Posted: 16 Dec 2018 05:59 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sun, 2018-12-16 20:59



ธนินท์ทัศน์ ภูแก้ว รายงาน





16 ธ.ค. 2561 เมื่อเวลา 17.30 น.ที่บริเวณสนามหน้าศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ กลุ่มสมาพันธ์เกษตรกรอีสาน (สพอ.) นำโดย นางบุรี อาจโยธา , กลุ่มสมัชชาเกษตรกรภาคอีสาน (สกอ.) นำโดย นายศักดา กาญจนเสน, นายอำคา โพธิ์ศรี แกนนำกลุ่มเกษตรกรราษีไศล (กรษ.) และนายปุด วงษ์เจริญ แกนนำผู้ได้รับผลกระทบเขื่อนห้วยเชิง ต.ด่าน อ.กาบเชิง จ.สุรินทร์

โดยมีกลุ่มมวลชนเดินทางมาชุมนุม จ.สุรินทร์ จำนวน 349 คน (ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายราศีไศล, อ่างเก็บน้ำห้วยด่าน, อ่างเก็บน้ำอำปึล) จ.ศรีสะเกษ จำนวน 73 คน (ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล) ,จ.อุดรธานี จำนวน 10 คน (ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายห้วยหลวง), จ.นครราชสีมา จำนวน 3 คน (ไม่ทราบข้อเรียกร้อง), จ.ร้อยเอ็ด จำนวน 40 คน (ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล), จ.ชัยภูมิ จำนวน 15 คน (ได้รับผลกระทบจากโครงการอ่างเก็บน้ำโปร่งขุนเพชร), จ.อุบลราชธานี จำนวน 32 คน (ได้รับผลกระทบจากเขื่อนสิรินธร) จ.อุดร จำนวน 10 คน และ จ.สกลนคร จำนวน 12 คน (ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างเขื่อนน้ำอูน) รวมทั้งสิ้น จำนวน 534 คน ช่วยกันกางเต็นท์กว่า 10 หลัง หุงหาอาหาร ประกอบเลี้ยงกันแบบลูกทุ่ง และเตรียมที่พักค้างระยะยาว จนกว่าปัญหาจะได้รับการแก้ไขจากรัฐบาล คสช. ท่ามกลางการ รปภ.เข้มจาก เจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง ทหาร ตำรวจ และ อส. ด้าน อบจ.สุรินทร์สนับสนุน เต็นท์ขนาดใหญ่ ไฟฟ้าส่องสว่าง รถสุขา 2 คัน เทศบาลเมืองสุรินทร์ สนับสนุนรถน้ำ

โดยในวันที่ 18 ธ.ค. 2561 จะมี คณะจากสำนักนายกรัฐมนตรี ร่วมกับผู้แทน กระทรวงเกษตรฯ เดินทางไปร่วมประชุมแก้ไขปัญหากับกลุ่มแกนนำฯ ที่ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ ประกอบด้วย นายมีศักดิ์ ภักดีคง รองปลัดกระทรวงเกษตรฯ, นายมนัส กำเนิดมณี รองอธิบดีกรมชลประทาน, นายธานินทร์ โต๊ะหมัดแล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ หน.กลุ่มรับเรื่องร้องเรียนฯ กษ., นายบันศักดิ์ เจริญ ผอ.ส่วนประสานมวลชน กษ.

จากการสอบถาม นายศักดา กาญจนเสน แกนนำกล่าวว่าการดำเนินการก่อสร้างเขื่อน และอ่างเก็บน้ำทั้งหลายของรัฐ ทำให้ที่ดินทำกินของเกษตรกรได้รับผลกระทบ ที่ดินทำกินที่ทำกินตามปกติก็ถูกน้ำท่วม ราษฏรก็ไม่สามารถใช้ที่ดินประกอบอาชีพได้ เป็นที่มาของปัญหาความเดือนร้อน ชาวบ้านได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะเขื่อนราษีไศล กระทบกว่า 100,000ไร่ เขื่อนอุบลรัตน์ กระทบ 180,000 ไร่ ขณะนี้อยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบเพื่อเสนอรับความช่วยเหลือ ตามแนวทางปฏิบัติ ที่มารวมมตัวกันในวันนี้ เพื่อเป็นการกระตุ้น เพราะว่าตลอดระยะเวลา 3-4 ปี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐบาล คสช. ราชการและหน่วยงานค่อนค้างล่าช้า ยังไม่มีการเสนอคณะรัฐมนตรี ทีแรกจะพากันเดินทางไปที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์แต่ไม่รู้ว่า รมว.เกษตรฯรู้เรื่องความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนแล้วหรือยัง

นายศักดา กล่าวต่อว่าแต่ทางทำเนียบได้ต่อรองให้มาคุยกันก่อนที่นี่ได้ไหม หากยังไม่มีความคืบหน้าค่อยเข้ากรุงเทพฯ ตนอยากสื่อสารผ่านสื่อมวลชนว่าท่านมาเป็นนายกรัฐมนตรีปกครองประเทศนี้ 4-5 ปีแล้ว ปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนในส่วนนี้ ไม่ทราบว่านายกรัฐมนตรีทราบหรือเปล่า ยังมีความเดือดร้อนเรื่องเหล่านี้อยู่ ตนอยากให้นายกรัฐมนตรีมีบัญชาให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสนอแก้ไขปัญหาโดยเร็ว เพราะอำนาจในการแก้ไขปัญหาอยู่ที่คณะรัฐมนตรี ตามที่ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า “จะไม่ทิ้งใครเอาไว้ข้างหลัง” ถูกทิ้งมานานหลายปีแล้วครับ วันนี้มาน่าจะ 500 คนขึ้น มาจาก จ.สุรินทร์ ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายราศีไศล, อ่างเก็บน้ำห้วยด่าน, อ่างเก็บน้ำอำปึล, จ.ศรีสะเกษ ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล, จ.อุดรธานี ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายห้วยหลวง, จ.นครราชสีมา, จ.ร้อยเอ็ด ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายราษีไศล, จ.ชัยภูมิ ได้รับผลกระทบจากโครงการอ่างเก็บน้ำโปร่งขุนเพชร, จ.อุบลราชธานี ได้รับผลกระทบจากเขื่อนสิรินธร และ จ.สกลนคร ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างเขื่อนน้ำอูน หากไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาทางกลุ่มจะมีการยกระดับในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญให้ถึงที่สุด

[full-post]

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.