Posted: 22 Jan 2018 11:36 PM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เยี่ยมยุทธ สุทธิฉายา
แม้ว่าการลงคะแนนเสียงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จสิ้นมาได้หนึ่งปีกว่าแล้ว นอกจากผลลัพธ์การลงประชามติเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นเสียงข้างมากของประเทศแล้ว ความทรงจำของเหตุการณ์แวดล้อมในช่วงก่อนและหลังประชามติอาจจะเลือนรางจางหายเหมือนเนื้อหาในหนังสือเรียนที่พอสอบเสร็จก็จำไม่ได้แล้วว่าอ่านอะไรไป
แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากและไม่ควรจะถูกลืมคือพฤติการณ์การกีดกันการแสดงความเห็นที่หลากหลายของประชาชนผ่านมาตรการต่างๆ ภายใต้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หนึ่งในนั้นคือการจับกุมและดำเนินคดีผู้คนที่ออกมาแสดงความเห็นในพื้นที่สาธารณะเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและประชามติในหลายกรณี
ในวันที่ 29 ม.ค. ที่จะถึงนี้จะเป็นวันที่ศาล จ.ราชบุรี นัดอ่านคำพิพากษาคดีที่ 4 นักกิจกรรม รวมทั้ง 1 ผู้สื่อข่าวจากประชาไท ถูกกล่าวหาว่าละเมิด พ.ร.บ.ประชามติ จากกรณีนักกิจกรรมเดินทางไปให้กำลังใจชาวบ้านและผู้สื่อข่าวไปทำข่าวที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ประชาไทชวนผู้อ่านทบทวนที่มาที่ไป เส้นทางของการพิจารณาคดีที่กินเวลา 1 ปีกว่า และเสียงเรียกร้องจากองค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพสื่อให้มีกระบวนการประชามติที่เป็นประชาธิปไตย อันสะท้อนว่าดอกผลของประชามติไม่ควรเป็นการไต่สวนนักกิจกรรมและนักข่าวที่ทำหน้าที่ของตัวเองตามสิทธิพลเมืองที่มี
ที่มาที่ไปก่อนเป็นการตัดสินใน 29 ม.ค. 61
10 ก.ค. 2559 ราวหนึ่งเดือนก่อนที่จะมีการจัดการลงประชามติการรับ/ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน นักกิจกรรม 3 คนจากกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ประกอบด้วยปกรณ์ อารีกุล, อนันต์ โลเกตุ และ อนุชา รุ่งมรกต เดินทางเพื่อมาเยี่ยมเพื่อนที่ถูกหมายเรียกในคดีร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต จากการร่วมกิจกรรมเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดยมี ทวีศักดิ์ เกิดโภคา ผู้สื่อข่าวประชาไทติดรถของปกรณ์ไปทำข่าวด้วย
สภ.บ้านโป่งเข้าค้นรถของปกรณ์ การตรวจค้นพบเอกสารความเห็นแย้งร่างรัฐธรรมนูญ, สติ๊กเกอร์ Vote No และแผ่นพับประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อยู่ท้ายรถ จึงได้เชิญตัวนักกิจกรรมและผู้สื่อข่าวรวม 4 คนไปสอบปากคำ โดยเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้แจ้งข้อหา เพียงแต่ให้ลงบันทึกประจำวันและยึดเอกสารเอาไว้เท่านั้น
แต่ท้ายที่สุด ในวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ทำการจับกุม ยึดเอกสารและแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ถูกจับกุมทั้ง 4 ว่า “ร่วมกันดำเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือในช่องทางอื่นใดที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียงหรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง” เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มาตรา 61 วรรค 2 จากนั้นจึงนำตัวผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 เข้าควบคุมตัวในห้องขัง สภ. บ้านโป่ง และปฏิเสธการให้ประกันตัวในชั้นสอบสวน
ในบันทึกการจับกุมระบุว่า พบของกลาง คือ แผ่นไวนิลข้อความ "นายกไทยใครๆ ก็โดนล้อ" 1 แผ่น ไมโครโฟน ลำโพง ที่่คั่นหนังสือ "โหวตโน", จุลสาร การออกเสียง จำนวน 66 ฉบับ, แผ่นเอกสาร ปล่อย 7 นักโทษประชามติโดยไม่มีเงื่อนไข 21 แผ่น, แผ่นเอกสาร ความเห็นแย้ง 2 ฉบับ, เอกสารแถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ ฉบับลงประชามติ 9 ฉบับ, เอกสารจะใช้สิทธิลงประชามตินอกเขตจังหวัดทำอย่างไร 70 ฉบับ และสติ๊กเกอร์โหวตโน
เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 เข้าควบคุมตัวในห้องขัง สภ.บ้านโป่งและปฏิเสธการให้ประตัวในชั้นสอบสวน โดยแจ้งว่า จะทำการสอบสวนในคืนนี้ และนำตัวไปขออำนาจฝากขังต่อศาลจังหวัดราชบุรีในวันถัดไป แม้ทวีศักดิ์จะอธิบายกับเจ้าหน้าที่ก่อนถูกควบคุมตัวหลายครั้งว่าเป็นสื่อมวลชนที่ติดรถมาทำข่าวเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนร่วมกับการแจกจ่ายเอกสาร และได้โทรศัพท์ขอสัมภาษณ์นายสมชัย สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารจัดการเลือกตั้ง และให้ตำรวจได้พูดคุยเพื่อหาความชัดเจนว่ากรณีนี้เป็นความผิดหรือไม่ โดยสมชัยระบุว่า การมีเอกสารในครอบครองโดยตัวมันเองนั้นไม่เป็นความผิด แต่หากมีการแจกจ่ายเกิดขึ้น ต้องดูลักษณะของการแจกจ่ายว่ามีการใช้คำหยาบคาย ยุยงปลุกปั่นหรือไม่ อย่างไรก็ดีภายหลังสมชัยได้ให้ความห็นมาเพิ่มว่า ตัวเอกสารของกลุ่ม NDM นั้นทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เองก็เห็นว่าเป็นเอกสารที่ยังมีปัญหาอยู่ ขณะนี้กำลังรอการตรวจสอบจึงยังไม่สามารถฟันธงว่าการมีตัวเอกสารนี้อยู่ในครอบครองผิดหรือไม่ ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งแก่ผู้สื่อข่าวว่าทางผู้บัญชาการระดับภาคที่ดูแลเรื่องนี้ระบุว่าเรื่องนี้เข้าข่ายความผิดฐานเตรียมการจะแจกจ่าย
ภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนแจ้งว่าผู้ต้องหาทั้ง 4 คนไม่ยินยอมพิมพ์ลายนิ้วมือ ทำให้ถูกแจ้งข้อหาด้วยอีกข้อหาหนึ่ง
ในคืนวันเดียวกัน ทหาร-ตำรวจจำนวน 4 คันรถ เข้าล้อมบ้านภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ซึ่งขณะนั้นเป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หนึ่งในผู้ต้องหาที่เข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ้านโป่ง จากกรณีจัดกิจกรรมเปิดศูนย์ปราบโกงฯ ในช่วงเช้า และแจ้งข้อหาเดียวกันกับกลุ่มผู้ต้องสงสัยทั้ง 4 คนเพิ่มเติม
บันทึกการจับกุมภานุวัฒน์ระบุว่า ในการเข้าตรวจค้นบ้านและจับกุมนั้นอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 13/2559 เรื่องการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นที่น่าสังเกตว่า คำสั่งดังกล่าวให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการเฉพาะในการกระทำอันเป็นความผิดตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายคำสั่ง ซึ่งไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ
ด้านทนายความระบุว่า ตำรวจใช้หลักฐานภาพถ่ายในการกล่าวหาว่าเหน่อ ภานุวัฒน์ เป็นผู้ที่ขนเอกสารรณรงค์ของกลุ่ม NDM จากรถของสมาชิกกลุ่มไปใส่ยังรถคันอื่น จึงได้มีการติดตามจับกุมตัวที่บ้านพัก
ต่อมาในวันที่ 12 ก.ค. 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาที่สำนักงานประชาไทพร้อมหมายค้นเพื่อเข้าตรวจและยึดเอกสารที่เกี่ยวกับการรณรงค์โหวตโน แต่ไม่พบสิ่งใดที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ทวีศักดิ์ได้เปิดเผยกับศูนย์ทนายฯ ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามเชื่อมโยงว่าประชาไทอยู่เบื้องหลังการให้ทุนและจัดพิมพ์เอกสารรณรงค์ไม่รับรัฐธรรมนูญให้กับขบวนการประชาธิปไตยใหม่
แม้จะมีข้อเรียกร้องจากหลายองค์กรให้ยกเลิกการดำเนินคดีกับ 4 นักกิจกรรม 1 นักข่าว แต่ก็ไม่มีการถอนฟ้องใดๆ คดีความผิดตาม พ.ร.บ. ประชามติดำเนินต่อไปตามกระบวนการในชั้นศาล
10 ก.ค. 2559 (ภาพโดย ศรีไพร นนทรีย์)
