Posted: 31 Jan 2019 08:43 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Thu, 2019-01-31 23:43
สุรชาติ บำรุงสุข ชี้การเมืองไทยคล้ายการเมืองโลกที่สู้กันระหว่างอุดมการณ์อนุรักษนิยม กับเสรีนิยม แต่ปีกความไทยไปไม่ไกลกว่าการรัฐประหาร ย้ำครั้งนี้การเมืองถูกดึงกลับไปสู่ระบอบเผด็จการครึ่งใบ และคำว่า "สืบทอดอำนาจ" ไม่เพียงพอต่อสถานการณ์ ชี้ถึงเวลาต้องปลดแอก
ศาสตราจารย์สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาพจากเฟสบุ๊คไลฟ์มติชน
30 ม.ค. 2562 ที่โรงแรม พูลแมน คิงพาวเวอร์ สำนักข่าวมติชนได้จัดเวทีเสนวาหัวข้อ “เลือกตั้ง 62 จุดเปลี่ยนประเทศไทย” โดยมีวิยากรประกอบด้วย ศาสตราจารย์สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการธนาคารเกียรตินาคิน รองศาสตราจารย์โคทม อารียา ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา เทวานฤมิตกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone
ทั้งนี้เวทีแบ่งออกเป็นสองส่วน ในช่วงแรกได้เปิดเวทีให้วิทยากรทั้งหมดได้อภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเชียวชาญ จากนั้นเป็นเวทีเสวนารวม สำหรับสุรชาติ บำรุงสุข กล่าวถึงประเด็นการการต่อสู้ทางการเมืองระหว่างอุดมการณ์ทางการเมืองสองชุด คือ เสรีนิยม กับอนุรักษนิยม ที่มีเสนานิยมเป็นตัวหนุนเสริม โดยชี้ให้เห็นว่าขวาไปไม่ทันขวาโลก ยังก้าวไม่พ้นการรัฐประหาร พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมือง โดยระบุว่า ครั้งนี้การใช้คำว่า "สืบทอดอำนาจ" ยังน้อยไป และถึงเวลาแล้วที่ต้องปลดแอกตาก คสช.
- จุดเปลี่ยนประเทศไทย(1): มุมมองคนรุ่นใหม่ต่อการเมือง และใช้โซเชียลมีเดีย
- จุดเปลี่ยนประเทศไทย(2): ปริญญาแนะ คสช. ถอยเป็นคนกลาง ได้ ส.ว. 250 ควรพอได้แล้ว
- จุดเปลี่ยนประเทศไทย(3): โคทมเสนอช่วงเปลี่ยนผ่าน พรรคอันดับ 1 ควรดึง พปชร. ร่วมรัฐบาล
- จุดเปลี่ยนประเทศไทย(4): บรรยงอัดยุทธศาสตร์ชาติเกิดจากวิสัยทัศน์ชั่ววูบ ยันต้องยกเลิกเท่านั้น
สุรชาติ บำรุงสุข: การต่อสู้ของอดุมการณ์ที่ขวาไปไม่พ้นรัฐประหาร ถึงเวลาต้องปลดแอก
สุรชาติ เริ่มต้นด้วยการชวนมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ภาพที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนคือ การล้มลุกคุกคลาน เขากล่าวต่อว่า คุณลักษณะของการเมืองไทยในสภาวะล้มลุกคุกคลาน มีลักษณะที่ไม่มีเสถียรภาพ และไม่สามารถคาดเดาได้ จะอย่างไรก็ตามในภาพใหญ่การเมืองไทยคือ ภาพของการต่อสู้กันระหว่างอุดมการณ์ทางการเมือง 2 ชุด โดยอุดมการณ์สองชุดนี้แยกกันชัดเจนคือ อุดมการณ์อนุรักษนิยม กับอุดมการณ์เสรีนิยม และการต่อสู่นี้แบ่งเป็น 3 ช่วงเวลาคือ ช่วงก่อนยุคสงครามคอมมิวนิสต์ ช่วงสงครามคอมมิวนิสต์ และช่วงที่เราอยู่ในปัจจุบันคือยุคหลังสงครามเย็น
