Posted: 22 Dec 2018 05:53 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Sat, 2018-12-22 20:53
We Watch จัดเสวนาจับตาเลือกตั้ง สิริพรรณเตือนกลเกมการเมืองมีอยู่ทั้งก่อนหลังการเลือกตั้ง พงษ์ศักดิ์แนะสังเกตการณ์เลือกตั้งสร้างความโปร่งใส ชูวัสยันสื่อต้องสร้างสนามที่เป็นธรรม โอมาร์ชี้ประชาชนต้องเลิกรอผลให้ออกมาสังเกตเอง คู่บุญกล่าวการเลือกตั้งเชื่อถือสร้างการประนีประนอม ประจักษ์เสนอกดดันคสช. เลิกใช้ม.44 แทรกแซงการเลือกตั้ง
22 ธ.ค. 2561 เมื่อวันที่ 15 ธ.ค. ที่ตึก 2 คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้มีการจัดเสวนาวิชาการ “ว่าด้วยบทเรียนและบทบาทในการสังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตย” ภายในงานแถลงข่าวเปิดตัวเครือข่าย We Watch โดยมีวิทยากรภายในงานได้แก่ รศ.ดร. สิริพรรณ นกสวน สวัสดี จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, พงษ์ศักดิ์ จันทร์อ่อน จากมูลนิธิอันเฟรล, ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข บรรณาธิการบริหารเว็บไซต์ประชาไท, โอมาร์ หนุนอนันต์ ตัวแทนเครือข่าย We Watch ประจำภาคกลาง, คู่บุญ จารุมณี อาจารย์ประจำวิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และประธานที่ปรึกษาเครือข่าย We Watch และผศ.ดร. ประจักษ์ ก้องกีรติ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
กลเกมในการเลือกตั้งสร้างความไม่มั่นคงทางการเมือง
สิริพรรณ กล่าวถึงเรื่องกลเกมการเมืองทั้งก่อนและหลังการเลือกตั้งปี 2562 โดยดูในมติของกฎหมาย มติทางเศรษฐกิจและสังคม มติของพรรคการเมือง และมติของตัวบุคคล ซึ่งมีทั้งหมด 16 หลุ่มพรางที่อาจเป็นกับดักทำให้ผลการเลือกตั้งแปรเปลี่ยนไปได้ ได้แก่
หลุมที่ 1 ระบบการเลือกตั้งที่สับสน
ระบบเลือกตั้งที่วางไว้ในรัฐธรรมนูญ ปี 2560 แม้จะเป็นระบบใหม่ในเมืองไทย แต่แท้จริงไม่มีประเทศไหนใช้ระบบนี้แล้ว โดยเยอรมนีเคยใช้ระบบนี้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง และใช้อยู่เพียง 3 ปีเท่านั้นระบบเลือกตั้งนี้ออกแบบมาเพื่อลดทอนความเข้มแข็งของสถาบันพรรคการเมือง และสร้างความคลุมเครือต่อการตัดสินใจของประชาชน เพราะเรามีบัตรเลือกตั้งแค่ใบเดียว และต้องชั่งน้ำหนักว่าจะเลือก ส.ส. เลือกพรรค หรือเลือกคนที่จะมาเป็นนายกฯ
หลุมที่ 2 เซ็ตซีโร่สมาชิกพรรคการเมืองเดิม
มีการเซ็ตซีโร่สมาชิกพรรคการเมืองเก่า ส่งผลกระทบต่อหลายพรรค เช่น พรรคประชาธิปัตย์ ที่เดิมเคยมีสมาชิกมากถึง 2.8 ล้านคน ก็เหลือเพียง 8 หมื่นคนเท่านั้น
หลุมที่ 3 ไพรมารีโหวตเลือกผู้สมัคร ส.ส.