ประเด็นต่อสู้ของจำเลย ยันสติกเกอร์ไม่ปลุกระดม
ทวีศักดิ์กล่าวถึงรายละเอียดคดีในภาพรวมว่า ถูกฟ้องสองข้อหา ข้อหาที่หนึ่ง พ.ร.บ.ประชามติ ที่ถูกกล่าวหาว่าร่วมกันแจกสติกเกอร์ VOTE NO ข้อหาที่สอง ฝ่าฝืนคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 24 กรณีไม่พิมพ์ลายนิ้วมือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สำหรับข้อกล่าวหาที่สอง ได้รับสารภาพไปแล้วว่าไม่พิมพ์จริง แต่ให้การกับศาลว่าสาเหตุที่ไม่พิมพ์เพราะไม่ยอมรับในกระบวนการการจับกุม
ส่วน พ.ร.บ.ประชามติมีสองประเด็น ประเด็นที่หนึ่ง การเดินทางไปที่ สภ.บ้านโป่งเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2559 ไปทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวเท่านั้นไม่ได้ไปร่วมรณรงค์เกี่ยวกับการลงประชามติแต่อย่างใด และในประเด็นที่สองสู้ด้วยว่า การรณรงค์เกี่ยวกับการลงประชามตินั้นไม่ผิดเพราะตามกฎหมายระบุว่า "ผู้ใดดําเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย" การรณรงค์เกี่ยวกับการลงประชามติ ที่ไม่ได้ลักษณะที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง ไม่ได้รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย หรือปลุกระดม ข่มขู่ ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไปออกเสียงแบบใดแบบหนึ่งจึงไม่มีความผิด
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.60 ในการสืบพยานคดีนี้ ปกรณ์ เบิกความว่าในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ตนเห็นว่าการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อดีของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ยังไม่แพร่หลายในสื่อ ไม่ครอบคลุม ประชาชนได้รับรู้เท่าที่มีการประชาสัมพันธ์ในส่วนของสาระสำคัญเท่านั้น นอกจากนั้นก็ยังมีคนที่ไม่รู้แม้กระทั่งวันที่จะมีการออกเสียงประชามติ
ปกรณ์เห็นว่าข้อความในสติกเกอร์ “Vote No ไม่รับ อนาคตที่ไม่ได้เลือก” ไม่ได้เป็นข้อความที่มีความก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ อีกทั้งในส่วนของคำถามพ่วงในการลงประชามติ ที่มีประเด็นว่าใน 5 ปีแรกจะให้ ส.ส. และ ส.ว. เป็นผู้เลือกกรัฐมนตรีนั้น ปกรณ์เห็นว่าเมื่อประกอบกับประเด็นที่มาของ ส.ว. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแล้ว จึงกลายเป็นที่มาของข้อความ “อนาคตที่ไม่ได้เลือก” บนสติกเกอร์
ปกรณ์เบิกความว่าสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่าการแจกสติกเกอร์ไม่น่าจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติฯ และวิษณุ เครืองาม รองกรัฐมนตรี ก็เคยให้สัมภาษณ์ว่าเอกสารความเห็นแย้งของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ก็สามารถเผยแพร่ และแสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อร่างรัฐธรรมนูญได้
ปกรณ์ยังตอบคำถามค้านของอัยการด้วยว่าเอกสารของกลางในคดีนี้ ตนไม่ได้นำมาเพื่อแจกที่ สภ.บ้านโป่ง และไม่ได้มีการแจกจ่ายในวันนั้น แต่เป็นเอกสารที่ติดรถตนมาตั้งแต่วันที่มีการแถลงข่าวเรื่องร่างรัฐธรรมนูญที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันก่อนเกิดเหตุคดีนี้ เนื่องจากในวันแถลงข่าวมีเพียงตัวเขาเองเท่านั้นที่มีรถกระบะที่สามารถบรรทุกเอกสารได้
วันเดียวกัน ทวีศักดิ์ เบิกความในฐานะพยาน ว่าวันเกิดเหตุ ตนได้ติดตามไปที่ สภ.บ้านโป่ง เพื่อทำหน้าที่นักข่าวเนื่องจากทราบได้มีการเรียกผู้ต้องหาในคดีศูนย์ปราบโกงประชามติเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ซึ่งก่อนหน้านั้นตนก็ติดตามทำข่าวปกรณ์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปกรณ์ได้แจ้งว่าจะเดินทางมาให้กำลังใจชาวบ้านที่ สภ.บ้านโป่ง ตนจึงขอติดรถมาด้วย เมื่อเดินทางถึง สภ.บ้านโป่ง ก็ได้เข้าถ่ายภาพที่หน้าสถานีและเข้าไปสัมภาษณ์ผู้ต้องหา จากนั้นตนก็ไปสัมภาษณ์จำเลยที่ 5 กับจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ต่อ เพื่อทำสกู๊ปข่าว
ทวีศักดิ์ เบิกความต่อว่าหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็เชิญตัวพวกตนขึ้นไปบนสถานีตำรวจ โดยตนได้แสดงตัวว่าเป็นนักข่าวตั้งแต่แรกและได้แสดงบัตรผู้สื่อข่าวด้วย อีกทั้งในตอนที่ถูกเชิญตัว เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นการจับกุม แต่เมื่อขึ้นไปที่สถานีแล้ว กลับมีการแจ้งข้อกล่าวหาและจับกุมตัว
ทวีศักดิ์เบิกความด้วยว่าตอนแรกที่ถูกเรียกไปยังสามารถใช้โทรศัพท์ได้ จึงได้โทรศัพท์ไปสอบถามสมชัย คณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อสัมภาษณ์เรื่องสติกเกอร์ สมชัยระบุว่าการมีสติกเกอร์ไม่น่าเป็นความผิดตามกฎหมาย และถ้าไม่ใช่การขึ้นเวทีปราศรัย ไม่ได้เป็นการให้ข้อมูลเท็จ ไม่ได้เป็นการยุยงปลุกปั่นก็สามารถทำได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตำรวจด้วย จากนั้นเขาจึงส่งสายของสมชัยให้รองผู้กำกับสอบสวน สภ.บ้านโป่ง พูดคุยด้วย
ทวีศักดิ์ เสริมว่าในตอนที่เขาแสดงตัวว่าเป็นนักข่าวของประชาไท ตำรวจอาจจะไม่เชื่อว่าเป็นสำนักข่าวจริงๆ เนื่องจากประชาไทเป็นสำนักข่าวออนไลน์ ไม่ได้มีโรงพิมพ์ของตัวเอง แต่เจ้าหน้าที่ก็อาจจะเข้าใจว่าเอกสารของกลางเป็นของประชาไท เพราะหลังจากเขาถูกเชิญตัว พ.ต.ท.สรายุทธก็ได้ประสานกับตำรวจ สน.สุทธิสารที่กรุงเทพฯ เพื่อให้เข้าตรวจค้นที่สำนักข่าว แต่เนื่องจากในวันนั้นไม่มีใครอยู่ที่สำนักข่าว ตำรวจจึงไม่ได้เข้าไป ที่ทราบว่ามีตำรวจไปเพราะว่าสำนักงานอื่นที่ใช้อาคารเดียวกันแจ้งมา
คดีประชามติอื่นๆ
การคุกคามการแสดงออกของประชาชนช่วงประชามติหากนับคร่าวๆ เริ่มตั้งแต่การเตรียมเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ ที่นำโดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตามจังหวัดต่างๆ โดยเริ่มจากเรียกเข้าค่ายทหารคุย ไปจนถึงการดำเนินคดี โดยเฉพาะแกนนำ นปช. 19 คน ถูกดำเนินคดีข้อหา ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ที่ 7/2557 ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป จากกรณีที่ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติ ที่อิมพีเรียลลาดพร้าว เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2559 ซึ่งขณะนี้คดียังอยู่ในศาลทหาร ขณะที่คดีตามต่างจังหวัดที่มีการเปิดศูนย์ปราบโกงฯ บางที่ถูกเรียกตัวเข้าปรับทัศนคติ ขณะที่บางที่ถูกดำเนินคดี เช่น กรณี จ.สกลนคร ศาลพิพากษาคดีถ่ายรูปกับป้ายศูนย์ปราบโกงฯ ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่ 3/2558 จำคุก 1 เดือน 15 วัน ปรับ 2,500 บาท รอลงอาญา 1 ปี หลังทั้ง 20 คน รับสารภาพ
รายงานขององค์กรสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนนานาชาติหรือ FIDH ระบุว่า การดำเนินคดีกับผู้วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งการควบคุมตัว และดำเนินคดีได้เพิ่มขึ้นช่วงเดือนก่อนวันออกเสียงประชามติ ระหว่างวันที่ 27 เม.ย. - 24 ก.ค. 2559 เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวบุคคลโดยพลการอย่างน้อย 41 คนด้วยเหตุที่พวกเขาวิพากษ์วิจารณ์หรือรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงแกนนำ นปช. อย่างน้อย 38 คนที่ถูกควบคุมตัวจากความพยายามจัดตั้งศูนย์ปราบโกง