เขา กล่าวต่อไปว่า หากมองถึงยุคก่อนสงครามคอมมิวนิสต์ หรือสงครามเย็น คำตอบอยู่ที่ปี 2475 แต่ในยุคสงครามคอมมิวส์นิสต์ คำตอบที่ชัดที่สุดจบด้วยการรัฐประหารในเดือน พ.ย. 2490 ซึ่งนั่นสะท้อนว่าอายุของ 2475 มีช่วงเวลาเพียง 25 ปีเท่านั้น และประเด็นสำคัญในปี 2490 คือการสมานฉันท์ และการผสมกันอย่างลงตัวระหว่างอุดมการณ์อนุรักษนิยม กับอุดมการณ์เสนานิยม การผสมผสานนี้ทำให้โอกาสที่อุดมการณ์เสรีนิยมจะเติบโตในช่วงสงครามคอมมิวนิสต์มีปัญหา และสงครามครั้งนี้มีอิทธิพลทางความคิดกับผู้นำไทยทั้งในระดับชนชั้นนำ ผู้นำทหาร และผู้นำปีกขวาอย่างหนึ่งคือ มองการรัฐประหารเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองของไทย
เขา อธิบายต่อไปว่า ในการต่อสู้อย่างยาวนานที่เริ่มตั้งแต่ 2490 เราเห็นทั้ง เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 แต่เงื่อนไขที่ใหญ่ที่สุดที่ทำให้ชนชั้นนำ ผู้นำทหาร และผู้นำปีกขวาต้องยอมรับกับระบอบประชาธิปไตยคือ เงื่อนไขสงครามคอมมิวนิสต์ ในวันที่เวียดนามแตก พนมเปญแตก ในเดือนเมษยาน ปี 2518 และในปลายปีเดือนธันวาคม ลาวแตก คำถามสำหรับชนชั้นนำไทยคือ ไทยจะกลายเป็นโดมิโนตัวที่ 4 หรือไม่ และคำตอบคือการรัฐประหารในปี 2519 ซึ่งเป็นการรัฐประหารที่นองเลือดที่สุด แต่การรัฐประหารครั้งนั้นไม่ได้สร้างเสถียรภาพทางการเมือง แต่กลับทำให้คนจำนวนมากเลือกที่จะเข้าป่า เมื่อเป็นเช่นนี้ฝ่ายชนชั้นนำจึงยอมปรับยุทธศาสตร์
เขา กล่าวต่อไป ถึงยุคหลังสงครามคอมมิวนิสต์ที่มาพร้อมกับการรัฐประหารในปี 2534 เรื่อยมาจนถึงรัฐประหารในปี 2549 และ 2557 ซึ่งการรัฐประหารในสองครั้งล่าสุดเห็นชัดว่า เป็นอีกครั้งที่ฝ่ายอนุรักษนิยมใช้เสนานิยมในการล้มฝ่ายเสรีนิยม และเครื่องมือที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขายังเป็นการทำ รัฐประหาร แต่สิ่งที่สะท้อนอย่างหนึ่งคือพวกเขายังก้าวไปไกลกว่าการรัฐประหารไม่ได้ ในขณะที่มองออกไปในเวทีโลก เราเห็น โดนัล ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ เราเห็นตัวแบบในเบร็กซิท เราเห็นผู้นำบางส่วนที่อยู่ในยุโรปเป็นผู้นำปีกขวา และขวายิ่งกว่าผู้นำไทย แต่เป็นขวาชุดใหม่อีกชุดหนึ่งที่ในวงวิชาการเรียกว่า ประชานิยมปีกขวา ขณะที่ผู้นำไทยเป็นได้อย่างเดียวคือ เสนานิยม
