Posted: 21 Oct 2018 09:17 PM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Mon, 2018-10-22 11:17
หลัง ร่าง พ.ร.บ. คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .... ผ่านมติคณะรัฐมนตรี เกิดเสียงค้านจากหลายฝ่ายทั้งภาคประชาชน อดีตรองเลขาธิการ สปสช. รวมทั้งการตั้งข้อสังเกตจากหน่วยงานรัฐ เรื่องขาดการมีส่วนร่วม-รวบอำนาจ-ซ้ำซ้อน-เพิ่มต้นทุน
‘ซุปเปอร์บอร์ด’ มาได้ไง
กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอ ร่าง พ.ร.บ. ซุปเปอร์บอร์ดสุขภาพแห่งชาติ หรือร่าง พ.ร.บ. คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญของคือการตั้งคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายสุขภาพของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในการเข้าถึงระบบสุขภาพที่ดี ซึ่งนั้นหมายถึงการรวมกองทุน 3 ระบบได้แก่ บัตรทอง, ประกันสังคม, ข้าราชการ มาไว้ในความดูแลของ ซุปเปอร์บอร์ด
สถานะตอนนี้
ร่าง พ.ร.บ. ซุปเปอร์บอร์ดนี้ได้รับการอนุมัติโดยมติ ครม. ไปเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 61 หลังจากนี้ส่งกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนส่ง สนช.พิจารณาต่อไป
ขาดการมีส่วนร่วม-รวบอำนาจ-ซ้ำซ้อน-เพิ่มต้นทุน
ภาคประชาชน
- มาตรา 3 ของ พ.ร.บ.นี้ระบุว่า นโยบายด้านระบบสุขภาพใด ขัดหรือแย้งกับนโยบายด้านระบบสุขภาพตาม พ.ร.บ.นี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ หมายความว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้คือกฎหมายใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับด้านระบบสุขภาพของไทย
- สัดส่วนคณะกรรมการ จากเดิม 30 คน มีภาคประชาชน 5 คน กลายเป็น 45 คน มีภาคประชาชน 3 คน จึงมีแนวโน้มว่าจะพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม
- คณะกรรมการสภาหอการค้าที่ถูกเลือกให้อยู่ในซุปเปอร์บอร์ดนี้ คือตัวแทนจากกลุ่มบริษัทยาข้ามชาติ ซึ่งที่ผ่านมามีบทบาทในการคัดค้านนโยบายด้านสุขภาพต่างๆที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนมาตลอด
หน่วยงานรัฐ
ในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ หน่วยงานต่างๆ ท้วงติงในหลายประเด็น เช่น
- กระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นว่าคณะกรรมการมีจำนวนมากเกินไปอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงานและสร้างภาระเบี้ยประชุม
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า การกำหนดให้คณะกรรมการเสนอแนะต่อ ครม.เพื่อพิจารณากำหนดมาตรการทางการเงินหรือการคลังอาจกระทบต่อการบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดิน
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายฉบับนี้จะมีผลกระทบต่อร่าง พ.ร.บ.แร่, พ.ร.บ.โรงงาน และ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือไม่
- สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเห็นว่า อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติกับคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีความคล้ายคลึงกัน
- สำนักงาน ก.พ.ร.มีความเห็นว่า ยังไม่ชัดเจนว่าเมื่อมีกฎหมายนี้แล้วประชาชนจะมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการเสนอกฎหมายนี้อย่างไร
นพ. ชูชัย ศรชำนิ อดีตรองเลขธิการ สปสช.