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2559 นักกิจกรรมจากกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM) นักศึกษารามคำแหง และกลุ่มสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ รวม 13 คน ถูกทหารและตำรวจควบคุมตัวที่หน้านิคมอุตสาหกรรมบางพลี จ.สมุทรปราการ เนื่องจากไปแจกแผ่นพับและเอกสารให้ความรู้เรื่องร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติ และต่อมาถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องชุมนุมทางการเมืองจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยคดียังอยู่ที่ศาลทหารเช่นกัน
แม้กระทั่งนักการเมืองดังอย่าง วัฒนา เมืองสุข ที่โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คว่าไมรับร่างรัฐธรรมนูญก็ถูกเจ้าหน้าที่ทหารคุมตัวเข้าค่ายเพื่อปรับทัศนคติด้วย จนวัฒนาโพสต์ยืนยันด้วยว่า "จะเอาผมไปปรับทัศนคติอีกกี่ครั้งผมก็ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้" และต่อมา วัฒนาถูกดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืนเงื่อนไขประกาศ คสช.ฉบับที่ 39/2557 เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวของบุคคลที่มารายงานตัวต่อ คสช. ด้วย
แม้กระทั่งวันลงประชามติ ยังมีกรณีที่ ปิยรัฐ จงเทพ ประท้วงประชามติด้วยการฉีกบัตรออกเสียง ขณะที่เพื่อนของเขาคือ จิรวัฒน์ เอกอัครนุวัฒน์ และทรงธรรม แก้วพันธุ์พฤกษ์ ที่คอยบันทึกเหตุการณ์ ถูกดำเนินคดีข้อหาก่อกวนขัดขวาง แต่ต่อมาศาลยกฟ้อง อย่างไรก็ตาม ปิยรัฐถูกฟ้องในข้อหาทำลายเอกสารราชการ และข้อหาทำให้ทรัพย์สินสาธารณะเสียหาย โดยศาลสั่งจำคุก 4 เดือน ปรับ 4,000 บาท เหตุลดโทษ จำเลยรับสารภาพ และไม่มีเหตุต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงลดโทษจำคุก เป็นจำคุก 2 เดือน ปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี
นอกจากนั้นยังมีเวทีสาธารณะหลายเวทีที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหารปิดกั้นไม่ให้จัด รวมถึงเหตุการณ์ที่สะท้อนถึงภาวะกดดันผ่านกฎหมาย โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) รายงานว่า เวทีเสวนาและกิจกรรมรณรงค์เรื่องรัฐธรรมนูญที่เครือข่ายเว็บไซต์ประชามติมีแผนจัดเมื่อเดือน ก.พ. 2559 ที่ทหารและตำรวจได้ติดต่อไปยังหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสถานที่จนหอศิลปฯ ต้องยกเลิกการใช้พื้นที่ และงานเสวนา “ร่วมพิจารณารับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญก่อนประชามติ” ที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิตไม่ให้จัดงานเนื่องจากเกรงว่าจะเข้าข่ายการชุมนุมทางการเมือง ผู้จัดจึงได้ย้ายไปจัดงานที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมแทน
เป็นต้น
หลายองค์กรตั้งคำถามความชอบธรรมประชามติในวันที่ประชาชน-สื่อโดนตีกรอบ
แม้ทวีศักดิ์ระบุกับประชาไทว่าศาลได้ให้โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ไม่มีเรื่องที่น่ากังวล ส่วนตัวเชื่อว่าไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมายและยินดีพิสูจน์ตัวเองตามกระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอน แต่การดำเนินคดีกับสื่อมวลชนได้รับแรงกระเพื่อมกลับมาจากองค์กรวิชาชีพสื่อและองค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชน
สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ออกแถลงการณ์หลังมีการจับกุมคดีนี้ โดยแสดงความกังวลต่อการจับกุมและตั้งข้อหา ทวีศักดิ์ ผู้สื่อข่าวประชาไท ความว่า
"มันไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่ผู้สื่อข่าวจะติดตามหรือเดินทางไปกับแหล่งข่าวและผู้ให้สัมภาษณ์ ในฐานะผู้สื่อข่าวที่ติดตามทำข่าวสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ทวีศักดิ์ก็แค่ทำหน้าที่ของเขา" แถลงการณ์ระบุ
FCCT กังวลว่าการจับกุมและตั้งข้อหาเขาจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่น่ากลัวต่อเสรีภาพสื่อและเรียกร้องให้ทางการไทยถอนข้อหาต่อเขา
เช่นเดียวกับ แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชีย องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าวว่า การจับกุมนักกิจกรรมที่ทำกิจกรรมอย่างสันติก็แย่พอแล้ว แต่การคุมขังนักข่าวที่ไปรายงานข่าวยิ่งเป็นการคุกคามเสรีภาพสื่อในไทยอย่างรุนแรง รวมถึงยังกระทบต่อความหวังว่าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะชอบธรรมด้วย
"นับวันรัฐบาลทหารยิ่งทำลายความชอบธรรมของการประชามติลงด้วยตัวเอง" ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชีย องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าว
แบรด อดัมส์ กล่าวว่า ทั้งสหประชาชาติและต่างชาติควรกดดัน พล.อ.ประยุทธ์ ให้ยุติการจับกุมผู้วิจารณ์และผู้เห็นต่างโดยพลการโดยทันที และยุติข้อกล่าวหาต่อผู้ที่แสดงความเห็นทางการเมืองอย่างสันติ พร้อมชี้ว่า รัฐบาลทหารไม่สามารถคาดหวังให้ประชาชนเงียบเสียงและโหวตประชามติร่างรัฐธรรมนูญโดยปราศจากการถกเถียง
ด้านองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน เรียกร้องให้ทางการไทยถอนข้อหาทวีศักดิ์ ซึ่งถูกจับกุมระหว่างติดตามทำข่าวในขณะนั้น เบนจามิน อิสมาอิล หัวหน้าแผนกเอเชีย-แปซิฟิกขององค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ระบุว่า เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ที่เจ้าหน้าที่ล้มเหลวในการแยกแยะระหว่างนักกิจกรรมทางการเมืองและผู้สื่อข่าวที่ตามทำข่าวพวกเขา นอกจากการละเมิดเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการชุมนุมและการแสดงความเห็นแล้ว รัฐบาลยังละเมิดเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารและเสรีภาพสื่อด้วย
"จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จะมีการจับกุมนักข่าวที่ไปทำข่าวการจับกุมนี้หรือไม่ รัฐบาลต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อสื่อที่รายงานเสียงวิจารณ์จากฝ่ายตรงข้าม" หัวหน้าแผนกเอเชีย-แปซิฟิกขององค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน กล่าว
ปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ สุปัน รักเชื้อ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย มีความเห็นตรงกันเกี่ยวกับกรณีนี้ ซึ่งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวผู้สื่อข่าวประชาไทขณะนั้น โดยไม่การตั้งข้อกล่าวหา เพราะการอ้างว่านักข่าวนั่งรถไปกับแหล่งข่าวถือเป็นความผิดนั้นจะกระทำไม่ได้ เพราะตามปกตินักข่าวจะต้องลงพื้นที่ทำงานข่าวให้ทันกับเวลา ดังนั้นการเดินทางอาจมีความจำเป็นที่จะอาศัยติดรถแหล่งข่าวลงไปทำข่าวด้วยก็ถือเป็นเรื่องปกติ ขณะที่การปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าวเองก็เป็นไปตามหลักสิทธิเสรีภาพบนความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
กุลชาดา ชัยพิพัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์สิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือซีป้า แสดงความเห็นต่อกรณีนี้ว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าไปจับกุมนักข่าวร่วมกับนักกิจกรรมเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ ไม่สมเหตุสมผล การที่นักข่าวเข้าไปในพื้นที่เพื่อทำข่าว เรื่องของบัตรแสดงตนนั่นเป็นอีกกรณีหนึ่ง แต่ในเมื่อมีพยานยืนยันแล้วว่า นักข่าวผู้นี้ได้ติดตามการเคลื่อนไหวการรณรงค์ประชามติมาตั้งแต่ต้น ก็ไม่ควรมีเหตุผลที่ตำรวจจะจับกุม
