Posted: 18 Feb 2018 07:20 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
ประเด็น “ศาลกับการยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์และการตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช.” นิฐินี ทองแท้ เปิดการศึกษาทั้งก่อนการรัฐประหาร 2557 และหลังรัฐประหาร 2557 ผ่านคำพิพากษาคดีต่างๆ
18 ก.พ.2561 ในการเสวนาวิชาการ "ตุลาการธิปไตย ศาล และรัฐประหาร" จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ช่วงเสนอบทความ “ศาลกับการยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์และการตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช.” โดย นิฐินี ทองแท้ อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ศึกษาการยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของศาลยุติธรรมทั้งก่อนการรัฐประหาร 2557 และหลังรัฐประหาร 2557 ผ่านคำพิพากษาคดีต่างๆ โดยพบว่า
ก่อนการรัฐประหาร 2557 หลักเกณฑ์ที่ศาลจะยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของคณะรัฐประหารนั้นจะต้องผ่านขั้นตอนเหล่านี้คือ 1.ยึดอำนาจสำเร็จ 2.มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง 3.มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญและมีรัฐธรรมนูญชั่วคราวยกเว้นความผิดคณะรัฐประหาร โดยทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่เกิน 1-2 วันภายหลังรัฐประหาร เวลามีคดีขึ้นศาลในการโต้แย้งความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ศาลก็พิพากษาวินิจฉัยว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว
อย่างไรก็ตาม หลังรัฐประหาร 2557 หลักเกณฑ์เหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไป ดูได้จาก คดีแรก คดีที่สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด หรือ หนูหริ่ง โต้แย้งความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของ คสช. เนื่องจากมีช่องว่างบางประการ เพราะหลังการรัฐประหารยังไม่ได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งทันที ผ่านเวลาไปอีกหลายวัน จึงเป็นข้อโต้แย้งในคดีสมบัติว่าการรัฐประหารสำเร็จเรียบร้อยหรือยัง นอกจากนี้ยังไม่มีรัฐธรรมนูญมายกเว้นความผิดที่ทำรัฐประหารด้วย แต่ศาลเองกลับเป็นคนอธิบายเพิ่มเติมว่า ในเมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจสำเร็จแล้ว คสช.ย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว เพราะไม่มีการต่อต้านจากประชาชน ส่วนพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์แต่อย่างใด
ส่วนคดีที่กลุ่มนักกิจกรรมตรวจสอบโครงการราชภักดิ์ฟ้องโต้แย้งความเป็นรัฎฐานธิปัตย์ของ คสช. คดีนี้ศาลไม่ได้อธิบายเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ศาลให้ความเห็นตามกรอบเดิมว่าเมื่อยึดอำนาจสำเร็จเรียบร้อยก็ถือเป็นรัฏฐาธิปัตย์
