นพพล อาชามาส เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูล ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน
Posted: 23 Feb 2018 02:20 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
นพพล อาชามาส เล่าช่วงเวลาการใช้ศาลทหารกับพลเรือน กว่า 40 ปีที่ถูกใช้พิจารณาคดีจนเป็นภาวะปกติ ควรถูกมองในฐานะเครื่องมือทางการเมืองระบอบอำนาจนิยม ระบุหากต้องการปลอดรัฐประหารต้องยุติการใช้ศาลทหารกับพลเรือน
คลิปการนำเสนอหัวข้อ “ประวัติศาสตร์การเมืองของการบังคับใช้ศาลทหารต่อพลเมืองในประเทศไทย" โดย นพพล อาชามาส
18 ก.พ.2561 ในการเสวนาวิชาการ "ตุลาการธิปไตย ศาล และรัฐประหาร" จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ช่วงหนึ่งเป็นการเสนอบทความ “ประวัติศาสตร์การเมืองของการบังคับใช้ศาลทหารต่อพลเมืองในประเทศไทย" โดย นพพล อาชามาส เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูล ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ศึกษาเรื่องกระบวนการใช้ศาลทหารกับพลเรือน นับตั้งการปฏิวัติ 2475 จนถึงการรัฐประหารในปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในความเป็นจริงแล้วการใช้ศาลทหารกับพลเรือนไม่ได้เกิดขึ้นในสภาวการณ์ไม่ปกติ แต่ถูกทำให้เป็นปกติไปแล้วในสังคมไทย
1,720 คดีที่พลเรือนขึ้นศาลทหาร หลัง รปห. 57 ถึง พ.ย.59
นพพล เริ่มจากการอธิบายว่า ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่จะไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับประชาชนถูกดำเนินคดีในศาลทหาร ซึ่งจริงๆ แล้วศาลทหารเคยใช้ดำเนินคดีกับประชาชนในอดีต โดยงานชิ้นนี้ต้องการจัดวางเครื่องมือทางการเมืองคือศาลทหาร ลงไปในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ว่ามีบริบทความเป็นมายังไงบ้าง
นพพล ชี้ให้เห็นถึงสถิติในสถานการณ์ปัจจุบันว่า สถิติพลเรือนขึ้นศาลทหารตั้งแต่หลังรัฐประหารจนถึงเดือนพฤศจิกายน ปี 2559 กรมพระธรรมนูญ (ต้นสังกัดของศาลทหาร) มีคดีรวมอย่างน้อย 1,720 คดี จำเลยอย่างน้อย 2,177 คน ถึงแม้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะมีคำสั่งยุติการนำพลเรือนขึ้นศาลทหารแล้ว แต่คดีจำนวนมากก็ยังไม่สิ้นสุด คดีที่อยู่ในศาลทหารก็ยังคงถูกพิจารณาในศาลทหารต่อไป หลายคดีเป็นไปอย่างล่าช้า ศาลทหารจึงยังจะต้องพิจารณาคดีของพลเรือนไปอีกนาน
แย้งประยุทธ์ ชี้ศาลทหารต่างจากศาลอื่นๆ
นพพลนำเสนอคำชี้แจงเกี่ยวกับการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร ดังเช่นที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ชี้แจงว่าศาลทหารก็เหมือนกับศาลธรรมดา การใช้ศาลทหารเพราะเป็นสถานการณ์ไม่ปกติ ทำให้ต้องใช้จัดการเพื่อให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย
เขามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการชี้แจงนี้ว่า จากข้อโต้แย้งที่ว่า “ศาลทหารก็เหมือนกับศาลอื่นๆ” จากรายงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหลายชิ้น ชี้ให้เห็นว่าศาลทหารมีกระบวนการหลายอย่างที่แตกต่างจากศาลพลเรือน ซึ่งจำกัดสิทธิของจำเลยในการเขาถึงกระบวนการยุติธรรม และอีกประเด็นที่บทความชิ้นนี้พยายามทำความเข้าใจคือ ศาลทหารถูกใช้ในสถานการณ์ไม่ปกติจริงรึเปล่า หรือมันถูกใช้มาจนเป็นปกติไปแล้ว
นพพล อ้างถึงอดีต ส.ส. คนหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ในการประชุมสภาเมื่อปี 2539 ว่า “เวลาปฏิวัติครั้งใด คณะปฎิวัติจะใช้วิธีกำราบประชาชนให้อยู่ในความสงบโดยใช้วิธีประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศ แล้วอาศัยประกาศคณะปฏิวัติกำหนดให้ศาลพลเรือนเป็นศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ซึ่งวิธีพิจารณาความของศาลเหล่านี้เมื่อมีสภาพเป็นศาลทหารแล้ว การพิจารณาเป็นการพิจารณาความพิเศษ ไม่มีทนายความ ไม่มีการอุทธรณ์ ฎีกา ซึ่งเป็นวิธีที่คณะปฏิวัติใช้ทุกสมัยที่มีการปฏิวัติ”