กุลชาดา ยังกล่าวอีกว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า การบังคับใช้มาตรา 61 วรรค 2 ของ พ.ร.บ.ประชามติ มีผลกระทบโดยตรงต่อการทำหน้าที่ของสื่อโดยตรง การบังคับใช้มาตรา 61 วรรค 2 มีผลโดยตรงต่อการทำหน้าที่ของสื่อ ยิ่งถ้าตั้งข้อหาแบบนี้ยิ่งกระทบ และควรปล่อยตัวนักข่าวอย่างไม่มีเงื่อนไข เพราะเขาไปทำหน้าที่สื่อ การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของเขาก็เป็นสิทธิที่เขาจะแสดงออก ถือว่าการจับกุมครั้งนี้ไม่มีเหตุผลอันควร
มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงกรณีการจับตัวทวีศักดิ์ว่า เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงภาวะที่สังคมและเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยยังไม่ได้มองสื่อทางเลือกเป็นนักข่าว ทั้งที่ในปัจจุบันสื่อทางเลือกและพลเมืองที่นำเสนอข่าวเองได้นั้นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและมีความเป็นมืออาชีพ ทำให้สื่อเหล่านั้นไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ
จากประชามติที่ไม่แฟร์ไม่ฟรี สู่ความน่าเชื่อถือในการเลือกตั้ง
ภายใต้บรรยากาศการจำกัดการแสดงความเห็นของประชาชนจากรัฐบาล คสช. และกระแสว่าการเลือกตั้งจะตามมาในปี 2560 ถึงต้นปี 2561 หากร่างรัฐธรรมนูญผ่าน องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพสื่อจากต่างประเทศต่างแสดงความเห็นเกี่ยวกับการใช้กฎหมายและคำสั่ง คสช. ปราบปรามคนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญไปในเชิงติเตียน รวมถึงเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกดำเนินคดีจากเหตุแห่งกฎหมายดังกล่าว
ฌอน คริสปิน ตัวแทนประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของคณะกรรมการปกป้องผู้สื่อข่าว (Committee to Protect Journalists - CPJ) นอกจากเสนอให้รัฐบาลทหารไทยยกเลิกการฟ้องทวีศักดิ์โดยทันที ฌอน ยังมองด้วยว่าถือเป็นความย้อนแย้งอย่างยิ่งที่ทวีศักดิ์ต้องถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาเกี่ยวกับการทำประชามติ ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังจะมุ่งสู่การเลือกตั้ง หากรัฐบาลทหารไทยต้องการให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีความน่าเชื่อถือ ก็ควรที่จะยุติการดำเนินคดีกับทวีศักดิ์ และหยุดการคุกคามสื่อในทุกรูปแบบ
เช่นเดียวกับ ราวีนา ชัมดาซานี โฆษกข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อการจำกัดพื้นที่ประชาธิปไตยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 19 ส.ค.59 พร้อมเรียกร้องให้ประเทศไทยยุติการตั้งข้อหาต่อนักกิจกรรมทางการเมืองและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยทันที รวมถึงปล่อยผู้เห็นต่างต่อร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกคุมขังด้วย พร้อมทั้งชี้ว่ามาตรการเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนสำหรับประเทศไทย เพื่อที่ก้าวไปสู่การเลือกตั้งในปี 2560 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อนำประชาธิปไตยกลับคืนมา ตามโรดแมปของรัฐบาลทหารเอง
"การเลือกตั้งในปีหน้าเป็นโอกาสดีของประเทศไทยที่จะตอบสนองคำมั่นสัญญาที่ประเทศไทยได้ให้ไว้ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ในช่วงที่มีการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (ยูพีอาร์) เมื่อเดือน พ.ค. 2559 ว่าจะเคารพเสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงรับประกันว่าจะมีกระบวนการมีส่วนร่วมที่นับรวมคนทุกกลุ่ม รวมถึงพรรคการเมือง ภาคประชาสังคม และสื่อ ในสภาวะที่เปิดกว้างและปราศจากการคุกคาม” โฆษกข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระบุ
องค์กรแอมเนสตี อินเตอร์เนชันแนล ออกแถลงการณ์ระบุว่า พฤติการณ์การควบคุมตัวและดำเนินคดีกับผู้แสดงความเห็นไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นการทำให้การแสดงออกซึ่งความไม่เห็นด้วยอย่างสันติเป็นเรื่องผิดกฎหมายจนมีผลให้เกิดภาวะเซ็นเซอร์ตัวเอง โจเซฟ เบเนดิคต์ รักษาการผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียแปซิฟิกของแอมเนสตีฯ ยังได้เรียกร้องให้ทางการปล่อยตัวคนที่ถูกจับกุมและได้รับโทษจากการแสดงความคิดเห็นเรื่องร่างรัฐธรรมนูญอย่างสันติอย่างไม่มีเงื่อนไขทันทีโดยไม่มีคดีติดตัว
องค์กรเครือข่ายประชาธิปไตยแห่งเอเชีย (เอดีเอ็น) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลทหารของไทยจัดให้มีการประชามติที่เปิดกว้างและเท่าเทียม เปิดพื้นที่ให้ภาคประชาสังคมทุกขั้วการเมืองให้ดำเนินกิจกรรมทั้งการสังเกตการณ์และกิจกรรมต่างๆ ในช่วงก่อนวันลงคะแนนเสียง
ในเดือน เม.ย. 2559 ซาอิด ราอัด อัลฮุสเซน (Zeid Ra'ad Al Hussein) ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN High Commissioner for Human Rights) แสดงความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับ “การควบคุมเสียงที่เห็นต่างอย่างเข้มงวด” ก่อนจะถึงวันออกเสียงประชามติ 7 สิงหาคม เขาย้ำถึงความจำเป็นที่ประชาชนทั่วไป สมาชิกพรรคการเมือง ภาคประชาสังคม รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน เอ็นจีโอ ผู้สื่อข่าวและนักวิชาการซึ่งต้องมีพื้นที่เพื่อแสดงความเห็นโดยไม่ต้องกลัวจะถูกคุกคาม ถูกตอบโต้หรือจับกุม
ในวันที่รัฐธรรมนูญผ่านประชามติและประกาศใช้แล้ว แต่วันและเวลาของการเลือกตั้งยังคงไม่มีคำตอบ รูปธรรมอันหลงเหลือจากประชามติที่หนึ่งคนมีสิทธิ์และเสียงนอกคูหาไม่เท่ากันคงเป็นการดำเนินคดีตามความผิด พ.ร.บ.ประชามติ จึงขอเชิญชวนผู้อ่านเป็นประจักษ์พยานกับผลการพิพากษาของ 4 นักกิจกรรมและ 1 ผู้สื่อข่าวที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 ม.ค. นี้ว่าจะออกมาในลักษณะใด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตร.ยกคำสั่งคสช.ปิดศูนย์ปราบโกงฯ จตุพร ชี้ปิดได้ปิดไป ศูนย์ฯ อยู่ในใจทุกคนแล้ว
https://prachatai.com/journal/2016/06/66399
19 แกนนำ นปช. ขึ้นศาลทหาร คดีแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติ
https://prachatai.com/journal/2017/09/73098
ตำรวจจับ 'แมน ปกรณ์' NDM หลังให้กำลังใจคนบ้านโป่งสู้คดีตั้งศูนย์จับตาประชามติ https://prachatai.com/journal/2016/07/66800
ศาลทหารอุดรฯ สั่งปรับ 2,500 รอลงอาญา 1 ปี 20 ชาวสกลนคร ถ่ายรูปกับป้ายศูนย์ปราบโกงฯ https://prachatai.com/journal/2017/03/70466
โดนอีกแล้ว วัฒนาเผยถูกทหารนัดคุมตัวหลังโพสต์ "ผมก็ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ" https://prachatai.com/journal/2016/04/65237
ศาลทหารให้ประกัน 'วัฒนา' - 'พลเมืองโต้กลับ' ยุติกิจกรรมยืนสงบนิ่ง
https://prachatai.com/journal/2016/04/65360
คุก 4 เดือน 'โตโต้' ฉีกบัตรประชามติ รับสารภาพเหลือรอลงอาญา 1 ปี
https://prachatai.com/journal/2017/09/73402
องค์กรสิทธิเรียกร้องถอนข้อหานักรณรงค์ประชามติ
http://prachatai.com/journal/2016/07/66839
สมาคมสื่อ ตปท.เรียกร้องไทยถอนข้อหานักข่าวประชาไท
https://prachatai.com/journal/2016/07/66852
ฝ่ายสิทธิฯ 2 องค์กรสื่อเรียกร้องปล่อยตัวนักข่าวประชาไทโดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาโดยเร็ว https://prachatai.com/journal/2016/07/66816