ดังนั้นในการตีความความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ศาลจะมองว่ายึดอำนาจการปกครองสำเร็จ ได้รับการยอมรับจากประชาชน แม้ไม่ใช่ประชาชนทั้งหมด ได้เท่านี้ก็มีอำนาจออกกฎหมายหรือทำอะไรต่างๆ แล้ว ถ้าเทียบกันก่อนหน้านั้นจะเห็นว่าต้องมีพระบรมราชโอกางแต่งตั้ง ยกเลิกและประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ยกเว้นความผิดให้รัฐประหาร
ประเด็นที่สอง แม้เมื่อเป็น คสช.เป็นรัฏฐาธิปัตย์ ศาลได้ทำหน้าที่ตรวจสอบความชอบของคำสั่งหรือการออกคำสั่งหรือไม่อย่างไร ดูจากคำพิพากษาของศาลปกครอง ศาลทหาร ศาลยุติธรรม ข้อสังเกตคือ ก่อนรัฐประหาร 2557 ตัวคณะรัฐประหารจะไม่ได้ออกคำสั่งหรือประกาศอะไรเยอะเท่าตอนนี้ แต่คสช.ออกประกาศคำสั่งเยอะมาก รวมถึงออกมาตรา 44
อันแรก ศาลปกครอง มีคดีตัวอย่างที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งคสช.ที่ 4/2559 และ 24/2558 เป็นเรื่องการยกเว้นการทำผังเมืองและประมงอวนรุน ทั้งสองคดีนี้อาศัยคำสั่งหัวหน้าคณะ คสช.ตามมาตรา 44 ผู้ฟ้องขอให้เพิกถอนเพราะไม่เข้าเงื่อนไขมาตรา 44 แต่ศาลปกครองวินิจฉัยว่า กฎพวกนี้อาศัยอำนาจจากมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ออกจากกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ จึงไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ศาลปกครองจึงไม่รับฟ้องทั้งสองคดี
อันที่สอง ศาลทหารในคดีราชภักดิ์ เป็นการตรวจสอบเรื่องเขตอำนาจศาล โดยโต้แย้งว่าคดีนี้ไม่ใช่คดีที่จะขึ้นสู่ศาลทหาร แต่ศาลทหารบอกว่ามาตรา 47 บอกว่าการกระทำของ คสช.ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว เรียกได้ว่าศาลไม่ตรวจสอบเลยว่าคดีนี้ควรอยู่ในอำนาจศาลทหารจริงหรือเปล่า ใครฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ก็เหมือนกับฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. จึงต้องขึ้นศาลทหาร
อีกตัวอย่างหนึ่งที่สู้กันเรื่องเขตอำนาจของศาล คดีสิรภพในความผิดตามมาตรา 112 จำเลยระบุว่าโพสต์ข้อความก่อนมีประกาศให้ความผิดนี้ขึ้นศาลทหาร แต่ศาลทหารมองว่าการกระทำความผิดเกิดขึ้นก่อนก็จริงแต่ข้อความยังอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์จนมีประกาศ อย่างไรก็ต้องขึ้นศาลทหาร
อันที่สาม ศาลยุติธรรม เป็นกรณีที่พลเมืองโต้กลับฟ้องหัวหน้า คสช.กับพวกในฐานะเป็นกบฏ ศาลเองไม่ได้ตรวจสอบว่า คสช.เป็นกบฏหรือเปล่า ศาลตอบเพียงว่า มาตรา 44 บัญญัติให้การกระทำของหัวหน้าคสช. และคสช.ไม่ว่าจะผิดกฎหมายอย่างไรก็พ้นจากความผิดโดยสิ้นเชิง
ทั้งสามศาลจะพบว่ามีแนวทางแบบเดียวกัน มีคำสั่ง มาตรา 44 ออกมาแล้วก็ยึดถือตามนั้น รัฐธรรมนูญยกเว้นความผิดไว้แล้วยังไงก็ไม่ผิด
ประเด็นสุดท้าย จะดูแนวคำพิพากษาของศาลในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งคสช. ที่เรียกคนมารายงานตัวและคำสั่งที่ 3/58 (ห้ามชุมนุม) กับอีกส่วนหนึ่งคือคดี 112 เพื่อดูลักษณะของคำพิพากษาที่ออกมาว่าไปในทิศทางไหน