ดังนั้นบทความที่ทำจะมีข้อเสนอ 2 ประเด็นหลัก คือ หนึ่ง-การบังคับใช้ศาลทหารต่อพลเรือนหรือการใช้ศาลพิเศษที่แยกออกมาจากศาลยุติธรรมปกติมาดำเนินคดีต่อพลเรือน ไม่ใช่ปัญหาทางนิติศาสตร์เท่านั้น แต่เป็นการดำเนินการทางการเมืองอย่างหนึ่งในฐานเทคนิควิธีในการปราบปรามจัดการฝ่ายตรงข้ามในทางการเมือง รวมถึงการควบคุมสังคม สถาปนาระบอบการปกครอง
สอง-ศาลทหารเป็นกลไกทางการเมืองที่คณะปฏิวัติในอดีตหลายชุดใช้ควบคุมอำนาจทางการเมือง โดยมักเกิดขึ้นในลักษณะที่คณะรัฐประหารต้องการควบคุมอำนาจในระยะยาว และต้องการควบคุมสังคมอย่างเข้มข้น ศาลทหารถูกบังคับใช้กับพลเรือนในรูปแบบต่างๆ กันจนแทบจะกลายเป็นเรื่องปกติ
“ศาล” และ “กฎหมาย” ในระบอบอำนาจนิยม
นพพล กล่าวถึงหนังสือเรื่อง Rule by Law: The Politics of Courts in Authoritarian Regimes โดย Tom Ginsburg ซึ่งศึกษาศาลและการใช้กฎหมายในระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศ โดยอธิบายหน้าที่ของศาลในระบอบอำนาจนิยมว่า คือการใช้ควบคุมสังคมและปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง รวมถึงสร้างความชอบธรรม ใช้เป็นข้ออ้างในการกระทำตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยมีรูปแบบการจัดตั้งความหน่วยมั่นคงพิเศษขึ้นมาเพื่อใช้พิจารณาคดีบางประเภท ภายใต้ข้ออ้างของการเข้าไปรักษาความสงบเรียบร้อย แต่นำไปสู่การจัดการฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง โดยมีตัวอย่างในประเทศละตินอเมริกาหลายประเทศในทศวรรษ 1970 มีการใช้ศาลทหารเพื่อปราบปรามฝ่ายซ้ายหรือนักกิจกรรมทางสังคม
ส่วนในประเทศไทยจากการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งลักษณะการใช้ศาลทหารกับพลเรือนได้เป็น 2 ระยะ
ระยะหนึ่ง ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 อันเป็นบริบทช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์ และฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่พยายามจะช่วงชิงอำนาจคืน ในตอนนั้นรัฐบาลมีประกาศใช้ศาลพิเศษต่อกรณีกบฏที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นซึ่งมีประมาณ 4 ครั้ง
ลักษณะการใช้ศาลพิเศษจะมีการจัดตั้งแยกออกมาผ่านการออกพระราชบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจพิจารณาคดีเฉพาะที่กำหนดเป็นกรณี แต่มีอำนาจพิจารณาไม่ว่าผู้ต้องหาเป็นพลเรือนหรือทหาร และมีอำนาจพิจารณาคดีในทุกส่วนกฎหมาย และนำวิธีพิจารณาแบบศาลทหารมาใช้ จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ฏีกา และไม่สามารถแต่งตั้งทนายได้ ตุลาการศาลมีสัดส่วนเป็นทหารค่อนข้างมาก เช่น กรณีกบฏบวรเดชปี 2476 มีการพิจารณาจำเลยทั้งหมดประมาณ 600 คน กบฏนายสิบปี 2478 แม้มีจำเลยไม่มากแต่มีคนถูกตัดสินประหารชีวิต 1 ราย โดยมีระยะเวลาพิจารณาคดีเพียง 1 เดือน
เมื่อ จอมพล ป. พิบูลสงครามขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี มีความขัดแย้งทางการเมือง ในปี 2481 ก็มีการประกาศใช้ศาลพิเศษอีกครั้งหนึ่ง มีผู้ถูกดำเนินคดีประมาณ 51 คน ประหารชีวิต 8 คน
จากการประกาศศาลพิเศษ เมื่อมีการรื้อฟื้นอำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยม เกิดการบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2489 บัญญัติข้อห้ามในหมวดตุลาการ การตั้งศาลขึ้นใหม่พิจารณาคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะจะทำมิได้ บทบัญญัตินี้ได้ถูกบัญญัติในรัฐธรรมนูญต่อไปเกือบทุกฉบับจนถึงรัฐธรรมนูญปี 2560 ดังนั้นรูปแบบการประกาศใช้ศาลพิเศษกับพลเรือนจึงไม่เกิดขึ้นอีกหลังจากนั้น และรูปแบบการใช้ศาลทหารจึงเริ่มต้นขึ้น
