ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ที่มาภาพจากเฟสบุ๊คไลฟ์มติชน
Posted: 30 Jan 2019 08:56 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Wed, 2019-01-30 23:56
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล จำแนกความเป็นไปได้ในการจัดมือร่วมตั้งรัฐบาลหลังเลือกตั้ง ชี้เพื่อไทย-พลังประชารัฐ และเพื่อไทย-ประชาธิปัตย์ ไม่มีความเป็นไปได้ ขณะที่พลังประชารัฐ-ประชาธิปไตย ดูมีความเป็นไปได้กว่า แต่ถ้าพลังประชารัฐไม่ใช่พรรคอันดับ 1 ประชาธิปัตย์ก็ยากที่จะร่วมงาน แนะ คสช. ควรถอย ได้ ส.ว. 250 เลือกนายกฯ ได้ ก็ควรพอได้แล้ว
30 ม.ค. 2562 ที่โรงแรม พูลแมน คิงพาวเวอร์ สำนักข่าวมติชนได้จัดเวทีเสนวาหัวข้อ “เลือกตั้ง 62 จุดเปลี่ยนประเทศไทย” โดยมีวิยากรประกอบด้วย ศาสตราจารย์สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการธนาคารเกียรตินาคิน รองศาสตรารย์โคทม อารียา ที่ปรึกษาสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล รองอธิการบดีฝ่ายความยั่งยืนและบริหารศูนย์รังสิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และอิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์ ผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ Blognone
ทั้งนี้เวทีแบ่งออกเป็นสองส่วน ในช่วงแรกได้เปิดเวทีให้วิทยากรทั้งหมดได้อภิปรายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเชียวชาญ จากนั้นเป็นเวทีเสวนารวม สำหรับผู้ช่วยศาสตราจารย์ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ได้อภิปรายถึงวการจับขั้วของพรรคการเมือง ซึ่งกำลังจะเปลี่ยนแปลงไปจากการเมืองในยุค 2 พรรคใหญ่ ไปสู่การเมืองแบบ 3 ก๊ก พร้อมชี้ให้เห็นความเป็นไปในทุกมิติสำหรับการจัดตั้งรัฐบาลหลังการเลือกตั้ง โดยมีรายละเอียดดังนี้
จุดเปลี่ยนประเทศไทย(1): มุมมองคนรุ่นใหม่ต่อการเมือง และใช้โซเชียลมีเดีย
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล : การเมืองยุคสามก๊ก และความเป็นไปได้ในร่วมมือจัดตั้งรัฐบาล
ปริญญา เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า สิ่งที่ชัดเจนแล้วในขณะนี้คือวันเลือกตั้ง ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นวันที่ 24 มี.ค. 2562 คำถามคือทำไมจึงต้องมีการเลื่อนออกไปอีก 1 เดือน เหตุผลอาจจะเกี่ยวข้องกับการประกาศผลการเลือกตั้งต้องประกาศให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน หากมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 ก.พ. 2562 การประกาศผลการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นก่อนวันงานพระราชพิธี ฉะนั้นสาเหตุที่เลื่อนการเลือกตั้งออกไปก็เพราะต้องการให้การประกาศผลการเลือกตั้งเกิดขึ้นหลังงานพิธีบรมราชาภิเษก