สรุปได้ว่า คดีขัดคำสั่งไม่รายงานตัวศาลมักจะลงโทษแต่ให้รอการลงโทษ ส่วนคดีฝ่าฝืนคำสั่ง 3/58 อาจจะปรับทัศนคติ เป็นการลงโทษทางการเมือง มุ่งผลในทางการเมืองเป็นหลัก ส่งผลต่อการคุกคามเสรีภาพของประชาชนในสังคมมากกว่าจะลงโทษแบบจำคุก ส่วนคดี 112 ส่วนใหญ่ลงโทษจำคุก
ศาลในฐานะที่เป็นองค์กรหนึ่งในการตรวจสอบการใช้อำนาจ เท่าที่ดูจากคดีที่ผ่านมาพบว่า ศาลยังไม่ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารสักเท่าไร และมีแนวโน้มให้การรับรองคณะรัฐประหารตราบเท่าที่ยึดอำนาจสำเร็จ
ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร
ประเด็น “ศาลกับการยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์และการตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช.” นิฐินี ทองแท้ เปิดการศึกษาทั้งก่อนการรัฐประหาร 2557 และหลังรัฐประหาร 2557 ผ่านคำพิพากษาคดีต่างๆ
18 ก.พ.2561 ในการเสวนาวิชาการ "ตุลาการธิปไตย ศาล และรัฐประหาร" จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ ช่วงเสนอบทความ “ศาลกับการยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์และการตรวจสอบการใช้อำนาจของ คสช.” โดย นิฐินี ทองแท้ อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ศึกษาการยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของศาลยุติธรรมทั้งก่อนการรัฐประหาร 2557 และหลังรัฐประหาร 2557 ผ่านคำพิพากษาคดีต่างๆ โดยพบว่า
ก่อนการรัฐประหาร 2557 หลักเกณฑ์ที่ศาลจะยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของคณะรัฐประหารนั้นจะต้องผ่านขั้นตอนเหล่านี้คือ 1.ยึดอำนาจสำเร็จ 2.มีพระบรมราชโองการแต่งตั้ง 3.มีการยกเลิกรัฐธรรมนูญและมีรัฐธรรมนูญชั่วคราวยกเว้นความผิดคณะรัฐประหาร โดยทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่เกิน 1-2 วันภายหลังรัฐประหาร เวลามีคดีขึ้นศาลในการโต้แย้งความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ศาลก็พิพากษาวินิจฉัยว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว
อย่างไรก็ตาม หลังรัฐประหาร 2557 หลักเกณฑ์เหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไป ดูได้จาก คดีแรก คดีที่สมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด หรือ หนูหริ่ง โต้แย้งความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของ คสช. เนื่องจากมีช่องว่างบางประการ เพราะหลังการรัฐประหารยังไม่ได้มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งทันที ผ่านเวลาไปอีกหลายวัน จึงเป็นข้อโต้แย้งในคดีสมบัติว่าการรัฐประหารสำเร็จเรียบร้อยหรือยัง นอกจากนี้ยังไม่มีรัฐธรรมนูญมายกเว้นความผิดที่ทำรัฐประหารด้วย แต่ศาลเองกลับเป็นคนอธิบายเพิ่มเติมว่า ในเมื่อคณะรัฐประหารยึดอำนาจสำเร็จแล้ว คสช.ย่อมเป็นรัฏฐาธิปัตย์แล้ว เพราะไม่มีการต่อต้านจากประชาชน ส่วนพระบรมราชโองการนั้นไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์แต่อย่างใด
