โอบามาเรียกร้องจีนทำตามคำตัดสินกรณีทะเลจีนใต้
นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เรียกร้องให้จีนปฏิบัติตามคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการถาวรในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งระบุว่าจีนไม่สามารถอ้างสิทธิ์ครอบครองหรือดำเนินกิจกรรมใดๆ ในน่านน้ำทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างจีนและหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย และคำตัดสินเป็นไปตามการรับรองของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ซึ่งจีนต้องยอมรับในฐานะที่เป็นประเทศภาคีด้วย
รายงานข่าวระบุว่านายโอบามาได้เรียกร้องโดยตรงต่อนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ขณะที่ทั้งคู่พบกันก่อนจะเปิดการประชุมกลุ่มผู้นำเศรษฐกิจโลก (G20) ซึ่งจีนเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่เมืองหางโจวในวันนี้ (4 ก.ย.) และโฆษกประจำทำเนียบขาวสหรัฐฯ ระบุว่านายโอบามาได้เน้นย้ำความจำเป็นที่จีนจะต้องปฏิบัติตามคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการฯ ซึ่งชี้ขาดต่อกรณีดังกล่าวไปตั้งแต่เดือน ก.ค. แต่จีนกลับประกาศไม่ยอมรับคำตัดสิน และเรียกร้องให้ฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นหนึ่งในคู่กรณีและเป็นผู้ยื่นเรื่องต่อคณะอนุญาโตตุลาการฯ ให้กลับมาเจรจากันในกรอบทวิภาคีแทน
นายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เรียกร้องให้จีนปฏิบัติตามคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการถาวรในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งระบุว่าจีนไม่สามารถอ้างสิทธิ์ครอบครองหรือดำเนินกิจกรรมใดๆ ในน่านน้ำทะเลจีนใต้ ซึ่งเป็นข้อพิพาทระหว่างจีนและหลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย และคำตัดสินเป็นไปตามการรับรองของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล (UNCLOS) ซึ่งจีนต้องยอมรับในฐานะที่เป็นประเทศภาคีด้วย
รายงานข่าวระบุว่านายโอบามาได้เรียกร้องโดยตรงต่อนายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน ขณะที่ทั้งคู่พบกันก่อนจะเปิดการประชุมกลุ่มผู้นำเศรษฐกิจโลก (G20) ซึ่งจีนเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นที่เมืองหางโจวในวันนี้ (4 ก.ย.) และโฆษกประจำทำเนียบขาวสหรัฐฯ ระบุว่านายโอบามาได้เน้นย้ำความจำเป็นที่จีนจะต้องปฏิบัติตามคำตัดสินของคณะอนุญาโตตุลาการฯ ซึ่งชี้ขาดต่อกรณีดังกล่าวไปตั้งแต่เดือน ก.ค. แต่จีนกลับประกาศไม่ยอมรับคำตัดสิน และเรียกร้องให้ฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นหนึ่งในคู่กรณีและเป็นผู้ยื่นเรื่องต่อคณะอนุญาโตตุลาการฯ ให้กลับมาเจรจากันในกรอบทวิภาคีแทน
อย่างไรก็ตาม สื่อของรัฐบาลจีนซึ่งรายงานข่าวการพบปะกันระหว่างนายสีและนายโอบามา ไม่ได้กล่าวถึงข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ เรื่องทะเลจีนใต้ และรายงานแต่เหตุการณ์ที่จีนและสหรัฐฯ ร่วมให้สัตยาบันต่อความตกลงปารีสอย่างเป็นทางการเมื่อวานนี้ (3 ก.ย.) เพื่อต่อสู้กับปัญหาสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงและภาวะโลกร้อนร่วมกัน เนื่องจากทั้งสองประเทศปล่อยก๊าซคาร์บอนรวมกัน คิดเป็น 40% ของปริมาณก๊าซทั้งหมดที่ถูกปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลกในแต่ละปี
แสดงความคิดเห็น