ศาลทหารในบริบทของสงครามโลกครั้งที่สองน่าจะเป็นครั้งเดียวที่ใกล้เคียงกับการใช้ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ในความหมายว่ามีสถานการณ์การรบหรือสงครามเกิดขึ้นจริงๆ จึงมีความจำเป็นต้องประกาศใช้ศาลทหาร โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมีการประกาศกฎอัยการศึกหลังญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก มีการให้ศาลทหารพิจารณาคดีพลเรือน
ระยะที่สอง คือศาลทหารที่ใช้กับพลเรือนเ เริ่มต้นครั้งแรกหลังรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ปี 2501 หลังจากนั้น รัฐประหารในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน ก็มีลักษณะใกล้เคียงกับยุคจอมพลสฤษดิ์
เมื่อจอมพลสฤษดิ์รัฐประหาร มีการออกคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหาร เพื่อให้พลเรือนขึ้นศาลทหารในความผิดตามที่กำหนด พบว่าสมัยนั้นมีการใช้ศาลทหาร 2 รูปแบบด้วยกัน
หนึ่ง-การให้ศาลทหารภายใต้กระทรวงกลาโหมพิจารณาพิพากษาความผิดบางประเภทโดยตรง เช่น ความเป็นคอมมิวนิสต์ ผู้ต้องหาในคดีนี้สามารถถูกควบคุมตัวได้โดยไม่มีกำหนด คำสั่งนี้นำไปสู่การควบคุมตัวผู้แสดงความคิดเห็นทางการเมือง นักเคลื่อนไหว นักกิจกรรมฝ่ายซ้ายจำนวนมาก มีการจับกุมทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 1,000 คน และถูกควบคุมในศาลทหารหลายร้อยคน และไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ฏีกา ไม่สามารถแต่งตั้งทนาย หลายคดีมีการยกฟ้องหลังถูกคุมขังไป 6-7 ปี เช่น คดีของจิตร ภูมิศักดิ์ แต่ก็ไม่ได้รับค่าชดเชยใดๆ หลายกรณีมีการถอนฟ้อง จึงเห็นได้ชัดเจนว่าถูกขังไว้เพื่อไม่ให้ทำกิจกรรมทางการเมือง
สอง-การประกาศให้ศาลยุติธรรมทำหน้าที่เป็นศาลทหาร พิจารณาคดีความผิดบางประเภท ซึ่งมีคนตั้งข้อสังเกตว่าประเทศไทยอาจเป็นประเทศเดียวที่มีระบบแบบนี้ มีความผิดหลายประเภท เช่น ความผิดเกี่ยวกับเพศ ร่างกาย ทรัพย์ ยาเสพติด จากการระบุความผิดเหล่านี้จะเห็นได้ว่าในสมัยจอมพลสฤษดิ์พยายามเข้ามาจัดการเรื่องอาชญากรรม ศาลทหารรูปแบบนี้จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ฏีกา ไม่สามารถแต่งตั้งทนายได้เช่นกัน
ในช่วงปี 2516 ยุคจอมพลถนอมก็ใช้ประกาศเหล่านี้เช่นเดียวกับจอมพลสฤษดิ์ มีกรณีที่พลเรือนขึ้นศาลทหารจากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
หลังรัฐประหารปี 2519 ก็มีประกาศให้พลเรือนขึ้นศาลทหารอีกครั้ง แบ่งเป็นสองรูปแบบเหมือนเดิม คือศาลทหารพิจารณาคดีคอมมิวนิสต์ ศาลยุติธรรมที่ทำหน้าที่ศาลทหารพิจารณาคดีตามประกาศแนบท้ายคำสั่ง เช่น คดี 6 ตุลา 8 แกนนำนักศึกษาถูกจับกุมนำขึ้นศาลทหาร แต่ต่อสู้คดีไม่เสร็จเนื่องจากมีพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในปี 2521
สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม (ปี 2523-2531) ได้ออกพ.ร.บ. แก้ไขคำสั่งและปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คือให้ยกเลิกประกาศแนบท้ายความผิดบางส่วนที่ประกาศให้ศาลยุติธรรมทำหน้าที่เป็นศาลทหาร แต่ยกเว้นความผิดในหมวดพระมหากษัตริย์ ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ และความผิดต่อสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ จนกระทั่งในทศวรรษ 2530 มีข้อมูลว่ายังมีคดีบางส่วนที่ถูกดำเนินคดีในศาลยุติธรรมที่ทำหน้าที่เป็นศาลทหาร
แนะหากให้สังคมไทยปลอดรัฐประหาร ต้องยับยั้งอำนาจศาลทหารดำเนินคดีต่อพลเมืองทุกรูปแบบ
