ภาพประกอบ-โลโก้ศูนย์ทนาย
Posted: 22 Feb 2018 02:09 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
เคโกะ เซ
ผู้ที่ชื่นชมการทำงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน หรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากพวกเขาอาจสังเกตอยู่บ้างว่ามีการเปลี่ยนโลโก้องค์กร ตัวอักษร TLHR สีส้ม (ซึ่งเป็นสีซิกเนเจอร์ของศูนย์ทนายฯ) ที่คมชัด โดยมีการเน้นที่ตัว H อันหมายถึง human (คน) ซึ่งออกแบบให้เป็นตำรากฎหมายด้วย
การออกแบบนี้จัดทำโดยนักออกแบบชาวอินเดีย ‘ซันโตช กันกูตาร์’ ร่วมกับองค์กร ‘ดีไซน์แอนด์พีเพิล’ (D&P) ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐเกรละ องค์กรนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2546 มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า design activism ซึ่งจะช่วยออกแบบให้กับองค์กรที่ต้องการการออกแบบแต่ไม่มีเงินทุนจ้างนักออกแบบ
เฉพาะในอิินเดีย พวกเขาให้ความช่วยเหลือองค์กรและการรณรงค์จำนวนมาก รวมถึงองค์กรที่เป็นจุดเริ่มต้นของ D&P อย่างเฟรนด์ออฟทิเบต ซึ่งทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์ทาไลลามะ ในพันธกิจของพวกเขาระบุว่า “ปัจจุบัน ในยามที่เผด็จการออกมาขยี้ ‘คนอื่น’ เพื่อสถาปนาอำนาจสูงสุดให้ตัวเอง พวกเราที่ D&Pขออยู่ข้างผู้ที่ต่อสู้เพื่อพิทักษ์มนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของพวกเขา” “ปัจเจกที่สร้างสรรค์ได้ใช้พรสวรรค์ของพวกเขาเป็นเครื่องมือต่อต้าน เมื่อต้องเผชิญกับการกดขี่มาตั้งแต่กำเนิดมนุษยชาติ แนวทางดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปและจะไม่สิ้นสุด ตราบที่มนุษย์ยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยังมี ‘ความคิด’ D&P ได้ยึดเอา ‘พื้นที่แห่งการต่อต้านด้วยความคิดสร้างสรรค์’ เพื่อแผ้วทางให้เกิดพื้นที่เปิดกว้างเพื่อการถกเถียงอย่างเสรี ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในระดับโลกในการที่จะมีมุมมองที่กว้างขึ้นต่อประเด็นของประชาชนในบริบทปัจจุบัน” ก่อนหน้านี้ คุณเสถุ ดัส หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง D&P มาเยือนเมืองไทยเมื่อปี 2560 โดยมีเป้าหมายหนึ่งเพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับนักกิจกรรมในท้องถิ่นและสัมภาษณ์ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ซึ่งได้ร่วมงานกันมาอย่างยาวนานผ่านกิจกรรมเกี่ยวกับทิเบตและองค์ทะไลลามะ เขายังได้ไปเยือนศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน หลังจากได้ยินชื่อเสียงของพวกเขา ขณะที่เขาฟังสมาชิกองค์กรเล่าถึงกิจกรรมขององค์กร เขาก็สังเกตเห็นภาพสเก็ตช์ที่เจ้าหน้าที่องค์กรคนหนึ่งกำลังร่าง พวกเขาบอกเสถุว่าพวกเขาวางแผนจะทำโลโก้ใหม่ เสถุเสนอตัวทันที แล้วหลังจากนั้นความร่วมมือระหว่างนักกิจกรรมที่เป็นทนายและนักกิจกรรมที่เป็นดีไซเนอร์ก็เริ่มขึ้น