ส่วนคดีที่กลุ่มนักกิจกรรมตรวจสอบโครงการราชภักดิ์ฟ้องโต้แย้งความเป็นรัฎฐานธิปัตย์ของ คสช. คดีนี้ศาลไม่ได้อธิบายเพิ่มเติมเป็นพิเศษ ศาลให้ความเห็นตามกรอบเดิมว่าเมื่อยึดอำนาจสำเร็จเรียบร้อยก็ถือเป็นรัฏฐาธิปัตย์
ดังนั้นในการตีความความเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ศาลจะมองว่ายึดอำนาจการปกครองสำเร็จ ได้รับการยอมรับจากประชาชน แม้ไม่ใช่ประชาชนทั้งหมด ได้เท่านี้ก็มีอำนาจออกกฎหมายหรือทำอะไรต่างๆ แล้ว ถ้าเทียบกันก่อนหน้านั้นจะเห็นว่าต้องมีพระบรมราชโอกางแต่งตั้ง ยกเลิกและประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่ยกเว้นความผิดให้รัฐประหาร
ประเด็นที่สอง แม้เมื่อเป็น คสช.เป็นรัฏฐาธิปัตย์ ศาลได้ทำหน้าที่ตรวจสอบความชอบของคำสั่งหรือการออกคำสั่งหรือไม่อย่างไร ดูจากคำพิพากษาของศาลปกครอง ศาลทหาร ศาลยุติธรรม ข้อสังเกตคือ ก่อนรัฐประหาร 2557 ตัวคณะรัฐประหารจะไม่ได้ออกคำสั่งหรือประกาศอะไรเยอะเท่าตอนนี้ แต่คสช.ออกประกาศคำสั่งเยอะมาก รวมถึงออกมาตรา 44
อันแรก ศาลปกครอง มีคดีตัวอย่างที่ขอให้เพิกถอนคำสั่งคสช.ที่ 4/2559 และ 24/2558 เป็นเรื่องการยกเว้นการทำผังเมืองและประมงอวนรุน ทั้งสองคดีนี้อาศัยคำสั่งหัวหน้าคณะ คสช.ตามมาตรา 44 ผู้ฟ้องขอให้เพิกถอนเพราะไม่เข้าเงื่อนไขมาตรา 44 แต่ศาลปกครองวินิจฉัยว่า กฎพวกนี้อาศัยอำนาจจากมาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ออกจากกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ จึงไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง ศาลปกครองจึงไม่รับฟ้องทั้งสองคดี
อันที่สอง ศาลทหารในคดีราชภักดิ์ เป็นการตรวจสอบเรื่องเขตอำนาจศาล โดยโต้แย้งว่าคดีนี้ไม่ใช่คดีที่จะขึ้นสู่ศาลทหาร แต่ศาลทหารบอกว่ามาตรา 47 บอกว่าการกระทำของ คสช.ชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว เรียกได้ว่าศาลไม่ตรวจสอบเลยว่าคดีนี้ควรอยู่ในอำนาจศาลทหารจริงหรือเปล่า ใครฝ่าฝืนคำสั่งหัวหน้าคสช.ก็เหมือนกับฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. จึงต้องขึ้นศาลทหาร
อีกตัวอย่างหนึ่งที่สู้กันเรื่องเขตอำนาจของศาล คดีสิรภพในความผิดตามมาตรา 112 จำเลยระบุว่าโพสต์ข้อความก่อนมีประกาศให้ความผิดนี้ขึ้นศาลทหาร แต่ศาลทหารมองว่าการกระทำความผิดเกิดขึ้นก่อนก็จริงแต่ข้อความยังอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์จนมีประกาศ อย่างไรก็ต้องขึ้นศาลทหาร
อันที่สาม ศาลยุติธรรม เป็นกรณีที่พลเมืองโต้กลับฟ้องหัวหน้า คสช.กับพวกในฐานะเป็นกบฏ ศาลเองไม่ได้ตรวจสอบว่า คสช.เป็นกบฏหรือเปล่า ศาลตอบเพียงว่า มาตรา 44 บัญญัติให้การกระทำของหัวหน้าคสช. และคสช.ไม่ว่าจะผิดกฎหมายอย่างไรก็พ้นจากความผิดโดยสิ้นเชิง
ทั้งสามศาลจะพบว่ามีแนวทางแบบเดียวกัน มีคำสั่ง มาตรา 44 ออกมาแล้วก็ยึดถือตามนั้น รัฐธรรมนูญยกเว้นความผิดไว้แล้วยังไงก็ไม่ผิด
