The United States and South Korea conducted a combined missile strike drill in response to North Korea 's ICBM launch. 

ประธานาธิบดี มูน แจ-อิน กล่าวว่า รัฐบาลกรุงโซลกำลังเพิ่มความพยายามที่จะถอนตัวออกจากการบังคับบัญชาของกองทัพสหรัฐฯ ภายใต้ภาวะสงคราม หรือ Wartime Operation Control (OPCON) ซึ่งนักวิเคราะห์เชื่อว่าเป็นการส่งสัญญาณว่าเกาหลีใต้ไม่สนับสนุนแนวทางแข็งกร้าวและคำขู่ของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีต่อเกาหลีเหนือ

ประธานาธิบดี มูน แจ-อิน กล่าวในโอกาสครบรอบ 69 ปี วันกองทัพของเกาหลีใต้ ว่า เกาหลีใต้กำลังพิจารณาถอนตัวออกจากการบังคับบัญชาของกองทัพสหรัฐฯ ภายใต้ภาวะสงคราม หรือ Wartime Operation Control (OPCON) โดยมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มศักยภาพในการป้องกันประเทศ และลดการพึ่งพากองทัพอเมริกัน

ปธน.มูน กล่าวว่า เมื่อเกาหลีใต้สามารถควบคุมกองทัพของตัวเองภายใต้ภาวะสงครามได้ กองทัพเกาหลีใต้จะมีความเชื่อมั่นมากขึ้น และเกาหลีเหนือก็จะเกิดความหวั่นเกรงมากขึ้นด้วย

นักวิเคราะห์เชื่อว่า คำประกาศครั้งนี้ซึ่งมีขึ้นในช่วงเวลาที่เกาหลีใต้และสหรัฐฯ กำลังเผชิญภัยคุกคามจากเกาหลีเหนือ เป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลกรุงโซลไม่สนับสนุนแนวทางแข็งกร้าวของประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ที่มีต่อเกาหลีเหนือ ดังที่ผู้นำสหรัฐฯ ใช้คำว่า “ไฟและความเดือดดาล” รวมทั้งการที่ ปธน.ทรัมป์ ขู่ว่าจะทำลายเกาหลีเหนือให้ราบคาบ

This handout photo taken Sept. 18, 2017 and provided by the South Korean Defense Ministry in Seoul shows U.S. and South Korean fighter jets flying over South Korea during a joint military drill aimed to counter North Korea’s latest nuclear and missile tes

ตั้งแต่เกาหลีใต้ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเมื่อคริสต์ทศวรรษ 1990 รัฐบาลเกาหลีใต้มีอำนาจสั่งการกองทัพของตนเองในภาวะปกติสุขเท่านั้น แต่ภายใต้ภาวะสงคราม กองทัพเกาหลีใต้จะอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐฯ

อย่างไรก็ตาม การถ่ายโอนอำนาจการควบคุมกองทัพดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบจากประธานาธิบดีของเกาหลีใต้เสียก่อน นอกจากนี้ ปธน.เกาหลีใต้ยังมีอำนาจวีโต้การควบคุมของผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐฯ

ที่ผ่านมา ปธน. มูน และรัฐบาลเกาหลีใต้ซึ่งมีแนวคิดเสรีนิยม แสดงท่าทีอย่างชัดเจนว่าไม่ยอบรับการควบคุมของกองทัพสหรัฐฯ ภายใต้ภาวะสงคราม โดยระบุว่าเป็นสิทธิในการปกป้องอธิปไตยของเกาหลีใต้ ซึ่งสอดคล้องกับกระแสต่อต้านอเมริกาที่กำลังขยายตัวมากขึ้น

แต่ทางผู้สนับสนุนแนวคิดอนุรักษ์นิยมต่างต่อต้านแนวคิดที่ให้เกาหลีใต้ควบคุมกองทัพตัวเอง โดยเชื่อว่าอาจทำให้สหรัฐฯ มีบทบาทน้อยลงในการปกป้องเกาหลีใต้ในช่วงเวลาที่เกิดสงครามจริงๆ

South Korea US Military Drill

คุณฮอง ยุน-เปียว หัวหน้าพรรคแนวทางอนุรักษ์นิยม Liberty Korea กล่าวว่า การดึงอำนาจนั้นกลับสู่มือของเกาหลีใต้จะถือเป็นการทำลายความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ อย่างสิ้นเชิง และอาจเป็นการส่งสัญญาณให้ศัตรูของสหรัฐฯ รับรู้ถึงความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ กับพันธมิตรสำคัญอย่างเกาหลีใต้ด้วย

เมื่อปี ค.ศ. 2014 กรุงโซลและกรุงวอชิงตันเคยตกลงเลื่อนการถ่ายโอนอำนาจการควบคุมกองทัพเกาหลีใต้ในภาวะสงครามไปเป็นปี ค.ศ. 2020 โดยระบุว่าให้ขึ้นอยู่กับศักยภาพของกองทัพเกาหลีใต้ว่าจะสามารถบัญชาการรบด้วยตัวเองได้หรือไม่ มากน้อยแค่ไหน ซึ่งนักวิเคราะห์เชื่อว่าจะเกิดผลดีต่อกองทัพเกาหลีใต้เอง ในการยกระดับศักยภาพของกองทัพ

ซึ่งในเรื่องนี้ ปธน.มูน แจ-อิน ให้สัญญาว่าจะปฏิรูปกองทัพ และเพิ่มงบประมาณทางการทหาร เพื่อให้เกาหลีใต้สามารถพัฒนาระบบป้องกันขีปนาวุธของตนเอง รวมทั้งเพิ่มความสามารถของอาวุธยุทโธปกรณ์และบุคลากรทางทหารได้มากขึ้นเช่นกัน

(ผู้สื่อข่าว Brian Padden รายงานจากกรุงโซล / ทรงพจน์ สุภาผล เรียบเรียง)


source ;- http://rferl.c.goolara.net/Click.aspx?id=166096159909512878

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.