“นั้นหมายความว่าปีกขวาไทยเดินเกินกว่านี้ไม่ได้ และการเดินเกินกว่านี้ไม่ได้สะท้อนอย่างหนึ่ง หลังจากรัฐประหารปี 2534 มีครั้งไหนบ้างที่พรรคฝ่ายขวาชนะการเลือกตั้งในการเมืองไทย หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังรัฐธรรมนูญปี 2540 พรรคปีกขวาไม่เคยชนะเลย เมื่อพรรคปีกขวาไม่เคยชนะเลยคำตอบมีอยู่อย่างเดียวคือ กลับมาสู่สูตรเดิม ล้มการเมืองที่พวกเขาไม่ต้องการด้วยการใช้กำลังทางทหาร คำว่าอำนาจรัฐเกิดจากปากกระบอกปืนของประธานเหมา กลับใช้ได้ดีในการเมืองไทย เพราะอำนาจเกิดจากกระบอกปืนของกองทัพไทย” สุรชาติ กล่าว
เขา กล่าวต่อไปว่า ท่ามกลางความพ่ายแพ้ทั้งหมดของฝ่ายขวาไทย กลับมีการสร้างสถาปัตยกรรมทางการเมืองชุดใหม่ สถาปนิกชุดนี้พยายามออกแบบโดยมีโจทย์คือ ทำอย่างไรก็ได้ โดยไม่แคร์อะไรทั้งสิ้น และไม่ต้องมีมาตรฐานอะไรอีกแล้ว เพื่อทำให้การเมืองยังอยู่ในอำนาจของฝ่ายขวา
“วันนี้คำว่าการสืบทอดอำนาจน้อยไป มันเกินไปกว่าการสืบทอดอำนาจแล้ว และสิ่งที่เรากำลังจะเห็นคือการต่อสู้ที่เข้มข้นมากขึ้น... อนาคตอยู่ในเงื่อนไขของตัวแบบ 3 อย่าง สมมติว่าฝ่าย คสช. รวบรวมเสียงได้บวก 250 มันจะเกิดอาการเดียวกับพรรคสหประชาไทย คือการจัดตั้งรัฐบาลผสมในปี 2512 คำตอบคือรัฐบาลผสมอายุไม่ยืน แต่ถ้ารวบรวมเสียงไม่ได้ต้องอาศัยเสียง ส.ว. ตั้งรัฐบาลก็จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยแบบคึกฤทธิ์ในปี 2518 แต่มีเงื่อนไขเดียวคือ พล.อ.ประยูทธ์ ต้องเก่งแบบคึกฤทธิ์ หรือเงื่อนไขที่ 3 ซึ่งทุกวันนี้พูดถึงน้อยมากในบ้านเรา ชัยชนะของพรรคฝ่ายค้านในเมียนมา ชัยชนะของพรรคฝ่ายค้านในมาเลเซียเป็นไปได้ไหมถ้าไม่ออกด้วยตัวแบบของไทยแบบเก่า ถ้าปีกไม่เอา คสช. ชนะ เราจะเห็นการย้อนชัยชนะของพรรคฝ่ายค้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” สุรชาติ กล่าว
เขา กล่าวต่อว่า ในสถานการ์ที่เป็นอยู่ทั้งหมดนี้มีโจทย์อยู่ชุดหนึ่ง ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล สิ่งที่จะตามมาคือ การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกองทัพ และกองทัพจะอยู่ภายใต้เสียงเรียกร้องและแรงกดดันที่มากขึ้น แปลว่าหลังจากนั้น การปฏิรูปกองทัพจะเป็นโจทย์สำคัญ และมีนัยกับการเมืองไทยในอนาคต แต่หากปล่อยให้สถานการณ์อยู่ในสภาพนี้ไปเรื่อยๆ และกองทัพยังมีบทบาทต่อไป การเมืองไทยก็จะมีโอกาสย้อนรอยกลับไปสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่ถ้า คสช. อยู่ในอำนาจเราจะอยู่ในยุคเผด็จการครึ่งใบแทน
“การเมืองไทยกำลังถูกออกแบบให้เป็นกึ่งเผด็จการ และ คสช. สร้างแอก 5 แอกกับการเมืองไทย ผมเรียกร้องว่าหากท่านเชื่อว่าประชาธิปไตยเป็นอนาคตของการเมืองไทย ถ้าท่านเชื่อว่าชีวิตพวกเราในอนาคตอยู่กับเสรีนิยมดีกว่าอยู่กับอำนาจนิยม เราอาจต้องปลดแอก 5 ชุด” สุรชาติ กล่าว