- แทนที่จะทำให้เกิดความเรียบร้อยกลับจะก่อให้เกิดความอลหม่านของระบบ เพราะแต่ละระบบ (บัตรทอง. ประกันสังคม, ข้าราชการ) มีบอร์ดของตัวเอง เมื่อมีซุปเปอร์บอร์ดขึ้นมา ก็ต้องเพิ่มขั้นรายงานเข้าไปที่ซุปเปอร์บอร์ด ในเชิงกฎหมายเกิดการก้าวก่ายหรือเข้าไปแทรกแซงกัน รวมทั้งนโยบายการจัดสรรงบประมาณ
- การมีซุปเปอร์บอร์ดจะเพิ่มต้นทุนการบริหารจัดการ ทั้งในรูปของตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน คือค่าเบี้ยเลี้ยงต่างๆ ส่วนต้นทุนที่ไม่ใช่เงินก็คือค่าเสียโอกาสเนื่องจากมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นมา
ข้อเสนอภาคประชาชน
- ไม่ต้องตั้งซุปเปอร์บอร์ด เสนอให้ใช้โครงสร้างคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีองค์ประกอบของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการเป็นผู้อภิบาลระบบ (Regulator) และการเป็นผู้จัดบริการ (Provider) หากต้องการให้นโยบายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา 9 และ 10 เขียนเรื่องการรวมกองทุนทั้ง 3 ระบบไว้อยู่แล้ว แต่ยังไม่ถูกนำไปปฏิบัติ
- สนับสนุนให้กระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่เป็นผู้อภิบาลระบบ (Regulator) อย่างสมบูรณ์ โดยแยกหน่วยบริการทั้งหมดออกจากกระทรวงสาธารณสุข ให้มีการบริหารจัดการภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นในหลายพื้นที่ เช่น รพ.บ้านแพ้ว รพ.เทศบาลเมืองอุดรธานี และ รพ.เมืองภูเก็ต เป็นต้น
- จัดชุดสิทธิประโยชน์ตามหลักการ SAFE
ภาควิชาการเคยทำงานหาข้อสรุปร่วมกันออกมาเป็นหลักการ SAFE เพื่อลดความเหลื่อมล้ำแก้ปัญหาเรื่องภาระงบประมาณโดยหลักการ SAFE แบ่งเป็นปิ่นโต 3 ชั้น ชั้นแรกคือสิทธิประโยชน์จำเป็นซึ่ง 3 ระบบได้เท่ากันหมด ชั้นที่สองคือสิทธิประโยชน์เสริม เป็นส่วนที่แต่ละระบบจ่ายตามข้อกำหนด และชั้นที่สามคือสิทธิประโยชน์แบบพิเศษซึ่งประชาชนแต่ละคนจ่ายเอง
[full-post]
‘ซุปเปอร์บอร์ด’ มาได้ไง
กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอ ร่าง พ.ร.บ. ซุปเปอร์บอร์ดสุขภาพแห่งชาติ หรือร่าง พ.ร.บ. คณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. .... โดยมีสาระสำคัญของคือการตั้งคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติ เพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายสุขภาพของประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชนในการเข้าถึงระบบสุขภาพที่ดี ซึ่งนั้นหมายถึงการรวมกองทุน 3 ระบบได้แก่ บัตรทอง, ประกันสังคม, ข้าราชการ มาไว้ในความดูแลของ ซุปเปอร์บอร์ด
ร่าง พ.ร.บ. ซุปเปอร์บอร์ดนี้ได้รับการอนุมัติโดยมติ ครม. ไปเมื่อวันที่ 10 ต.ค. 61 หลังจากนี้ส่งกฤษฎีกาพิจารณา ก่อนส่ง สนช.พิจารณาต่อไป
ขาดการมีส่วนร่วม-รวบอำนาจ-ซ้ำซ้อน-เพิ่มต้นทุน
ภาคประชาชน
- มาตรา 3 ของ พ.ร.บ.นี้ระบุว่า นโยบายด้านระบบสุขภาพใด ขัดหรือแย้งกับนโยบายด้านระบบสุขภาพตาม พ.ร.บ.นี้ ให้เป็นไปตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.ฉบับนี้ หมายความว่า พ.ร.บ. ฉบับนี้คือกฎหมายใหญ่ที่สุดเกี่ยวกับด้านระบบสุขภาพของไทย
- สัดส่วนคณะกรรมการ จากเดิม 30 คน มีภาคประชาชน 5 คน กลายเป็น 45 คน มีภาคประชาชน 3 คน จึงมีแนวโน้มว่าจะพิทักษ์ผลประโยชน์ของตนเอง มากกว่าผลประโยชน์ของประชาชนส่วนรวม