หลังกลับไปอินเดีย เขาประกาศเรื่องโปรเจ็กต์นี้ผ่านเครือข่ายดีไซเนอร์ที่แข็งแกร่งขององค์กรซึ่งมีอยู่ทั่วอินเดีย ทั้งหมดล้วนอาสาจะใช้ทักษะที่มีด้วยความสมัครใจ ในไม่ช้า งานออกแบบ 38 ชิ้นถูกส่งเข้ามา ต่อมามีการคัดเหลือ 3 ผู้เข้ารอบสุดท้าย และในที่สุด งานที่ออกแบบโดยคุณซันโตชก็ถูกเลือกโดยสมาชิกของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จากนั้น D&P และศูนย์ทนายฯ ได้ถกเถียงในรายละเอียดเพื่อปรับแต่งมัน ผลลัพธ์ก็คือโลโก้ใหม่ของศูนย์ทนายฯ ที่เราได้เห็นกันตั้งแต่ 1 กันยายน ปีที่ผ่านมา
คุณซันโตชและ D&P อธิบายคอนเซปต์เบื้องหลังโลโก้ว่า “ตำรากฎหมาย ที่พื้นหลังของโลโก้เป็นสัญลักษณ์ของทนายความ เส้นโค้งสองเส้นสื่อถึงความใส่ใจ และยังคล้ายกับมีช้างซ่อนอยู่ด้วย ทนายความของศูนย์ทนายเป็นคนชาญฉลาดและมีความเข้มแข็งในการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน” สมาชิกของศูนย์ทนายฯ ยังมองว่า ตัว H ที่เป็นหนังสือ เป็นเหมือนการเก็บข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหนึ่งในงานหลักขององค์กรด้วย
คุณเสถุตอบคำถามของฉันที่ว่า เหตุใดจึงเชื่อว่าศูนย์ทนายฯ เป็นองค์กรที่ ‘ใช่’ ที่ D&P จะสนับสนุนและเขาคิดอย่างไรกับโลโก้ใหม่นี้ เขาตอบว่า
“ถึงแม้ว่าพวกเราจะไม่รู้จักกับการทำงานขององค์กรกฎหมายในประเทศไทยมากนัก ซึ่งรวมถึงศูนย์ทนายฯ ด้วย แต่เราก็ชื่นชมอย่างยิ่งต่อการทำงานที่กล้าหาญขององค์กรและสถาบันด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายในประเทศไทย เราเรียกว่างานที่ ‘กล้าหาญ’ เพราะบทบาทของทนายความในไทยและอินเดียนั้นแตกต่างกันอย่างมาก เราขอแสดงความคารวะต่อจิตวิญญาณและความเชื่อมั่นของทนายความคนหนุ่มสาวของศูนย์ทนายฯ ในการปกป้องสิทธิของชนชั้นที่ถูกกดขี่ การไปเยือนสำนักงานศูนย์ทนายฯ ที่กรุงเทพฯ ทำให้ผมเข้าใจพันธกิจ การทำงาน รวมถึงความท้าทายต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดอีกมาก และในที่สุด เราก็หากันจนเจอ”
“โลโก้ที่พัฒนาโดย D&P นั้นเหมาะสม เข้ากันดีกับจริยธรรมในการทำงานของศูนย์ทนายฯ เรามองว่านี่คือรางวัลเล็กๆ สำหรับงานที่มีความหมายที่ศูนย์ทนายฯ กำลังทำในด้านสิทธิมนุษยชน”
คุณซันโตชยังตอบอีเมลคำถามของฉันที่ว่า เขาพัฒนาคอนเซปต์ของการออกแบบอย่างไร ว่า หลังจากอ่านวัตถุประสงค์โดยละเอียด รวมถึงไอเดียและความเชื่อของศูนย์ทนายฯ แล้ว สิ่งแรกที่แว่บเข้ามาในหัวคือคอนเซปต์จะต้องเน้นไปที่มนุษย์และสันติภาพ แรงบันดาลใจต่อมาเกิดขึ้นระหว่างได้แลกเปลี่ยนกับศูนย์ทนายฯ เขาบอกด้วยว่า เขารู้สึกดีมากๆ ที่โลโก้ที่เขาออกแบบได้ถูกใช้โดยองค์กรที่เขาชื่นชมในผลงานและการให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนของพวกเขา นอกจากนี้ เขายังอยากสนับสนุนองค์กรนี้ในอนาคตด้วย
