Posted: 27 Feb 2018 01:25 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
งานวิจัยในเดนมาร์กพบว่าค่าแรงของผู้หญิงจะลดลงเมื่อเทียบกับผู้ชายในลักษณะงานแบบเดียวกัน คิดเป็น 20% ของค่าแรงเมื่อผู้หญิงมีลูกคนแรก ในทางกลับกันค่าแรงของผู้ชายไม่ลดลงเลยเมื่อมีลูกคนแรก ซึ่งเป็นลักษณะของ ‘ช่องว่างค่าแรงหลังการมีลูก’
เรื่องช่องระหว่างค่าแรงของชายและหญิงที่ไม่เท่ากัน (Gender wage gap) เป็นที่พบได้ทั่วทุกมุมในโลก แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วก็ตาม อย่างญี่ปุ่นพบว่าร้อยละ 73 ผู้หญิงได้รับค่าแรงต่ำกว่าผู้ชายในตำแหน่งและลักษณะงานเดียวกัน [1]แม้แต่ในยุโรปจากการสำรวจในปี 2558 ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 28 ประเทศ พบว่าผู้หญิงได้ค่าแรงต่อชั่วโมง ต่ำกว่าชายร้อยละ 16.3 [2]
มีข้อถกเถียงมากมายว่าทำใมช่องว่างค่าจ้างระหว่าชายและหญิงถึงยังดำรงอยู่ในสังคม บางคนเชื่อว่าเป็นการเลือกปฎิบัติแก่ผู้หญิง ในทางเศรษฐกิจบางคนอาจมองว่าผู้หญิงไม่มีทางมีประสิทธิภาพการทำงานได้เทียบเท่าผู้ชาย หรืออาจมองว่าการที่ผู้หญิงได้รับเลือกเข้าทำงานก็เพราะว่าค่าแรงที่ต่ำของพวกเธอนั้นเอง แต่มีศึกษาน่าสนใจที่ได้นำเสนออีกสมมติฐานว่าช่องว่างที่เกิดนั้นกรณีหนึ่งเกิดจากการที่ ‘ผู้หญิงต้องมีลูก’
การมีลูกเกี่ยวอะไรกับช่องว่างค่าแรงระหว่างเพศ
งานศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ของเฮนริค เคลเวน จากมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ได้อธิบายมุมมองเกี่ยวกับช่องว่างค่าแรงระหว่างเพศ ว่าส่วนใหญ่มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการมีลูกของผู้หญิง โดยการศึกษาใช้ข้อมูลของเดนมาร์กหนึ่งในประเทศที่มีเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม (social safety nets) สูงที่สุดในโลกที่หนึ่ง เป็นประเทศที่จ่ายเงินระหว่างวันหยุดให้ (Paid leave) ให้แก่พ่อแม่มือใหม่ขณะที่ลาพักเพื่อไปเลี้ยงลูก ในช่วงระหว่างปีแรกหลังจากที่มีบุตร และยังมีระบบศูนย์รับเลี้ยงเด็กที่เป็นของรัฐบาลในค่าบริการที่ถูกเท่ากันทั้งประเทศ อยู่ที่ราว 737 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน (ประมาณ 23,000 บาท) [3]
แต่ในสหรัฐฯ ซึ่งไม่มีระบบการจ่ายเงินการันตีจากรัฐบาลในช่วงหลังคลอดลูก และสถานเลี้ยงดูเด็กเอกชนก็มีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากันในแต่ละเขตรัฐ ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับเดนมาร์ก แต่ช่องว่างของค่าแรงระหว่างเพศของทั้ง 2 ประเทศนี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน [4]
งานวิจัยชิ้นดังกล่าวพบว่าค่าแรงของผู้หญิงจะลดลงเมื่อเทียบกับผู้ชายในลักษณะงานแบบเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 20 ของค่าแรงเมื่อผู้หญิงมีลูกคนแรก ซึ่งในทางกลับกันค่าแรงของผู้ชายกลับไม่ลดลงเมื่อมีลูกคนแรก เป็นการบอกว่าแท้ที่จริงแล้วช่องว่าดังกล่าวเป็น ‘ช่องว่างค่าแรงหลังการมีลูก’ ระหว่างหญิงและชาย
