Posted: 29 Jan 2018 12:21 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซต์ประชาไท)
รายงานฉบับใหม่ของ ILO ระบุว่าอัตราว่างงานทั่วโลกในปี 2561 จะอยู่ที่ 5.5% คิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 192.3 ล้านคน
รายงานฉบับใหม่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) World Employment and Social Outlook: Trends 2018 ระบุว่าในขณะที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้น แต่คาดว่ากำลังแรงงานและอัตราการว่างงานทั่วโลกในปี 2561 จะยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่แล้ว (2560)
ในรายงานระบุว่าอัตราว่างงานในปี 2561 จะลดลงเหลือร้อยละ 5.5 หลังจากในปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 5.6 และคาดการว่าในปี 2562 อัตราว่างงานยังจะคงตัวที่ร้อยละ 5.5 ส่วนผู้ว่างงานทั่วโลกในปี 2561 คาดว่าจะอยู่ที่ 192.3 ล้านคน ลดลงจากปี 2560 ที่ 192.7 ล้านคน และคาดว่าในปี 2562 จะเพิ่มขึ้นเป็น 193.6 ล้านคน
"ถึงแม้ว่าการว่างงานทั่วโลกจะคงตัว แต่การขาดสภาพการจ้างงานที่ดีก็ยังคงแพร่หลายในทั่วโลก เศรษฐกิจโลกที่ชะงักงันก็ยังไม่สามารถสร้างตำแหน่งงานได้มากนัก" กาย ไรเดอร์ ผู้อำนวยการของ ILO ระบุ เขายังเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงคุณภาพงานให้แก่ผู้หางาน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้คนจะได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน
การจ้างงานที่ไม่มั่นคงเพิ่มขึ้น
ILO คาดการณ์ว่าภายในปี 2562 คนทำงานในประเทศกำลังพัฒนาทุก ๆ 3 ใน 4 คนจะถูกจ้างงานแบบไม่มั่นคง ที่มาภาพประกอบ: ILO in Asia and the Pacific (CC BY-NC-ND 2.0)
รายงานของ ILO ฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงความจริงที่ว่าความพยายามลดการจ้างงานที่ไม่มั่นคงได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งหมายความว่าคนทำงานเกือบ 1.4 พันล้านคน กำลังถูกจ้างงานในรูปแบบที่ไม่มั่นคง และเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมาคาดว่าจะมีผู้ที่ถูกจ้างงานไม่มั่นคงเพิ่มขึ้นอีก 35 ล้านคน ที่น่าตกใจคือภายในปี 2562 คนทำงานในประเทศกำลังพัฒนาทุก ๆ 3 ใน 4 คนจะถูกจ้างงานแบบไม่มั่นคง
ILO คาดว่าจำนวนคนทำงานที่ดำรงชีพต่ำกว่าเส้นความยากจนอยู่ที่ 176 ล้านคน ในปี 2561 หรือเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.2 ของคนที่ถูกจ้างงานทั้งหมดในโลก
"ในประเทศกำลังพัฒนา ความคืบหน้าในการลดความยากจนดูเหมือนจะดำเนินการช้าเกินไปเมื่อเทียบกับการขยายตัวของกำลังแรงงาน" สเตฟาน คูห์น นักเศรษฐศาสตร์ของ ILO ทีมเขียนรายงานฉบับนี้ระบุ
นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานของผู้หญิงอยู่ในระดับต่ำกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับคุณภาพงานและรายได้จากการทำงานต่ำกว่าผู้ชาย โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงมีโอกาสน้อยกว่าผู้ชายที่จะมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน ทั้งนี้พบว่าช่องว่างระหว่างเพศในการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานทั่วโลกมีสูงกว่าร้อยละ 26 ผู้หญิงไม่ค่อยมีโอกาสได้หางานทำ และช่องว่างเหล่านี้มีความห่างมากขึ้นในภูมิภาคแอฟริกาเหนือและอาหรับซึ่งผู้หญิงมีแนวโน้มการว่างงานสูงกว่าผู้ชายสองเท่า
และแม้จะได้รับการจ้างงาน แต่ผู้หญิงต้องเผชิญกับปัญหาการกีดกันทางเพศและการเข้าถึงการจ้างงานที่มีคุณภาพ ตัวอย่างเช่นในปี 2560 ผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนาร้อยละ 82 ทำงานในลักษณะที่มีการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ซึ่งเทียบผู้ชายที่ทำงานในลักษณะนี้มีเพียงร้อยละ 72 เท่านั้น
