Posted: 23 Sep 2017 12:40 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

กลุ่มรักษ์เชียงของเผยมีหนังสือแจ้งคำสั่งศาลปกครอง ในคดีที่กลุ่มรักษ์เชียงของฟ้องกรมทรัพยากรน้ำ และคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย กรณีโครงการเขื่อนปากแบงบนแม่น้ำโขง โดยศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ซึ่งทางกลุ่มรักษ์เชียงของจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุดต่อไป (แฟ้มภาพ)

23 ก.ย. 2560 นายนิวัฒน์ ร้อยแก้ว ประธานกลุ่มรักษ์เชียงของ เปิดเผยว่าได้รับแจ้งจากทนายความมูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน ว่ามีหนังสือแจ้งคำสั่งศาลปกครอง ในคดีที่กลุ่มรักษ์เชียงของฟ้องกรมทรัพยากรน้ำ และคณะกรรมการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย ในกรณีโครงการเขื่อนปากแบงบนแม่น้ำโขง โดยศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้อง ซึ่งทางกลุ่มรักษ์เชียงของจะยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุดเร็ว ๆ นี้

นายนิวัฒน์กล่าวว่าเมื่อได้อ่านคำสั่งแล้วตนเห็นว่าเรื่องบางอย่างที่ยังไปไม่ถึงปัญหา อย่างกรณีก่อนหน้านี้คือคดีเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งก็เป็นโครงการเขื่อนที่ตั้งอยู่บนแม่น้ำโขงและเป็นที่ชัดเจนว่ากระบวนการเปิดเผยข้อมูลในขั้นตอนการแจ้งและหารือล่วงหน้า (PNPCA) ตามข้อตกลงแม่น้ำโขง พศ.2538 นั้นไม่ครบถ้วน แต่จะมองว่าเป็นเขื่อนของประเทศเพื่อนบ้าน ตั้งนอกดินแดนของเรา คงมองแบนั้นไม่ได้ หากมองว่าทำอะไรไม่ได้คงจะทำให้การปกป้องแม่น้ำนานาชาติสายนี้เกิดขึ้นได้ยาก ซึ่งตนมองว่าการยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด ก็หวังว่าจะมีแนวทางเหมือนกับคดีเขื่อนไซยะบุรี ซึ่งศาลปกครองสูงสุดรับฟ้องในที่สุดแม้จะใช้เวลาถึงสองปี และขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา สำหรับโครงการเขื่อนปากแบง ผลกระทบข้ามพรมแดนก็ไม่แตกต่างกัน และจะยิ่งรุนแรงกว่าเพราะอยู่ห่างจากชายแดนไทย ที่ จ.เชียงรายเพียง 92 กิโลเมตร และโครงการนี้เกี่ยวเนื่องกับไทย ทั้งผู้รับซื้อไฟฟ้าที่เป็นหน่วยงานรัฐ และบริษัทเอกชนที่จะร่วมทุน ในการทำคำอุทธรณ์นี้เราจะดูประเด็นและชี้ให้ศาลเห็นชัดเจน ว่าเป็นเขื่อนบนแม่น้ำโขงที่จะสร้างผลกระทบต่อประชาชนไทยอย่างรุนแรงและกว้างขวางจริงๆ

นางสาว ส.รัตนมณี พลกล้า ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ฟ้องคดี กล่าวว่าคดีนี้ฟ้องกรมทรัพยากรน้ำ ในฐานะคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงแห่งชาติไทย และกรมทรัพยากน้ำ ในฐานะหน่วยงานรัฐที่ดูแลกระบวนการตามข้อตกลงแม่น้ำโขง พศ. 2538 ที่โครงการเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธานต้องทำกระบวนการแจ้งและปรึกษาหารือล่วงหน้า (PNPCA) ในประเทศไทย สิ่งที่ฟ้องในคดีนี้คือ หน่วยงานรัฐไทยไม่ได้ทำหน้านี้อย่างถูกต้องในกระบวนการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้ที่จะได้รับผลกระทบ ที่สำคัญคือ หน่วยงานมีอีกหน้าที่ คือ ต้องให้ความเห็นต่อคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กรณีการพัฒนาสร้างเขื่อนบนแม่น้ำโขงสายประธาน ซึ่งเป็นการฟ้องคดี ที่เอาโครงการเขื่อนเป็นสิ่งบ่งบอกว่าหน่วยงานมีหน้าที่ใดแต่ไม่ได้ทำ ซึ่งก่อนหน้านี้ชุมชนที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำโขงได้ยื่นหนังสือสอบถามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว แล้วโดยเฉพาะผลกระทบข้ามพรมแดนที่จะเกิดขึ้นต่อชุมชนในประเทศไทย ดังนั้นจึงไม่เกี่ยวว่าสถานที่ตั้งโครงการเขื่อนอยู่นอกประเทศ เนื่องจากคดีนี้ไม่ได้ฟ้องตัวโครงการเขื่อนปากแบง ซึ่งคดีนี้มีลักษณะคล้ายคดีเขื่อนไซยะบุรี เนื่องจากหน่วยงานรัฐของไทยมีหน้าที่ต้องทำเกี่ยวกับโครงการนี้ ซึ่งตนเชื่อว่าศาลปกครองสูงสุดน่าจะใช้แนวคิดเดียวกัน