เขา เสนอต่อไปว่า การปลดแอกประกอบด้วย แอกที่ 1 คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แอกที่ 2 คือ การรื้อกฎหมายลูกใหม่ทั้งหมด แอกที่ 3 คือการยกเลิกยุทธศาสตร์ แอกที่ 4 คือ การลกอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. และแอกที่ 5 คือ การปฏิรูปกองทัพให้กลับไปเป็นทหารอาชีพ ไม่ใช่ทหารการเมือง
“ประเทศไทยในอนาคตไม่ได้ต้องการกองทัพการเมือง หรือทหารการเมือง ผมคิดว่า เราไม่ต้องการนักการเมืองในเครื่องแบบอีกต่อไป แต่ถ้าผู้นำทหารอยากลงเล่นการเมืองผมว่านั่นไม่ใช่ข้อห้าม แต่ต้องมีกติกาไม่ใช่เล่นการเมืองในรูปแบบที่เราเห็น วันนี้สิ่งที่เห็นชัดหากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การเมืองไทย มียุคไหนบ้างที่พรรคทหารประสบความสำเร็จ ตั้งแต่เสรีมนังคศิลา สหประชาไทย และยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นการหลอมรวมจิตวิญญาณครั้งใหญ่ แต่ผมยืนยันกับท่านว่า คงจะประสบความล้มเหลวครั้งใหญ่เช่นกัน... อนาคตนี้ถูกควบคุมมาหลายปี... แต่กองทัพ และรัฐบาลทหารคุมไม่ได้อย่างเดียว คือคุมมือเราในวันที่เดินเข้าคูหาเลือกตั้งไม่ได้” สุรชาติ กล่าว
สุรชาติ เริ่มต้นด้วยการชวนมองย้อนกลับไปในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ภาพที่จะเห็นได้อย่างชัดเจนคือ การล้มลุกคุกคลาน เขากล่าวต่อว่า คุณลักษณะของการเมืองไทยในสภาวะล้มลุกคุกคลาน มีลักษณะที่ไม่มีเสถียรภาพ และไม่สามารถคาดเดาได้ จะอย่างไรก็ตามในภาพใหญ่การเมืองไทยคือ ภาพของการต่อสู้กันระหว่างอุดมการณ์ทางการเมือง 2 ชุด โดยอุดมการณ์สองชุดนี้แยกกันชัดเจนคือ อุดมการณ์อนุรักษนิยม กับอุดมการณ์เสรีนิยม และการต่อสู่นี้แบ่งเป็น 3 ช่วงเวลาคือ ช่วงก่อนยุคสงครามคอมมิวนิสต์ ช่วงสงครามคอมมิวนิสต์ และช่วงที่เราอยู่ในปัจจุบันคือยุคหลังสงครามเย็น
เขา กล่าวต่อไปว่า หากมองถึงยุคก่อนสงครามคอมมิวนิสต์ หรือสงครามเย็น คำตอบอยู่ที่ปี 2475 แต่ในยุคสงครามคอมมิวส์นิสต์ คำตอบที่ชัดที่สุดจบด้วยการรัฐประหารในเดือน พ.ย. 2490 ซึ่งนั่นสะท้อนว่าอายุของ 2475 มีช่วงเวลาเพียง 25 ปีเท่านั้น และประเด็นสำคัญในปี 2490 คือการสมานฉันท์ และการผสมกันอย่างลงตัวระหว่างอุดมการณ์อนุรักษนิยม กับอุดมการณ์เสนานิยม การผสมผสานนี้ทำให้โอกาสที่อุดมการณ์เสรีนิยมจะเติบโตในช่วงสงครามคอมมิวนิสต์มีปัญหา และสงครามครั้งนี้มีอิทธิพลทางความคิดกับผู้นำไทยทั้งในระดับชนชั้นนำ ผู้นำทหาร และผู้นำปีกขวาอย่างหนึ่งคือ มองการรัฐประหารเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองของไทย
เขา อธิบายต่อไปว่า ในการต่อสู้อย่างยาวนานที่เริ่มตั้งแต่ 2490 เราเห็นทั้ง เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 เหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 แต่เงื่อนไขที่ใหญ่ที่สุดที่ทำให้ชนชั้นนำ ผู้นำทหาร และผู้นำปีกขวาต้องยอมรับกับระบอบประชาธิปไตยคือ เงื่อนไขสงครามคอมมิวนิสต์ ในวันที่เวียดนามแตก พนมเปญแตก ในเดือนเมษยาน ปี 2518 และในปลายปีเดือนธันวาคม ลาวแตก คำถามสำหรับชนชั้นนำไทยคือ ไทยจะกลายเป็นโดมิโนตัวที่ 4 หรือไม่ และคำตอบคือการรัฐประหารในปี 2519 ซึ่งเป็นการรัฐประหารที่นองเลือดที่สุด แต่การรัฐประหารครั้งนั้นไม่ได้สร้างเสถียรภาพทางการเมือง แต่กลับทำให้คนจำนวนมากเลือกที่จะเข้าป่า เมื่อเป็นเช่นนี้ฝ่ายชนชั้นนำจึงยอมปรับยุทธศาสตร์
เขา กล่าวต่อไป ถึงยุคหลังสงครามคอมมิวนิสต์ที่มาพร้อมกับการรัฐประหารในปี 2534 เรื่อยมาจนถึงรัฐประหารในปี 2549 และ 2557 ซึ่งการรัฐประหารในสองครั้งล่าสุดเห็นชัดว่า เป็นอีกครั้งที่ฝ่ายอนุรักษนิยมใช้เสนานิยมในการล้มฝ่ายเสรีนิยม และเครื่องมือที่ดีที่สุดสำหรับพวกเขายังเป็นการทำ รัฐประหาร แต่สิ่งที่สะท้อนอย่างหนึ่งคือพวกเขายังก้าวไปไกลกว่าการรัฐประหารไม่ได้ ในขณะที่มองออกไปในเวทีโลก เราเห็น โดนัล ทรัมป์ เป็นประธานาธิบดีสหรัฐ เราเห็นตัวแบบในเบร็กซิท เราเห็นผู้นำบางส่วนที่อยู่ในยุโรปเป็นผู้นำปีกขวา และขวายิ่งกว่าผู้นำไทย แต่เป็นขวาชุดใหม่อีกชุดหนึ่งที่ในวงวิชาการเรียกว่า ประชานิยมปีกขวา ขณะที่ผู้นำไทยเป็นได้อย่างเดียวคือ เสนานิยม
“นั้นหมายความว่าปีกขวาไทยเดินเกินกว่านี้ไม่ได้ และการเดินเกินกว่านี้ไม่ได้สะท้อนอย่างหนึ่ง หลังจากรัฐประหารปี 2534 มีครั้งไหนบ้างที่พรรคฝ่ายขวาชนะการเลือกตั้งในการเมืองไทย หรือโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังรัฐธรรมนูญปี 2540 พรรคปีกขวาไม่เคยชนะเลย เมื่อพรรคปีกขวาไม่เคยชนะเลยคำตอบมีอยู่อย่างเดียวคือ กลับมาสู่สูตรเดิม ล้มการเมืองที่พวกเขาไม่ต้องการด้วยการใช้กำลังทางทหาร คำว่าอำนาจรัฐเกิดจากปากกระบอกปืนของประธานเหมา กลับใช้ได้ดีในการเมืองไทย เพราะอำนาจเกิดจากกระบอกปืนของกองทัพไทย” สุรชาติ กล่าว
เขา กล่าวต่อไปว่า ท่ามกลางความพ่ายแพ้ทั้งหมดของฝ่ายขวาไทย กลับมีการสร้างสถาปัตยกรรมทางการเมืองชุดใหม่ สถาปนิกชุดนี้พยายามออกแบบโดยมีโจทย์คือ ทำอย่างไรก็ได้ โดยไม่แคร์อะไรทั้งสิ้น และไม่ต้องมีมาตรฐานอะไรอีกแล้ว เพื่อทำให้การเมืองยังอยู่ในอำนาจของฝ่ายขวา
“วันนี้คำว่าการสืบทอดอำนาจน้อยไป มันเกินไปกว่าการสืบทอดอำนาจแล้ว และสิ่งที่เรากำลังจะเห็นคือการต่อสู้ที่เข้มข้นมากขึ้น... อนาคตอยู่ในเงื่อนไขของตัวแบบ 3 อย่าง สมมติว่าฝ่าย คสช. รวบรวมเสียงได้บวก 250 มันจะเกิดอาการเดียวกับพรรคสหประชาไทย คือการจัดตั้งรัฐบาลผสมในปี 2512 คำตอบคือรัฐบาลผสมอายุไม่ยืน แต่ถ้ารวบรวมเสียงไม่ได้ต้องอาศัยเสียง ส.