราะรู้สึกว่าน่ารำคาญ แต่สิ่งที่นิยมส่งต่อกันทางไลน์มีลักษณะเป็นข้อความแบบ Forward mail หรือเรียกง่ายๆ ว่า เป็นการกด Copy และส่งต่อไปในไลน์ กระจายข้อความต่อๆ กันไปในห้องแชท ซึ่งในทางการนับจำนวน เวลานี้ยังไม่สามารถสำรวจได้ว่า ข้อความในลักษณะนี้กระจายไปมาน้อยขนาดไหน ซึ่งคาดเดาได้ว่าในการเลือกตั้งครั้งนี้จะมีการส่งต่อข้อความลักษณะนี้ทั้งในเชิงบวก และเชิงลบ โจมตีคู่แข่ง เกิดขึ้นจำนวนมาก

ท้ายสุด เขาพูดถึง ระเบียบของคณะกรรมการการเลือกตั้งในการหาเสียงออนไลน์ ที่ทำให้นักการเมืองหลายคนยุติการใช้โชเชียลมีเดียชั่วคราว ซึ่งหากพิจารณาการเสพสื่อของคนรุ่นใหม่แล้ว สามารถพูดได้ว่า 100% อยู่บนโชเชียลมีเดีย คนกลุ่มนี้ไม่ได้ดูทีวี ไม่ได้อ่านหนังสือพิมพ์ ไม่ได้รับสื่อช่องทางอื่นนอกจากโชเซียลมีเดียช่องทางเดียว นั่นแสดงว่าตลาดออนไลน์มีความต้องการคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับการเมืองการเลือกตั้ง แต่ กกต. พยายามสกัดกั้นไม่ให้พรรคการเมือง และนักการเมือง สื่อสารกับฐานเสียงของตัวเองได้โดยตรง สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ สงครามตัวแทน หรือการเปิดบัญชีนิรนามเพื่อสื่อสารกับฐานเสียงแทนนักการเมือง และอาจจะพบกับการโจมตีทางการเมืองที่ลื่นไหลกว่าเดิม เพราะนักการเมืองไม่ได้รับผิดชอบเองโดยตรง ซึ่งไม่ใช่เรื่องที่ดีเท่าไหร่นัก


ข่าว
การเมือง
วัฒนธรรม
ไอซีที
อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์
มติชนเสวนา
เลือกตั้ง 62
เลือกตั้ง
คนรุ่นใหม่
โซเชียลมีเดีย

[full-post]

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.