Posted: 25 Feb 2018 01:24 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
ประธานมูลนิธิบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการเตือนผันน้ำสาละวินลงเขื่อนอาจไม่คุ้มค่า ต้นทุนสูงลิ่วแถมผ่าป่าดิบเขตอนุรักษ์ ชาวบ้านหวั่นผลกระทบอื้อ
25 ก.พ. 2561 นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ตนได้ลงพื้นที่แม่น้ำยวม และแม่น้ำเงา อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.จาก ซึ่งขณะนี้มีการการผลักดันโครงการผันน้ำจากลุ่มแม่น้ำสาละวิน สู่ลุ่มน้ำปิงและเจ้าพระยา (โครงการศึกษาทบทวนการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล) เป็นแนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล โดยกรมชลประทาน
นายหาญณรงค์กล่าวว่า การผันน้ำจากลุ่มน้ำสาละวินมาลุ่มน้ำปิง เมื่อลงมาดูในพื้นที่จะพบว่า โครงการนี้จะมีการใช้งบประมาณในการลงทุนสูง ขั้นตอนการผันน้ำไม่ได้ผันตามแรงโน้มถ่วง แต่เป็นการ สร้างเขื่อนกั้นน้ำแม่น้ำยวม ความสูง 71เมตร จากนั้นต้องมีการสูบน้ำจากท้ายเขื่อน ขึ้นไปยังบ่อพักน้ำสูงประมาณ 30 เมตร และปล่อยน้ำลงอุโมงค์ ไปยังแม่น้ำปิง ที่ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ระยะทาง 67 กม. หากดูข้อมูลในทางเทคนิคแล้ว จะได้น้ำไปเติมเขื่อน 1,795 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อปี นั่นหมายความว่า เขื่อนน้ำยวมที่สามารถจุน้ำได้ 65 ล้าน ลบ.ม. จะต้องสูบน้ำจนหมดอ่างอย่างน้อย 30 ครั้ง และจะต้องเสียค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำอย่างน้อย 2,400 ล้านบาทต่อปี
“ถ้าดูแล้วโครงการนี้จะต้องลงทุนสูง ค่าใช้จ่ายในการได้น้ำมาต่อหน่วยอยู่ในราคาที่แพง รวมแล้วไม่น้อยกว่า 65 บาท/ลบ.ม. ในปีแรกของโครงการ ถือว่าแพงมาก เมื่อเทียบกับการสร้างเขื่อนภูมิพล ค่าน้ำอยู่ที่เพียงประมาณ 50 สตางค์ ใน 1 ปีแรก ซึ่งถือว่าในโครงการนี้เมื่อมีการศึกษาที่ผ่านมาเป็นเพียงการทบทวนความเป็นไปได้ ยังไม่มีรายละเอียดเพียงพอ จึงจำเป็นต้องดูมูลค่าที่แท้จริงของการลงทุน และผลกระทบเพิ่มเติมในขั้นตอนก่อสร้าง ที่เป็นค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุม และค่าใช้จ่ายที่จะแพงขึ้นของโครงการนี้คือ ค่าการก่อสร้างอุโมงค์ผ่านผืนป่าสมบูรณ์บริเวณ รอยต่อ จ.แม่ฮ่องสอน จ.ตาก และ จ.เชียงใหม่ เพราะยังไม่มีข้อมูลในทางธรณี” นายหาญณรงค์ กล่าว
