Posted: 25 Oct 2018 11:26 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Fri, 2018-10-26 13:26
ณฐนน เรืองวัฒนานนท์ และนิตยา ชันพิมาย รายงาน
ชมรมประชาธิปไตย ม.เชียงใหม่ จัดงานเสวนา 'อนาคตการศึกษาไทยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20' ย้ำบริบทของอนาคตการศึกษาขึ้นอยู่กับว่าใครเป็นผู้ควบคุมอำนาจ และการผลิตซ้ำทางสังคมเชิงนโยบายหรือการตีความผ่านการสอนในห้องเรียน
เมื่อวันที่ 24 ต.ค. ที่ผ่านมา ชมรมประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดงานเสวนาวิชาการ 86 ปีประชาธิปไตย ตอน อนาคตการศึกษาไทยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ณ ห้องประชุมอาคารกิจกรรมนักศึกษา มหาวิทยาลัยเชียง(อ.มช) เพื่อเสวนาแลกเปลี่ยน โดยมี อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์จากคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดร.ออมสิน จตุพร อาจารย์จากคณะศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมด้วย อรรถพล ประภาสโนบล ครูจากกลุ่มพลเรียน ผู้อยู่ในแวววงการศึกษา ร่วมเสวนา ในประเด็น การปฏิรูปการศึกษาไทยภายใต้รัฐบาลในช่วง 10 ที่ผ่านมา การสอดแทรกเนื้อหาความเป็นพลเมืองและการสร้างประชาธิปไตยในระบบการศึกษา สถานศึกษาไทย การพัฒนาการการศึกษาไทยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มีความสอดคล้องกับโลกในศตวรรษที่ 21 มากแค่ไหน
การศึกษาภายใต้การเปลี่ยนผ่านทางการเมืองในรอบ 10 ปี
ครูจากกลุ่มพลเรียน กล่าวว่า ระบบการศึกษาต้องการให้เด็กเป็น Active Learner แต่ไม่ต้องการให้เด็กเป็น Active Citizens กล่าวอีกนัยคือต้องการให้นักเรียนแสดงออกในบริบทของการเรียนแต่ไม่ต้องแสดงออกทางการเมือง และนักเรียนที่กล้าตั้งคำถามจะกลายเป็นบุคคลที่ถูกมองว่าเป็นอาชญากรรมทางสังคม
ออมสิน กล่าวว่า พื้นที่ของการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนได้รับมันเป็นการพยายามส่งผ่านแก่ผู้เรียนในด้านนโยบายผ่านตัวกลางคือหลักสูตรการศึกษาวิชาสังคมศึกษา เพื่อเพิ่มความเป็นไทยให้ความสำคัญกับสถาบัน
การสอดแทรกเนื้อหาความเป็นพลเมือง-การสร้างประชาธิปไตย
อรรถพล อนันตวรสกุล กล่าวว่า การศึกษาคือกระจกสะท้อนสังคมเป็นอย่างไร มองการศึกษาจึงควรมองไปถึงการศึกษาด้านอำนาจที่มองคนเป็นเครื่องมือในการศึกษา ซึ่งอำนาจที่รัฐพยามแทรกแซงมักนำมาซึ่งความรุนแรงเชิงโครงสร้างในรูปแบบของนโยบายการศึกษา หรืออาจเป็นการตีความของผู้สอนภายในห้องเรียนว่าตีความในรูปแบบใด หรือพยามทำให้ผู้เรียนเป็นพลเมืองดีเพียงตามบริบทที่รัฐมีความต้องการอยากให้เป็น
ขณะที่ ออมสิน กล่าวว่า พื้นที่ของการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เด็กไทยทุกคนได้รับเป็นการพยามส่งผ่านแก่ผู้เรียนในด้านนโยบายผ่านตัวกลางคือหลักสูตรการศึกษาวิชาสังคมศึกษา เพื่อเพิ่มความเป็นไทยให้ความสำคัญกับสถาบัน
การเเช่เเข็งทางการเมืองกับการเเช่เเข็งทางความคิดของคนรุ่นใหม่
ผู้ร่วมเสวนาทั้งสามท่าน เสนอมุมมองในมุมมองโครงสร้างต่างๆ เช่น ในมุมมองของยุทธศาสตร์ชาติ กรอบเเนวคิดที่ว่านี้ ต้องการสร้างประเทศไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน พยามทำตามนโยบายการผลิตซ้ำทางสังคม การผลิตซ้ำทางวาทกรรมการศึกษา อย่างเช่นโครงการ สานพลังประชารัฐ ที่รัฐร่วมมือกับภาคธุรกิจเพื่อต้องการเอื้อผลประโยชน์บางอย่างในรูปแบบของระบบการศึกษา มองในระบบของโรงเรียน การผลิตซ้ำทางความคิดที่ต้องการให้สังคมมีความสงบ การส่งเสริมให้เด็กตั้งคำถาม เป็นเพียงเเค่กรอบที่วางไว้ ดังเช่นสุภาษิตที่ว่า "เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด" โดยที่ไม่มีการตั้งคำถาม หรือหากมีการตั้งคำถามกับระบบ จะมีคนบอกว่า "มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ"
ซึ่งจากการการเสวนาอาจสรุปได้ว่าบริบทของอนาคตการศึกษาขึ้นอยู่กับโครงสร้างที่ว่าใครเป็นผู้ควบคุมอำนาจ และการผลิตซ้ำทางสังคมเชิงนโยบายหรือการตีความผ่านการสอนในห้องเรียน
แสดงความคิดเห็น