Posted: 30 Dec 2017 01:55 AM PST

“เราไม่รู้สารเคมีอะไรที่เราใช้อยู่ เรารู้แค่ชื่อยี่ห้อสินค้า” พบประเทศในเอเชียมีพนักงานฝ่ายผลิตในโรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นผู้หญิงถึง 60-90% ซึ่งมีโอกาสสัมผัสสารเคมีต่าง ๆ มากกว่า ส่วนผู้ชายจะอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าและได้รับค่าตอบแทนมากกว่า


ที่มาภาพ: equaltimes.org/Laura Villadiego


เล็ก (นามสมมุติ) ใช้เวลา 25 ปีในการตรวจสอบไมโครชิพที่ออกจากโรงงาน เพื่อรักษาคุณภาพสินค้าของบริษัท ในช่วงเวลาที่ผ่านมานี้ แม้โรงงานได้เปลี่ยนเจ้าของมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง แต่สภาวการณ์ของคนในสายการผลิตแทบจะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เพื่อนร่วมงานของเธอส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้หญิง และหัวหน้างานมักเป็นผู้ชาย

อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เป็นการทำงานที่ซับซ้อน อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หนึ่งชิ้น ถูกประกอบมาจากชิ้นส่วนเล็ก ๆ จากโรงงานหลายๆแห่ง เช่นโรงงานที่เล็กทำงานอยู่ ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัทใหญ่อีกแห่ง อย่างไรก็ตามแต่ละโรงงานส่วนใหญ่มักจะมีนโยบายการจ้างงานที่คล้ายคลึงกัน

“โรงงานมักจะจ้างพนักงานหญิง เพราะคิดว่าผู้หญิงทนงานหนักและปกครองง่าย” พัชณีย์ คำหนัก นักวิจัยจากเครือข่ายกู้ดอิเล็กทรอนิกส์ (Good Electronics) องค์กรตรวจสอบปัญหาด้านสังคมและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวกับห่วงโซ่การผลิตในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กล่าว

“นอกจากนี้ ผู้หญิงไทยในช่วงวัยประมาณ 30 ปีมีการศึกษาต่ำกว่าผู้ชาย ทำให้เป็นตลาดแรงงานที่เหมาะสมสำหรับนายจ้าง ที่จะทำงานในไลน์ผลิตกับเครื่องจักรกึ่งอัตโนมัติ ดังนั้น การมีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจึงไม่เพียงพอต่อการสร้างอำนาจต่อรองในเรื่องค่าจ้าง และเลือกงานที่ดีกว่า” (พัชณีย์เพิ่มเติมกับประชาไท เมื่อวัน 30 ธ.ค.2560)

แม้ว่าจะไม่มีดัชนีที่ชี้ชัดจากทั่วโลก แต่จากตัวเลขคร่าว ๆ จากบางประเทศในแถบเอเชียที่เป็นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมประเภทนี้ ชี้ให้เห็นอัตราคนงานหญิงในโรงงานผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีมากถึงร้อยละ 60-90 ในประเทศอย่าง มาเลเซีย เวียดนาม และ ไทย แต่ละโรงงานจะมีคนงานในสายการผลิตที่เป็นผู้ชายไม่มากนัก ผู้ชายส่วนใหญ่มักจะดำรงตำแหน่งที่สูงกว่าและได้รับค่าตอบแทนมากกว่า

“ปกติแล้วผู้ชายจะถูกมองว่าเหมาะกับตำแหน่งด้านการบริหารจัดการมากกว่าผู้หญิง” โจ ดิกังจี้ (Joe DiGangi) นักวิจัยจากเครือข่ายต่อต้านสารพิษสากล (IPEN) ผู้ค้นคว้าเรื่องนโยบายของบริษัท ซัมซุง (Samsung) ในประเทศเวียดนามกล่าว