นายหาญณรงค์กล่าวว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านสบเงา อ.สบเมย มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ชาวบ้านบอกว่าการสร้างเขื่อนและอุโมงค์ จะเกิดผลกระทบทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย ผลตามมาคือชีวิตชาวบ้านจะต้องเดือดร้อน ปกติแม่เงาน้ำ มีน้ำป่าท่วมทุกปี หน่วยงานได้ลงมาสำรวจให้ข้อมูลว่าหากสร้างเขื่อนกั้นน้ำ จะสูบน้ำเข้าอุโมงค์ น้ำที่เคยท่วมก็ไม่ท่วม จะสูบไปหมด แต่ชาวบ้านมองว่า หากกั้นเขื่อน ดินหินทรายโคลนก็จะทับถมสูงขึ้น ยิ่งทำให้น้ำท่วมบ้านเรือน ในเวทีประชุมที่หน่วยงานลงมาจัด เมื่อชาวบ้านถามไปเขาก็ตอบไม่ได้ ขณะนี้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำยวม แม่น้ำเงา อยู่กันด้วยความอบอุ่น แต่หากมีเขื่อนกั้นน้ำ สร้างสถานีสูบน้ำ ชาวบ้านได้ไปจับพิกัดมาพบว่าจะกระทบต่อพื้นที่แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน จะเสียหาย ผลกระทบทางเสียงจากเครื่องสูบน้ำ หากมาก่อสร้าง บ้านใหม่ อยู่ใกล้ เขามาว่าจะสร้างกำแพงไม่ให้มีเสียง เขาบอกว่าชาวบ้านจะได้สิทธิประโยชน์ สร้างบ่อน้ำสะอาด จริงๆ มันก็คือน้ำขี้ตีนขี้มือ ทุกวันนี้น้ำของเรามาจากรากไม้ จากป่าบริสุทธิ์ น้ำสะอาดไม้ต้องใช้คลอรีนก็สะอาดดื่มกินได้
นายพงษ์พิพัฒน์ มีเบญจมาศ ผู้ประสานงานเครือข่ายการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอนกล่าวว่า กรมชลประทานโดยมหาวิทยาลัยนเรศวรได้เปิดเวทีนำเสนอข้อมูลการศึกษาและรับฟังผลกระทบจากชุมชนแล้ว 3 ครั้ง โดยจัดที่ที่ว่าการอำเภอสบเมย ที่วัดแม่เงาหมู่ 8 อำเภอสบเมยและโรงแรมมิตรอารีย์ 2 อำเภอแม่สะเรียง ซึ่งบรรยากาศส่วนใหญ่ชาวบ้านเป็นห่วงเรื่องผลกระทบต่างๆ เช่น ในหน้าแล้งน้ำในแม่น้ำยวมมีปริมาณน้อยอยู่แล้ว หากถูกดูดไปใช้อีกจะเป็นการแย่งน้ำชาวบ้านหรือไม่ ที่สำคัญชาวบ้านไม่รู้ว่าโครงการนี้จะทำให้ปริมาณน้ำจะท่วมสูงขนาดไหนโดยเฉพาะชาวบ้านแม่เงาซึ่งอยู่ในที่ราบต่ำก็มีโอกาสถูกท่วมกันทั้งหมด
ผู้ประสานงานเครือข่ายการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำสาละวินกล่าวว่า ชาวบ้านยังตั้งคำถามด้วยว่าดินจากการขุดเจาะอุโมงค์จำนวนมหาศาล ทางผู้รับผิดชอบจะนำไปทิ้งที่ไหนและจะมีผลต่อผืนป่าหรือไม่ เพราะโครงการนี้ตัดผ่านทั้งป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซึ่งจะส่งผลกระทบมากมาย แม้ทางโครงการพยายามว่าไม่มีผลเพราะเป็นการเจาะใต้ดิน แต่ชาวบ้านก็ไม่มั่นใจ นอกจากนี้ชาวบ้านยังห่วงเรื่องเสียงที่เกิดจากเครื่องสูบน้ำจะส่งผลกระทบต่อชุมชนหรือไม่และในช่วงก่อสร้างต้องมีการเจาะอุโมงค์จะมีปัญหาหรือไม่ ซึ่งยังไม่มีคำตอบชัดเจน