ในช่วงที่ผู้หญิงไม่มีลูกนั้นพวกเธอได้รับค่าแรงค่อนข้างใกล้เคียงกับของผู้ชาย ในขณะที่การเป็นแม่นั้นส่งผลต่อค่าแรงอย่างมีนัยยะ ซึ่งคล้ายคลึงกับงานศึกษาอื่นๆในสหรัฐที่แสดงให้เห็นความแตกต่างของค่าแรงของทั้ง 2 เพศ นั้นเริ่มจะเห็นได้ชัดเมื่อมีลูก อย่างงานวิจัยของคลอเดีย โกดิน จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด พบช่องว่างค่าแรงระหว่างเพศจะเห็นได้ชัดในช่วงอายุ 30 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยเจริญพันธ์คนส่วนมากมักจะมีลูกช่วงอายุเท่านี้ [5] เช่นเดียวกับงานศึกษาของมารีแอนน์ เบอร์ทรานด์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก ที่เผยว่าชายและหญิงที่เข้าทำงานพร้อมกัน จะเริ่มได้รับค่าแรงที่ต่างกันในช่วงปีที่ 9 หลังสำเร็จการศึกษา [6]
เมื่อผู้หญิงต้องเลี้ยงดูลูกเพียงลำพังทำลายโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ปัจจุบันปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดช่องว่างของค่าแรงดังกล่าวได้ลดลงไปบ้าง เช่นเรื่องของการศึกษา ทัศนคติระหว่างเพศ แต่สิ่งที่ดำรงอยู่คือเรื่องผลกระทบของการมีบุตร เคลเวนกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Vox นอกจากนั้นในงานศึกษาของเขายังได้เข้าไปค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้หญิงหลังการมีลูก พบว่าหลังจากมีลูกผู้หญิงหลายคนจะออกไปหางานใหม่ ที่ชั่วโมงทำงานน้อยลงซึ่งมักได้ค่าแรงที่ต่ำกว่า ยังพบอีกว่า 10 ปีหลังจากมีลูก ผู้หญิงจะเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐมากกว่าผู้ชายร้อยละ 10 ซึ่งเป็นงานที่มีชั่วโมงทำงานที่แน่นอน มีวันลาที่มากและเหมาะกับการทำหน้าที่แม่ ซึ่งจะส่งผลให้กับความก้าวหน้าในอาชีพ
เปรียบเทียบกับในส่วนของผู้ชาย ที่ส่วนใหญ่จะไม่มีการเปลี่ยนอาชีพและยังคงได้รับค่าแรงที่เท่ากันระหว่างคนที่มีลูกและไม่มีลูก
ถึงจะแม้โยบายที่ให้พ่อแม่พักงานในช่วงที่ลูกเกิดได้นั้น จะสามารถที่จะทำการยกเลิกแล้วกลับไปทำงานก่อนเวลากำหนดได้ แต่จากในทางปฏิบัติจริงแล้วผู้หญิงต้องใช้เวลาพักงานหลังให้กำเนิดลูกนานกว่าผู้ชาย การสำรวจพบว่าผู้หญิงในเดนมาร์กใช้เวลาพักงานยาวนานเฉลี่ย 297 วัน มากกว่าชายที่เฉลี่ยอยู่ที่เพียง 30 วัน น้อยที่สุดในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย [7] ตรงนี้ทำให้ยิ่งเหมือนดึงผู้หญิงให้ออกจากการทำงานนานขึ้นนานกว่า นำไปสู่ช่องว่างค่าแรง
เคลเวนมองว่าแน่นอนการมีสิทธิ์พักงานของเดนมาร์กเป็นเรื่องที่ดี แต่สิทธิพักงานนี้ที่ไม่ได้แยกระหว่างพ่อและแม่นี้ทำให้เกิดการที่ผู้ชายไม่ใช้สิทธิ (ให้ผู้หญิงใช้แทน) ต่างจากหลายประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ที่แบ่งสิทธิลาพักส่วนหนึ่งให้เพื่อสำหรับผู้ชายเท่านั้น เช่นในประเทศไอซ์แลนด์ที่สำรองสิทธินี้แก่ผู้ชายเท่านั้น จำนวน 13 สัปดาห์ทำให้มีพ่อลูกอ่อนใช้สิทธินี้จำนวนมากถึงร้อยละ 90