คุณจุฑารัตน์ กุลตัณกิจจา หนึ่งในสมาชิกศูนย์ทนายฯ ระบุเหตุผลที่เลือกการออกแบบนี้ท่ามกลางงานอื่นๆ ว่า “ศูนย์ทนายฯ เลือกโลโก้ชิ้นนี้เพราะมันสะท้อนถึงงานของพวกเราได้มากที่สุด มันประกอบขึ้นด้วยสัญญะที่สื่อถึงการทำงานเกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นสากล และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่าง (negative space) ได้ดี ขณะเดียวกันก็เรียบง่ายสื่อถึงตัวตนของพวกเราได้ดี ยิ่งไปกว่านั้น แนวคิดพื้นฐานของการออกแบบและสัญลักษณ์เหล่านี้ยังทำให้โลโก้นี้น่าจดจำ”
ความต่างที่น่าสนใจระหว่างงานออกแบบที่ส่งเข้ามา ทั้งของคุณซันโตชและไอเดียของศูนย์ทนายฯ คือ ขณะที่พวกเขาใช้เส้นโค้งเพื่อขับเน้นด้านที่อ่อนโยนของทนายความศูนย์ทนายฯ แต่ตัวทนายเองกลับชอบเอกลักษณ์แบบที่แสดงถึงความมั่นคงและยั่งยืนขององค์กรผ่านมุมและเส้นตรง และอีกเหตุผลหนึ่งที่พวกเขาเลือกดีไซน์สุดท้าย เป็นเพราะมันมีเส้นตรงมากกว่า อย่างไรก็ตาม อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า เส้นโค้งที่ซ่อนอยู่นั้นสื่อถึงความใส่ใจซึ่งถูกซ่อนรวมอยู่ในเส้นตรง
สิ่งนี้ทำให้นึกถึงเรื่องว่าการออกแบบของอินเดียนั้นมีอิทธิพลต่อการออกแบบของไทยมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ไม่ว่าศิลปะแบบพุทธในช่วงต้น รูปปั้นในท่าทางร่ายรำของพระศิวะ หรือภาพเขียนและศิลปะการแสดงรามเกียรติ์และมหาภารตะ ร่องรอยของอิทธิพลอินเดียยังแพร่หลาย เป็นที่นิยม และยังอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ การออกแบบของอินเดียมีอิทธิพลมากจนเราสงสัยว่าเหตุใดในยุคนี้ถึงไม่มีการแลกเปลี่ยนเช่นว่ามากกว่านี้ คุณเสถุตระหนักถึงจุดนี้เช่นกัน ในภาพที่ใหญ่กว่า เขาบอกว่า อินเดียได้มอบสองภาษาคือ บาลีและสันสกฤต สองศาสนาคือฮินดูและพุทธ แก่ประเทศไทย ในฐานะประชาชนอินเดีย เขามีความสุขที่ได้มีส่วนไม่ว่าทางใดก็ตามที่จะช่วยสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเสถียรภาพทางการเมืองของไทย
และอีกเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับโลโก้ใหม่ของศูนย์ทนายฯ ก็คือนอกจากแง่มุมของด้านการออกแบบแล้ว ยังมีแง่มุมของการเคลื่อนไหวอยู่ในปูมหลังด้วย D&P เป็นหนึ่งในนักออกแบบที่ถูกเชิญให้เข้าร่วมซีรีส์งานนิทรรศการและเวิร์กช้อปเรื่องการออกแบบการเมืองระดับนานาชาติซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซล (เกาหลีใต้) บูดาเปสต์ (ฮังการี) กดัญสก์ (โปแลนด์) และสตุตการ์ต (เยอรมนี) ระหว่างปี 2554-2556 งานที่สตุตการ์ต ชื่อว่า “Re-Designing East: Political Design in Asia and Europe” ซึ่งมีงานออกแบบทางการเมืองต่างๆ เช่น งานโชว์เคสของกลุ่มนักออกแบบเกาหลีที่เป็นที่รู้จักอย่าง 'Activism of Graphic Imagination (AGI)' และการตีความโลโก้ ‘โซลิดาริตี’ ของโปแลนด์ใหม่ D&P ยังมีส่วนงานที่นำเสนอคอนเซปต์ ‘สวราช’ ในการออกแบบและการออกแบบที่ไม่มีลิขสิทธิ์อย่างงาน design activism นักออกแบบชาวไทยที่เข้าร่วมด้วยคือ คุณประชา สุวีรานนท์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักกิจกรรมการเมืองฮาร์ดคอร์ในไทย จากงานออกแบบทางการเมืองหลายชิ้น รวมถึงปกวารสารฟ้าเดียวกันและอ่าน และแคมเปญโหวตโนเมื่อปี 2550 งานของเขาในนิทรรศการพูดถึงกลยุทธ์ของการเป็นนักกิจกรรมด้านการออกแบบของเขา เช่น การใช้สิ่งที่คุณประชาเรียกว่าการออกแบบแบบ vernacular (ภาษาถิ่น) หรือแบบไทย-ไทย การออกแบบหนังสือเรียนเก่า การออกแบบตัวพิมพ์ ฯลฯ