“เวทีเหล่านี้เป็นของทีมศึกษาด้านวิชาการของม.นเรศวร คิดว่าอาจจะมีการจัดเวทีอีกครั้ง ก่อนส่งผลการศึกษานี้ให้กรมชลประทาน ซึ่งจะสร้างหรือไม่ ยังไม่มีความชัดเจน จริงๆแล้วชาวบ้านอยากให้มีการตั้งคณะกรรมการกลางที่มีชุมชนเข้าร่วมมากกว่า ไม่ใช่ศึกษาฝ่ายเดียว ควรเอาคนที่ได้รับผลกระทบหลักเข้าไปร่วมเป็นสำคัญ โครงการนี้ใช้งบประมาณมหาศาลไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องพิจารณาให้ดี ที่ผ่านมาชาวบ้านยังเข้าไม่ถึงข้อมูลเลย ส่วนใหญ่พวกเขาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ พออ่านเอกสารที่เป็นตัวเลขทางวิชาการก็ไม่เข้าใจ ควรหาวิธีให้พวกเขาได้เข้าถึงข้อมูลมากกว่านี้เพื่อประกอบการตัดสินใจที่แท้จริง”นายพงษ์พิพัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้โครงการศึกษาทบทวนการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล กรมชลประทานได้ว่าจ้าง บริษัทปัญญาคอนซัลแตนท์ บริษัท เอส เอ็น ที คอนซัลแตนท์ จำกัด และมหาวิทยาลัยนเรศวร ทำการศึกษาตั้งแต่ปี 2559 มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพลจากลุ่มน้ำในประเทศ ลุ่มน้ำสำละวินและลุ่มน้ำสาขา เพื่อแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งแต่ด้านท้ายเขื่อนภูมิพลในปัจจุบันและอนาคต 20 ปีข้างหน้า ระยะเวลาในการดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนกันยายน 2559- กุมภาพันธ์ 2561 รวม 18 เดือน องค์ประกอบการผันน้ำเบื้องต้นคือ แผนการสร้างเขื่อนน้ำยวมตอนล่าง และโรงไฟฟ้า ที่บริเวณบ้านสบเมย อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ทำการสูบน้ำโดยผ่านอุโมงค์อัดน้ำคอนกรีตดาดเหล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.80 ม. ยาว 1,822.79 ม. เข้าถังพักน้ำใต้ดินรูปทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 34.09 ม. สูง 25.54 ม. ผ่านอุโมงค์ส่งน้ำความยาวรวม 61.85 กม. มาลงห้วยแม่งูด ลุ่มน้ำปิง-เจ้าพระยา
25 ก.พ. 2561 นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ตนได้ลงพื้นที่แม่น้ำยวม และแม่น้ำเงา อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน ตรงข้าม อ.ท่าสองยาง จ.จาก ซึ่งขณะนี้มีการการผลักดันโครงการผันน้ำจากลุ่มแม่น้ำสาละวิน สู่ลุ่มน้ำปิงและเจ้าพระยา (โครงการศึกษาทบทวนการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล) เป็นแนวส่งน้ำยวม-อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล โดยกรมชลประทาน
นายหาญณรงค์กล่าวว่า การผันน้ำจากลุ่มน้ำสาละวินมาลุ่มน้ำปิง เมื่อลงมาดูในพื้นที่จะพบว่า โครงการนี้จะมีการใช้งบประมาณในการลงทุนสูง ขั้นตอนการผันน้ำไม่ได้ผันตามแรงโน้มถ่วง แต่เป็นการ สร้างเขื่อนกั้นน้ำแม่น้ำยวม ความสูง 71เมตร จากนั้นต้องมีการสูบน้ำจากท้ายเขื่อน ขึ้นไปยังบ่อพักน้ำสูงประมาณ 30 เมตร และปล่อยน้ำลงอุโมงค์ ไปยังแม่น้ำปิง ที่ อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ระยะทาง 67 กม. หากดูข้อมูลในทางเทคนิคแล้ว จะได้น้ำไปเติมเขื่อน 1,795 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อปี นั่นหมายความว่า เขื่อนน้ำยวมที่สามารถจุน้ำได้ 65 ล้าน ลบ.ม. จะต้องสูบน้ำจนหมดอ่างอย่างน้อย 30 ครั้ง และจะต้องเสียค่าไฟฟ้าในการสูบน้ำอย่างน้อย 2,400 ล้านบาทต่อปี