การจัดให้มีการเลือกตั้งขั้นต้น (ไพรมารีโหวต) สำหรับกำหนดตัวผู้สมัคร ส.ส. ทั้งที่พรรคการเมืองต่างๆ ยังไม่มีระบบสมาชิกที่แน่นหนาพอจะเป็นปัญหา ดังตัวอย่างที่เกิดขึ้นล่าสุดกับพรรคอนาคตใหม่ จึงอยากให้เริ่มใช้ระบบนี้เมื่อมีความพร้อม
หลุมที่ 4 ม.44 ใส่ล็อกพรรคการเมือง
คสช.ได้ชะลอการเตรียมความพร้อมของพรรคการเมืองต่างๆ โดยใช้มาตรา 44 ใส่ล็อกห้ามทำกิจกรรม ประกาศนโยบายก็ไม่ได้ ระดมเงินก็ไม่ได้ ขายของก็ไม่ได้ แม้สัปดาห์ล่าสุดจะเพิ่งปลดล็อกบางส่วนแล้วก็ตาม
หลุมที่ 5 รัฐบาลกลายเป็นผู้เล่นทางการเมือง
รัฐบาลในตอนนี้ได้กลายมาเป็นผู้เล่นทางการเมือง ไม่ใช่กรรมการเหมือนอย่างในอดีตแล้ว และหาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. ตอบรับคำเชิญให้มาเป็นแคนดิเดตนายกฯ ก็จะยิ่งทำให้รัฐบาลและ คสช.เข้ามาเป็นผู้เล่นเต็มรูปแบบ โดยมีอำนาจเหนือองค์กรอิสระและพรรคการเมืองอื่นๆ
หลุมที่ 6 กกต.มีอำนาจเบ็ดเสร็จในการแบ่งเขตเลือกตั้ง
การใช้มาตรา 44 ให้อำนาจ กกต.อย่างเบ็ดเสร็จในการแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ โดยมี 5-6 จังหวัดที่ถูกวิจารณ์ว่า อาจเอื้อประโยชน์กับบางพรรค อาทิ สุโขทัย นครราชสีมา
หลุมที่ 7 บล็อกนักการเมือง ไม่ให้พูดคุยกับประชาชน
ที่ผ่านมา มีการบล็อกนักการเมือง ไม่ให้ออกไปพูดคุยหาเสียงกับประชาชน ด้วยวิธีการส่งทหารไปเยี่ยมเยียน นั่งคุยที่บ้าน นักการเมืองหรือหัวคะแนนก็จะออกไปไม่ได้ ซึ่งเราจะเห็นหลุมแบบนี้อีก ในช่วงการเลือกตั้ง เมื่อมี พรฎ.กำหนดวันเลือกตั้งออกมาแล้ว
หลุมที่ 8 แขวนนักการเมืองท้องถิ่นบางพื้นที่
มีการใช้ มาตรา 44 แขวนนักการเมืองท้องถิ่นในแต่ละที่ ส่งผลให้มีนักการเมืองท้องถิ่นบางคน ย้ายไปสังกัดพรรคพลังประชารัฐ
หลุมที่ 9 ดูด ส.ส.ไปพรรคพลังประชารัฐ
ที่ผ่านมา มีอดีต ส.ส.ย้ายไปอยู่กับพรรคพลังประชารัฐเป็นจำนวนมาก ซึ่งจากที่สำรวจ พบว่ามีถึง 55 คน ที่เป็นอดีต ส.ส.เกรด A อาทิ จากพรรคเพื่อไทย 24 คน พรรคประชาธิปัตย์ 11 คน พรรคภูมิใจไทย 6 คน พรรคพลังชล 4 คน ฯลฯ
หลุมที่ 10 การให้ลงทะเบียนคนจน
การลงทะเบียนคนจน เพื่อแจกบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) มีการคิดอย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง เชื่อมโยงกัน โดยบัตรนี้มีกลุ่มทุนถึง 22 ได้ประโยชน์จากการใช้เงินของประชาชน
หลุมที่ 11 โอนเงิน 500 บาท
เชื่อมโยงจากการให้ลงทะเบียนคนจน และแจกบัตรสวัสดิการแล้ว ก็มีการโอนเงินให้ใน ATM 500 บาท และนอกจากเงินจำนวนนี้ ยังมีการแจกค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเดินทางไปโรงพยาบาลด้วย ซึ่งเงินส่วนนี้ก็จะส่งผลเชื่อมโยงไปยังการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น
หลุมที่ 12 ส.ส.พรรคเดียวกัน ข้ามเขตคนละเบอร์
การเลือกตั้งครั้งนี้ แม้ผู้สมัคร ส.ส.อาจจะมาจากพรรคเดียวกัน แต่แค่ข้ามเขต ก็อาจจะได้หมายเลขประจำตัวคนละหมายเลข ทำให้บางพรรคเสียเปรียบ ทั้งที่จริงๆ แล้ว ถ้าไปดูข้อกฎหมายไม่ได้บังคับว่า ข้ามเขตแล้วต้องเปลี่ยนหมายเลข กกต.สามารถกำหนดให้จับหมายเลขครั้งเดียวแล้วใช้เหมือนกันทั่วประเทศได้
หลุมที่ 13 บัตรเลือกตั้งไม่มีโลโก้
ข้อเสนอให้ตัดโลโก้และชื่อของพรรคออกจากบัตรเลือกตั้ง ซึ่งเวลาไปลงคะแนนจริงๆ อาจจะทำให้เกิดความสับสนได้(แต่หลุมนี้ ล่าสุด กกต.ได้มีมติให้บัตรเลือกตั้งต้องมีโลโก้และชื่อของพรรคด้วย)