นส.ส.รัตนมณี กล่าว่า “เราฟ้องคดีนี้ขอให้หน่วยงานรัฐออกระเบียบ ซึ่งไม่เกี่ยวกับการบริหาร แต่เป็นการออกกฎระเบียบในการทำหน้าที่ของตน เคยมีคดีตัวอย่างก่อนหน้านี้ คือคดี โคบอล์ต ที่มีการฟ้องว่าหน่วยงานรัฐไม่ได้ออกกฎในการเก็บกากกัมมันตภาพรังสีให้ถูกต้องปลอดภัย ซึ่งคดีเขื่อนแม่น้ำโขงนี่ก็เป็นเรื่องเดียวกันที่หน่วยงานไม่ได้ออกระเบียบให้ถูกต้อง เชื่อว่าฟ้องได้ ไม่ใช่เรื่องในทางบริหาร และเชื่อว่าจะการอุทธรณ์จะมีผลออกมาในแนวโน้มไม่แตกต่างกัน”

ในคดีนี้ ศาลปกครองมีประเด็นต้องวินิจฉัยใน 4 ประเด็น โดยในประเด็นที่หนึ่ง ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามที่ดำเนินการรับฟัง ความคิดเห็นเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าพลังนํ้าปากแบง ตามระเบียบปฏิบัติ เรื่อง การแจ้ง การปรึกษาหารือล่วงหน้า และข้อตกลง (Procedure for Notification Prior Consultation and Agreement : PNPCA) ระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2560 ถึงวันที่ 23 มีนาคม 2560 โดยไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ที่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548 กำหนด ทำให้ได้ข้อมูลที่ไม่ครบถ้วนเพียงพอและไม่สามารถตอบคำถามหรือข้อสงสัยในประเด็นเรื่องผลกระทบต่อประชาชนได้ รวมทั้งเป็นการรับฟังความคิดเห็นไม่ทั่วถึงทุกจังหวัดที่อยู่ติดแม่นํ้าโขงที่มีจำนวนทั้งสิ้น 8 จังหวัดหรือไม่ ขอให้ศาลปกครองพิพากษาหรือมีคำสั่งให้เพิกถอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการก่อสร้างเขื่อนพสังงานไฟฟ้าปากแบง และความเห็นต่างๆ ที่ได้ดำเนินการส่งไปกังคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง ข้อหานี้ศาลเห็นว่าเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นการออกกฎ คำสั่งหรือการกระทำอื่นใดซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ศาลพิเคราะห์ว่า การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนมีวัตถุประสงค์ที่จะให้เจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ออกกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือ ตัดสินใจดำเนินโครงการของรัฐได้ทราบข้อเท็จจริงในเรื่องที่จะต้องออกกฎหรือคำสั่งทางปกครองมาใช้บังคับ หรือข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการดำเนินโครงการของรัฐแล้วแต่กรณี อย่างถูกต้องและรอบด้าน ดังนั้น โดยสภาพแล้วการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ไม่ว่าจะได้ดำเนินการมาโดยชอบหรือมิชอบด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ก็ตาม จึงยังไม่ก่อหรืออาจจะก่อความเดือดร้อนหรือเสียหายแก่ผู้หนึ่งผูใดเลย จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลปกครองเพิกถอนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน คงมีแต่เพียงสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนกฎ คำสั่งทางปกครอง หรือ การตัดสินใจดำเนินโครงการของรัฐเท่านั้น ตามนัยมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (เทียบคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ที่ 555/2550)

ประเด็นที่สอง ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ละเลยดำเนินการปฏิบัติหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย รวมทั้งการแจ้งข้อมูลและการเผยแพร่ข้อมูลอย่างเหมาะสม การรับฟังความคิดเห็นอย่างเพียงพอและจริงจัง การแปลเอกสารเป็นภาษาไทยเกี่ยวกับโครงการทั้งหมด และการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และสังคม ทั้งในฝั่งประเทศไทย และประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะได้รับผลกระทบจากอันตรายข้ามพรมแดน ก่อนที่รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน (สปป.) ลาว จะดำเนินการก่อสร้างเขื่อนปากแบง หรือก่อนที่จะมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าอันเป็นล่าช้าเกินสมควรตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 หรือไม่ ศาลพิเคราะห์ว่า โครงการไฟฟ้าพลังนํ้าเขื่อนปากแบงเป็นโครงการของสปป.ลาว ที่จะก่อสร้างเขื่อนปากแบงบนแม่น้ำโขงสายประธาน แขวงอุดมไชย โดยผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสามไม่มีอำนาจและหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการก่อสร้างโครงการเขื่อนปากแบง และไม่มีหน้าที่จัดทำรายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สุขภาพและสังคม และการจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนแต่อย่างใด หน้าที่ดังกล่าวล้วนเป็นอำนาจหน้าที่ของรัฐบาลสปป.ลาว[full-post]

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.