“ถ้าดูแล้วโครงการนี้จะต้องลงทุนสูง ค่าใช้จ่ายในการได้น้ำมาต่อหน่วยอยู่ในราคาที่แพง รวมแล้วไม่น้อยกว่า 65 บาท/ลบ.ม. ในปีแรกของโครงการ ถือว่าแพงมาก เมื่อเทียบกับการสร้างเขื่อนภูมิพล ค่าน้ำอยู่ที่เพียงประมาณ 50 สตางค์ ใน 1 ปีแรก ซึ่งถือว่าในโครงการนี้เมื่อมีการศึกษาที่ผ่านมาเป็นเพียงการทบทวนความเป็นไปได้ ยังไม่มีรายละเอียดเพียงพอ จึงจำเป็นต้องดูมูลค่าที่แท้จริงของการลงทุน และผลกระทบเพิ่มเติมในขั้นตอนก่อสร้าง ที่เป็นค่าใช้จ่ายให้ครอบคลุม และค่าใช้จ่ายที่จะแพงขึ้นของโครงการนี้คือ ค่าการก่อสร้างอุโมงค์ผ่านผืนป่าสมบูรณ์บริเวณ รอยต่อ จ.แม่ฮ่องสอน จ.ตาก และ จ.เชียงใหม่ เพราะยังไม่มีข้อมูลในทางธรณี” นายหาญณรงค์ กล่าว
นายหาญณรงค์กล่าวว่า ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านสบเงา อ.สบเมย มีความกังวลเป็นอย่างยิ่งต่อผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ชาวบ้านบอกว่าการสร้างเขื่อนและอุโมงค์ จะเกิดผลกระทบทรัพยากรธรรมชาติเสียหาย ผลตามมาคือชีวิตชาวบ้านจะต้องเดือดร้อน ปกติแม่เงาน้ำ มีน้ำป่าท่วมทุกปี หน่วยงานได้ลงมาสำรวจให้ข้อมูลว่าหากสร้างเขื่อนกั้นน้ำ จะสูบน้ำเข้าอุโมงค์ น้ำที่เคยท่วมก็ไม่ท่วม จะสูบไปหมด แต่ชาวบ้านมองว่า หากกั้นเขื่อน ดินหินทรายโคลนก็จะทับถมสูงขึ้น ยิ่งทำให้น้ำท่วมบ้านเรือน ในเวทีประชุมที่หน่วยงานลงมาจัด เมื่อชาวบ้านถามไปเขาก็ตอบไม่ได้ ขณะนี้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่บริเวณแม่น้ำยวม แม่น้ำเงา อยู่กันด้วยความอบอุ่น แต่หากมีเขื่อนกั้นน้ำ สร้างสถานีสูบน้ำ ชาวบ้านได้ไปจับพิกัดมาพบว่าจะกระทบต่อพื้นที่แหล่งน้ำประปาหมู่บ้าน จะเสียหาย ผลกระทบทางเสียงจากเครื่องสูบน้ำ หากมาก่อสร้าง บ้านใหม่ อยู่ใกล้ เขามาว่าจะสร้างกำแพงไม่ให้มีเสียง เขาบอกว่าชาวบ้านจะได้สิทธิประโยชน์ สร้างบ่อน้ำสะอาด จริงๆ มันก็คือน้ำขี้ตีนขี้มือ ทุกวันนี้น้ำของเรามาจากรากไม้ จากป่าบริสุทธิ์ น้ำสะอาดไม้ต้องใช้คลอรีนก็สะอาดดื่มกินได้
นายพงษ์พิพัฒน์ มีเบญจมาศ ผู้ประสานงานเครือข่ายการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอนกล่าวว่า กรมชลประทานโดยมหาวิทยาลัยนเรศวรได้เปิดเวทีนำเสนอข้อมูลการศึกษาและรับฟังผลกระทบจากชุมชนแล้ว 3 ครั้ง โดยจัดที่ที่ว่าการอำเภอสบเมย ที่วัดแม่เงาหมู่ 8 อำเภอสบเมยและโรงแรมมิตรอารีย์ 2 อำเภอแม่สะเรียง ซึ่งบรรยากาศส่วนใหญ่ชาวบ้านเป็นห่วงเรื่องผลกระทบต่างๆ เช่น ในหน้าแล้งน้ำในแม่น้ำยวมมีปริมาณน้อยอยู่แล้ว หากถูกดูดไปใช้อีกจะเป็นการแย่งน้ำชาวบ้านหรือไม่ ที่สำคัญชาวบ้านไม่รู้ว่าโครงการนี้จะทำให้ปริมาณน้ำจะท่วมสูงขนาดไหนโดยเฉพาะชาวบ้านแม่เงาซึ่งอยู่ในที่ราบต่ำก็มีโอกาสถูกท่วมกันทั้งหมด