เขา กล่าวต่อว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นคู่ขนานกับการเลือกตั้ง ส.ส. คือการคัดเลือก ส.ว. และประเด็นสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้คือ ส.ว. จะสามารถโหวตเลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ด้วย ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ผู้ที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. อีกต่อไป แต่มีเงื่อนไขว่า พรรคการเมืองจะต้องยื่นบัญชีแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีให้กับ กกต. และเปิดเผยให้ประชาชนรับทราบก่อน โดยแต่ละพรรคการเมืองเสนอได้ไม่เกิน 3 ชื่อ และมีเงื่อนไขว่าพรรคการเมืองจะต้องได้ ส.ส. อย่างน้อยร้อยละ 5 จึงจะสามารถนำบัญชีแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีมาใช้ได้
ปริญญา ย้ำว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่หลังการรัฐประหารมีการเขียนรัฐธรรมนูญเปิดทางให้ ส.ว. สามารถโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ก่อนหน้านี้มีความพยายามในลักษณะนี้หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ครั้งสุดท้ายคือในปี 2534 แต่ถูกประท้วงจนต้องยอมถอดอำนาจ ส.ว. ในประเด็นนี้ออกไป แต่ครั้งนี้สามารถทำได้สำเร็จ ซึ่งหมายความว่า ส.ว. ซึ่งมีทั้ง 250 คนตามบทเฉพาะกาล บวกกับ ส.ส. ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 500 คน รวมกันเป็น 750 กึ่งหนึ่งของรัฐสภาคือ 375 คน มากว่ากึ่งหนึ่งคือ 376 คน 126 เสียงจาก ส.ส. จึงเป็นตัวเลขที่จะทำให้พลเอกประยุทธ์กลับมาเป็นนายกได้
เขา กล่าวต่อว่า หากในรอบแรกไม่สามารถโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้จากบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีที่พรรคเสนอ จะมีการเปิดให้เสนอชื่อคนนอก แต่การจะโหวตให้คนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องใช้เสียงมากถึง 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกรัฐสภาคือ 500 เสียง ฉะนั้นการเป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีรายชื่อจะง่ายกว่า และการเป็นนายกฯคนนอกนั้น เป็นสิ่งที่คนไทยไม่ยอมรับ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า ถ้าจะต้องเป็นนายกรัฐมนตรีอีก จะเป็นนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อเท่านั้น
คำถามต่อมา หาก พล.อ.ประยุทธ์ เข้าไปอยู่ในบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมือง จะได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่ ปริญญา ชี้ให้เห็นว่า เงื่อนไขที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป สิ่งแรกคือต้องการเสียง ส.ส. สนับสนุน เพียง 126 เสียงเท่านั้น แม้ต่อให้พรรคพลังประชารัฐจะได้ ส.ส. ไม่ถึง 126 เสียง ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะชวนพรรคการเมืองอื่นๆ มาสนับสนุน นั่นแปลว่าได้เป็นนายกรัฐมนตรีแน่นอน แต่การมี ส.ส. เพียง 126 เสียง จะอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรที่มีทั้งหมด 500 เสียงยาก