นักออกแบบเหล่านี้ได้พิสูจน์ผ่านงานของพวกเขาแล้วว่า การออกแบบสามารถเป็นการเคลื่อนไหวได้ แม้ว่าพวกเขาจะถูกกระตุ้นด้วยความอยากจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองผ่านการออกแบบ แต่กระบวนการ แนวทางและปรัชญาของพวกเขานั้นหลากหลาย ตัวอย่างเช่น แม้ว่า D&P และคุณประชาจะมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนไอเดียในโปรเจ็กต์เดียวกัน แต่ทั้งคู่มีไอเดียที่ต่างกันบางส่วนในเรื่องโลโก้สำหรับองค์กรด้านการเมือง โดยขณะที่คุณประชาไม่เห็นด้วยกับการที่องค์กร กลุ่ม แคมเปญ หรือเอ็นจีโอทางการเมืองจะต้องมีโลโก้ที่เก๋ไก๋ เพื่อจะแข่งกับโลโก้เชิงพาณิชย์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหัวข้อนั้นมีความอ่อนไหวเกินไป อย่างเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ส่วนแนวทางของ D&P นั้นอยู่บนปรัชญาของการให้ความสำคัญกับเรื่องคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์น้อย แต่ให้ความสำคัญกับเรื่องที่ว่าโลโก้จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรเท่าใด และดังนั้น โลโก้จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการจดจำงานที่องค์กรหรือกลุ่มทำมากกว่าแค่สัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ด้วยตาแล้วดึงดูดให้จำได้ ฉันอยากตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อใดที่กลุ่มหรือองค์กรใดที่อยากจะมีโลโก้ เพียงเพราะต้องมีบ้างสักอัน เมื่อนั้น D&P ก็จะบอกว่าไม่จำเป็นต้องมีโลโก้เลย โดยสรุป ทั้งคุณประชาและ D&P คิดว่าการออกแบบและนักออกแบบที่จะทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองต้องออกมาจากระบบพาณิชย์เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลง ฉันอยากจะทิ้งท้ายบทความด้วยมุมเศร้าๆ เกี่ยวกับโลโก้หรือการถือกำเนิดของสิ่งนี้ขึ้น คำตอบต่อคำถามของฉันว่าทำไมศูนย์ทนายฯ ถึงต้องเปลี่ยนโลโก้ตอนนี้ พวกเขาบอกว่า
“เราตระหนักว่าเราต้องการโลโก้ที่ดูสะอาด และเนี้ยบมากขึ้น เพื่อระบุตัวตนของทีมเรา ตอนที่เราก่อตั้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เราคาดการณ์ว่ารัฐประหาร 2557 จะอยู่เพียงช่วงสั้นๆ เช่นเดียวกับรัฐประหารเมื่อปี 2549 และคาดว่าเราจะทำงานกันเพียงช่วงสั้นๆ ดังนั้น โลโก้เดิมก็จึงมีการออกแบบเพื่อใช้ชั่วคราวโดยไม่ได้คำนึงถึงอัตลักษณ์องค์กร แต่ปรากฏว่ารัฐบาลทหารยังคงอยู่ในอำนาจ และดูเหมือนว่าจะยังมีอิทธิพลต่อไปในอนาคตอันใกล้ เราเห็นว่าภารกิจของเรายังต้องดำเนินต่อไปอีกหลายปี ดังนั้น เราจึงตัดสินใจที่จะสถาปนาตัวตนของพวกเราเองด้วยโลโก้ใหม่ซึ่งสื่อสารถึงงานและความมุ่งมั่นของเราได้ดีกว่า เราหวังว่าดีไซน์ใหม่จะทันสมัยขึ้นและเป็นที่จดจำได้ในระยะยาว”