ประเด็นสุดท้าย จะดูแนวคำพิพากษาของศาลในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับการฝ่าฝืนประกาศหรือคำสั่งคสช. ที่เรียกคนมารายงานตัวและคำสั่งที่ 3/58 (ห้ามชุมนุม) กับอีกส่วนหนึ่งคือคดี 112 เพื่อดูลักษณะของคำพิพากษาที่ออกมาว่าไปในทิศทางไหน
สรุปได้ว่า คดีขัดคำสั่งไม่รายงานตัวศาลมักจะลงโทษแต่ให้รอการลงโทษ ส่วนคดีฝ่าฝืนคำสั่ง 3/58 อาจจะปรับทัศนคติ เป็นการลงโทษทางการเมือง มุ่งผลในทางการเมืองเป็นหลัก ส่งผลต่อการคุกคามเสรีภาพของประชาชนในสังคมมากกว่าจะลงโทษแบบจำคุก ส่วนคดี 112 ส่วนใหญ่ลงโทษจำคุก
ศาลในฐานะที่เป็นองค์กรหนึ่งในการตรวจสอบการใช้อำนาจ เท่าที่ดูจากคดีที่ผ่านมาพบว่า ศาลยังไม่ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารสักเท่าไร และมีแนวโน้มให้การรับรองคณะรัฐประหารตราบเท่าที่ยึดอำนาจสำเร็จ
ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร
ทั้งนี้ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนร่วมกับเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง (คนส.) และคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดกิจกรรมทางวิชาการ “ตุลาการธิปไตย ศาลและรัฐประหาร” โดยเป็นส่วนหนึ่งในชุดการเสวนาวิชาการ “ประเทศไทยไม่ทำงาน” (Dysfunction Thailand) ของเครือข่ายนักวิชาการเพื่อสิทธิพลเมือง จัดที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2560 สนับสนุนโดยสถานทูตอังกฤษ สถานทูตแคนาดา และมูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ จากเยอรมนี
เยาวลักษณ์ อนุพันธุ์ ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ชี้แจงความเป็นมาว่า "ศูนย์ทนายฯ นอกจากเป็นองค์กรให้ความช่วยเหลือด้านกฎหมายแล้วยังรวบรวมบันทึกข้อมูลการละเมิดสิทธิมนุษยชนหลังรัฐประหาร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในยุคนี้ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง การปฏิรูป การแก้ไข การเยียวยา"
"จากการทำงานรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ เรามีข้อมูลอยู่จำนวนหนึ่ง ที่ทำให้เห็นว่าครั้งนี้คสช.ไม่ได้ใช้อำนาจทหารเพียงลำพัง แต่มีการใช้กระบวนการทางกฎหมาย ทั้งประกาศคำสั่งหัวหน้า คสช. กฎหมายปกติ กระบวนการยุติธรรม และอำนาจตุลาการที่เข้ามารับรองการกระทำของเจ้าหน้าที่ทหารของคสช. ละเมิดและจำกัดสิทธิของประชาชน ทำให้สถานการณ์ขณะนี้ทั้งประชาชนธรรมดา นักข่าว นักวิชาการ ทนาย ก็สามารถตกเป็นผู้ต้องหาได้โดยไม่รู้ตัว"
นอกจากนั้นหลังรัฐประหารยังมีประกาศใช้ศาลทหารกับพลเรือน แม้ภายหลังคสช.จะยกเลิกการใช้ศาลทหารกับพลเรือนในวันที่ 12 กันยายน 2559 แต่ก็ยังมีคดีของประชาชนที่ยังดำเนินการที่ศาลทหารอยู่ เช่น คดีเลือกตั้งที่ (รัก) ลัก คดีประชามติ ในช่วงสิงหาคม 2559
"เราจึงเห็นว่าควรทำงานร่วมกับนักวิชาการ เพื่อเปิดมุมมองว่าเบื้องหลังข้อเท็จจริงและเหตุการณ์มันเกิดอะไรขึ้น โดยร่วมมือกับนักวิชาการสถาบันต่างๆ เป็นที่มาของการนำเสนอบทความ 5 บท และภาพรวมของรัฐประหาร และศาล"
แสดงความคิดเห็น