iLaw: ตารางการปิดกั้นและแทรกแซงกิจกรรมสาธารณะ
https://freedom.ilaw.or.th/blog/banonpublicactivities
เทวฤทธิ์ มณีฉาย
เยี่ยมยุทธ สุทธิฉายา
แม้ว่าการลงคะแนนเสียงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญจะเสร็จสิ้นมาได้หนึ่งปีกว่าแล้ว นอกจากผลลัพธ์การลงประชามติเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเป็นเสียงข้างมากของประเทศแล้ว ความทรงจำของเหตุการณ์แวดล้อมในช่วงก่อนและหลังประชามติอาจจะเลือนรางจางหายเหมือนเนื้อหาในหนังสือเรียนที่พอสอบเสร็จก็จำไม่ได้แล้วว่าอ่านอะไรไป
แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญมากและไม่ควรจะถูกลืมคือพฤติการณ์การกีดกันการแสดงความเห็นที่หลากหลายของประชาชนผ่านมาตรการต่างๆ ภายใต้รัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) หนึ่งในนั้นคือการจับกุมและดำเนินคดีผู้คนที่ออกมาแสดงความเห็นในพื้นที่สาธารณะเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและประชามติในหลายกรณี
ในวันที่ 29 ม.ค. ที่จะถึงนี้จะเป็นวันที่ศาล จ.ราชบุรี นัดอ่านคำพิพากษาคดีที่ 4 นักกิจกรรม รวมทั้ง 1 ผู้สื่อข่าวจากประชาไท ถูกกล่าวหาว่าละเมิด พ.ร.บ.ประชามติ จากกรณีนักกิจกรรมเดินทางไปให้กำลังใจชาวบ้านและผู้สื่อข่าวไปทำข่าวที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ประชาไทชวนผู้อ่านทบทวนที่มาที่ไป เส้นทางของการพิจารณาคดีที่กินเวลา 1 ปีกว่า และเสียงเรียกร้องจากองค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชนและเสรีภาพสื่อให้มีกระบวนการประชามติที่เป็นประชาธิปไตย อันสะท้อนว่าดอกผลของประชามติไม่ควรเป็นการไต่สวนนักกิจกรรมและนักข่าวที่ทำหน้าที่ของตัวเองตามสิทธิพลเมืองที่มี
ที่มาที่ไปก่อนเป็นการตัดสินใน 29 ม.ค. 61
10 ก.ค. 2559 ราวหนึ่งเดือนก่อนที่จะมีการจัดการลงประชามติการรับ/ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน นักกิจกรรม 3 คนจากกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ประกอบด้วยปกรณ์ อารีกุล, อนันต์ โลเกตุ และ อนุชา รุ่งมรกต เดินทางเพื่อมาเยี่ยมเพื่อนที่ถูกหมายเรียกในคดีร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ชุมนุมหรือมั่วสุมทางการเมืองโดยไม่ได้รับอนุญาต จากการร่วมกิจกรรมเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี โดยมี ทวีศักดิ์ เกิดโภคา ผู้สื่อข่าวประชาไทติดรถของปกรณ์ไปทำข่าวด้วย
สภ.บ้านโป่งเข้าค้นรถของปกรณ์ การตรวจค้นพบเอกสารความเห็นแย้งร่างรัฐธรรมนูญ, สติ๊กเกอร์ Vote No และแผ่นพับประชาสัมพันธ์ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) อยู่ท้ายรถ จึงได้เชิญตัวนักกิจกรรมและผู้สื่อข่าวรวม 4 คนไปสอบปากคำ โดยเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้แจ้งข้อหา เพียงแต่ให้ลงบันทึกประจำวันและยึดเอกสารเอาไว้เท่านั้น
แต่ท้ายที่สุด ในวันเดียวกัน เจ้าหน้าที่ตำรวจก็ทำการจับกุม ยึดเอกสารและแจ้งข้อกล่าวหาต่อผู้ถูกจับกุมทั้ง 4 ว่า “ร่วมกันดำเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือในช่องทางอื่นใดที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง หรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียงหรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง” เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2559 มาตรา 61 วรรค 2 จากนั้นจึงนำตัวผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 เข้าควบคุมตัวในห้องขัง สภ. บ้านโป่ง และปฏิเสธการให้ประกันตัวในชั้นสอบสวน
ในบันทึกการจับกุมระบุว่า พบของกลาง คือ แผ่นไวนิลข้อความ "นายกไทยใครๆ ก็โดนล้อ" 1 แผ่น ไมโครโฟน ลำโพง ที่่คั่นหนังสือ "โหวตโน", จุลสาร การออกเสียง จำนวน 66 ฉบับ, แผ่นเอกสาร ปล่อย 7 นักโทษประชามติโดยไม่มีเงื่อนไข 21 แผ่น, แผ่นเอกสาร ความเห็นแย้ง 2 ฉบับ, เอกสารแถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ ฉบับลงประชามติ 9 ฉบับ, เอกสารจะใช้สิทธิลงประชามตินอกเขตจังหวัดทำอย่างไร 70 ฉบับ และสติ๊กเกอร์โหวตโน
เจ้าหน้าที่ตำรวจนำตัวผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 4 เข้าควบคุมตัวในห้องขัง สภ.บ้านโป่งและปฏิเสธการให้ประตัวในชั้นสอบสวน โดยแจ้งว่า จะทำการสอบสวนในคืนนี้ และนำตัวไปขออำนาจฝากขังต่อศาลจังหวัดราชบุรีในวันถัดไป แม้ทวีศักดิ์จะอธิบายกับเจ้าหน้าที่ก่อนถูกควบคุมตัวหลายครั้งว่าเป็นสื่อมวลชนที่ติดรถมาทำข่าวเท่านั้น ไม่ได้มีส่วนร่วมกับการแจกจ่ายเอกสาร และได้โทรศัพท์ขอสัมภาษณ์นายสมชัย สมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ด้านกิจการบริหารจัดการเลือกตั้ง และให้ตำรวจได้พูดคุยเพื่อหาความชัดเจนว่ากรณีนี้เป็นความผิดหรือไม่ โดยสมชัยระบุว่า การมีเอกสารในครอบครองโดยตัวมันเองนั้นไม่เป็นความผิด แต่หากมีการแจกจ่ายเกิดขึ้น ต้องดูลักษณะของการแจกจ่ายว่ามีการใช้คำหยาบคาย ยุยงปลุกปั่นหรือไม่ อย่างไรก็ดีภายหลังสมชัยได้ให้ความห็นมาเพิ่มว่า ตัวเอกสารของกลุ่ม NDM นั้นทางคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เองก็เห็นว่าเป็นเอกสารที่ยังมีปัญหาอยู่ ขณะนี้กำลังรอการตรวจสอบจึงยังไม่สามารถฟันธงว่าการมีตัวเอกสารนี้อยู่ในครอบครองผิดหรือไม่ ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้แจ้งแก่ผู้สื่อข่าวว่าทางผู้บัญชาการระดับภาคที่ดูแลเรื่องนี้ระบุว่าเรื่องนี้เข้าข่ายความผิดฐานเตรียมการจะแจกจ่าย
ภาวิณี ชุมศรี ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนแจ้งว่าผู้ต้องหาทั้ง 4 คนไม่ยินยอมพิมพ์ลายนิ้วมือ ทำให้ถูกแจ้งข้อหาด้วยอีกข้อหาหนึ่ง
ในคืนวันเดียวกัน ทหาร-ตำรวจจำนวน 4 คันรถ เข้าล้อมบ้านภานุวัฒน์ ทรงสวัสดิ์ชัย ซึ่งขณะนั้นเป็นนักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-แพร่ เฉลิมพระเกียรติ หนึ่งในผู้ต้องหาที่เข้ารายงานตัวกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.บ้านโป่ง จากกรณีจัดกิจกรรมเปิดศูนย์ปราบโกงฯ ในช่วงเช้า และแจ้งข้อหาเดียวกันกับกลุ่มผู้ต้องสงสัยทั้ง 4 คนเพิ่มเติม
บันทึกการจับกุมภานุวัฒน์ระบุว่า ในการเข้าตรวจค้นบ้านและจับกุมนั้นอาศัยอำนาจตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 13/2559 เรื่องการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดบางประการที่เป็นภยันตรายต่อความสงบเรียบร้อยหรือบ่อนทำลายระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นที่น่าสังเกตว่า คำสั่งดังกล่าวให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการเฉพาะในการกระทำอันเป็นความผิดตามที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายคำสั่ง ซึ่งไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติฯ
ด้านทนายความระบุว่า ตำรวจใช้หลักฐานภาพถ่ายในการกล่าวหาว่าเหน่อ ภานุวัฒน์ เป็นผู้ที่ขนเอกสารรณรงค์ของกลุ่ม NDM จากรถของสมาชิกกลุ่มไปใส่ยังรถคันอื่น จึงได้มีการติดตามจับกุมตัวที่บ้านพัก
ต่อมาในวันที่ 12 ก.ค. 2559 เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาที่สำนักงานประชาไทพร้อมหมายค้นเพื่อเข้าตรวจและยึดเอกสารที่เกี่ยวกับการรณรงค์โหวตโน แต่ไม่พบสิ่งใดที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง ทวีศักดิ์ได้เปิดเผยกับศูนย์ทนายฯ ว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามเชื่อมโยงว่าประชาไทอยู่เบื้องหลังการให้ทุนและจัดพิมพ์เอกสารรณรงค์ไม่รับรัฐธรรมนูญให้กับขบวนการประชาธิปไตยใหม่