นพพล ได้สรุปว่า ดังนั้นจะเห็นว่าช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2501-2539 ก่อนมีการประกาศยกเลิกศาลพลเรือนทำหน้าที่เป็นศาลทหารในเวลาไม่ปกติและที่ให้ศาลทหารพิจารณาคดีซึ่งเกี่ยวกับความผิดอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่มีภาวะศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีของศาลพลเรือน ถ้านับรวมจนถึงปัจจุบัน จึงแทบจะเรียกได้ว่าศาลทหารถูกใช้พิจารณาคดีกับพลเรือนเป็นภาวะปกติ ไม่ใช่ภาวะไม่ปกติตามที่มีการอธิบาย ภาวะที่ไม่มีการใช้ศาลทหารกับพลเรือนอาจเป็นภาวะพิเศษไปด้วยซ้ำ
การใช้ศาลทหารต่อพลเรือนอาจเป็นเครื่องมือทางการเมืองของคณะรัฐประหารอีกหากมีการเกิดขึ้นในอนาคต หรือแม้แต่คสช. เองอาจมีการประกาศกลับมาใช้อีกหากมีสถานการณ์ใดเกิดขึ้น ดังนั้นศาลทหารจึงควรถูกมองในฐานะเครื่องมือทางการเมืองหนึ่งในระบอบอำนาจนิยม การให้ประเทศไทยปลอดจากรัฐประหารจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องคิดเรื่องการยุติ ยับยั้งการให้อำนาจศาลทหารในการดำเนินคดีต่อพลเมืองไทยทุกรูปแบบ
ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร
ทั้งนี้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมทางวิชาการ “ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร” โดยเป็นส่วนหนึ่งในชุดการเสวนาวิชาการ “ประเทศไทยไม่ทำงาน” (Dysfunction Thailand) ของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2560 สนับสนุนโดยสถานทูตอังกฤษ สถานทูตแคนาดา และมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ จากเยอรมนี
เยาวลักษณ์ อนุพันธุ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ชี้แจงความเป็นมาว่า "ศูนย์ทนายฯ นอกจากเป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแล้วยังรวบรวมบันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคนี้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การปฏิรูป การแก้ไข การเยียวยา"
"จากการทำงานรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ เรามีข้อมูลอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ทำให้เห็นว่าครั้งนี้คสช.ไม่ได้ใช้อำนาจทหารเพียงลำพัง แต่มีการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ทั้งประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช. กฎหมายปกติ กระบวนการยุติธรรม และอำนาจตุลาการที่เข้ามารับรองการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารของคสช. ละเมิดและจำกัดสิทธิของประชาชน ทำให้สถานการณ์ขณะนี้ทั้งประชาชนธรรมดา นักข่าว นักวิชาการ ทนาย ก็สามารถตกเป็นผู้ต้องหาได้โดยไม่รู้ตัว"
นอกจากนั้นหลังรัฐประหารยังมีประกาศใช้ศาลทหารกับพลเรือน แม้ภายหลังคสช.จะยกเลิกการใช้ศาลทหารกับพลเรือนในวันที่ 12 กันยายน 2559 แต่ก็ยังมีคดีของประชาชนที่ยังดำเนินการที่ศาลทหารอยู่ เช่น คดีเลือกตั้งที่ (รัก) ลัก คดีประชามติ ในช่วงสิงหาคม 2559
"เราจึงเห็นว่าควรทำงานร่วมกับนักวิชาการ เพื่อเปิดมุมมองว่าเบื้องหลังข้อเท็จจริงและเหตุการณ์มันเกิดอะไรขึ้น โดยร่วมมือกับนักวิชาการสถาบันต่างๆ เป็นที่มาของการนำเสนอบทความ 5 บท และภาพรวมของรัฐประหาร และศาล"
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ตุลาการธิปไตย #1 สมชาย ปรีชาศิลปกุล: ภาพรวมศาล-รัฐประหาร ปชช.ทำอะไรได้บ้าง
ตุลาการธิปไตย #2 กลไกการควบคุมเสรีภาพในการแสดงออกภายใต้ระบอบ คสช.
ตุลาการธิปไตย #3 ศาลกับการยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์และการตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช.