เคลเวนเองมองว่าไม่ได้มีทางแก้ปัญหาที่แน่นอนในตอนนี้ แต่สามารถอธิบายได้ว่าปัจจุบันกลายเป็นเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมที่มองว่าหน้าที่การเลี้ยงดูลูกต้องเป็นเรื่องของผู้หญิงเป็นหลัก และมองการทำงานระหว่างลูกยังเล็กเป็นเรื่องยาก ทำให้ผู้หญิงต้องพลาดโอกาสในอาชีพมากมาย เช่นไม่ได้รับคัดเลือกเข้ารับตำแหน่งที่เรียกร้องการเดินทางหรือระยะเวลาทำงานที่ติดต่อกันนานๆ
ที่มาเรียบเรียงจาก
A stunning chart shows the true cause of the gender wage gap (vox.com, 19/2/2018)
อ้างอิง
[1] Japan's gender wage gap persists despite progress Women earn 73% what men do (nikkei.com, 23/2/2017)
[2] Gender pay gap in unadjusted form (Eurostat, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 26/2/2018)
[3] CHILDREN AND GENDER INEQUALITY: EVIDENCE FROM DENMARK (Henrik Kleven และคณะ, NATIONAL BUREAU OF ECONOMIC RESEARCH, January 2018)
[4] The cost of child care in Colorado (epi.org, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 26/2/2018)
[5] A Grand Gender Convergence: Its Last Chapter (Claudia Goldin, American Economic Review 2014, 104(4): 1091–1119)
[6] Dynamics of the Gender Gap for Young Professionals in the Financial and Corporate Sectors (Marianne Bertrand และคณะ American Economic Journal: Applied Economics 2 (July 2010): 228–255)
[7] Danish fathers take far less paternity leave than Nordic brethren (cphpost.dk, 3/11/2017)
[full-post]
งานวิจัยในเดนมาร์กพบว่าค่าแรงของผู้หญิงจะลดลงเมื่อเทียบกับผู้ชายในลักษณะงานแบบเดียวกัน คิดเป็น 20% ของค่าแรงเมื่อผู้หญิงมีลูกคนแรก ในทางกลับกันค่าแรงของผู้ชายไม่ลดลงเลยเมื่อมีลูกคนแรก ซึ่งเป็นลักษณะของ ‘ช่องว่างค่าแรงหลังการมีลูก’
เรื่องช่องระหว่างค่าแรงของชายและหญิงที่ไม่เท่ากัน (Gender wage gap) เป็นที่พบได้ทั่วทุกมุมในโลก แม้แต่ในประเทศที่พัฒนาแล้วก็ตาม อย่างญี่ปุ่นพบว่าร้อยละ 73 ผู้หญิงได้รับค่าแรงต่ำกว่าผู้ชายในตำแหน่งและลักษณะงานเดียวกัน [1]แม้แต่ในยุโรปจากการสำรวจในปี 2558 ในประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 28 ประเทศ พบว่าผู้หญิงได้ค่าแรงต่อชั่วโมง ต่ำกว่าชายร้อยละ 16.3 [2]
มีข้อถกเถียงมากมายว่าทำใมช่องว่างค่าจ้างระหว่าชายและหญิงถึงยังดำรงอยู่ในสังคม บางคนเชื่อว่าเป็นการเลือกปฎิบัติแก่ผู้หญิง ในทางเศรษฐกิจบางคนอาจมองว่าผู้หญิงไม่มีทางมีประสิทธิภาพการทำงานได้เทียบเท่าผู้ชาย หรืออาจมองว่าการที่ผู้หญิงได้รับเลือกเข้าทำงานก็เพราะว่าค่าแรงที่ต่ำของพวกเธอนั้นเอง แต่มีศึกษาน่าสนใจที่ได้นำเสนออีกสมมติฐานว่าช่องว่างที่เกิดนั้นกรณีหนึ่งเกิดจากการที่ ‘ผู้หญิงต้องมีลูก’