แม้จะมีข้อเรียกร้องจากหลายองค์กรให้ยกเลิกการดำเนินคดีกับ 4 นักกิจกรรม 1 นักข่าว แต่ก็ไม่มีการถอนฟ้องใดๆ คดีความผิดตาม พ.ร.บ. ประชามติดำเนินต่อไปตามกระบวนการในชั้นศาล
10 ก.ค. 2559 (ภาพโดย ศรีไพร นนทรีย์)
ประเด็นต่อสู้ของจำเลย ยันสติกเกอร์ไม่ปลุกระดม
ทวีศักดิ์กล่าวถึงรายละเอียดคดีในภาพรวมว่า ถูกฟ้องสองข้อหา ข้อหาที่หนึ่ง พ.ร.บ.ประชามติ ที่ถูกกล่าวหาว่าร่วมกันแจกสติกเกอร์ VOTE NO ข้อหาที่สอง ฝ่าฝืนคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ฉบับที่ 24 กรณีไม่พิมพ์ลายนิ้วมือตามคำสั่งของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา สำหรับข้อกล่าวหาที่สอง ได้รับสารภาพไปแล้วว่าไม่พิมพ์จริง แต่ให้การกับศาลว่าสาเหตุที่ไม่พิมพ์เพราะไม่ยอมรับในกระบวนการการจับกุม
ส่วน พ.ร.บ.ประชามติมีสองประเด็น ประเด็นที่หนึ่ง การเดินทางไปที่ สภ.บ้านโป่งเมื่อวันที่ 10 ก.ค. 2559 ไปทำหน้าที่ผู้สื่อข่าวเท่านั้นไม่ได้ไปร่วมรณรงค์เกี่ยวกับการลงประชามติแต่อย่างใด และในประเด็นที่สองสู้ด้วยว่า การรณรงค์เกี่ยวกับการลงประชามตินั้นไม่ผิดเพราะตามกฎหมายระบุว่า "ผู้ใดดําเนินการเผยแพร่ข้อความ ภาพ เสียง ในสื่อหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือในช่องทางอื่นใด ที่ผิดไปจากข้อเท็จจริงหรือมีลักษณะรุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่โดยมุ่งหวังเพื่อให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไม่ไปใช้สิทธิออกเสียง หรือออกเสียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ออกเสียง ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําการก่อความวุ่นวายเพื่อให้การออกเสียงไม่เป็นไปด้วยความเรียบร้อย" การรณรงค์เกี่ยวกับการลงประชามติ ที่ไม่ได้ลักษณะที่ผิดไปจากข้อเท็จจริง ไม่ได้รุนแรง ก้าวร้าว หยาบคาย หรือปลุกระดม ข่มขู่ ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงไปออกเสียงแบบใดแบบหนึ่งจึงไม่มีความผิด
เมื่อวันที่ 3 ต.ค.60 ในการสืบพยานคดีนี้ ปกรณ์ เบิกความว่าในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านมา ตนเห็นว่าการรณรงค์ให้ความรู้เกี่ยวกับข้อดีของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ยังไม่แพร่หลายในสื่อ ไม่ครอบคลุม ประชาชนได้รับรู้เท่าที่มีการประชาสัมพันธ์ในส่วนของสาระสำคัญเท่านั้น นอกจากนั้นก็ยังมีคนที่ไม่รู้แม้กระทั่งวันที่จะมีการออกเสียงประชามติ
ปกรณ์เห็นว่าข้อความในสติกเกอร์ “Vote No ไม่รับ อนาคตที่ไม่ได้เลือก” ไม่ได้เป็นข้อความที่มีความก้าวร้าว รุนแรง หยาบคาย ปลุกระดม หรือข่มขู่ อีกทั้งในส่วนของคำถามพ่วงในการลงประชามติ ที่มีประเด็นว่าใน 5 ปีแรกจะให้ ส.ส. และ ส.ว. เป็นผู้เลือกกรัฐมนตรีนั้น ปกรณ์เห็นว่าเมื่อประกอบกับประเด็นที่มาของ ส.ว. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งแล้ว จึงกลายเป็นที่มาของข้อความ “อนาคตที่ไม่ได้เลือก” บนสติกเกอร์
ปกรณ์เบิกความว่าสมชัย ศรีสุทธิยากร คณะกรรมการการเลือกตั้ง ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่าการแจกสติกเกอร์ไม่น่าจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ประชามติฯ และวิษณุ เครืองาม รองกรัฐมนตรี ก็เคยให้สัมภาษณ์ว่าเอกสารความเห็นแย้งของกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ ก็สามารถเผยแพร่ และแสดงความเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยต่อร่างรัฐธรรมนูญได้
ปกรณ์ยังตอบคำถามค้านของอัยการด้วยว่าเอกสารของกลางในคดีนี้ ตนไม่ได้นำมาเพื่อแจกที่ สภ.บ้านโป่ง และไม่ได้มีการแจกจ่ายในวันนั้น แต่เป็นเอกสารที่ติดรถตนมาตั้งแต่วันที่มีการแถลงข่าวเรื่องร่างรัฐธรรมนูญที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในวันก่อนเกิดเหตุคดีนี้ เนื่องจากในวันแถลงข่าวมีเพียงตัวเขาเองเท่านั้นที่มีรถกระบะที่สามารถบรรทุกเอกสารได้
วันเดียวกัน ทวีศักดิ์ เบิกความในฐานะพยาน ว่าวันเกิดเหตุ ตนได้ติดตามไปที่ สภ.บ้านโป่ง เพื่อทำหน้าที่นักข่าวเนื่องจากทราบได้มีการเรียกผู้ต้องหาในคดีศูนย์ปราบโกงประชามติเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ซึ่งก่อนหน้านั้นตนก็ติดตามทำข่าวปกรณ์ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปกรณ์ได้แจ้งว่าจะเดินทางมาให้กำลังใจชาวบ้านที่ สภ.บ้านโป่ง ตนจึงขอติดรถมาด้วย เมื่อเดินทางถึง สภ.บ้านโป่ง ก็ได้เข้าถ่ายภาพที่หน้าสถานีและเข้าไปสัมภาษณ์ผู้ต้องหา จากนั้นตนก็ไปสัมภาษณ์จำเลยที่ 5 กับจำเลยที่ 3 ในคดีนี้ต่อ เพื่อทำสกู๊ปข่าว
ทวีศักดิ์ เบิกความต่อว่าหลังจากนั้นเจ้าหน้าที่ก็เชิญตัวพวกตนขึ้นไปบนสถานีตำรวจ โดยตนได้แสดงตัวว่าเป็นนักข่าวตั้งแต่แรกและได้แสดงบัตรผู้สื่อข่าวด้วย อีกทั้งในตอนที่ถูกเชิญตัว เจ้าหน้าที่ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นการจับกุม แต่เมื่อขึ้นไปที่สถานีแล้ว กลับมีการแจ้งข้อกล่าวหาและจับกุมตัว
ทวีศักดิ์เบิกความด้วยว่าตอนแรกที่ถูกเรียกไปยังสามารถใช้โทรศัพท์ได้ จึงได้โทรศัพท์ไปสอบถามสมชัย คณะกรรมการการเลือกตั้ง เพื่อสัมภาษณ์เรื่องสติกเกอร์ สมชัยระบุว่าการมีสติกเกอร์ไม่น่าเป็นความผิดตามกฎหมาย และถ้าไม่ใช่การขึ้นเวทีปราศรัย ไม่ได้เป็นการให้ข้อมูลเท็จ ไม่ได้เป็นการยุยงปลุกปั่นก็สามารถทำได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตำรวจด้วย จากนั้นเขาจึงส่งสายของสมชัยให้รองผู้กำกับสอบสวน สภ.บ้านโป่ง พูดคุยด้วย
ทวีศักดิ์ เสริมว่าในตอนที่เขาแสดงตัวว่าเป็นนักข่าวของประชาไท ตำรวจอาจจะไม่เชื่อว่าเป็นสำนักข่าวจริงๆ เนื่องจากประชาไทเป็นสำนักข่าวออนไลน์ ไม่ได้มีโรงพิมพ์ของตัวเอง แต่เจ้าหน้าที่ก็อาจจะเข้าใจว่าเอกสารของกลางเป็นของประชาไท เพราะหลังจากเขาถูกเชิญตัว พ.ต.ท.สรายุทธก็ได้ประสานกับตำรวจ สน.สุทธิสารที่กรุงเทพฯ เพื่อให้เข้าตรวจค้นที่สำนักข่าว แต่เนื่องจากในวันนั้นไม่มีใครอยู่ที่สำนักข่าว ตำรวจจึงไม่ได้เข้าไป ที่ทราบว่ามีตำรวจไปเพราะว่าสำนักงานอื่นที่ใช้อาคารเดียวกันแจ้งมา
คดีประชามติอื่นๆ
การคุกคามการแสดงออกของประชาชนช่วงประชามติหากนับคร่าวๆ เริ่มตั้งแต่การเตรียมเปิดศูนย์ปราบโกงประชามติ ที่นำโดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ตามจังหวัดต่างๆ โดยเริ่มจากเรียกเข้าค่ายทหารคุย ไปจนถึงการดำเนินคดี โดยเฉพาะแกนนำ นปช. 19 คน ถูกดำเนินคดีข้อหา ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. ที่ 7/2557 ห้ามมั่วสุมหรือชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนขึ้นไป จากกรณีที่ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติ ที่อิมพีเรียลลาดพร้าว เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.2559 ซึ่งขณะนี้คดียังอยู่ในศาลทหาร ขณะที่คดีตามต่างจังหวัดที่มีการเปิดศูนย์ปราบโกงฯ บางที่ถูกเรียกตัวเข้าปรับทัศนคติ ขณะที่บางที่ถูกดำเนินคดี เช่น กรณี จ.สกลนคร ศาลพิพากษาคดีถ่ายรูปกับป้ายศูนย์ปราบโกงฯ ฝ่าฝืนคำสั่ง คสช.ที่ 3/2558 จำคุก 1 เดือน 15 วัน ปรับ 2,500 บาท รอลงอาญา 1 ปี หลังทั้ง 20 คน รับสารภาพ