อีกนัยหนึ่งก็คือ หากรัฐบาลเผด็จการทหารไม่ได้อยู่นานขนาดนี้ โลโก้ใหม่ก็อาจจะไม่จำเป็น และคงไม่ต้องให้จดจำได้ “ในระยะยาว” นั่นเอง
เกี่ยวกับผู้เขียน: Keiko Sei (เคโกะ เซ) เป็นภัณฑารักษ์และนักเขียนชาวญี่ปุ่น ผู้ศึกษาประเด็นสื่อ-วัฒนธรรมศึกษา
[full-post]
เคโกะ เซ
ผู้ที่ชื่นชมการทำงานของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน หรือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือจากพวกเขาอาจสังเกตอยู่บ้างว่ามีการเปลี่ยนโลโก้องค์กร ตัวอักษร TLHR สีส้ม (ซึ่งเป็นสีซิกเนเจอร์ของศูนย์ทนายฯ) ที่คมชัด โดยมีการเน้นที่ตัว H อันหมายถึง human (คน) ซึ่งออกแบบให้เป็นตำรากฎหมายด้วย
การออกแบบนี้จัดทำโดยนักออกแบบชาวอินเดีย ‘ซันโตช กันกูตาร์’ ร่วมกับองค์กร ‘ดีไซน์แอนด์พีเพิล’ (D&P) ซึ่งตั้งอยู่ที่รัฐเกรละ องค์กรนี้ก่อตั้งเมื่อปี 2546 มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำสิ่งที่พวกเขาเรียกว่า design activism ซึ่งจะช่วยออกแบบให้กับองค์กรที่ต้องการการออกแบบแต่ไม่มีเงินทุนจ้างนักออกแบบ
เฉพาะในอิินเดีย พวกเขาให้ความช่วยเหลือองค์กรและการรณรงค์จำนวนมาก รวมถึงองค์กรที่เป็นจุดเริ่มต้นของ D&P อย่างเฟรนด์ออฟทิเบต ซึ่งทำงานอย่างใกล้ชิดกับองค์ทาไลลามะ ในพันธกิจของพวกเขาระบุว่า “ปัจจุบัน ในยามที่เผด็จการออกมาขยี้ ‘คนอื่น’ เพื่อสถาปนาอำนาจสูงสุดให้ตัวเอง พวกเราที่ D&Pขออยู่ข้างผู้ที่ต่อสู้เพื่อพิทักษ์มนุษยชาติและสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติของพวกเขา” “ปัจเจกที่สร้างสรรค์ได้ใช้พรสวรรค์ของพวกเขาเป็นเครื่องมือต่อต้าน เมื่อต้องเผชิญกับการกดขี่มาตั้งแต่กำเนิดมนุษยชาติ แนวทางดังกล่าวยังคงดำเนินต่อไปและจะไม่สิ้นสุด ตราบที่มนุษย์ยังเป็นสิ่งมีชีวิตที่ยังมี ‘ความคิด’ D&P ได้ยึดเอา ‘พื้นที่แห่งการต่อต้านด้วยความคิดสร้างสรรค์’ เพื่อแผ้วทางให้เกิดพื้นที่เปิดกว้างเพื่อการถกเถียงอย่างเสรี ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในระดับโลกในการที่จะมีมุมมองที่กว้างขึ้นต่อประเด็นของประชาชนในบริบทปัจจุบัน” ก่อนหน้านี้ คุณเสถุ ดัส หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง D&P มาเยือนเมืองไทยเมื่อปี 2560 โดยมีเป้าหมายหนึ่งเพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับนักกิจกรรมในท้องถิ่นและสัมภาษณ์ อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ซึ่งได้ร่วมงานกันมาอย่างยาวนานผ่านกิจกรรมเกี่ยวกับทิเบตและองค์ทะไลลามะ เขายังได้ไปเยือนศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน หลังจากได้ยินชื่อเสียงของพวกเขา ขณะที่เขาฟังสมาชิกองค์กรเล่าถึงกิจกรรมขององค์กร เขาก็สังเกตเห็นภาพสเก็ตช์ที่เจ้าหน้าที่องค์กรคนหนึ่งกำลังร่าง พวกเขาบอกเสถุว่าพวกเขาวางแผนจะทำโลโก้ใหม่ เสถุเสนอตัวทันที แล้วหลังจากนั้นความร่วมมือระหว่างนักกิจกรรมที่เป็นทนายและนักกิจกรรมที่เป็นดีไซเนอร์ก็เริ่มขึ้น