ส่วนปัญหาการว่างงานของแรงงานวัยหนุ่มสาว (อายุต่ำกว่า 25 ปี) เป็นอีกหนึ่งความท้าทายระดับโลกที่สำคัญ คนหนุ่มสาวมีโอกาสน้อยที่จะได้รับการว่าจ้างมากกว่าผู้ใหญ่ โดยมีอัตราการว่างงานของคนหนุ่มสาวทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 13 หรือสูงกว่าแรงงานผู้ใหญ่ถึง 4.3 เท่า ปัญหานี้เกิดขึ้นทั่วโลกและรุนแรงเป็นอย่างยิ่งในแอฟริกาเหนือซึ่งเกือบร้อยละ 30 ของคนหนุ่มสาวในตลาดแรงงานไม่มีงานทำ
การเปลี่ยนแปลงของการจ้างงานในอนาคต
ในปี 2573 อายุเฉลี่ยของคนวัยทำงานทั่วโลกจะอยู่ที่ 41 ปี ที่มาภาพประกอบ: ILO in Asia and the Pacific (CC BY-NC-ND 2.0)
เมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของภาคการจ้างงาน ในรายงานฉบับนี้ระบุว่าการจ้างงานภาคบริการจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการเติบโตของการจ้างงานในอนาคต ขณะที่การจ้างงานในภาคการเกษตรและภาคการผลิตจะยังคงลดลง
ในรายงานยังได้ระบุถึงอิทธิพลของการเข้าสู่สังคมสูงวัย การเติบโตของการจ้างงานทั่วโลกจะไม่เพียงพอที่จะชดเชยต่อการขยายตัวของคนวัยเกษียณที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการที่มีผู้เกษียณอายุจำนวนมากขึ้นจะส่งผลต่อระบบเงินบำนาญและตลาดแรงงานโดยตรง
โดยอายุเฉลี่ยของคนวัยทำงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากอายุเฉลี่ยที่ 40 ปี ใน ปี 2560 เป็น 41 ปี ในปี 2573 ส่วนในประเทศที่พัฒนาแล้ว ภายในปี 2573 คนทำงานเกือบ 5 คนจากทุก ๆ 10 คน จะมีอายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากในปี 2560 ที่มีเพียงร้อยละ 3.5 เท่านั้น
ที่มาเรียบเรียงจาก
ILO: Unemployment and decent work deficits to remain high in 2018 (ILO, 22/1/2018)
World Employment and Social Outlook: Trends 2018 (ILO, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 28/1/2018)
รายงานฉบับใหม่ของ ILO ระบุว่าอัตราว่างงานทั่วโลกในปี 2561 จะอยู่ที่ 5.5% คิดเป็นจำนวนผู้ว่างงาน 192.3 ล้านคน
รายงานฉบับใหม่ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) World Employment and Social Outlook: Trends 2018 ระบุว่าในขณะที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้น แต่คาดว่ากำลังแรงงานและอัตราการว่างงานทั่วโลกในปี 2561 จะยังคงอยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีที่แล้ว (2560)
ในรายงานระบุว่าอัตราว่างงานในปี 2561 จะลดลงเหลือร้อยละ 5.5 หลังจากในปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 5.6 และคาดการว่าในปี 2562 อัตราว่างงานยังจะคงตัวที่ร้อยละ 5.5 ส่วนผู้ว่างงานทั่วโลกในปี 2561 คาดว่าจะอยู่ที่ 192.3 ล้านคน ลดลงจากปี 2560 ที่ 192.7 ล้านคน และคาดว่าในปี 2562 จะเพิ่มขึ้นเป็น 193.6 ล้านคน
"ถึงแม้ว่าการว่างงานทั่วโลกจะคงตัว แต่การขาดสภาพการจ้างงานที่ดีก็ยังคงแพร่หลายในทั่วโลก เศรษฐกิจโลกที่ชะงักงันก็ยังไม่สามารถสร้างตำแหน่งงานได้มากนัก" กาย ไรเดอร์ ผู้อำนวยการของ ILO ระบุ เขายังเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงคุณภาพงานให้แก่ผู้หางาน เพื่อให้แน่ใจว่าผู้คนจะได้รับผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างเท่าเทียมกัน
การจ้างงานที่ไม่มั่นคงเพิ่มขึ้น
ILO คาดการณ์ว่าภายในปี 2562 คนทำงานในประเทศกำลังพัฒนาทุก ๆ 3 ใน 4 คนจะถูกจ้างงานแบบไม่มั่นคง ที่มาภาพประกอบ: ILO in Asia and the Pacific (CC BY-NC-ND 2.0)