ตุลาการธิปไตย #4 นโยบายทวงคืนผืนป่าของ คสช. ผ่านกฎหมายเดิมที่อำนาจนิยมซึ่งใช้ได้ดีในยุคเผด็จการ
ตุลาการธิปไตย #5 ตามติดภารกิจ คสช. พาท้องถิ่นกลับสู่ยุครัฐข้าราชการ
[full-post]
นพพล อาชามาส เล่าช่วงเวลาการใช้ศาลทหารกับพลเรือน กว่า 40 ปีที่ถูกใช้พิจารณาคดีจนเป็นภาวะปกติ ควรถูกมองในฐานะเครื่องมือทางการเมืองระบอบอำนาจนิยม ระบุหากต้องการปลอดรัฐประหารต้องยุติการใช้ศาลทหารกับพลเรือน
คลิปการนำเสนอหัวข้อ “ประวัติศาสตร์การเมืองของการบังคับใช้ศาลทหารต่อพลเมืองในประเทศไทย" โดย นพพล อาชามาส
18 ก.พ.2561 ในการเสวนาวิชาการ "ตุลาการธิปไตย ศาล และรัฐประหาร" จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ช่วงหนึ่งเป็นการเสนอบทความ “ประวัติศาสตร์การเมืองของการบังคับใช้ศาลทหารต่อพลเมืองในประเทศไทย" โดย นพพล อาชามาส เจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูล ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ศึกษาเรื่องกระบวนการใช้ศาลทหารกับพลเรือน นับตั้งการปฏิวัติ 2475 จนถึงการรัฐประหารในปัจจุบัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในความเป็นจริงแล้วการใช้ศาลทหารกับพลเรือนไม่ได้เกิดขึ้นในสภาวการณ์ไม่ปกติ แต่ถูกทำให้เป็นปกติไปแล้วในสังคมไทย
1,720 คดีที่พลเรือนขึ้นศาลทหาร หลัง รปห. 57 ถึง พ.ย.59
นพพล เริ่มจากการอธิบายว่า ถ้าเป็นคนรุ่นใหม่จะไม่มีความทรงจำเกี่ยวกับประชาชนถูกดำเนินคดีในศาลทหาร ซึ่งจริงๆ แล้วศาลทหารเคยใช้ดำเนินคดีกับประชาชนในอดีต โดยงานชิ้นนี้ต้องการจัดวางเครื่องมือทางการเมืองคือศาลทหาร ลงไปในประวัติศาสตร์การเมืองไทย ว่ามีบริบทความเป็นมายังไงบ้าง
นพพล ชี้ให้เห็นถึงสถิติในสถานการณ์ปัจจุบันว่า สถิติพลเรือนขึ้นศาลทหารตั้งแต่หลังรัฐประหารจนถึงเดือนพฤศจิกายน ปี 2559 กรมพระธรรมนูญ (ต้นสังกัดของศาลทหาร) มีคดีรวมอย่างน้อย 1,720 คดี จำเลยอย่างน้อย 2,177 คน ถึงแม้ คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะมีคำสั่งยุติการนำพลเรือนขึ้นศาลทหารแล้ว แต่คดีจำนวนมากก็ยังไม่สิ้นสุด คดีที่อยู่ในศาลทหารก็ยังคงถูกพิจารณาในศาลทหารต่อไป หลายคดีเป็นไปอย่างล่าช้า ศาลทหารจึงยังจะต้องพิจารณาคดีของพลเรือนไปอีกนาน
แย้งประยุทธ์ ชี้ศาลทหารต่างจากศาลอื่นๆ
นพพลนำเสนอคำชี้แจงเกี่ยวกับการนำพลเรือนขึ้นศาลทหาร ดังเช่นที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. ชี้แจงว่าศาลทหารก็เหมือนกับศาลธรรมดา การใช้ศาลทหารเพราะเป็นสถานการณ์ไม่ปกติ ทำให้ต้องใช้จัดการเพื่อให้บ้านเมืองสงบเรียบร้อย
เขามีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการชี้แจงนี้ว่า จากข้อโต้แย้งที่ว่า “ศาลทหารก็เหมือนกับศาลอื่นๆ” จากรายงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหลายชิ้น ชี้ให้เห็นว่าศาลทหารมีกระบวนการหลายอย่างที่แตกต่างจากศาลพลเรือน ซึ่งจำกัดสิทธิของจำเลยในการเขาถึงกระบวนการยุติธรรม และอีกประเด็นที่บทความชิ้นนี้พยายามทำความเข้าใจคือ ศาลทหารถูกใช้ในสถานการณ์ไม่ปกติจริงรึเปล่า หรือมันถูกใช้มาจนเป็นปกติไปแล้ว
นพพล อ้างถึงอดีต ส.ส. คนหนึ่งซึ่งกล่าวไว้ในการประชุมสภาเมื่อปี 2539 ว่า “เวลาปฏิวัติครั้งใด คณะปฎิวัติจะใช้วิธีกำราบประชาชนให้อยู่ในความสงบโดยใช้วิธีประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศ แล้วอาศัยประกาศคณะปฏิวัติกำหนดให้ศาลพลเรือนเป็นศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ซึ่งวิธีพิจารณาความของศาลเหล่านี้เมื่อมีสภาพเป็นศาลทหารแล้ว การพิจารณาเป็นการพิจารณาความพิเศษ ไม่มีทนายความ ไม่มีการอุทธรณ์ ฎีกา ซึ่งเป็นวิธีที่คณะปฏิวัติใช้ทุกสมัยที่มีการปฏิวัติ”