หลังกลับไปอินเดีย เขาประกาศเรื่องโปรเจ็กต์นี้ผ่านเครือข่ายดีไซเนอร์ที่แข็งแกร่งขององค์กรซึ่งมีอยู่ทั่วอินเดีย ทั้งหมดล้วนอาสาจะใช้ทักษะที่มีด้วยความสมัครใจ ในไม่ช้า งานออกแบบ 38 ชิ้นถูกส่งเข้ามา ต่อมามีการคัดเหลือ 3 ผู้เข้ารอบสุดท้าย และในที่สุด งานที่ออกแบบโดยคุณซันโตชก็ถูกเลือกโดยสมาชิกของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน จากนั้น D&P และศูนย์ทนายฯ ได้ถกเถียงในรายละเอียดเพื่อปรับแต่งมัน ผลลัพธ์ก็คือโลโก้ใหม่ของศูนย์ทนายฯ ที่เราได้เห็นกันตั้งแต่ 1 กันยายน ปีที่ผ่านมา
คุณซันโตชและ D&P อธิบายคอนเซปต์เบื้องหลังโลโก้ว่า “ตำรากฎหมาย ที่พื้นหลังของโลโก้เป็นสัญลักษณ์ของทนายความ เส้นโค้งสองเส้นสื่อถึงความใส่ใจ และยังคล้ายกับมีช้างซ่อนอยู่ด้วย ทนายความของศูนย์ทนายเป็นคนชาญฉลาดและมีความเข้มแข็งในการต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน” สมาชิกของศูนย์ทนายฯ ยังมองว่า ตัว H ที่เป็นหนังสือ เป็นเหมือนการเก็บข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นหนึ่งในงานหลักขององค์กรด้วย
คุณเสถุตอบคำถามของฉันที่ว่า เหตุใดจึงเชื่อว่าศูนย์ทนายฯ เป็นองค์กรที่ ‘ใช่’ ที่ D&P จะสนับสนุนและเขาคิดอย่างไรกับโลโก้ใหม่นี้ เขาตอบว่า
“ถึงแม้ว่าพวกเราจะไม่รู้จักกับการทำงานขององค์กรกฎหมายในประเทศไทยมากนัก ซึ่งรวมถึงศูนย์ทนายฯ ด้วย แต่เราก็ชื่นชมอย่างยิ่งต่อการทำงานที่กล้าหาญขององค์กรและสถาบันด้านสิทธิมนุษยชนและกฎหมายในประเทศไทย เราเรียกว่างานที่ ‘กล้าหาญ’ เพราะบทบาทของทนายความในไทยและอินเดียนั้นแตกต่างกันอย่างมาก เราขอแสดงความคารวะต่อจิตวิญญาณและความเชื่อมั่นของทนายความคนหนุ่มสาวของศูนย์ทนายฯ ในการปกป้องสิทธิของชนชั้นที่ถูกกดขี่ การไปเยือนสำนักงานศูนย์ทนายฯ ที่กรุงเทพฯ ทำให้ผมเข้าใจพันธกิจ การทำงาน รวมถึงความท้าทายต่างๆ ซึ่งมีรายละเอียดอีกมาก และในที่สุด เราก็หากันจนเจอ”
“โลโก้ที่พัฒนาโดย D&P นั้นเหมาะสม เข้ากันดีกับจริยธรรมในการทำงานของศูนย์ทนายฯ เรามองว่านี่คือรางวัลเล็กๆ สำหรับงานที่มีความหมายที่ศูนย์ทนายฯ กำลังทำในด้านสิทธิมนุษยชน”
คุณซันโตชยังตอบอีเมลคำถามของฉันที่ว่า เขาพัฒนาคอนเซปต์ของการออกแบบอย่างไร ว่า หลังจากอ่านวัตถุประสงค์โดยละเอียด รวมถึงไอเดียและความเชื่อของศูนย์ทนายฯ แล้ว สิ่งแรกที่แว่บเข้ามาในหัวคือคอนเซปต์จะต้องเน้นไปที่มนุษย์และสันติภาพ แรงบันดาลใจต่อมาเกิดขึ้นระหว่างได้แลกเปลี่ยนกับศูนย์ทนายฯ เขาบอกด้วยว่า เขารู้สึกดีมากๆ ที่โลโก้ที่เขาออกแบบได้ถูกใช้โดยองค์กรที่เขาชื่นชมในผลงานและการให้ความช่วยเหลือด้านสิทธิมนุษยชนของพวกเขา นอกจากนี้ เขายังอยากสนับสนุนองค์กรนี้ในอนาคตด้วย
คุณจุฑารัตน์ กุลตัณกิจจา หนึ่งในสมาชิกศูนย์ทนายฯ ระบุเหตุผลที่เลือกการออกแบบนี้ท่ามกลางงานอื่นๆ ว่า “ศูนย์ทนายฯ เลือกโลโก้ชิ้นนี้เพราะมันสะท้อนถึงงานของพวกเราได้มากที่สุด มันประกอบขึ้นด้วยสัญญะที่สื่อถึงการทำงานเกี่ยวกับกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอย่างเป็นสากล และใช้ประโยชน์จากพื้นที่ว่าง (negative space) ได้ดี ขณะเดียวกันก็เรียบง่ายสื่อถึงตัวตนของพวกเราได้ดี ยิ่งไปกว่านั้น แนวคิดพื้นฐานของการออกแบบและสัญลักษณ์เหล่านี้ยังทำให้โลโก้นี้น่าจดจำ”