รายงานของ ILO ฉบับนี้ชี้ให้เห็นถึงความจริงที่ว่าความพยายามลดการจ้างงานที่ไม่มั่นคงได้หยุดชะงักลงตั้งแต่ปี 2555 ซึ่งหมายความว่าคนทำงานเกือบ 1.4 พันล้านคน กำลังถูกจ้างงานในรูปแบบที่ไม่มั่นคง และเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมาคาดว่าจะมีผู้ที่ถูกจ้างงานไม่มั่นคงเพิ่มขึ้นอีก 35 ล้านคน ที่น่าตกใจคือภายในปี 2562 คนทำงานในประเทศกำลังพัฒนาทุก ๆ 3 ใน 4 คนจะถูกจ้างงานแบบไม่มั่นคง
ILO คาดว่าจำนวนคนทำงานที่ดำรงชีพต่ำกว่าเส้นความยากจนอยู่ที่ 176 ล้านคน ในปี 2561 หรือเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.2 ของคนที่ถูกจ้างงานทั้งหมดในโลก
"ในประเทศกำลังพัฒนา ความคืบหน้าในการลดความยากจนดูเหมือนจะดำเนินการช้าเกินไปเมื่อเทียบกับการขยายตัวของกำลังแรงงาน" สเตฟาน คูห์น นักเศรษฐศาสตร์ของ ILO ทีมเขียนรายงานฉบับนี้ระบุ
นอกจากนี้ยังพบว่าอัตราการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานของผู้หญิงอยู่ในระดับต่ำกว่าผู้ชาย ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเผชิญกับคุณภาพงานและรายได้จากการทำงานต่ำกว่าผู้ชาย โดยเฉลี่ยแล้วผู้หญิงมีโอกาสน้อยกว่าผู้ชายที่จะมีส่วนร่วมในตลาดแรงงาน ทั้งนี้พบว่าช่องว่างระหว่างเพศในการมีส่วนร่วมในตลาดแรงงานทั่วโลกมีสูงกว่าร้อยละ 26 ผู้หญิงไม่ค่อยมีโอกาสได้หางานทำ และช่องว่างเหล่านี้มีความห่างมากขึ้นในภูมิภาคแอฟริกาเหนือและอาหรับซึ่งผู้หญิงมีแนวโน้มการว่างงานสูงกว่าผู้ชายสองเท่า
และแม้จะได้รับการจ้างงาน แต่ผู้หญิงต้องเผชิญกับปัญหาการกีดกันทางเพศและการเข้าถึงการจ้างงานที่มีคุณภาพ ตัวอย่างเช่นในปี 2560 ผู้หญิงในประเทศกำลังพัฒนาร้อยละ 82 ทำงานในลักษณะที่มีการจ้างงานที่ไม่มั่นคง ซึ่งเทียบผู้ชายที่ทำงานในลักษณะนี้มีเพียงร้อยละ 72 เท่านั้น
ส่วนปัญหาการว่างงานของแรงงานวัยหนุ่มสาว (อายุต่ำกว่า 25 ปี) เป็นอีกหนึ่งความท้าทายระดับโลกที่สำคัญ คนหนุ่มสาวมีโอกาสน้อยที่จะได้รับการว่าจ้างมากกว่าผู้ใหญ่ โดยมีอัตราการว่างงานของคนหนุ่มสาวทั่วโลกอยู่ที่ร้อยละ 13 หรือสูงกว่าแรงงานผู้ใหญ่ถึง 4.3 เท่า ปัญหานี้เกิดขึ้นทั่วโลกและรุนแรงเป็นอย่างยิ่งในแอฟริกาเหนือซึ่งเกือบร้อยละ 30 ของคนหนุ่มสาวในตลาดแรงงานไม่มีงานทำ
การเปลี่ยนแปลงของการจ้างงานในอนาคต
ในปี 2573 อายุเฉลี่ยของคนวัยทำงานทั่วโลกจะอยู่ที่ 41 ปี ที่มาภาพประกอบ: ILO in Asia and the Pacific (CC BY-NC-ND 2.0)
เมื่อพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงของภาคการจ้างงาน ในรายงานฉบับนี้ระบุว่าการจ้างงานภาคบริการจะเป็นตัวขับเคลื่อนหลักในการเติบโตของการจ้างงานในอนาคต ขณะที่การจ้างงานในภาคการเกษตรและภาคการผลิตจะยังคงลดลง
ในรายงานยังได้ระบุถึงอิทธิพลของการเข้าสู่สังคมสูงวัย การเติบโตของการจ้างงานทั่วโลกจะไม่เพียงพอที่จะชดเชยต่อการขยายตัวของคนวัยเกษียณที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งการที่มีผู้เกษียณอายุจำนวนมากขึ้นจะส่งผลต่อระบบเงินบำนาญและตลาดแรงงานโดยตรง
โดยอายุเฉลี่ยของคนวัยทำงานคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากอายุเฉลี่ยที่ 40 ปี ใน ปี 2560 เป็น 41 ปี ในปี 2573 ส่วนในประเทศที่พัฒนาแล้ว ภายในปี 2573 คนทำงานเกือบ 5 คนจากทุก ๆ 10 คน จะมีอายุ 65 ปีขึ้นไป เพิ่มขึ้นจากในปี 2560 ที่มีเพียงร้อยละ 3.5 เท่านั้น
ที่มาเรียบเรียงจาก
ILO: Unemployment and decent work deficits to remain high in 2018 (ILO, 22/1/2018)
World Employment and Social Outlook: Trends 2018 (ILO, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 28/1/2018)
แสดงความคิดเห็น