ดังนั้นบทความที่ทำจะมีข้อเสนอ 2 ประเด็นหลัก คือ หนึ่ง-การบังคับใช้ศาลทหารต่อพลเรือนหรือการใช้ศาลพิเศษที่แยกออกมาจากศาลยุติธรรมปกติมาดำเนินคดีต่อพลเรือน ไม่ใช่ปัญหาทางนิติศาสตร์เท่านั้น แต่เป็นการดำเนินการทางการเมืองอย่างหนึ่งในฐานเทคนิควิธีในการปราบปรามจัดการฝ่ายตรงข้ามในทางการเมือง รวมถึงการควบคุมสังคม สถาปนาระบอบการปกครอง
สอง-ศาลทหารเป็นกลไกทางการเมืองที่คณะปฏิวัติในอดีตหลายชุดใช้ควบคุมอำนาจทางการเมือง โดยมักเกิดขึ้นในลักษณะที่คณะรัฐประหารต้องการควบคุมอำนาจในระยะยาว และต้องการควบคุมสังคมอย่างเข้มข้น ศาลทหารถูกบังคับใช้กับพลเรือนในรูปแบบต่างๆ กันจนแทบจะกลายเป็นเรื่องปกติ
“ศาล” และ “กฎหมาย” ในระบอบอำนาจนิยม
นพพล กล่าวถึงหนังสือเรื่อง Rule by Law: The Politics of Courts in Authoritarian Regimes โดย Tom Ginsburg ซึ่งศึกษาศาลและการใช้กฎหมายในระบอบอำนาจนิยมในหลายประเทศ โดยอธิบายหน้าที่ของศาลในระบอบอำนาจนิยมว่า คือการใช้ควบคุมสังคมและปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง รวมถึงสร้างความชอบธรรม ใช้เป็นข้ออ้างในการกระทำตามกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม โดยมีรูปแบบการจัดตั้งความหน่วยมั่นคงพิเศษขึ้นมาเพื่อใช้พิจารณาคดีบางประเภท ภายใต้ข้ออ้างของการเข้าไปรักษาความสงบเรียบร้อย แต่นำไปสู่การจัดการฝ่ายตรงข้ามทางการเมือง โดยมีตัวอย่างในประเทศละตินอเมริกาหลายประเทศในทศวรรษ 1970 มีการใช้ศาลทหารเพื่อปราบปรามฝ่ายซ้ายหรือนักกิจกรรมทางสังคม
ส่วนในประเทศไทยจากการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งลักษณะการใช้ศาลทหารกับพลเรือนได้เป็น 2 ระยะ
ระยะหนึ่ง ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 อันเป็นบริบทช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยคณะราษฎร์ และฝ่ายอนุรักษ์นิยมที่พยายามจะช่วงชิงอำนาจคืน ในตอนนั้นรัฐบาลมีประกาศใช้ศาลพิเศษต่อกรณีกบฏที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นซึ่งมีประมาณ 4 ครั้ง
ลักษณะการใช้ศาลพิเศษจะมีการจัดตั้งแยกออกมาผ่านการออกพระราชบัญญัติโดยสภาผู้แทนราษฎร มีอำนาจพิจารณาคดีเฉพาะที่กำหนดเป็นกรณี แต่มีอำนาจพิจารณาไม่ว่าผู้ต้องหาเป็นพลเรือนหรือทหาร และมีอำนาจพิจารณาคดีในทุกส่วนกฎหมาย และนำวิธีพิจารณาแบบศาลทหารมาใช้ จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ฏีกา และไม่สามารถแต่งตั้งทนายได้ ตุลาการศาลมีสัดส่วนเป็นทหารค่อนข้างมาก เช่น กรณีกบฏบวรเดชปี 2476 มีการพิจารณาจำเลยทั้งหมดประมาณ 600 คน กบฏนายสิบปี 2478 แม้มีจำเลยไม่มากแต่มีคนถูกตัดสินประหารชีวิต 1 ราย โดยมีระยะเวลาพิจารณาคดีเพียง 1 เดือน
เมื่อ จอมพล ป. พิบูลสงครามขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี มีความขัดแย้งทางการเมือง ในปี 2481 ก็มีการประกาศใช้ศาลพิเศษอีกครั้งหนึ่ง มีผู้ถูกดำเนินคดีประมาณ 51 คน ประหารชีวิต 8 คน
จากการประกาศศาลพิเศษ เมื่อมีการรื้อฟื้นอำนาจฝ่ายอนุรักษ์นิยม เกิดการบัญญัติกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2489 บัญญัติข้อห้ามในหมวดตุลาการ การตั้งศาลขึ้นใหม่พิจารณาคดีใดคดีหนึ่งโดยเฉพาะจะทำมิได้ บทบัญญัตินี้ได้ถูกบัญญัติในรัฐธรรมนูญต่อไปเกือบทุกฉบับจนถึงรัฐธรรมนูญปี 2560 ดังนั้นรูปแบบการประกาศใช้ศาลพิเศษกับพลเรือนจึงไม่เกิดขึ้นอีกหลังจากนั้น และรูปแบบการใช้ศาลทหารจึงเริ่มต้นขึ้น