เขา กล่าวต่อไปว่า การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติต่างๆ จะต้องเสนอจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน นั่นหมายความว่ารัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภาจะเสนอกฎหมายไม่ผ่าน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี อาจจะไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และมีโอกาสถูกลงมติไม่ไว้วางใจในเวลาอันรวดเร็ว และอำนาจในการลงมติไม่ไว้วางใจ เป็นอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ฉะนั้น 126 เสียงสามารถทำให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้ แต่ถ้าจะอยู่ได้จำเป็นต้องมีเสียง ส.ส. ไม่น้อยกว่า 250 เสียง คำถามคือตัวเลขนี้ พรรคพลังประชารัฐจะสามารถทำได้หรือไม่
“ข้อมูลการเลือกตั้งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา สองพรรคใหญ่จะมี ส.ส. รวมกันเกินครึ่งเสมอ ในครั้งนี้แม้ว่าระบบการเลือกตั้งจะได้ทอนขนาดของพรรคใหญ่สองพรรคไป แต่จากการคาดการณ์คะแนนเสียงเก่า และจากโพลต่างๆ ยังเชื่อว่า สองพรรคนี้รวมกันยังถึง 250 เสียง ความหมายคือ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ต้องการตั้งรัฐบาลที่มี ส.ส. 250 คนขึ้นไป ก็ต้องการพรรคหนึ่งพรรคใดในสองพรรคนี้มาร่วมรัฐบาล เพราะต่อให้มีพรรคอื่นที่ดึงมาได้ก็ไม่ถึง 250 เสียง” ปริญญา กล่าว
เขา ตั้งคำถามต่อไปว่า ด้วยเงื่อนไขดังกล่าว พรรคการเมืองใดที่จะมาร่วมรัฐบาลกับ พล.อ.ประยุทธ์ โดยวิเคราะห์ว่า หากพล.อ.ประยุทธ์ ลงสนามการเมืองจริง การเมืองไทยจะเข้าสู่การเมืองแบบสามก๊ก จากเดิมที่มีเพียงพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปไตย เป็นคู่ขัดแย้งสองข้าง แต่จากนี้จะมีอีกก๊กหนึ่งเพิ่มเข้าไป รวมทั้งหมดเป็น 3 ก๊ก คือ 1.ก๊กของ ส.ว. และพรรคที่เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ (พลังประชารัฐ) 2.ก๊กเพื่อไทย และเครือข่าย 3.ก๊กประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคการเมืองที่เหลือเป็นพรรคที่พร้อมร่วมรัฐบาลกับทุกก๊ก สำหรับก๊กที่ 1 ถ้ามี 376 เสียงโดยมี ส.ว. 250 และมี ส.ว. 126 เสียง ก็ไม่สามารถทำงานได้เพราะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย ส่วนก๊กที่ 2 ก็อาจจะไม่สามารถรวมเสียง ส.ส. ได้ถึง 376 เสียง ขณะเดียวกันก๊กที่ 3 ก็ไม่สามารถรวมเสียง ส.ส. ได้ถึง 376 เสียง ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีการรวมกันของสองก๊ก
เขาตั้งคำถาม พร้อมวิเคราะห์ต่อไปว่า ก๊กใดที่จะร่วมมือกัน โดยชี้ให้ว่ามี 3 ทางเลือก 1.ก๊ก ส.ว. และพลังประชารัฐ รวมกับ ก๊กเพื่อไทย และเครือข่าย ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยที่สุด 2.ก๊ก ส.ว. และพลังประชารัฐ รวมกับก๊กประชาธิปัตย์ ยกมือให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ค่อนข้างมีความเป็นไปได้สูง และ 3. ก๊กเพื่อไทย จับมือกับก๊กประชาธิปัตย์ ทางนี้ก็ยังคงเป็นไปได้ยาก
ปริญญากล่าวต่อไปว่า ทางที่จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ยอมยกมือให้พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพรรคพลังประชารัฐได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 1 แต่หากอันดับ 1 คือ พรรคเพื่อไทย ประชาธิปัตย์จะยกมือให้ พล.อ.ประยุทธ์ ก็เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายกับประชาชน ฉะนั้นทางที่พล.อ.ประยุทธ์จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างชอบธรรมคือ พรรคพลังประชารัฐต้องเป็นพรรคอันดับที่ 1