- คณะกรรมการสภาหอการค้าที่ถูกเลือกให้อยู่ในซุปเปอร์บอร์ดนี้ คือตัวแทนจากกลุ่มบริษัทยาข้ามชาติ ซึ่งที่ผ่านมามีบทบาทในการคัดค้านนโยบายด้านสุขภาพต่างๆที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนมาตลอด
หน่วยงานรัฐ
ในการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ หน่วยงานต่างๆ ท้วงติงในหลายประเด็น เช่น
- กระทรวงการคลังและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เห็นว่าคณะกรรมการมีจำนวนมากเกินไปอาจส่งผลต่อการปฏิบัติงานและสร้างภาระเบี้ยประชุม
- สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า การกำหนดให้คณะกรรมการเสนอแนะต่อ ครม.เพื่อพิจารณากำหนดมาตรการทางการเงินหรือการคลังอาจกระทบต่อการบริหารจัดการงบประมาณแผ่นดิน
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตั้งข้อสังเกตว่า กฎหมายฉบับนี้จะมีผลกระทบต่อร่าง พ.ร.บ.แร่, พ.ร.บ.โรงงาน และ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือไม่
- สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเห็นว่า อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายสุขภาพแห่งชาติกับคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติมีความคล้ายคลึงกัน
- สำนักงาน ก.พ.ร.มีความเห็นว่า ยังไม่ชัดเจนว่าเมื่อมีกฎหมายนี้แล้วประชาชนจะมีชีวิตที่ดีขึ้นจากการเสนอกฎหมายนี้อย่างไร
นพ. ชูชัย ศรชำนิ อดีตรองเลขธิการ สปสช.
- แทนที่จะทำให้เกิดความเรียบร้อยกลับจะก่อให้เกิดความอลหม่านของระบบ เพราะแต่ละระบบ (บัตรทอง. ประกันสังคม, ข้าราชการ) มีบอร์ดของตัวเอง เมื่อมีซุปเปอร์บอร์ดขึ้นมา ก็ต้องเพิ่มขั้นรายงานเข้าไปที่ซุปเปอร์บอร์ด ในเชิงกฎหมายเกิดการก้าวก่ายหรือเข้าไปแทรกแซงกัน รวมทั้งนโยบายการจัดสรรงบประมาณ
- การมีซุปเปอร์บอร์ดจะเพิ่มต้นทุนการบริหารจัดการ ทั้งในรูปของตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน คือค่าเบี้ยเลี้ยงต่างๆ ส่วนต้นทุนที่ไม่ใช่เงินก็คือค่าเสียโอกาสเนื่องจากมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นมา
ข้อเสนอภาคประชาชน
- ไม่ต้องตั้งซุปเปอร์บอร์ด เสนอให้ใช้โครงสร้างคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ซึ่งมีองค์ประกอบของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างการเป็นผู้อภิบาลระบบ (Regulator) และการเป็นผู้จัดบริการ (Provider) หากต้องการให้นโยบายเป็นไปในทิศทางเดียวกัน พ.ร.บ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา 9 และ 10 เขียนเรื่องการรวมกองทุนทั้ง 3 ระบบไว้อยู่แล้ว แต่ยังไม่ถูกนำไปปฏิบัติ
- สนับสนุนให้กระทรวงสาธารณสุข ทำหน้าที่เป็นผู้อภิบาลระบบ (Regulator) อย่างสมบูรณ์ โดยแยกหน่วยบริการทั้งหมดออกจากกระทรวงสาธารณสุข ให้มีการบริหารจัดการภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นในหลายพื้นที่ เช่น รพ.บ้านแพ้ว รพ.เทศบาลเมืองอุดรธานี และ รพ.เมืองภูเก็ต เป็นต้น
- จัดชุดสิทธิประโยชน์ตามหลักการ SAFE
ภาควิชาการเคยทำงานหาข้อสรุปร่วมกันออกมาเป็นหลักการ SAFE เพื่อลดความเหลื่อมล้ำแก้ปัญหาเรื่องภาระงบประมาณโดยหลักการ SAFE แบ่งเป็นปิ่นโต 3 ชั้น ชั้นแรกคือสิทธิประโยชน์จำเป็นซึ่ง 3 ระบบได้เท่ากันหมด ชั้นที่สองคือสิทธิประโยชน์เสริม เป็นส่วนที่แต่ละระบบจ่ายตามข้อกำหนด และชั้นที่สามคือสิทธิประโยชน์แบบพิเศษซึ่งประชาชนแต่ละคนจ่ายเอง
แสดงความคิดเห็น