รายงานขององค์กรสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนนานาชาติหรือ FIDH ระบุว่า การดำเนินคดีกับผู้วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งการควบคุมตัว และดำเนินคดีได้เพิ่มขึ้นช่วงเดือนก่อนวันออกเสียงประชามติ ระหว่างวันที่ 27 เม.ย. - 24 ก.ค. 2559 เจ้าหน้าที่ได้ควบคุมตัวบุคคลโดยพลการอย่างน้อย 41 คนด้วยเหตุที่พวกเขาวิพากษ์วิจารณ์หรือรณรงค์ต่อต้านร่างรัฐธรรมนูญ รวมไปถึงแกนนำ นปช. อย่างน้อย 38 คนที่ถูกควบคุมตัวจากความพยายามจัดตั้งศูนย์ปราบโกง
เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.2559 นักกิจกรรมจากกลุ่มประชาธิปไตยใหม่ (NDM) นักศึกษารามคำแหง และกลุ่มสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ รวม 13 คน ถูกทหารและตำรวจควบคุมตัวที่หน้านิคมอุตสาหกรรมบางพลี จ.สมุทรปราการ เนื่องจากไปแจกแผ่นพับและเอกสารให้ความรู้เรื่องร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติ และต่อมาถูกแจ้งข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 3/2558 ข้อ 12 เรื่องชุมนุมทางการเมืองจำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยคดียังอยู่ที่ศาลทหารเช่นกัน
แม้กระทั่งนักการเมืองดังอย่าง วัฒนา เมืองสุข ที่โพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คว่าไมรับร่างรัฐธรรมนูญก็ถูกเจ้าหน้าที่ทหารคุมตัวเข้าค่ายเพื่อปรับทัศนคติด้วย จนวัฒนาโพสต์ยืนยันด้วยว่า "จะเอาผมไปปรับทัศนคติอีกกี่ครั้งผมก็ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้" และต่อมา วัฒนาถูกดำเนินคดีข้อหาฝ่าฝืนเงื่อนไขประกาศ คสช.ฉบับที่ 39/2557 เรื่อง การกําหนดเงื่อนไขการปล่อยตัวของบุคคลที่มารายงานตัวต่อ คสช. ด้วย
แม้กระทั่งวันลงประชามติ ยังมีกรณีที่ ปิยรัฐ จงเทพ ประท้วงประชามติด้วยการฉีกบัตรออกเสียง ขณะที่เพื่อนของเขาคือ จิรวัฒน์ เอกอัครนุวัฒน์ และทรงธรรม แก้วพันธุ์พฤกษ์ ที่คอยบันทึกเหตุการณ์ ถูกดำเนินคดีข้อหาก่อกวนขัดขวาง แต่ต่อมาศาลยกฟ้อง อย่างไรก็ตาม ปิยรัฐถูกฟ้องในข้อหาทำลายเอกสารราชการ และข้อหาทำให้ทรัพย์สินสาธารณะเสียหาย โดยศาลสั่งจำคุก 4 เดือน ปรับ 4,000 บาท เหตุลดโทษ จำเลยรับสารภาพ และไม่มีเหตุต้องโทษจำคุกมาก่อน จึงลดโทษจำคุก เป็นจำคุก 2 เดือน ปรับ 2,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา 1 ปี
นอกจากนั้นยังมีเวทีสาธารณะหลายเวทีที่ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ-ทหารปิดกั้นไม่ให้จัด รวมถึงเหตุการณ์ที่สะท้อนถึงภาวะกดดันผ่านกฎหมาย โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) รายงานว่า เวทีเสวนาและกิจกรรมรณรงค์เรื่องรัฐธรรมนูญที่เครือข่ายเว็บไซต์ประชามติมีแผนจัดเมื่อเดือน ก.พ. 2559 ที่ทหารและตำรวจได้ติดต่อไปยังหอศิลปวัฒนธรรมกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสถานที่จนหอศิลปฯ ต้องยกเลิกการใช้พื้นที่ และงานเสวนา “ร่วมพิจารณารับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญก่อนประชามติ” ที่มหาวิทยาลัยสวนดุสิตไม่ให้จัดงานเนื่องจากเกรงว่าจะเข้าข่ายการชุมนุมทางการเมือง ผู้จัดจึงได้ย้ายไปจัดงานที่มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคมแทน
เป็นต้น
หลายองค์กรตั้งคำถามความชอบธรรมประชามติในวันที่ประชาชน-สื่อโดนตีกรอบ
แม้ทวีศักดิ์ระบุกับประชาไทว่าศาลได้ให้โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ ไม่มีเรื่องที่น่ากังวล ส่วนตัวเชื่อว่าไม่ได้ทำอะไรผิดกฎหมายและยินดีพิสูจน์ตัวเองตามกระบวนการยุติธรรมทุกขั้นตอน แต่การดำเนินคดีกับสื่อมวลชนได้รับแรงกระเพื่อมกลับมาจากองค์กรวิชาชีพสื่อและองค์กรพิทักษ์สิทธิมนุษยชน
สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (FCCT) ออกแถลงการณ์หลังมีการจับกุมคดีนี้ โดยแสดงความกังวลต่อการจับกุมและตั้งข้อหา ทวีศักดิ์ ผู้สื่อข่าวประชาไท ความว่า
"มันไม่ใช่เรื่องผิดปกติที่ผู้สื่อข่าวจะติดตามหรือเดินทางไปกับแหล่งข่าวและผู้ให้สัมภาษณ์ ในฐานะผู้สื่อข่าวที่ติดตามทำข่าวสิทธิด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน ทวีศักดิ์ก็แค่ทำหน้าที่ของเขา" แถลงการณ์ระบุ
FCCT กังวลว่าการจับกุมและตั้งข้อหาเขาจะเป็นการสร้างบรรทัดฐานที่น่ากลัวต่อเสรีภาพสื่อและเรียกร้องให้ทางการไทยถอนข้อหาต่อเขา
เช่นเดียวกับ แบรด อดัมส์ ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชีย องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าวว่า การจับกุมนักกิจกรรมที่ทำกิจกรรมอย่างสันติก็แย่พอแล้ว แต่การคุมขังนักข่าวที่ไปรายงานข่าวยิ่งเป็นการคุกคามเสรีภาพสื่อในไทยอย่างรุนแรง รวมถึงยังกระทบต่อความหวังว่าการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญจะชอบธรรมด้วย
"นับวันรัฐบาลทหารยิ่งทำลายความชอบธรรมของการประชามติลงด้วยตัวเอง" ผู้อำนวยการฝ่ายเอเชีย องค์การฮิวแมนไรท์วอทช์ กล่าว
แบรด อดัมส์ กล่าวว่า ทั้งสหประชาชาติและต่างชาติควรกดดัน พล.อ.ประยุทธ์ ให้ยุติการจับกุมผู้วิจารณ์และผู้เห็นต่างโดยพลการโดยทันที และยุติข้อกล่าวหาต่อผู้ที่แสดงความเห็นทางการเมืองอย่างสันติ พร้อมชี้ว่า รัฐบาลทหารไม่สามารถคาดหวังให้ประชาชนเงียบเสียงและโหวตประชามติร่างรัฐธรรมนูญโดยปราศจากการถกเถียง
ด้านองค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน เรียกร้องให้ทางการไทยถอนข้อหาทวีศักดิ์ ซึ่งถูกจับกุมระหว่างติดตามทำข่าวในขณะนั้น เบนจามิน อิสมาอิล หัวหน้าแผนกเอเชีย-แปซิฟิกขององค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน ระบุว่า เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ที่เจ้าหน้าที่ล้มเหลวในการแยกแยะระหว่างนักกิจกรรมทางการเมืองและผู้สื่อข่าวที่ตามทำข่าวพวกเขา นอกจากการละเมิดเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการชุมนุมและการแสดงความเห็นแล้ว รัฐบาลยังละเมิดเสรีภาพในข้อมูลข่าวสารและเสรีภาพสื่อด้วย
"จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป จะมีการจับกุมนักข่าวที่ไปทำข่าวการจับกุมนี้หรือไม่ รัฐบาลต้องมีความอดทนอดกลั้นต่อสื่อที่รายงานเสียงวิจารณ์จากฝ่ายตรงข้าม" หัวหน้าแผนกเอเชีย-แปซิฟิกขององค์กรผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน กล่าว
ปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพและการปฏิรูปสื่อ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และ สุปัน รักเชื้อ อุปนายกฝ่ายสิทธิเสรีภาพ สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย มีความเห็นตรงกันเกี่ยวกับกรณีนี้ ซึ่งเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวผู้สื่อข่าวประชาไทขณะนั้น โดยไม่การตั้งข้อกล่าวหา เพราะการอ้างว่านักข่าวนั่งรถไปกับแหล่งข่าวถือเป็นความผิดนั้นจะกระทำไม่ได้ เพราะตามปกตินักข่าวจะต้องลงพื้นที่ทำงานข่าวให้ทันกับเวลา ดังนั้นการเดินทางอาจมีความจำเป็นที่จะอาศัยติดรถแหล่งข่าวลงไปทำข่าวด้วยก็ถือเป็นเรื่องปกติ ขณะที่การปฏิบัติหน้าที่ของผู้สื่อข่าวเองก็เป็นไปตามหลักสิทธิเสรีภาพบนความรับผิดชอบในการนำเสนอข่าวตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้
กุลชาดา ชัยพิพัฒน์ ผู้จัดการฝ่ายรณรงค์สิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน สมาคมเครือข่ายสื่อมวลชนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือซีป้า แสดงความเห็นต่อกรณีนี้ว่า การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้าไปจับกุมนักข่าวร่วมกับนักกิจกรรมเป็นการกระทำที่เกินกว่าเหตุ ไม่สมเหตุสมผล การที่นักข่าวเข้าไปในพื้นที่เพื่อทำข่าว เรื่องของบัตรแสดงตนนั่นเป็นอีกกรณีหนึ่ง แต่ในเมื่อมีพยานยืนยันแล้วว่า นักข่าวผู้นี้ได้ติดตามการเคลื่อนไหวการรณรงค์ประชามติมาตั้งแต่ต้น ก็ไม่ควรมีเหตุผลที่ตำรวจจะจับกุม