หลุมที่ 14 ป้ายหาเสียงมีแค่ ส.ส.เขต หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกฯ
เป็นแนวคิดของ กกต.ที่จะให้ป้ายหาเสียง มีเพียงรูปของผู้สมัคร ส.ส.เขต หัวหน้าพรรค และแคนดิเดตนายกฯ เท่านั้น รูปของบุคคลอื่นๆ รวมถึงผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อจะไม่สามารถอยู่บนป้ายได้
หลุมที่ 15 รัฐบาลตั้งพรรคมาลงแข่ง
หัวใจสำคัญของกลโกงเลือกตั้งครั้งนี้ คือพรรคการเมืองที่มีรัฐบาลอยู่เบื้องหลัง ทำให้นึกย้อนไปถึงการเลือกตั้งปี 2500 ที่มีพรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่เป็นนายกฯ ในขณะนั้นลงแข่งขันด้วย
หลุมที่ 16 เลื่อนเลือกตั้ง
เรื่องนี้ยังมีความเป็นไปได้อยู่ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดให้ต้องเลือกตั้งภายใน 150 วัน หลังกฎหมายลูกเกี่ยวกับการเลือกตั้งใช้บังคับ คืออย่างช้าที่สุด เป็นวันที่ 9 พ.ค.2562
สิริพรรณ กล่าวต่อไปว่า นอกจากหลุมพรางต่างๆ ก่อนการเลือกตั้งยังต้องข้อสังเกตถึงหลุมพรางหลังการเลือกตั้งไว้ด้วย
1.) การประกาศผลเลือกตั้งครั้งนี้ ที่ให้เวลาถึง 2 เดือน จึงมีความเป็นไปได้ที่ กกต.จะแจกใบเหลือง-ใบส้ม หรือเสนอให้ศาลให้ใบแดง-ใบดำ กับผู้สมัคร ส.ส.เขตของพรรคต่างๆ ซึ่งจะส่งผลต่อการคำนวณจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อด้วย
2.) การอ้างว่า คนที่จะมาเป็นนายกฯ แค่ถูกเสนอไว้ในบัญชีรายชื่อแคนดิเดตนายกฯ ของพรรคต่างๆ ก็ถือว่าไม่ใช่ ‘นายกฯคนนอก’ แล้ว ซึ่งคำอ้างนี้ถือว่าบิดเบือนหลักการรัฐศาสตร์ และท้ายที่สุดจะเกิดปัญหาขึ้นมาว่า นายกฯ คนนั้นๆ จะต้องรับผิดชอบต่อประชาชน หรือต่อผู้ที่เสนอชื่อตัวเอง
3.) พรรคที่ชนะอาจไม่ได้เป็นรัฐบาล เพราะ ส.ว.ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. จะได้มีสิทธิในการร่วมโหวตเลือกนายกฯ ด้วย
อย่างไรก็ดี สิริพรรณเชื่อว่า การที่ประชาชนจะร่วมกันสังเกตการณ์การเลือกตั้ง แม้การเลือกตั้งครั้งนี้จะไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากลตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ก็ยังพอมีหวังที่จะทำให้ผลการเลือกตั้งไม่น่าผิดหวัง และการจัดตั้งเครือข่ายสังเกตการณ์ก็จะทำให้บรรลุเป้าหมายนี้ได้
พงษ์ศักดิ์กล่าวในหัวข้อบทเรียนการสังเกตการณ์ในต่างประเทศ: การฟื้นฟูและการสถาปนาประชาธิปไตย เขาเกริ่นนำถึงการเลือกตั้งที่จะมีขึ้นในปี 2562 ว่ายังมีข้อดีในแง่ที่ทำให้คนไทยเข้าใจถึงการที่วาทกรรม “คนดี” ไม่ใช่สิ่งที่แท้จริง และได้เข้าถึงความเลวร้ายของอำนาจที่มาจากนอกระบบการเลือกตั้ง
พงษ์ศักดิ์กล่าวว่าในทำงานด้านการเคลื่อนไหว เมื่อเขาได้มาทำงานเกี่ยวกับการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง เขาก็มองเห็นประเด็นทางสังคมในหลายๆ มิติทั้งการละเมิดสิทธิ ความเหลื่อมล้ำ มิติทางกฎหมาย การเข้าไม่ถึงสิทธิ เพราะที่จริงการเมืองเกี่ยวข้องกับทุกลมหายใจ
ในแง่ของบทเรียนในการสังเกตการณ์การเลือกตั้งในต่างประเทศ บทเรียนสำคัญที่พงษ์ศักดิ์ยกมาได้แก่ การสังเกตการณ์การเลือกตั้งในฟิลิปปินส์ช่วงทศวรรษ 1980 ในยุคที่ปกครองโดยรัฐบาลมาร์กอส ซึ่งเกิดจากการที่ประชาชนสงสัยว่าอาจจะมีการโกงคะแนนในระบบเลือกตั้ง เพราะระบบการเลือกตั้งของฟิลิปปินส์ในขณะนั้นมีการส่งผลคะแนนไปเป็นลำดับชั้นจากท้องถิ่นสู่ส่วนกลางซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจมีการเปลี่ยนคะแนนระหว่างทาง จึงมีการจัดตั้งเครือข่ายขึ้นโดยรวบรวมอาสาสมัครได้ห้าแสนคนแล้วส่งไปสังเกตการณ์ตามจุดเลือกตั้งทั่วประเทศ แล้วรวมรวมผลคะแนนเพื่อเทียบกับผลที่ประกาศโดย กกต. สรุปว่าผลการเลือกตั้งต่างกันอย่างมาก ก่อให้เกิดกระแสความไม่พอใจรัฐบาลและลุกฮือประท้วงจนจุดชนวนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