ศาลทหารในบริบทของสงครามโลกครั้งที่สองน่าจะเป็นครั้งเดียวที่ใกล้เคียงกับการใช้ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ ในความหมายว่ามีสถานการณ์การรบหรือสงครามเกิดขึ้นจริงๆ จึงมีความจำเป็นต้องประกาศใช้ศาลทหาร โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองมีการประกาศกฎอัยการศึกหลังญี่ปุ่นยกพลขึ้นบก มีการให้ศาลทหารพิจารณาคดีพลเรือน
ระยะที่สอง คือศาลทหารที่ใช้กับพลเรือนเ เริ่มต้นครั้งแรกหลังรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ปี 2501 หลังจากนั้น รัฐประหารในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน ก็มีลักษณะใกล้เคียงกับยุคจอมพลสฤษดิ์
เมื่อจอมพลสฤษดิ์รัฐประหาร มีการออกคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหาร เพื่อให้พลเรือนขึ้นศาลทหารในความผิดตามที่กำหนด พบว่าสมัยนั้นมีการใช้ศาลทหาร 2 รูปแบบด้วยกัน
หนึ่ง-การให้ศาลทหารภายใต้กระทรวงกลาโหมพิจารณาพิพากษาความผิดบางประเภทโดยตรง เช่น ความเป็นคอมมิวนิสต์ ผู้ต้องหาในคดีนี้สามารถถูกควบคุมตัวได้โดยไม่มีกำหนด คำสั่งนี้นำไปสู่การควบคุมตัวผู้แสดงความคิดเห็นทางการเมือง นักเคลื่อนไหว นักกิจกรรมฝ่ายซ้ายจำนวนมาก มีการจับกุมทั่วประเทศไม่ต่ำกว่า 1,000 คน และถูกควบคุมในศาลทหารหลายร้อยคน และไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ฏีกา ไม่สามารถแต่งตั้งทนาย หลายคดีมีการยกฟ้องหลังถูกคุมขังไป 6-7 ปี เช่น คดีของจิตร ภูมิศักดิ์ แต่ก็ไม่ได้รับค่าชดเชยใดๆ หลายกรณีมีการถอนฟ้อง จึงเห็นได้ชัดเจนว่าถูกขังไว้เพื่อไม่ให้ทำกิจกรรมทางการเมือง
สอง-การประกาศให้ศาลยุติธรรมทำหน้าที่เป็นศาลทหาร พิจารณาคดีความผิดบางประเภท ซึ่งมีคนตั้งข้อสังเกตว่าประเทศไทยอาจเป็นประเทศเดียวที่มีระบบแบบนี้ มีความผิดหลายประเภท เช่น ความผิดเกี่ยวกับเพศ ร่างกาย ทรัพย์ ยาเสพติด จากการระบุความผิดเหล่านี้จะเห็นได้ว่าในสมัยจอมพลสฤษดิ์พยายามเข้ามาจัดการเรื่องอาชญากรรม ศาลทหารรูปแบบนี้จำเลยไม่มีสิทธิอุทธรณ์ ฏีกา ไม่สามารถแต่งตั้งทนายได้เช่นกัน
ในช่วงปี 2516 ยุคจอมพลถนอมก็ใช้ประกาศเหล่านี้เช่นเดียวกับจอมพลสฤษดิ์ มีกรณีที่พลเรือนขึ้นศาลทหารจากความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112
หลังรัฐประหารปี 2519 ก็มีประกาศให้พลเรือนขึ้นศาลทหารอีกครั้ง แบ่งเป็นสองรูปแบบเหมือนเดิม คือศาลทหารพิจารณาคดีคอมมิวนิสต์ ศาลยุติธรรมที่ทำหน้าที่ศาลทหารพิจารณาคดีตามประกาศแนบท้ายคำสั่ง เช่น คดี 6 ตุลา 8 แกนนำนักศึกษาถูกจับกุมนำขึ้นศาลทหาร แต่ต่อสู้คดีไม่เสร็จเนื่องจากมีพ.ร.บ.นิรโทษกรรมในปี 2521
สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม (ปี 2523-2531) ได้ออกพ.ร.บ. แก้ไขคำสั่งและปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน คือให้ยกเลิกประกาศแนบท้ายความผิดบางส่วนที่ประกาศให้ศาลยุติธรรมทำหน้าที่เป็นศาลทหาร แต่ยกเว้นความผิดในหมวดพระมหากษัตริย์ ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ และความผิดต่อสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ จนกระทั่งในทศวรรษ 2530 มีข้อมูลว่ายังมีคดีบางส่วนที่ถูกดำเนินคดีในศาลยุติธรรมที่ทำหน้าที่เป็นศาลทหาร
แนะหากให้สังคมไทยปลอดรัฐประหาร ต้องยับยั้งอำนาจศาลทหารดำเนินคดีต่อพลเมืองทุกรูปแบบ