กุลชาดา ยังกล่าวอีกว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นการสะท้อนให้เห็นว่า การบังคับใช้มาตรา 61 วรรค 2 ของ พ.ร.บ.ประชามติ มีผลกระทบโดยตรงต่อการทำหน้าที่ของสื่อโดยตรง การบังคับใช้มาตรา 61 วรรค 2 มีผลโดยตรงต่อการทำหน้าที่ของสื่อ ยิ่งถ้าตั้งข้อหาแบบนี้ยิ่งกระทบ และควรปล่อยตัวนักข่าวอย่างไม่มีเงื่อนไข เพราะเขาไปทำหน้าที่สื่อ การแสดงความคิดเห็นส่วนตัวของเขาก็เป็นสิทธิที่เขาจะแสดงออก ถือว่าการจับกุมครั้งนี้ไม่มีเหตุผลอันควร
มานะ ตรีรยาภิวัฒน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงกรณีการจับตัวทวีศักดิ์ว่า เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงภาวะที่สังคมและเจ้าหน้าที่ตำรวจไทยยังไม่ได้มองสื่อทางเลือกเป็นนักข่าว ทั้งที่ในปัจจุบันสื่อทางเลือกและพลเมืองที่นำเสนอข่าวเองได้นั้นเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากและมีความเป็นมืออาชีพ ทำให้สื่อเหล่านั้นไม่ได้รับการคุ้มครองใดๆ
จากประชามติที่ไม่แฟร์ไม่ฟรี สู่ความน่าเชื่อถือในการเลือกตั้ง
ภายใต้บรรยากาศการจำกัดการแสดงความเห็นของประชาชนจากรัฐบาล คสช. และกระแสว่าการเลือกตั้งจะตามมาในปี 2560 ถึงต้นปี 2561 หากร่างรัฐธรรมนูญผ่าน องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพสื่อจากต่างประเทศต่างแสดงความเห็นเกี่ยวกับการใช้กฎหมายและคำสั่ง คสช. ปราบปรามคนที่ไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญไปในเชิงติเตียน รวมถึงเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้ที่ถูกดำเนินคดีจากเหตุแห่งกฎหมายดังกล่าว
ฌอน คริสปิน ตัวแทนประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ของคณะกรรมการปกป้องผู้สื่อข่าว (Committee to Protect Journalists - CPJ) นอกจากเสนอให้รัฐบาลทหารไทยยกเลิกการฟ้องทวีศักดิ์โดยทันที ฌอน ยังมองด้วยว่าถือเป็นความย้อนแย้งอย่างยิ่งที่ทวีศักดิ์ต้องถูกดำเนินคดีด้วยข้อหาเกี่ยวกับการทำประชามติ ในช่วงเวลาที่ประเทศไทยกำลังจะมุ่งสู่การเลือกตั้ง หากรัฐบาลทหารไทยต้องการให้การเลือกตั้งครั้งนี้มีความน่าเชื่อถือ ก็ควรที่จะยุติการดำเนินคดีกับทวีศักดิ์ และหยุดการคุกคามสื่อในทุกรูปแบบ
เช่นเดียวกับ ราวีนา ชัมดาซานี โฆษกข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ออกแถลงการณ์แสดงความกังวลต่อการจำกัดพื้นที่ประชาธิปไตยที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อวันที่ 19 ส.ค.59 พร้อมเรียกร้องให้ประเทศไทยยุติการตั้งข้อหาต่อนักกิจกรรมทางการเมืองและนักปกป้องสิทธิมนุษยชนโดยทันที รวมถึงปล่อยผู้เห็นต่างต่อร่างรัฐธรรมนูญที่ถูกคุมขังด้วย พร้อมทั้งชี้ว่ามาตรการเหล่านี้เป็นสิ่งจำเป็นเร่งด่วนสำหรับประเทศไทย เพื่อที่ก้าวไปสู่การเลือกตั้งในปี 2560 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อนำประชาธิปไตยกลับคืนมา ตามโรดแมปของรัฐบาลทหารเอง
"การเลือกตั้งในปีหน้าเป็นโอกาสดีของประเทศไทยที่จะตอบสนองคำมั่นสัญญาที่ประเทศไทยได้ให้ไว้ต่อคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ในช่วงที่มีการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชน (ยูพีอาร์) เมื่อเดือน พ.ค. 2559 ว่าจะเคารพเสรีภาพในการแสดงออก รวมถึงรับประกันว่าจะมีกระบวนการมีส่วนร่วมที่นับรวมคนทุกกลุ่ม รวมถึงพรรคการเมือง ภาคประชาสังคม และสื่อ ในสภาวะที่เปิดกว้างและปราศจากการคุกคาม” โฆษกข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ระบุ
องค์กรแอมเนสตี อินเตอร์เนชันแนล ออกแถลงการณ์ระบุว่า พฤติการณ์การควบคุมตัวและดำเนินคดีกับผู้แสดงความเห็นไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นการทำให้การแสดงออกซึ่งความไม่เห็นด้วยอย่างสันติเป็นเรื่องผิดกฎหมายจนมีผลให้เกิดภาวะเซ็นเซอร์ตัวเอง โจเซฟ เบเนดิคต์ รักษาการผู้อำนวยการประจำภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียแปซิฟิกของแอมเนสตีฯ ยังได้เรียกร้องให้ทางการปล่อยตัวคนที่ถูกจับกุมและได้รับโทษจากการแสดงความคิดเห็นเรื่องร่างรัฐธรรมนูญอย่างสันติอย่างไม่มีเงื่อนไขทันทีโดยไม่มีคดีติดตัว
องค์กรเครือข่ายประชาธิปไตยแห่งเอเชีย (เอดีเอ็น) ออกแถลงการณ์เรียกร้องให้รัฐบาลทหารของไทยจัดให้มีการประชามติที่เปิดกว้างและเท่าเทียม เปิดพื้นที่ให้ภาคประชาสังคมทุกขั้วการเมืองให้ดำเนินกิจกรรมทั้งการสังเกตการณ์และกิจกรรมต่างๆ ในช่วงก่อนวันลงคะแนนเสียง
ในเดือน เม.ย. 2559 ซาอิด ราอัด อัลฮุสเซน (Zeid Ra'ad Al Hussein) ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (UN High Commissioner for Human Rights) แสดงความกังวลมากขึ้นเกี่ยวกับ “การควบคุมเสียงที่เห็นต่างอย่างเข้มงวด” ก่อนจะถึงวันออกเสียงประชามติ 7 สิงหาคม เขาย้ำถึงความจำเป็นที่ประชาชนทั่วไป สมาชิกพรรคการเมือง ภาคประชาสังคม รวมทั้งองค์กรพัฒนาเอกชน เอ็นจีโอ ผู้สื่อข่าวและนักวิชาการซึ่งต้องมีพื้นที่เพื่อแสดงความเห็นโดยไม่ต้องกลัวจะถูกคุกคาม ถูกตอบโต้หรือจับกุม
ในวันที่รัฐธรรมนูญผ่านประชามติและประกาศใช้แล้ว แต่วันและเวลาของการเลือกตั้งยังคงไม่มีคำตอบ รูปธรรมอันหลงเหลือจากประชามติที่หนึ่งคนมีสิทธิ์และเสียงนอกคูหาไม่เท่ากันคงเป็นการดำเนินคดีตามความผิด พ.ร.บ.ประชามติ จึงขอเชิญชวนผู้อ่านเป็นประจักษ์พยานกับผลการพิพากษาของ 4 นักกิจกรรมและ 1 ผู้สื่อข่าวที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 ม.ค. นี้ว่าจะออกมาในลักษณะใด
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ตร.ยกคำสั่งคสช.ปิดศูนย์ปราบโกงฯ จตุพร ชี้ปิดได้ปิดไป ศูนย์ฯ อยู่ในใจทุกคนแล้ว
https://prachatai.com/journal/2016/06/66399
19 แกนนำ นปช. ขึ้นศาลทหาร คดีแถลงข่าวเปิดตัวศูนย์ปราบโกงประชามติ
https://prachatai.com/journal/2017/09/73098
ตำรวจจับ 'แมน ปกรณ์' NDM หลังให้กำลังใจคนบ้านโป่งสู้คดีตั้งศูนย์จับตาประชามติ https://prachatai.com/journal/2016/07/66800
ศาลทหารอุดรฯ สั่งปรับ 2,500 รอลงอาญา 1 ปี 20 ชาวสกลนคร ถ่ายรูปกับป้ายศูนย์ปราบโกงฯ https://prachatai.com/journal/2017/03/70466
โดนอีกแล้ว วัฒนาเผยถูกทหารนัดคุมตัวหลังโพสต์ "ผมก็ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ" https://prachatai.com/journal/2016/04/65237
ศาลทหารให้ประกัน 'วัฒนา' - 'พลเมืองโต้กลับ' ยุติกิจกรรมยืนสงบนิ่ง
https://prachatai.com/journal/2016/04/65360
คุก 4 เดือน 'โตโต้' ฉีกบัตรประชามติ รับสารภาพเหลือรอลงอาญา 1 ปี
https://prachatai.com/journal/2017/09/73402
องค์กรสิทธิเรียกร้องถอนข้อหานักรณรงค์ประชามติ
http://prachatai.com/journal/2016/07/66839
สมาคมสื่อ ตปท.เรียกร้องไทยถอนข้อหานักข่าวประชาไท
https://prachatai.com/journal/2016/07/66852
ฝ่ายสิทธิฯ 2 องค์กรสื่อเรียกร้องปล่อยตัวนักข่าวประชาไทโดยไม่มีการตั้งข้อกล่าวหาโดยเร็ว https://prachatai.com/journal/2016/07/66816
iLaw: ตารางการปิดกั้นและแทรกแซงกิจกรรมสาธารณะ
https://freedom.ilaw.or.th/blog/banonpublicactivities
แสดงความคิดเห็น