อีกกรณีหนึ่งคือ กรณีการสังเกตการณ์การเลือกตั้งในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีพัฒนาการด้านประชาธิปไตยและการเลือกตั้งที่ก้าวหน้ามากในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในยุคที่รัฐบาลเผด็จการซูฮาร์โตครองอำนาจอยู่ มีการรวมตัวของภาคประชาชนที่มาจากหลายองค์กร ก่อตัวเป็นเครือข่ายและร่วมพูดคุยกันในประเด็นการพัฒนาการเมืองและการเลือกตั้ง เมื่อหมดยุคซูฮาร์โต กลุ่มเหล่านี้ก็เข้าปฏิรูปการเมืองอินโดนีเซีย จุดที่น่าสนใจอยู่ที่ว่าในการเลือกตั้งของอินโดนีเซียมีทั้งองค์กรที่ตรวจสอบการเลือกตั้งและองค์กรที่ตรวจสอบองค์กรดังกล่าวอีกรอบ การเลือกตั้งนั้นก็มีการกระจายการเข้าถึงอย่างเต็มที่แม้แต่กับนักโทษในคุกหรือผู้ป่วยในโรงพยาบาล และแม้ว่าสังคมอินโดนีเซียเองจะมีพัฒนาการด้านประชาธิปไตยไปไกล แต่ยังคงมีการถกเถียงถึงการตื่นรู้ของภาคประชาชน
“การสังเกตการณ์เลือกตั้งมันเหมือนการทำวิจัย มันมีขั้นตอน มีกระบวนการ มีหลักฐานและตรวจสอบได้ ข้อดีมันมีมาก มันช่วยหนุนเสริมภาคประชาชน ช่วยทำให้คนรู้สึกเชื่อมั่น และยังเพิ่มความโปร่งใส ถ้ารัฐบาลลองเปิดใจที่จะให้มีการสังเกตการเลือกตั้ง มันทำให้แสดงถึงเจตนารมณ์ ความโปร่งใส และความตั้งใจในการจัดการเลือกตั้ง” พงษ์ศักดิ์ กล่าว
สื่อต้องสร้างสนามที่เป็นธรรม ต้องปลดล็อคตัวเอง หยุดรายการพูดข้างเดียว
ชูวัสกล่าวถึง ทัศนะและบทบาทของสื่อในการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง เขาเปรียบเปรยว่าในการเดินทางสู่การเลือกตั้งซึ่งมีจุดหมายก็คือการหย่อนบัตรนั้น สื่อจะมีบทบาทในระหว่างทางไปสู่การเลือกตั้ง ในช่วงแรกชูวัสชวนผู้ฟังสำรวจบทบาทของสื่อในสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับบทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ผู้ให้บริการมีอยู่น้อยแต่ก็ยังคงเป็นตัวแปรที่ยังสื่อสารกับชาวบ้าน กลุ่มนี้ยังไม่รู้ว่าจะเล่นข้างไหน จะอยู่ข้างประชาธิปไตยหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่ไม่กล้ามีปัญหากับผู้มีอำนาจ
ด้านโทรทัศน์ หนึ่งในสามผูกพันกับทหาร หนึ่งในสามผูกพันกับพลังประชารัฐ ส่วนวิทยุชุมชนยังมีบทบาทอยู่ ยังเป็นตัวเชื่อมระหว่างธุรกิจในท้องถิ่น โทรทัศน์ดาวเทียมส่วนใหญ่เป็นไปในทางค้าขาย ไม่กล้ามีปัญหากับรัฐบาล และทั้งหมดที่กล่าวมาทุกหกโมงเย็นต้องถ่ายทอดรายการเดินหน้าประเทศไทย ส่วนโซเชี่ยลมีเดียจากการสำรวจของนิด้าพบว่ามีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส. ของประชาชน ซึ่งช่องทางสำคัญตอนนี้คือเฟซบุ๊กอย่างแฟนเพจหรือเพจบุคคล
สื่อมีผลต่อการสร้างวาทกรรมต่างๆ ในสังคมซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อทำประชามติรัฐธรรมนูญ 60 หรือการสร้างภาพว่าใครจะชนะเองก็ส่งผลต่อการทำงานของภาคราชการ อย่างไรก็ตาม สื่อต้องการสนามการสื่อสารที่เป็นธรรม แต่ในความเป็นจริงกลับมีการควบคุมสื่อจากผู้มีอำนาจอยู่อย่าง สื่อพูดได้ไม่มากซึ่งจะเห็นได้ในกรณีที่มีการรณรงค์เรื่องประชามติรัฐธรรมนูญ 60 ที่ไม่มีพื้นที่ให้กับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว แม้แต่บอกเนื้อหาก็ยังถูกจับ