ปริญญากล่าวต่อไปถึงโพลสำรวจความคิดเห็นประชาชนว่าต้องการให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งมีผลออกมาว่า ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นอันดับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 26 จากทั้งหมด แต่ในอีกทางหนึ่งผลโพลนี้กำลังบอกว่ามีอีกร้อยละ 74 ที่ต้องการคนอื่นเป็นนายกรัฐมนตรี และเมื่อดูจากฐานสมาชิกพรรคแล้วพบว่า เวลานี้พรรคพลังประชารัฐยังมีสมาชิกพรรคเพียงแค่ 4 พันกว่าคนเท่านั้น แม้ข้อมูลนี้จะไม่ได้เป็นตัวชี้ขาด แต่ก็เป็นข้อมูลประกอบที่ชี้ให้เห็นว่า โอกาสที่พรรคพลังประชารัฐจะเป็นพรรคการเมืองอันดับ 1 ไม่ใช่เรื่องง่าย
ปริญญากล่าวต่อไปถึง สถานะของพล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งถูกวางไว้ตัวไว้เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรี ตอนนี้ก็ยังคงเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มไม่ได้เป็นรัฐบาลรักษาการณ์ และยังเป็นหัวหน้า คสช. ที่มีอำนาจตามมาตรา 44 อยู่ในมือ ซึ่งอาจจะมีผลต่อความนิยมทางการเมือง และคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นั่นแปลว่า คสช. กลายเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการเลือกตั้ง และสิ่งที่เกิดขึ้นจะอันตรายมาก หากมีความพยายามที่จะทำให้พรรคพลังประชารัฐได้รับเสียงเป็นอันดับที่ 1 ให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ก็จะเกิดคำถามตามมา
ปริญญากล่าวต่อไปว่า หลังการเลือกตั้งประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถวิเคราะห์ได้ขาด เพราะปัจจัยสำคัญยังไม่ชัดเจน คือ พล.อ.ประยุทธ์ จะลงเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีหรือไม่ หากตัดสินใจลงเล่นการเมือง สภาวะการเมืองไทยก็จะเข้าสู่ยุคสามก๊กดังที่กล่าวมาทั้งหมด
“แต่ถ้าไม่ลง คสช. ก็อยู่ในสถานะคนกลาง แล้วเสียง ส.ว. 250 คือเสียงที่จะกำหนดว่า ระหว่าง 2 ก๊กเดิม ใครจะเป็นรัฐบาล ผมเรียนว่าระยะเปลี่ยนผ่าน 5 ปี อำนาจเพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ในช่วง 5 ปี มี ส.ว. ที่ตัวเองเลือกขึ้นมา แล้วก็เลือกได้ว่าข้างไหนจะเป็นรัฐบาล สามารถคุมให้รัฐบาลทำตามแผนยุทธศาสตร์ชาติได้ด้วยกลไกอำนาจของ ส.ว. ตาม พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ น่าจะเพียงพอแล้วนะครับ แต่ถ้าเกิดลงแล้วได้เป็นแน่ก็เรื่องหนึ่ง แต่นี่]'แล้วโอกาสได้เป็นก็ลำบาก แล้วก็จะก่อให้เกิดผลเสียตามมามากมาย” ปริญญา กล่าว
ข่าว
การเมือง
มติชนเสวนา
การจัดตั้งรัฐบาล
รัฐธรรมนูญ 2560
อำนาจ ส.ว.
เลือกตั้ง 62
คสช.
เลือกตั้ง
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