ว. ตั้งรัฐบาลก็จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยแบบคึกฤทธิ์ในปี 2518 แต่มีเงื่อนไขเดียวคือ พล.อ.ประยูทธ์ ต้องเก่งแบบคึกฤทธิ์ หรือเงื่อนไขที่ 3 ซึ่งทุกวันนี้พูดถึงน้อยมากในบ้านเรา ชัยชนะของพรรคฝ่ายค้านในเมียนมา ชัยชนะของพรรคฝ่ายค้านในมาเลเซียเป็นไปได้ไหมถ้าไม่ออกด้วยตัวแบบของไทยแบบเก่า ถ้าปีกไม่เอา คสช. ชนะ เราจะเห็นการย้อนชัยชนะของพรรคฝ่ายค้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” สุรชาติ กล่าว
เขา กล่าวต่อว่า ในสถานการ์ที่เป็นอยู่ทั้งหมดนี้มีโจทย์อยู่ชุดหนึ่ง ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาล สิ่งที่จะตามมาคือ การเรียกร้องให้มีการปฏิรูปกองทัพ และกองทัพจะอยู่ภายใต้เสียงเรียกร้องและแรงกดดันที่มากขึ้น แปลว่าหลังจากนั้น การปฏิรูปกองทัพจะเป็นโจทย์สำคัญ และมีนัยกับการเมืองไทยในอนาคต แต่หากปล่อยให้สถานการณ์อยู่ในสภาพนี้ไปเรื่อยๆ และกองทัพยังมีบทบาทต่อไป การเมืองไทยก็จะมีโอกาสย้อนรอยกลับไปสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ แต่ถ้า คสช. อยู่ในอำนาจเราจะอยู่ในยุคเผด็จการครึ่งใบแทน
“การเมืองไทยกำลังถูกออกแบบให้เป็นกึ่งเผด็จการ และ คสช. สร้างแอก 5 แอกกับการเมืองไทย ผมเรียกร้องว่าหากท่านเชื่อว่าประชาธิปไตยเป็นอนาคตของการเมืองไทย ถ้าท่านเชื่อว่าชีวิตพวกเราในอนาคตอยู่กับเสรีนิยมดีกว่าอยู่กับอำนาจนิยม เราอาจต้องปลดแอก 5 ชุด” สุรชาติ กล่าว
เขา เสนอต่อไปว่า การปลดแอกประกอบด้วย แอกที่ 1 คือการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แอกที่ 2 คือ การรื้อกฎหมายลูกใหม่ทั้งหมด แอกที่ 3 คือการยกเลิกยุทธศาสตร์ แอกที่ 4 คือ การลกอำนาจหน้าที่ของ กอ.รมน. และแอกที่ 5 คือ การปฏิรูปกองทัพให้กลับไปเป็นทหารอาชีพ ไม่ใช่ทหารการเมือง
“ประเทศไทยในอนาคตไม่ได้ต้องการกองทัพการเมือง หรือทหารการเมือง ผมคิดว่า เราไม่ต้องการนักการเมืองในเครื่องแบบอีกต่อไป แต่ถ้าผู้นำทหารอยากลงเล่นการเมืองผมว่านั่นไม่ใช่ข้อห้าม แต่ต้องมีกติกาไม่ใช่เล่นการเมืองในรูปแบบที่เราเห็น วันนี้สิ่งที่เห็นชัดหากย้อนกลับไปดูประวัติศาสตร์การเมืองไทย มียุคไหนบ้างที่พรรคทหารประสบความสำเร็จ ตั้งแต่เสรีมนังคศิลา สหประชาไทย และยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นการหลอมรวมจิตวิญญาณครั้งใหญ่ แต่ผมยืนยันกับท่านว่า คงจะประสบความล้มเหลวครั้งใหญ่เช่นกัน... อนาคตนี้ถูกควบคุมมาหลายปี... แต่กองทัพ และรัฐบาลทหารคุมไม่ได้อย่างเดียว คือคุมมือเราในวันที่เดินเข้าคูหาเลือกตั้งไม่ได้” สุรชาติ กล่าว
ข่าว
การเมือง
มติชนเสวนา
ปฏิรูปกองทัพ
สุรชาติ บำรุงสุข
เลือกตั้ง 62
เลือกตั้ง
คสช.
อนุรักษนิยม
เสรีนิยม
แสดงความคิดเห็น