การมีลูกเกี่ยวอะไรกับช่องว่างค่าแรงระหว่างเพศ
งานศึกษาทางด้านเศรษฐศาสตร์ของเฮนริค เคลเวน จากมหาวิทยาลัยปรินซ์ตัน ได้อธิบายมุมมองเกี่ยวกับช่องว่างค่าแรงระหว่างเพศ ว่าส่วนใหญ่มีสาเหตุสืบเนื่องมาจากการมีลูกของผู้หญิง โดยการศึกษาใช้ข้อมูลของเดนมาร์กหนึ่งในประเทศที่มีเครือข่ายความปลอดภัยทางสังคม (social safety nets) สูงที่สุดในโลกที่หนึ่ง เป็นประเทศที่จ่ายเงินระหว่างวันหยุดให้ (Paid leave) ให้แก่พ่อแม่มือใหม่ขณะที่ลาพักเพื่อไปเลี้ยงลูก ในช่วงระหว่างปีแรกหลังจากที่มีบุตร และยังมีระบบศูนย์รับเลี้ยงเด็กที่เป็นของรัฐบาลในค่าบริการที่ถูกเท่ากันทั้งประเทศ อยู่ที่ราว 737 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อเดือน (ประมาณ 23,000 บาท) [3]
แต่ในสหรัฐฯ ซึ่งไม่มีระบบการจ่ายเงินการันตีจากรัฐบาลในช่วงหลังคลอดลูก และสถานเลี้ยงดูเด็กเอกชนก็มีค่าใช้จ่ายไม่เท่ากันในแต่ละเขตรัฐ ซึ่งสูงมากเมื่อเทียบกับเดนมาร์ก แต่ช่องว่างของค่าแรงระหว่างเพศของทั้ง 2 ประเทศนี้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน [4]
งานวิจัยชิ้นดังกล่าวพบว่าค่าแรงของผู้หญิงจะลดลงเมื่อเทียบกับผู้ชายในลักษณะงานแบบเดียวกัน คิดเป็นร้อยละ 20 ของค่าแรงเมื่อผู้หญิงมีลูกคนแรก ซึ่งในทางกลับกันค่าแรงของผู้ชายกลับไม่ลดลงเมื่อมีลูกคนแรก เป็นการบอกว่าแท้ที่จริงแล้วช่องว่าดังกล่าวเป็น ‘ช่องว่างค่าแรงหลังการมีลูก’ ระหว่างหญิงและชาย
ในช่วงที่ผู้หญิงไม่มีลูกนั้นพวกเธอได้รับค่าแรงค่อนข้างใกล้เคียงกับของผู้ชาย ในขณะที่การเป็นแม่นั้นส่งผลต่อค่าแรงอย่างมีนัยยะ ซึ่งคล้ายคลึงกับงานศึกษาอื่นๆในสหรัฐที่แสดงให้เห็นความแตกต่างของค่าแรงของทั้ง 2 เพศ นั้นเริ่มจะเห็นได้ชัดเมื่อมีลูก อย่างงานวิจัยของคลอเดีย โกดิน จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด พบช่องว่างค่าแรงระหว่างเพศจะเห็นได้ชัดในช่วงอายุ 30 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยเจริญพันธ์คนส่วนมากมักจะมีลูกช่วงอายุเท่านี้ [5] เช่นเดียวกับงานศึกษาของมารีแอนน์ เบอร์ทรานด์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโก ที่เผยว่าชายและหญิงที่เข้าทำงานพร้อมกัน จะเริ่มได้รับค่าแรงที่ต่างกันในช่วงปีที่ 9 หลังสำเร็จการศึกษา [6]
เมื่อผู้หญิงต้องเลี้ยงดูลูกเพียงลำพังทำลายโอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ปัจจุบันปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดช่องว่างของค่าแรงดังกล่าวได้ลดลงไปบ้าง เช่นเรื่องของการศึกษา ทัศนคติระหว่างเพศ แต่สิ่งที่ดำรงอยู่คือเรื่องผลกระทบของการมีบุตร เคลเวนกล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Vox นอกจากนั้นในงานศึกษาของเขายังได้เข้าไปค้นหาว่าเกิดอะไรขึ้นกับผู้หญิงหลังการมีลูก พบว่าหลังจากมีลูกผู้หญิงหลายคนจะออกไปหางานใหม่ ที่ชั่วโมงทำงานน้อยลงซึ่งมักได้ค่าแรงที่ต่ำกว่า ยังพบอีกว่า 10 ปีหลังจากมีลูก ผู้หญิงจะเข้าทำงานในหน่วยงานภาครัฐมากกว่าผู้ชายร้อยละ 10 ซึ่งเป็นงานที่มีชั่วโมงทำงานที่แน่นอน มีวันลาที่มากและเหมาะกับการทำหน้าที่แม่ ซึ่งจะส่งผลให้กับความก้าวหน้าในอาชีพ