นพพล ได้สรุปว่า ดังนั้นจะเห็นว่าช่วงเวลาตั้งแต่ปี 2501-2539 ก่อนมีการประกาศยกเลิกศาลพลเรือนทำหน้าที่เป็นศาลทหารในเวลาไม่ปกติและที่ให้ศาลทหารพิจารณาคดีซึ่งเกี่ยวกับความผิดอันเป็นคอมมิวนิสต์ เป็นระยะเวลาเกือบ 40 ปีที่มีภาวะศาลทหารมีอำนาจพิจารณาคดีของศาลพลเรือน ถ้านับรวมจนถึงปัจจุบัน จึงแทบจะเรียกได้ว่าศาลทหารถูกใช้พิจารณาคดีกับพลเรือนเป็นภาวะปกติ ไม่ใช่ภาวะไม่ปกติตามที่มีการอธิบาย ภาวะที่ไม่มีการใช้ศาลทหารกับพลเรือนอาจเป็นภาวะพิเศษไปด้วยซ้ำ
การใช้ศาลทหารต่อพลเรือนอาจเป็นเครื่องมือทางการเมืองของคณะรัฐประหารอีกหากมีการเกิดขึ้นในอนาคต หรือแม้แต่คสช. เองอาจมีการประกาศกลับมาใช้อีกหากมีสถานการณ์ใดเกิดขึ้น ดังนั้นศาลทหารจึงควรถูกมองในฐานะเครื่องมือทางการเมืองหนึ่งในระบอบอำนาจนิยม การให้ประเทศไทยปลอดจากรัฐประหารจึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องคิดเรื่องการยุติ ยับยั้งการให้อำนาจศาลทหารในการดำเนินคดีต่อพลเมืองไทยทุกรูปแบบ
ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร
ทั้งนี้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมทางวิชาการ “ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร” โดยเป็นส่วนหนึ่งในชุดการเสวนาวิชาการ “ประเทศไทยไม่ทำงาน” (Dysfunction Thailand) ของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2560 สนับสนุนโดยสถานทูตอังกฤษ สถานทูตแคนาดา และมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ จากเยอรมนี
เยาวลักษณ์ อนุพันธุ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ชี้แจงความเป็นมาว่า "ศูนย์ทนายฯ นอกจากเป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแล้วยังรวบรวมบันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคนี้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การปฏิรูป การแก้ไข การเยียวยา"
"จากการทำงานรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ เรามีข้อมูลอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ทำให้เห็นว่าครั้งนี้คสช.ไม่ได้ใช้อำนาจทหารเพียงลำพัง แต่มีการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ทั้งประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช. กฎหมายปกติ กระบวนการยุติธรรม และอำนาจตุลาการที่เข้ามารับรองการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารของคสช. ละเมิดและจำกัดสิทธิของประชาชน ทำให้สถานการณ์ขณะนี้ทั้งประชาชนธรรมดา นักข่าว นักวิชาการ ทนาย ก็สามารถตกเป็นผู้ต้องหาได้โดยไม่รู้ตัว"
นอกจากนั้นหลังรัฐประหารยังมีประกาศใช้ศาลทหารกับพลเรือน แม้ภายหลังคสช.จะยกเลิกการใช้ศาลทหารกับพลเรือนในวันที่ 12 กันยายน 2559 แต่ก็ยังมีคดีของประชาชนที่ยังดำเนินการที่ศาลทหารอยู่ เช่น คดีเลือกตั้งที่ (รัก) ลัก คดีประชามติ ในช่วงสิงหาคม 2559
"เราจึงเห็นว่าควรทำงานร่วมกับนักวิชาการ เพื่อเปิดมุมมองว่าเบื้องหลังข้อเท็จจริงและเหตุการณ์มันเกิดอะไรขึ้น โดยร่วมมือกับนักวิชาการสถาบันต่างๆ เป็นที่มาของการนำเสนอบทความ 5 บท และภาพรวมของรัฐประหาร และศาล"
เรื่องที่เกี่ยวข้อง:
ตุลาการธิปไตย #1 สมชาย ปรีชาศิลปกุล: ภาพรวมศาล-รัฐประหาร ปชช.ทำอะไรได้บ้าง
ตุลาการธิปไตย #2 กลไกการควบคุมเสรีภาพในการแสดงออกภายใต้ระบอบ คสช.
ตุลาการธิปไตย #3 ศาลกับการยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์และการตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช.
ตุลาการธิปไตย #4 นโยบายทวงคืนผืนป่าของ คสช. ผ่านกฎหมายเดิมที่อำนาจนิยมซึ่งใช้ได้ดีในยุคเผด็จการ
ตุลาการธิปไตย #5 ตามติดภารกิจ คสช. พาท้องถิ่นกลับสู่ยุครัฐข้าราชการ
แสดงความคิดเห็น