ปริญญา เริ่มต้นด้วยการกล่าวว่า สิ่งที่ชัดเจนแล้วในขณะนี้คือวันเลือกตั้ง ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นวันที่ 24 มี.ค. 2562 คำถามคือทำไมจึงต้องมีการเลื่อนออกไปอีก 1 เดือน เหตุผลอาจจะเกี่ยวข้องกับการประกาศผลการเลือกตั้งต้องประกาศให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน หากมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 ก.พ. 2562 การประกาศผลการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นก่อนวันงานพระราชพิธี ฉะนั้นสาเหตุที่เลื่อนการเลือกตั้งออกไปก็เพราะต้องการให้การประกาศผลการเลือกตั้งเกิดขึ้นหลังงานพิธีบรมราชาภิเษก
เขา กล่าวต่อว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นคู่ขนานกับการเลือกตั้ง ส.ส. คือการคัดเลือก ส.ว. และประเด็นสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้คือ ส.ว. จะสามารถโหวตเลือกผู้ที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีได้ด้วย ทั้งนี้ตามรัฐธรรมนูญฉบับ 2560 ผู้ที่จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีไม่จำเป็นต้องเป็น ส.ส. อีกต่อไป แต่มีเงื่อนไขว่า พรรคการเมืองจะต้องยื่นบัญชีแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีให้กับ กกต. และเปิดเผยให้ประชาชนรับทราบก่อน โดยแต่ละพรรคการเมืองเสนอได้ไม่เกิน 3 ชื่อ และมีเงื่อนไขว่าพรรคการเมืองจะต้องได้ ส.ส. อย่างน้อยร้อยละ 5 จึงจะสามารถนำบัญชีแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีมาใช้ได้
ปริญญา ย้ำว่า ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่หลังการรัฐประหารมีการเขียนรัฐธรรมนูญเปิดทางให้ ส.ว. สามารถโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้ ก่อนหน้านี้มีความพยายามในลักษณะนี้หลายครั้งแต่ไม่สำเร็จ ครั้งสุดท้ายคือในปี 2534 แต่ถูกประท้วงจนต้องยอมถอดอำนาจ ส.ว. ในประเด็นนี้ออกไป แต่ครั้งนี้สามารถทำได้สำเร็จ ซึ่งหมายความว่า ส.ว. ซึ่งมีทั้ง 250 คนตามบทเฉพาะกาล บวกกับ ส.ส. ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 500 คน รวมกันเป็น 750 กึ่งหนึ่งของรัฐสภาคือ 375 คน มากว่ากึ่งหนึ่งคือ 376 คน 126 เสียงจาก ส.ส. จึงเป็นตัวเลขที่จะทำให้พลเอกประยุทธ์กลับมาเป็นนายกได้
เขา กล่าวต่อว่า หากในรอบแรกไม่สามารถโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีได้จากบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีที่พรรคเสนอ จะมีการเปิดให้เสนอชื่อคนนอก แต่การจะโหวตให้คนนอกเข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรีจะต้องใช้เสียงมากถึง 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกรัฐสภาคือ 500 เสียง ฉะนั้นการเป็นนายกรัฐมนตรีในบัญชีรายชื่อจะง่ายกว่า และการเป็นนายกฯคนนอกนั้น เป็นสิ่งที่คนไทยไม่ยอมรับ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ พล.อ.ประยุทธ์ บอกว่า ถ้าจะต้องเป็นนายกรัฐมนตรีอีก จะเป็นนายกรัฐมนตรีจากบัญชีรายชื่อเท่านั้น