ความต่างที่น่าสนใจระหว่างงานออกแบบที่ส่งเข้ามา ทั้งของคุณซันโตชและไอเดียของศูนย์ทนายฯ คือ ขณะที่พวกเขาใช้เส้นโค้งเพื่อขับเน้นด้านที่อ่อนโยนของทนายความศูนย์ทนายฯ แต่ตัวทนายเองกลับชอบเอกลักษณ์แบบที่แสดงถึงความมั่นคงและยั่งยืนขององค์กรผ่านมุมและเส้นตรง และอีกเหตุผลหนึ่งที่พวกเขาเลือกดีไซน์สุดท้าย เป็นเพราะมันมีเส้นตรงมากกว่า อย่างไรก็ตาม อย่างที่กล่าวไปข้างต้นแล้วว่า เส้นโค้งที่ซ่อนอยู่นั้นสื่อถึงความใส่ใจซึ่งถูกซ่อนรวมอยู่ในเส้นตรง
สิ่งนี้ทำให้นึกถึงเรื่องว่าการออกแบบของอินเดียนั้นมีอิทธิพลต่อการออกแบบของไทยมาตั้งแต่ก่อนประวัติศาสตร์ ไม่ว่าศิลปะแบบพุทธในช่วงต้น รูปปั้นในท่าทางร่ายรำของพระศิวะ หรือภาพเขียนและศิลปะการแสดงรามเกียรติ์และมหาภารตะ ร่องรอยของอิทธิพลอินเดียยังแพร่หลาย เป็นที่นิยม และยังอยู่จนกระทั่งทุกวันนี้ การออกแบบของอินเดียมีอิทธิพลมากจนเราสงสัยว่าเหตุใดในยุคนี้ถึงไม่มีการแลกเปลี่ยนเช่นว่ามากกว่านี้ คุณเสถุตระหนักถึงจุดนี้เช่นกัน ในภาพที่ใหญ่กว่า เขาบอกว่า อินเดียได้มอบสองภาษาคือ บาลีและสันสกฤต สองศาสนาคือฮินดูและพุทธ แก่ประเทศไทย ในฐานะประชาชนอินเดีย เขามีความสุขที่ได้มีส่วนไม่ว่าทางใดก็ตามที่จะช่วยสนับสนุนการต่อสู้เพื่อเสถียรภาพทางการเมืองของไทย
และอีกเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับโลโก้ใหม่ของศูนย์ทนายฯ ก็คือนอกจากแง่มุมของด้านการออกแบบแล้ว ยังมีแง่มุมของการเคลื่อนไหวอยู่ในปูมหลังด้วย D&P เป็นหนึ่งในนักออกแบบที่ถูกเชิญให้เข้าร่วมซีรีส์งานนิทรรศการและเวิร์กช้อปเรื่องการออกแบบการเมืองระดับนานาชาติซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโซล (เกาหลีใต้) บูดาเปสต์ (ฮังการี) กดัญสก์ (โปแลนด์) และสตุตการ์ต (เยอรมนี) ระหว่างปี 2554-2556 งานที่สตุตการ์ต ชื่อว่า “Re-Designing East: Political Design in Asia and Europe” ซึ่งมีงานออกแบบทางการเมืองต่างๆ เช่น งานโชว์เคสของกลุ่มนักออกแบบเกาหลีที่เป็นที่รู้จักอย่าง 'Activism of Graphic Imagination (AGI)' และการตีความโลโก้ ‘โซลิดาริตี’ ของโปแลนด์ใหม่ D&P ยังมีส่วนงานที่นำเสนอคอนเซปต์ ‘สวราช’ ในการออกแบบและการออกแบบที่ไม่มีลิขสิทธิ์อย่างงาน design activism นักออกแบบชาวไทยที่เข้าร่วมด้วยคือ คุณประชา สุวีรานนท์ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักกิจกรรมการเมืองฮาร์ดคอร์ในไทย จากงานออกแบบทางการเมืองหลายชิ้น รวมถึงปกวารสารฟ้าเดียวกันและอ่าน และแคมเปญโหวตโนเมื่อปี 2550 งานของเขาในนิทรรศการพูดถึงกลยุทธ์ของการเป็นนักกิจกรรมด้านการออกแบบของเขา เช่น การใช้สิ่งที่คุณประชาเรียกว่าการออกแบบแบบ vernacular (ภาษาถิ่น) หรือแบบไทย-ไทย การออกแบบหนังสือเรียนเก่า การออกแบบตัวพิมพ์ ฯลฯ
