เมียนมาปิดการประชุมปางโหลงแห่งศตวรรษที่ 21 แล้ว แต่ยังไร้ข้อสรุป
การประชุมปางโหลงแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลเมียนมากับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่กรุงเนปิดอว์ ได้ปิดฉากลงแล้วในวันนี้โดยยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่นอน โดยนางออง ซาน ซูจี มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศ ได้กล่าวปิดการประชุมว่า การเจรจาในครั้งนี้แม้จะยังไม่บรรลุถึงสันติภาพซึ่งเป็นไปได้ยาก แต่ก็เป็นก้าวแรกของเส้นทางไปสู่สันติภาพนั้น โดยจะยังมีการประชุมติดตามมาอีกหลายครั้ง ซึ่งจะต้องเผชิญกับความยากลำบากอีกมาก และขอให้ทุกฝ่ายมองไปข้างหน้า
การประชุมปางโหลงแห่งศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นการเจรจาสันติภาพระหว่างรัฐบาลเมียนมากับกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ที่กรุงเนปิดอว์ ได้ปิดฉากลงแล้วในวันนี้โดยยังไม่ได้ข้อสรุปที่แน่นอน โดยนางออง ซาน ซูจี มนตรีแห่งรัฐและรัฐมนตรีต่างประเทศ ได้กล่าวปิดการประชุมว่า การเจรจาในครั้งนี้แม้จะยังไม่บรรลุถึงสันติภาพซึ่งเป็นไปได้ยาก แต่ก็เป็นก้าวแรกของเส้นทางไปสู่สันติภาพนั้น โดยจะยังมีการประชุมติดตามมาอีกหลายครั้ง ซึ่งจะต้องเผชิญกับความยากลำบากอีกมาก และขอให้ทุกฝ่ายมองไปข้างหน้า
การประชุมดังกล่าวเดิมมีกำหนดจะจัดขึ้นเป็นเวลา 5 วัน แต่ได้ปิดการประชุมลงในวันที่ 4 หลังบรรดาผู้เข้าประชุมเห็นพ้องว่าไม่จำเป็นต้องจัดการประชุมวันสุดท้ายตามกำหนด โดย 4 วันที่ผ่านมา ผู้แทนชนกลุ่มน้อยแต่ละกลุ่มได้มีโอกาสขึ้นพูดเพื่อเผยถึงประเด็นความคับข้องใจที่มีต่อรัฐบาลเมียนมา รวมทั้งเสนอแผนสำหรับอนาคตทางการเมืองของแต่ละกลุ่มด้วย
นายเลียน หมึง สะกอง ผู้นำแนวร่วมแห่งชาติชิน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มจัดการประชุมครั้งนี้ระบุว่า การประชุมผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ครั้งต่อไป จะมีขึ้นใน 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป้าหมายสำคัญต้องการให้กลุ่มติดอาวุธที่ยังไม่ได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิง เข้าร่วมลงนามดังกล่าว ส่วนนายพล กุน มอ ผู้นำองค์กรเอกราชคะฉิ่น (KIO) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ยังไม่ได้ลงนามหยุดยิงระบุว่า การประชุมในครั้งนี้ยังไม่มีข้อตกลงใด ๆ เกิดขึ้น และยังต้องมีการเจรจากันต่อไปอีกหลายครั้ง กว่าที่กลุ่มของเขาจะสามารถตัดสินใจลงนามในข้อตกลงหยุดยิงได้
ทั้งนี้ แม้นางซูจีจะสนับสนุนข้อเรียกร้องในการมีสิทธิปกครองตนเองมากขึ้นของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ แต่ก็เป็นการยากในการวางโครงสร้างของสหพันธรัฐที่ตอบสนองต่อความต้องการของทุกกลุ่ม นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายใด ๆ ที่มาจากยุครัฐบาลทหาร ยังต้องได้รับการสนับสนุนจากกองทัพซึ่งยังคงมีอิทธิพลอยู่ด้วย
นายเลียน หมึง สะกอง ผู้นำแนวร่วมแห่งชาติชิน ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ริเริ่มจัดการประชุมครั้งนี้ระบุว่า การประชุมผู้แทนกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ครั้งต่อไป จะมีขึ้นใน 6 เดือนข้างหน้า ซึ่งเป้าหมายสำคัญต้องการให้กลุ่มติดอาวุธที่ยังไม่ได้ลงนามในข้อตกลงหยุดยิง เข้าร่วมลงนามดังกล่าว ส่วนนายพล กุน มอ ผู้นำองค์กรเอกราชคะฉิ่น (KIO) ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มที่ยังไม่ได้ลงนามหยุดยิงระบุว่า การประชุมในครั้งนี้ยังไม่มีข้อตกลงใด ๆ เกิดขึ้น และยังต้องมีการเจรจากันต่อไปอีกหลายครั้ง กว่าที่กลุ่มของเขาจะสามารถตัดสินใจลงนามในข้อตกลงหยุดยิงได้
ทั้งนี้ แม้นางซูจีจะสนับสนุนข้อเรียกร้องในการมีสิทธิปกครองตนเองมากขึ้นของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ แต่ก็เป็นการยากในการวางโครงสร้างของสหพันธรัฐที่ตอบสนองต่อความต้องการของทุกกลุ่ม นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงข้อกฎหมายใด ๆ ที่มาจากยุครัฐบาลทหาร ยังต้องได้รับการสนับสนุนจากกองทัพซึ่งยังคงมีอิทธิพลอยู่ด้วย
แสดงความคิดเห็น