คำถามต่อมา หาก พล.อ.ประยุทธ์ เข้าไปอยู่ในบัญชีรายชื่อนายกรัฐมนตรีของพรรคการเมือง จะได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรีต่อไปหรือไม่ ปริญญา ชี้ให้เห็นว่า เงื่อนไขที่ พล.อ.ประยุทธ์ จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีต่อไป สิ่งแรกคือต้องการเสียง ส.ส. สนับสนุน เพียง 126 เสียงเท่านั้น แม้ต่อให้พรรคพลังประชารัฐจะได้ ส.ส. ไม่ถึง 126 เสียง ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะชวนพรรคการเมืองอื่นๆ มาสนับสนุน นั่นแปลว่าได้เป็นนายกรัฐมนตรีแน่นอน แต่การมี ส.ส. เพียง 126 เสียง จะอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรที่มีทั้งหมด 500 เสียงยาก
เขา กล่าวต่อไปว่า การพิจารณาร่างพระราชบัญญัติต่างๆ จะต้องเสนอจากสภาผู้แทนราษฎรก่อน นั่นหมายความว่ารัฐบาลเสียงข้างน้อยในสภาจะเสนอกฎหมายไม่ผ่าน ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี อาจจะไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร และมีโอกาสถูกลงมติไม่ไว้วางใจในเวลาอันรวดเร็ว และอำนาจในการลงมติไม่ไว้วางใจ เป็นอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรเท่านั้น ฉะนั้น 126 เสียงสามารถทำให้เป็นนายกรัฐมนตรีได้ แต่ถ้าจะอยู่ได้จำเป็นต้องมีเสียง ส.ส. ไม่น้อยกว่า 250 เสียง คำถามคือตัวเลขนี้ พรรคพลังประชารัฐจะสามารถทำได้หรือไม่
“ข้อมูลการเลือกตั้งในรอบ 20 ปีที่ผ่านมา สองพรรคใหญ่จะมี ส.ส. รวมกันเกินครึ่งเสมอ ในครั้งนี้แม้ว่าระบบการเลือกตั้งจะได้ทอนขนาดของพรรคใหญ่สองพรรคไป แต่จากการคาดการณ์คะแนนเสียงเก่า และจากโพลต่างๆ ยังเชื่อว่า สองพรรคนี้รวมกันยังถึง 250 เสียง ความหมายคือ ถ้าพล.อ.ประยุทธ์ต้องการตั้งรัฐบาลที่มี ส.ส. 250 คนขึ้นไป ก็ต้องการพรรคหนึ่งพรรคใดในสองพรรคนี้มาร่วมรัฐบาล เพราะต่อให้มีพรรคอื่นที่ดึงมาได้ก็ไม่ถึง 250 เสียง” ปริญญา กล่าว
เขา ตั้งคำถามต่อไปว่า ด้วยเงื่อนไขดังกล่าว พรรคการเมืองใดที่จะมาร่วมรัฐบาลกับ พล.อ.ประยุทธ์ โดยวิเคราะห์ว่า หากพล.อ.ประยุทธ์ ลงสนามการเมืองจริง การเมืองไทยจะเข้าสู่การเมืองแบบสามก๊ก จากเดิมที่มีเพียงพรรคเพื่อไทย และพรรคประชาธิปไตย เป็นคู่ขัดแย้งสองข้าง แต่จากนี้จะมีอีกก๊กหนึ่งเพิ่มเข้าไป รวมทั้งหมดเป็น 3 ก๊ก คือ 1.ก๊กของ ส.ว. และพรรคที่เสนอชื่อ พล.อ.ประยุทธ์ (พลังประชารัฐ) 2.ก๊กเพื่อไทย และเครือข่าย 3.ก๊กประชาธิปัตย์ ส่วนพรรคการเมืองที่เหลือเป็นพรรคที่พร้อมร่วมรัฐบาลกับทุกก๊ก สำหรับก๊กที่ 1 ถ้ามี 376 เสียงโดยมี ส.ว. 250 และมี ส.ว. 126 เสียง ก็ไม่สามารถทำงานได้เพราะเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย ส่วนก๊กที่ 2 ก็อาจจะไม่สามารถรวมเสียง ส.ส. ได้ถึง 376 เสียง ขณะเดียวกันก๊กที่ 3 ก็ไม่สามารถรวมเสียง ส.ส. ได้ถึง 376 เสียง ซึ่งหมายความว่ารัฐบาลจะเกิดได้ก็ต่อเมื่อมีการรวมกันของสองก๊ก
เขาตั้งคำถาม พร้อมวิเคราะห์ต่อไปว่า ก๊กใดที่จะร่วมมือกัน โดยชี้ให้ว่ามี 3 ทางเลือก 1.ก๊ก ส.ว. และพลังประชารัฐ รวมกับ ก๊กเพื่อไทย และเครือข่าย ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยที่สุด 2.ก๊ก ส.ว. และพลังประชารัฐ รวมกับก๊กประชาธิปัตย์ ยกมือให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ค่อนข้างมีความเป็นไปได้สูง และ 3. ก๊กเพื่อไทย จับมือกับก๊กประชาธิปัตย์ ทางนี้ก็ยังคงเป็นไปได้ยาก