“บริษัทหลายแห่งในเวียดนามมักจะคิดว่าผู้หญิงคงให้เวลากับครอบครัวและลูกมากกว่าการทำงานเมื่อเทียบกับผู้ชาย แต่ผู้หญิงหลายคนที่เราเคยสัมภาษณ์มาล้วนทำงานหนักมาก” นักวิจัยเผย

ลำดับชั้นของแรงงานแบ่งที่โดยเพศเช่นนี้ ผู้หญิงมักจะได้ทำหน้าที่ในส่วนงานพื้นฐาน ทำให้แรงงานหญิงร้อยละ 85 ในประเทศไทย เป็นแรงงานไร้ฝีมือ จากการศึกษาของ องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ในปี 2556 ยังพบว่าผู้หญิงได้รับค่าตอบแทนการทำงานน้อยกว่าเพื่อนร่วมงานที่เป็นผู้ชายถึงร้อยละ 16

จากการศึกษาขององค์พัฒนาเอกชนที่ทำการศึกษาแรงงานหญิงในโรงงานที่มาเลเซีย ผู้หญิงยังถูกละเมิดจากทางปฎิบัติและวาจาจากหัวหน้างานของพวกเขา ซึ่งกรณีที่พบเห็นได้บ่อยครั้งคือการใช้ความรุนแรงคุกคามร่างกายและเสรีภาพส่วนบุคคล ผู้ร้องเรียนมักจะถูกยึดเอกสารแสดงตัวตนหรือลงโทษในเวลาทำงาน

เล็กและน้อย เพื่อนร่วมงานในสายการผลิตเดียวกันทั้งสองบอกเหล่าสิ่งที่ต้องประสบในแต่ละวันของพวกเธอว่า “หัวหน้างานคนเก่าของเราชอบพูดจาไม่ให้เกียจพวกเรา” เล็กเล่าย้อนความจำ

น้อยยังบอกอีกว่ามีการะละเมิดสิทธิ์คนงานเพิ่มขึ้น หลังจากทางบริษัทได้เปลี่ยนการชั่วโมงทำงาน และการเปลี่ยนแปลงเวลาการเข้าทำงานของทั้งคนงานในกะเช้าและกะดึก “คนงานหลายคนออกมาประท้วงการเปลี่ยนแปลงนี้ เพราะมันส่งผลต่อสุขภาพและชีวิตสังคมของพวกเรา”น้อยกล่าว ซึ่งเธอเองเป็นหนึ่งในผู้ร่วมหยุดงานเพื่อประท้วงการเปลี่ยนเวลาทำงานด้วยเช่นกัน หลังจากนั้นคนงานที่เข้าร่วมการหยุดงานก็เริ่มถูกคุกคามจากทางบริษัท

“เขาให้เราเข้าไปในห้องที่ถูกติดกล้องวงจรปิดเพื่อเฝ้ามองเราตลอด ห้องนั้นสกปรกมากเราทำงานไม่ได้เลย ฉันเป็นภูมิแพ้เลยต้องหนีออกมาจากห้องนั้น” เธอเล่า

ช่องว่างระหว่างเพศ


เล็ก ต้องเผชิญกันอาการไมเกรนและหน้ามืดเป็นลมในบางครั้ง “เหมือนว่าเลือดจะไหลเวียนเข้าสมองฉันไม่เพียงพอ” นอกจากนั้นเธอยังตรวจพบเนื้องอกในรังไข่ ซึ่งเธอคิดว่าอาการไมเกรนนั้นเกี่ยวข้องโดยตรงกับการเปลี่ยนชั่วโมงทำงานของบริษัทโดยตรง

“สุขภาพไม่ได้เป็นสิ่งแรกที่ถูกให้ความสำคัญสำหรับแรงงานหญิง และพวกเธอไม่ได้รู้ข้อมูลเกี่ยวกับมันเลย เพราะเมื่อคุณไม่อิ่มท้อง เรื่องอื่นก็ไม่ใช่เรื่องสำคัญ” พัชณีย์กล่าว