ผู้ประสานงานเครือข่ายการจัดการทรัพยากรลุ่มน้ำสาละวินกล่าวว่า ชาวบ้านยังตั้งคำถามด้วยว่าดินจากการขุดเจาะอุโมงค์จำนวนมหาศาล ทางผู้รับผิดชอบจะนำไปทิ้งที่ไหนและจะมีผลต่อผืนป่าหรือไม่ เพราะโครงการนี้ตัดผ่านทั้งป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซึ่งจะส่งผลกระทบมากมาย แม้ทางโครงการพยายามว่าไม่มีผลเพราะเป็นการเจาะใต้ดิน แต่ชาวบ้านก็ไม่มั่นใจ นอกจากนี้ชาวบ้านยังห่วงเรื่องเสียงที่เกิดจากเครื่องสูบน้ำจะส่งผลกระทบต่อชุมชนหรือไม่และในช่วงก่อสร้างต้องมีการเจาะอุโมงค์จะมีปัญหาหรือไม่ ซึ่งยังไม่มีคำตอบชัดเจน
“เวทีเหล่านี้เป็นของทีมศึกษาด้านวิชาการของม.นเรศวร คิดว่าอาจจะมีการจัดเวทีอีกครั้ง ก่อนส่งผลการศึกษานี้ให้กรมชลประทาน ซึ่งจะสร้างหรือไม่ ยังไม่มีความชัดเจน จริงๆแล้วชาวบ้านอยากให้มีการตั้งคณะกรรมการกลางที่มีชุมชนเข้าร่วมมากกว่า ไม่ใช่ศึกษาฝ่ายเดียว ควรเอาคนที่ได้รับผลกระทบหลักเข้าไปร่วมเป็นสำคัญ โครงการนี้ใช้งบประมาณมหาศาลไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องพิจารณาให้ดี ที่ผ่านมาชาวบ้านยังเข้าไม่ถึงข้อมูลเลย ส่วนใหญ่พวกเขาเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ พออ่านเอกสารที่เป็นตัวเลขทางวิชาการก็ไม่เข้าใจ ควรหาวิธีให้พวกเขาได้เข้าถึงข้อมูลมากกว่านี้เพื่อประกอบการตัดสินใจที่แท้จริง”นายพงษ์พิพัฒน์ กล่าว
ทั้งนี้โครงการศึกษาทบทวนการเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพล กรมชลประทานได้ว่าจ้าง บริษัทปัญญาคอนซัลแตนท์ บริษัท เอส เอ็น ที คอนซัลแตนท์ จำกัด และมหาวิทยาลัยนเรศวร ทำการศึกษาตั้งแต่ปี 2559 มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้เขื่อนภูมิพลจากลุ่มน้ำในประเทศ ลุ่มน้ำสำละวินและลุ่มน้ำสาขา เพื่อแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ตั้งแต่ด้านท้ายเขื่อนภูมิพลในปัจจุบันและอนาคต 20 ปีข้างหน้า ระยะเวลาในการดำเนินการศึกษาตั้งแต่เดือนกันยายน 2559- กุมภาพันธ์ 2561 รวม 18 เดือน องค์ประกอบการผันน้ำเบื้องต้นคือ แผนการสร้างเขื่อนน้ำยวมตอนล่าง และโรงไฟฟ้า ที่บริเวณบ้านสบเมย อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ทำการสูบน้ำโดยผ่านอุโมงค์อัดน้ำคอนกรีตดาดเหล็ก มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6.80 ม. ยาว 1,822.79 ม. เข้าถังพักน้ำใต้ดินรูปทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 34.09 ม. สูง 25.54 ม. ผ่านอุโมงค์ส่งน้ำความยาวรวม 61.85 กม. มาลงห้วยแม่งูด ลุ่มน้ำปิง-เจ้าพระยา
แสดงความคิดเห็น