ปริญญากล่าวต่อไปว่า ทางที่จะทำให้พรรคประชาธิปัตย์ ยอมยกมือให้พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อพรรคพลังประชารัฐได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้งเป็นอันดับที่ 1 แต่หากอันดับ 1 คือ พรรคเพื่อไทย ประชาธิปัตย์จะยกมือให้ พล.อ.ประยุทธ์ ก็เป็นเรื่องยากที่จะอธิบายกับประชาชน ฉะนั้นทางที่พล.อ.ประยุทธ์จะได้เป็นนายกรัฐมนตรีอย่างชอบธรรมคือ พรรคพลังประชารัฐต้องเป็นพรรคอันดับที่ 1
ปริญญากล่าวต่อไปถึงโพลสำรวจความคิดเห็นประชาชนว่าต้องการให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีซึ่งมีผลออกมาว่า ต้องการให้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีเป็นอันดับที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 26 จากทั้งหมด แต่ในอีกทางหนึ่งผลโพลนี้กำลังบอกว่ามีอีกร้อยละ 74 ที่ต้องการคนอื่นเป็นนายกรัฐมนตรี และเมื่อดูจากฐานสมาชิกพรรคแล้วพบว่า เวลานี้พรรคพลังประชารัฐยังมีสมาชิกพรรคเพียงแค่ 4 พันกว่าคนเท่านั้น แม้ข้อมูลนี้จะไม่ได้เป็นตัวชี้ขาด แต่ก็เป็นข้อมูลประกอบที่ชี้ให้เห็นว่า โอกาสที่พรรคพลังประชารัฐจะเป็นพรรคการเมืองอันดับ 1 ไม่ใช่เรื่องง่าย
ปริญญากล่าวต่อไปถึง สถานะของพล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งถูกวางไว้ตัวไว้เป็นว่าที่นายกรัฐมนตรี ตอนนี้ก็ยังคงเป็นนายกรัฐมนตรี เป็นรัฐบาลที่มีอำนาจเต็มไม่ได้เป็นรัฐบาลรักษาการณ์ และยังเป็นหัวหน้า คสช. ที่มีอำนาจตามมาตรา 44 อยู่ในมือ ซึ่งอาจจะมีผลต่อความนิยมทางการเมือง และคะแนนเสียงของพรรคการเมืองที่สนับสนุน พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรี นั่นแปลว่า คสช. กลายเป็นผู้มีส่วนได้เสียกับการเลือกตั้ง และสิ่งที่เกิดขึ้นจะอันตรายมาก หากมีความพยายามที่จะทำให้พรรคพลังประชารัฐได้รับเสียงเป็นอันดับที่ 1 ให้ได้ ไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม ก็จะเกิดคำถามตามมา
ปริญญากล่าวต่อไปว่า หลังการเลือกตั้งประเทศไทยจะเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ เป็นเรื่องที่ยังไม่สามารถวิเคราะห์ได้ขาด เพราะปัจจัยสำคัญยังไม่ชัดเจน คือ พล.อ.ประยุทธ์ จะลงเป็นว่าที่นายกรัฐมนตรีหรือไม่ หากตัดสินใจลงเล่นการเมือง สภาวะการเมืองไทยก็จะเข้าสู่ยุคสามก๊กดังที่กล่าวมาทั้งหมด
“แต่ถ้าไม่ลง คสช. ก็อยู่ในสถานะคนกลาง แล้วเสียง ส.ว. 250 คือเสียงที่จะกำหนดว่า ระหว่าง 2 ก๊กเดิม ใครจะเป็นรัฐบาล ผมเรียนว่าระยะเปลี่ยนผ่าน 5 ปี อำนาจเพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว ในช่วง 5 ปี มี ส.ว. ที่ตัวเองเลือกขึ้นมา แล้วก็เลือกได้ว่าข้างไหนจะเป็นรัฐบาล สามารถคุมให้รัฐบาลทำตามแผนยุทธศาสตร์ชาติได้ด้วยกลไกอำนาจของ ส.ว. ตาม พ.ร.บ.ยุทธศาสตร์ น่าจะเพียงพอแล้วนะครับ แต่ถ้าเกิดลงแล้วได้เป็นแน่ก็เรื่องหนึ่ง แต่นี่]'แล้วโอกาสได้เป็นก็ลำบาก แล้วก็จะก่อให้เกิดผลเสียตามมามากมาย” ปริญญา กล่าว
ข่าว
การเมือง
มติชนเสวนา
การจัดตั้งรัฐบาล
รัฐธรรมนูญ 2560
อำนาจ ส.ว.
เลือกตั้ง 62
คสช.
เลือกตั้ง
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล
แสดงความคิดเห็น