ระดับชั้นของแรงงานที่ปรากฏขึ้นนั้น ทำให้ผู้หญิงพบกับความเสี่ยงทางสุขภาพที่สูง เพราะการทำงานในสายการผลิตผลักให้ต้องสัมผัสกับสารเคมีเป็นประจำ “อตุสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ถูกมองว่าเป็นอุตสาหกรรมความเสี่ยงต่ำ จึงทำให้การรับรู้เกี่ยวความเสี่ยงเรื่องสุขภาพ อย่างการวิธีสัมผัสกับสารเคมี ไม่ได้ถูกให้ความสำคัญ” โจ ดิกังจี้ กล่าว

หลายบริษัทนั้นมีนโยบายในการไม่เปิดเผยสารเคมีที่ใช้ ทำให้เป็นเรื่องยากที่เชื่อมโยงความเกี่ยวข้องระหว่างความเจ็บป่วยที่พบในคนงานกับสถาพแวดล้อมได้ ในหลายศาลของประเทศเกาลหลีใต้ เริ่มจะเชื่อว่าในรายของโรคลูคีเมียนั้นเชื่อมโยงกับการ ใช้สารเคมี ในสายการผลิต

คนงานส่วนใหญ่ถูกบรรจุเข้าทำงานตั้งแต่ยังเป็นหนุ่มสาว ซึ่งอยู่ช่วงปีการเจริญพันธุ์จึงเพิ่มความเสี่ยงที่สารเคมีจะส่งผลต่อระบบการสืบพันธุ์ของเขา หลายงานศึกษา ได้แสดงถึงความเกี่ยวพันของการใช้สารเคมี นำไปสู่อัตราการแท้งบุตรและพิการของลูกอ่อนในครรภ์ ในหมู่ผู้หญิงในโรงงานอุตสาหกรรม

พีรดา ภูมิสวัสดิ์ ว่าที่ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบริสตอล ที่ได้ศึกษานโยบายด้านเพศของประเทศไทย ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้เชี่ยวชาญจากส่วนงานสตรีของกรมพัฒนาสังคมประเทศไทย ได้เผยว่ากฏหมายของประเทศในเอเชีย ได้มีมาตรการพิเศษในการปกป้องผู้หญิงจากการอันตรายในอุตสาหกรรมอันตรายอย่างอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เช่นจำกัดชั่วโมงทำงาน กำหนดช่วงเวลาหรือประเพศงานที่พวกเธอทำได้ ในไทยผู้หญิงจำนวนมากต้องปกปิดว่าตัวเองตั้งท้อง เพราะจะสามารถทำงานล่วงเวลาได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องห้ามสำหรับคนตั้งครรภ์ แต่จำเป็นเพื่อที่หลีกเลี่ยงการถูกลดการจ่ายเงิน

โจ ดิกังจี้ มองว่าความโปร่งใสเกี่ยวการใช้สารเคมีเป็นกุญแจสำคัญที่จะลดผลกระทบทางสุขภาพจากอุตสาหกรรม “เราต้องสร้างความโปร่งใสเกี่ยวกับ สารเคมีที่พวกเขากำลังใช้ พวกเราจะได้เข้าใจได้ถึงวิธีการหลีกเลี่ยงที่จะสัมผัสสารเคมีเหล่านั้นได้”

เล็กไม่มีรอยยิ้มตลอดการให้ข้อมูลของเธอ “เราไม่รู้สารเคมีอะไรที่เราใช้อยู่ เรารู้แค่ชื่อยี่ห้อสินค้า” เล็กอธิบาย “และบริษัทดูเหมือนจะหงุดหงิดมากเมื่อเราถามเกี่ยวกับสารเคมีที่ใช้”



แปลและเรียบเรียงจาก

The gender gap in the electronics factories: women exposed to chemicals and lower pay (Laura Villadiego, Equal Times, 22/12/2017)

[right-side]

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.