สิ่งจำเป็นที่ชูวัสเสนอคือ สื่อต้องสร้างสนามที่เป็นธรรมขึ้นมาไม่ว่าในการเลือกตั้งจะมีคนที่ไม่ชอบอยู่หรือไม่ “นี่คือการเลือกตั้ง การเลือกตั้งเป็นกลไกทางการเมืองที่คุณพอใช้อ้างอิงได้ ถ้าครั้งนี้การเลือกตั้งยังโกงได้ เราจะไม่เหลือความน่าเชื่อถือใด” สื่อต้องปลดอาวุธการควบคุมของรัฐอย่างการควบคุมสื่อด้วยคำสั่งคสช. ควรหยุดรายการพูดข้างเดียว และหันมาตั้งคำถามวิพากษ์ต่อวาทกรรมนโยบาย สื่อต้องเฝ้าระวังกันเอง ดูว่าสื่อไหนใครเป็นเจ้าของ และต้องโต้ข่าวลวงให้เป็นเพราะข่าวลวงสามารถนำไปสู่ความเกลียดชัง สื่อต้องไม่เป็นเครื่องมือของรัฐ ส่วนการสังเกตการณ์เลือกตั้งก็ต้องสังเกตสื่อด้วย และสื่อเองก็ต้องใช้การสังเกตการณ์เลือกตั้งเพื่อเรียกร้องสิทธิของตัวเอง
ประชาชนต้องเลิกรอแล้วสร้างการตรวจสอบการเลือกตั้ง
โอมาร์กล่าวในประเด็นคนรุ่นใหม่กับความหวังในวันแห่งการเลือกตั้ง โดยเกริ่นจากความสำคัญของการเลือกตั้ง ในแง่ที่สังคมประชาธิปไตยไม่อาจปฏิเสธการเลือกตั้งได้ เพราะการเลือกตั้งเป็นที่เดียวในการมอบความชอบธรรมต่อผู้ปกครอง เป็นที่ซึ่งยืนยันหลักการความเท่าเทียม อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งก็สามารถกลายเป็นเครื่องมือบ่อนเซาะประชาธิปไตยได้เหมือนกันหากเป็นการเลือกตั้งที่คดโกง ซึ่งกลไกกติกาแบบนี้อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง คนไทยเองก็อ่อนไหวต่อความขัดแย้งมากจนเป็นข้ออ้างในการเข้ามายึดอำนาจ
แม้การเลือกตั้งสำคัญต่อสังคมประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งอย่างเดียวไม่เพียงพอ ประชาชนต้องล้มเลิกการเป็นผู้รอผู้ตาม แล้วทำหน้าที่เป็นผู้สร้างการตรวจสอบถ่วงดุล เพราะถ้าไม่ได้สังเกตเอง เมื่อมีปัญหากับผลคะแนนการเลือกตั้ง ก็ไม่สามารถท้วงติงได้
ซึ่งประชาชนคนธรรมดาสามารถเริ่มได้จากการทำความเข้าใจระบบเลือกตั้งครั้งนี้ สำรวจระดับความรู้ความเข้าใจของตัวเองและของคนรอบข้าง เพื่อป้องกันการกาผิดและบัตรเสีย การสังเกตการณ์เลือกตั้งจะทำคนเดียวหรือสังเกตที่บ้านก็ได้ แต่ข้อมูลที่มีอาจไม่เพียงพอสำหรับที่จะแย้งกับผลคะแนนจากฝ่ายทางการ แต่หากเข้าร่วมกับเครือข่ายอย่างในกรณีของ We Watch ก็จะมีพลังในแง่ของจำนวนมากขึ้นในการค้านกับอีกฝ่าย ส่วนทาง We Watch จะไม่ชี้นำคน จุดยืนของ We Watch มีแต่ยืนตรงข้ามกับเผด็จการเท่านั้น
โอมาร์กล่าวถึงการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงว่า “การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญของประชาชนในกลับมาการเขียนประวัติศาสตร์ของประชาชน บางครั้งอาจจะดูสิ้นหวัง เพราะมันโดนเซ็ทมาตั้งแต่แรกด้วยกลไกต่างต่างนานา ผมคิดว่ามันมีข้อดีอยู่บ้าง ข้อดีของกลไกลแบบนี้ อย่างน้อยๆ มันก็ทำให้ประชาชนรวมตัวกันได้ง่ายขึ้น ทำให้ประชาชนมีศัตรูร่วมกัน เห็นศัตรูคนนั้นชัดมากขึ้น”
ชูวัสกล่าวถึง ทัศนะและบทบาทของสื่อในการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง เขาเปรียบเปรยว่าในการเดินทางสู่การเลือกตั้งซึ่งมีจุดหมายก็คือการหย่อนบัตรนั้น สื่อจะมีบทบาทในระหว่างทางไปสู่การเลือกตั้ง ในช่วงแรกชูวัสชวนผู้ฟังสำรวจบทบาทของสื่อในสถานการณ์ปัจจุบัน สำหรับบทบาทหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ผู้ให้บริการมีอยู่น้อยแต่ก็ยังคงเป็นตัวแปรที่ยังสื่อสารกับชาวบ้าน กลุ่มนี้ยังไม่รู้ว่าจะเล่นข้างไหน จะอยู่ข้างประชาธิปไตยหรือไม่ เพราะส่วนใหญ่ไม่กล้ามีปัญหากับผู้มีอำนาจ