เปรียบเทียบกับในส่วนของผู้ชาย ที่ส่วนใหญ่จะไม่มีการเปลี่ยนอาชีพและยังคงได้รับค่าแรงที่เท่ากันระหว่างคนที่มีลูกและไม่มีลูก
ถึงจะแม้โยบายที่ให้พ่อแม่พักงานในช่วงที่ลูกเกิดได้นั้น จะสามารถที่จะทำการยกเลิกแล้วกลับไปทำงานก่อนเวลากำหนดได้ แต่จากในทางปฏิบัติจริงแล้วผู้หญิงต้องใช้เวลาพักงานหลังให้กำเนิดลูกนานกว่าผู้ชาย การสำรวจพบว่าผู้หญิงในเดนมาร์กใช้เวลาพักงานยาวนานเฉลี่ย 297 วัน มากกว่าชายที่เฉลี่ยอยู่ที่เพียง 30 วัน น้อยที่สุดในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย [7] ตรงนี้ทำให้ยิ่งเหมือนดึงผู้หญิงให้ออกจากการทำงานนานขึ้นนานกว่า นำไปสู่ช่องว่างค่าแรง
เคลเวนมองว่าแน่นอนการมีสิทธิ์พักงานของเดนมาร์กเป็นเรื่องที่ดี แต่สิทธิพักงานนี้ที่ไม่ได้แยกระหว่างพ่อและแม่นี้ทำให้เกิดการที่ผู้ชายไม่ใช้สิทธิ (ให้ผู้หญิงใช้แทน) ต่างจากหลายประเทศในแถบสแกนดิเนเวีย ที่แบ่งสิทธิลาพักส่วนหนึ่งให้เพื่อสำหรับผู้ชายเท่านั้น เช่นในประเทศไอซ์แลนด์ที่สำรองสิทธินี้แก่ผู้ชายเท่านั้น จำนวน 13 สัปดาห์ทำให้มีพ่อลูกอ่อนใช้สิทธินี้จำนวนมากถึงร้อยละ 90
เคลเวนเองมองว่าไม่ได้มีทางแก้ปัญหาที่แน่นอนในตอนนี้ แต่สามารถอธิบายได้ว่าปัจจุบันกลายเป็นเหมือนเป็นเรื่องธรรมดาในสังคมที่มองว่าหน้าที่การเลี้ยงดูลูกต้องเป็นเรื่องของผู้หญิงเป็นหลัก และมองการทำงานระหว่างลูกยังเล็กเป็นเรื่องยาก ทำให้ผู้หญิงต้องพลาดโอกาสในอาชีพมากมาย เช่นไม่ได้รับคัดเลือกเข้ารับตำแหน่งที่เรียกร้องการเดินทางหรือระยะเวลาทำงานที่ติดต่อกันนานๆ
ที่มาเรียบเรียงจาก
A stunning chart shows the true cause of the gender wage gap (vox.com, 19/2/2018)
อ้างอิง
[1] Japan's gender wage gap persists despite progress Women earn 73% what men do (nikkei.com, 23/2/2017)
[2] Gender pay gap in unadjusted form (Eurostat, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 26/2/2018)
[3] CHILDREN AND GENDER INEQUALITY: EVIDENCE FROM DENMARK (Henrik Kleven และคณะ, NATIONAL BUREAU OF ECONOMIC RESEARCH, January 2018)
[4] The cost of child care in Colorado (epi.org, เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 26/2/2018)
[5] A Grand Gender Convergence: Its Last Chapter (Claudia Goldin, American Economic Review 2014, 104(4): 1091–1119)
[6] Dynamics of the Gender Gap for Young Professionals in the Financial and Corporate Sectors (Marianne Bertrand และคณะ American Economic Journal: Applied Economics 2 (July 2010): 228–255)
[7] Danish fathers take far less paternity leave than Nordic brethren (cphpost.dk, 3/11/2017)
แสดงความคิดเห็น