นักออกแบบเหล่านี้ได้พิสูจน์ผ่านงานของพวกเขาแล้วว่า การออกแบบสามารถเป็นการเคลื่อนไหวได้ แม้ว่าพวกเขาจะถูกกระตุ้นด้วยความอยากจะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองผ่านการออกแบบ แต่กระบวนการ แนวทางและปรัชญาของพวกเขานั้นหลากหลาย ตัวอย่างเช่น แม้ว่า D&P และคุณประชาจะมีส่วนร่วมและแลกเปลี่ยนไอเดียในโปรเจ็กต์เดียวกัน แต่ทั้งคู่มีไอเดียที่ต่างกันบางส่วนในเรื่องโลโก้สำหรับองค์กรด้านการเมือง โดยขณะที่คุณประชาไม่เห็นด้วยกับการที่องค์กร กลุ่ม แคมเปญ หรือเอ็นจีโอทางการเมืองจะต้องมีโลโก้ที่เก๋ไก๋ เพื่อจะแข่งกับโลโก้เชิงพาณิชย์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อหัวข้อนั้นมีความอ่อนไหวเกินไป อย่างเหตุการณ์ 6 ตุลา 19 ส่วนแนวทางของ D&P นั้นอยู่บนปรัชญาของการให้ความสำคัญกับเรื่องคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์น้อย แต่ให้ความสำคัญกับเรื่องที่ว่าโลโก้จะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรเท่าใด และดังนั้น โลโก้จึงเป็นรูปแบบหนึ่งของการจดจำงานที่องค์กรหรือกลุ่มทำมากกว่าแค่สัญลักษณ์ที่มองเห็นได้ด้วยตาแล้วดึงดูดให้จำได้ ฉันอยากตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อใดที่กลุ่มหรือองค์กรใดที่อยากจะมีโลโก้ เพียงเพราะต้องมีบ้างสักอัน เมื่อนั้น D&P ก็จะบอกว่าไม่จำเป็นต้องมีโลโก้เลย โดยสรุป ทั้งคุณประชาและ D&P คิดว่าการออกแบบและนักออกแบบที่จะทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมและการเมืองต้องออกมาจากระบบพาณิชย์เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
เมื่อพูดถึงการเปลี่ยนแปลง ฉันอยากจะทิ้งท้ายบทความด้วยมุมเศร้าๆ เกี่ยวกับโลโก้หรือการถือกำเนิดของสิ่งนี้ขึ้น คำตอบต่อคำถามของฉันว่าทำไมศูนย์ทนายฯ ถึงต้องเปลี่ยนโลโก้ตอนนี้ พวกเขาบอกว่า
“เราตระหนักว่าเราต้องการโลโก้ที่ดูสะอาด และเนี้ยบมากขึ้น เพื่อระบุตัวตนของทีมเรา ตอนที่เราก่อตั้งศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน เราคาดการณ์ว่ารัฐประหาร 2557 จะอยู่เพียงช่วงสั้นๆ เช่นเดียวกับรัฐประหารเมื่อปี 2549 และคาดว่าเราจะทำงานกันเพียงช่วงสั้นๆ ดังนั้น โลโก้เดิมก็จึงมีการออกแบบเพื่อใช้ชั่วคราวโดยไม่ได้คำนึงถึงอัตลักษณ์องค์กร แต่ปรากฏว่ารัฐบาลทหารยังคงอยู่ในอำนาจ และดูเหมือนว่าจะยังมีอิทธิพลต่อไปในอนาคตอันใกล้ เราเห็นว่าภารกิจของเรายังต้องดำเนินต่อไปอีกหลายปี ดังนั้น เราจึงตัดสินใจที่จะสถาปนาตัวตนของพวกเราเองด้วยโลโก้ใหม่ซึ่งสื่อสารถึงงานและความมุ่งมั่นของเราได้ดีกว่า เราหวังว่าดีไซน์ใหม่จะทันสมัยขึ้นและเป็นที่จดจำได้ในระยะยาว”
อีกนัยหนึ่งก็คือ หากรัฐบาลเผด็จการทหารไม่ได้อยู่นานขนาดนี้ โลโก้ใหม่ก็อาจจะไม่จำเป็น และคงไม่ต้องให้จดจำได้ “ในระยะยาว” นั่นเอง
เกี่ยวกับผู้เขียน: Keiko Sei (เคโกะ เซ) เป็นภัณฑารักษ์และนักเขียนชาวญี่ปุ่น ผู้ศึกษาประเด็นสื่อ-วัฒนธรรมศึกษา
แสดงความคิดเห็น