ด้านโทรทัศน์ หนึ่งในสามผูกพันกับทหาร หนึ่งในสามผูกพันกับพลังประชารัฐ ส่วนวิทยุชุมชนยังมีบทบาทอยู่ ยังเป็นตัวเชื่อมระหว่างธุรกิจในท้องถิ่น โทรทัศน์ดาวเทียมส่วนใหญ่เป็นไปในทางค้าขาย ไม่กล้ามีปัญหากับรัฐบาล และทั้งหมดที่กล่าวมาทุกหกโมงเย็นต้องถ่ายทอดรายการเดินหน้าประเทศไทย ส่วนโซเชี่ยลมีเดียจากการสำรวจของนิด้าพบว่ามีผลต่อการตัดสินใจเลือก ส.ส. ของประชาชน ซึ่งช่องทางสำคัญตอนนี้คือเฟซบุ๊กอย่างแฟนเพจหรือเพจบุคคล
สื่อมีผลต่อการสร้างวาทกรรมต่างๆ ในสังคมซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อทำประชามติรัฐธรรมนูญ 60 หรือการสร้างภาพว่าใครจะชนะเองก็ส่งผลต่อการทำงานของภาคราชการ อย่างไรก็ตาม สื่อต้องการสนามการสื่อสารที่เป็นธรรม แต่ในความเป็นจริงกลับมีการควบคุมสื่อจากผู้มีอำนาจอยู่อย่าง สื่อพูดได้ไม่มากซึ่งจะเห็นได้ในกรณีที่มีการรณรงค์เรื่องประชามติรัฐธรรมนูญ 60 ที่ไม่มีพื้นที่ให้กับผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว แม้แต่บอกเนื้อหาก็ยังถูกจับ
สิ่งจำเป็นที่ชูวัสเสนอคือ สื่อต้องสร้างสนามที่เป็นธรรมขึ้นมาไม่ว่าในการเลือกตั้งจะมีคนที่ไม่ชอบอยู่หรือไม่ “นี่คือการเลือกตั้ง การเลือกตั้งเป็นกลไกทางการเมืองที่คุณพอใช้อ้างอิงได้ ถ้าครั้งนี้การเลือกตั้งยังโกงได้ เราจะไม่เหลือความน่าเชื่อถือใด” สื่อต้องปลดอาวุธการควบคุมของรัฐอย่างการควบคุมสื่อด้วยคำสั่งคสช. ควรหยุดรายการพูดข้างเดียว และหันมาตั้งคำถามวิพากษ์ต่อวาทกรรมนโยบาย สื่อต้องเฝ้าระวังกันเอง ดูว่าสื่อไหนใครเป็นเจ้าของ และต้องโต้ข่าวลวงให้เป็นเพราะข่าวลวงสามารถนำไปสู่ความเกลียดชัง สื่อต้องไม่เป็นเครื่องมือของรัฐ ส่วนการสังเกตการณ์เลือกตั้งก็ต้องสังเกตสื่อด้วย และสื่อเองก็ต้องใช้การสังเกตการณ์เลือกตั้งเพื่อเรียกร้องสิทธิของตัวเอง
โอมาร์กล่าวในประเด็นคนรุ่นใหม่กับความหวังในวันแห่งการเลือกตั้ง โดยเกริ่นจากความสำคัญของการเลือกตั้ง ในแง่ที่สังคมประชาธิปไตยไม่อาจปฏิเสธการเลือกตั้งได้ เพราะการเลือกตั้งเป็นที่เดียวในการมอบความชอบธรรมต่อผู้ปกครอง เป็นที่ซึ่งยืนยันหลักการความเท่าเทียม อย่างไรก็ตามการเลือกตั้งก็สามารถกลายเป็นเครื่องมือบ่อนเซาะประชาธิปไตยได้เหมือนกันหากเป็นการเลือกตั้งที่คดโกง ซึ่งกลไกกติกาแบบนี้อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง คนไทยเองก็อ่อนไหวต่อความขัดแย้งมากจนเป็นข้ออ้างในการเข้ามายึดอำนาจ
แม้การเลือกตั้งสำคัญต่อสังคมประชาธิปไตย แต่การเลือกตั้งอย่างเดียวไม่เพียงพอ ประชาชนต้องล้มเลิกการเป็นผู้รอผู้ตาม แล้วทำหน้าที่เป็นผู้สร้างการตรวจสอบถ่วงดุล เพราะถ้าไม่ได้สังเกตเอง เมื่อมีปัญหากับผลคะแนนการเลือกตั้ง ก็ไม่สามารถท้วงติงได้
ซึ่งประชาชนคนธรรมดาสามารถเริ่มได้จากการทำความเข้าใจระบบเลือกตั้งครั้งนี้ สำรวจระดับความรู้ความเข้าใจของตัวเองและของคนรอบข้าง เพื่อป้องกันการกาผิดและบัตรเสีย การสังเกตการณ์เลือกตั้งจะทำคนเดียวหรือสังเกตที่บ้านก็ได้ แต่ข้อมูลที่มีอาจไม่เพียงพอสำหรับที่จะแย้งกับผลคะแนนจากฝ่ายทางการ แต่หากเข้าร่วมกับเครือข่ายอย่างในกรณีของ We Watch ก็จะมีพลังในแง่ของจำนวนมากขึ้นในการค้านกับอีกฝ่าย ส่วนทาง We Watch จะไม่ชี้นำคน จุดยืนของ We Watch มีแต่ยืนตรงข้ามกับเผด็จการเท่านั้น
โอมาร์กล่าวถึงการเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึงว่า “การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นโอกาสสำคัญของประชาชนในกลับมาการเขียนประวัติศาสตร์ของประชาชน บางครั้งอาจจะดูสิ้นหวัง เพราะมันโดนเซ็ทมาตั้งแต่แรกด้วยกลไกต่างต่างนานา ผมคิดว่ามันมีข้อดีอยู่บ้าง ข้อดีของกลไกลแบบนี้ อย่างน้อยๆ มันก็ทำให้ประชาชนรวมตัวกันได้ง่ายขึ้น ทำให้ประชาชนมีศัตรูร่วมกัน เห็นศัตรูคนนั้นชัดมากขึ้น”
การเลือกตั้งที่น่าเชื่อถือจะสร้างการประนีประนอมได้
คู่บุญกล่าวในหัวข้ออาสาสมัครนักสังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตย โดยเกริ่นถึงความหมายของการสังเกตการณ์การเลือกตั้งว่าไม่ได้หมายความว่าเป็นการป้องกันการทุจริตการเลือกตั้ง แต่เป็นการจับตามองและรายงานออกมาเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของกระบวนการการเลือกตั้ง ซึ่งการสังเกตการณ์การเลือกตั้งครั้งแรกในประวัติศาสตร์รัฐที่ชื่อว่า วอลลาเคีย ซึ่งปัจจุบันคือส่วนหนึ่งในดินแดนของโรมาเนีย แต่ที่เป็นการดำเนินการแบบมาตรฐานจริงๆ เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเปลี่ยนผ่านทางการเมือง โดยระลอกแรกคือทศวรรษ 50-60 เกิดขึ้นในกลุ่มรัฐที่ปลดแอกตัวเองจากระบบอาณานิคม และระลอกสองคือหลังทศวรรษ 90 เกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็นจบลงซึ่งเป็นช่วงที่ทั้งโลกยอมรับค่านิยมประชาธิปไตย
คู่บุญกล่าวถึงความสำคัญของการสังเกตการณ์การเลือกตั้งว่า “ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเหล่านั้น ภายหลังความขัดแย้งที่เกิดขึ้น การสังเกตการณ์เลือกตั้งโดยคนที่เป็นกลาง หรือหน่วยงานที่เป็นกลาง ถือเป็นหลักหมุดในการสร้างระบอบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ส่งเสริมการเลือกตั้งที่อิสระและเป็นธรรม และในขณะเดียวกัน มันนำไปสู่การประนีประนอมกันของคู่ขัดแย้ง และที่สำคัญที่สุด ผลจากการสังเกตการณ์เลือกตั้งนำไปสู่ความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งหรือการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย” โดยตัวชี้วัดความยุติธรรมของการเลือกตั้งได้แก่ เสรีภาพเบื้องต้น กฎหมายเลือกตั้งที่ครอบคลุม และกรรมการที่เป็นกลาง ส่วนในการทำงานตรวจสอบนั้น คู่บุญได้เสนอว่าที่สำคัญคือเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นสิ่งสำคัญ ก็จะทำงานด้วยกันได้
คู่บุญกล่าวในหัวข้ออาสาสมัครนักสังเกตการณ์การเลือกตั้งเพื่อประชาธิปไตย โดยเกริ่นถึงความหมายของการสังเกตการณ์การเลือกตั้งว่าไม่ได้หมายความว่าเป็นการป้องกันการทุจริตการเลือกตั้ง แต่เป็นการจับตามองและรายงานออกมาเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของกระบวนการการเลือกตั้ง ซึ่งการสังเกตการณ์การเลือกตั้งครั้งแรกในประวัติศาสตร์รัฐที่ชื่อว่า วอลลาเคีย ซึ่งปัจจุบันคือส่วนหนึ่งในดินแดนของโรมาเนีย แต่ที่เป็นการดำเนินการแบบมาตรฐานจริงๆ เกิดขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อเปลี่ยนผ่านทางการเมือง โดยระลอกแรกคือทศวรรษ 50-60 เกิดขึ้นในกลุ่มรัฐที่ปลดแอกตัวเองจากระบบอาณานิคม และระลอกสองคือหลังทศวรรษ 90 เกิดขึ้นในช่วงสงครามเย็นจบลงซึ่งเป็นช่วงที่ทั้งโลกยอมรับค่านิยมประชาธิปไตย
คู่บุญกล่าวถึงความสำคัญของการสังเกตการณ์การเลือกตั้งว่า “ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเหล่านั้น ภายหลังความขัดแย้งที่เกิดขึ้น การสังเกตการณ์เลือกตั้งโดยคนที่เป็นกลาง หรือหน่วยงานที่เป็นกลาง ถือเป็นหลักหมุดในการสร้างระบอบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย ส่งเสริมการเลือกตั้งที่อิสระและเป็นธรรม และในขณะเดียวกัน มันนำไปสู่การประนีประนอมกันของคู่ขัดแย้ง และที่สำคัญที่สุด ผลจากการสังเกตการณ์เลือกตั้งนำไปสู่ความน่าเชื่อถือให้เกิดขึ้นกับการเลือกตั้งหรือการเปลี่ยนแปลงไปสู่ประชาธิปไตย” โดยตัวชี้วัดความยุติธรรมของการเลือกตั้งได้แก่ เสรีภาพเบื้องต้น กฎหมายเลือกตั้งที่ครอบคลุม และกรรมการที่เป็นกลาง ส่วนในการทำงานตรวจสอบนั้น คู่บุญได้เสนอว่าที่สำคัญคือเห็นว่าประชาธิปไตยเป็นสิ่งสำคัญ ก็จะทำงานด้วยกันได้
การเลือกตั้งครั้งนี้อยู่ในบริบทพิเศษ ต้องกดดันคสช. เลิกแทรกแซง
ประจักษ์กล่าวถึงประเด็นสิ่งที่ต้องจับตาในการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ขั้นแรกจำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องบริบทการเลือกตั้งครั้งนี้ก่อนว่าไม่ปกติ การเลือกตั้งเองก็ขาดเสรีภาพ เป็นการเลือกตั้งที่จัดขึ้นในบริบทที่รัฐบาลยังคุมอำนาจได้ผ่านการออกแบบการเลือกตั้งเอง ควบคุมกรรมการ ทำให้การเลือกตั้งเข้าใจยาก และคุมระเบียบการเลือกตั้ง นอกจากนี้ คสช. ยังสามารถเปลี่ยนแปลงกติกาได้ในระหว่างดำเนินการดำเนินการเลือกตั้ง ซึ่งถ้าประชาชนไม่เข้ามามีส่วนร่วมการเลือกตั้งครั้งนี้ก็เป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนผ่านการเมือง
สิ่งที่ต้องจับตาในการเลือกตั้งครั้งนี้คือ กฎระเบียบการเลือกตั้งและ ม.44 ซึ่งไม่มีใครคิดว่าจะมีการใช้มาตรานี้ให้อำนาจกกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งและการนับคะแนน การข่มขู่บังคับซึ่งอาจทำต่อนักการเมืองหรือหัวคะแนนซึ่งมีการกระทำกันมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้วในช่วงการย้ายพรรค เสรีภาพในการหาเสียงก็ต้องจับตาว่าเท่าเทียมกันหรือไม่ มีการควบคุมจนเหลือข้างเดียวหรือไม่ และประการสุดท้ายที่ต้องระวังคือกลเกมต่างๆ หลังการเลือกตั้งผ่านไปเพราะคสช. ยังอยู่ ม.44 ก็ยังอยู่ ซึ่งจะมีก็ไม่รู้ว่าจะมีการบิดเบือนอะไรอีก กกต. จะกล้าค้านคสช. เมื่อมีข้อพิพาทในการเลือกตั้งหรือไม่
จากบทเรียนของทั่วโลก ประจักษ์กล่าวว่ามีสองตัวแปรชี้ขาดว่าการเลือกตั้งจะนำไปสู่ประชาธิปไตยหรือเป็นแค่เครื่องมือของเผด็จการ ก็คือ กองทัพ ถ้ากองทัพไม่วางตัวเป็นกลางถือว่าอันตราย ส่วนอีกตัวแปรคือประชาชน ประชาชนต้องสังเกตการณ์ จับตามองว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากลหรือไม่
ในตอนท้ายประจักษ์ได้กล่าวถึงข้อเสนอของเขาต่อการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นในปี 62 ว่า สังคมควรกดดันคสช. ไม่ให้ใช้ม.44 เพราะถ้าไม่กดดัน อาจมีการใช้ม.44 แบบเดียวกับการให้อำนาจ กกต. แบ่งเขตการเลือกตั้ง ส่วนถ้าพลเอกประยุทธได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมัครตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ควรจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือตำแหน่งหัวหน้าคสช. เพื่อสร้างหลักประกันให้สังคมไม่เคลือบแคลง ประการสุดท้ายคือ กระทรวงต่างประเทศควรให้องค์กรสังเกตการณ์ต่างชาติเข้ามาสังเกต เพราะถ้าการเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ พรรคที่ชนะก็ยากจะมีความชอบธรรม ในตอนท้ายประจักษ์กล่าวถึงข้อกังวลว่า
“ในสังคมไทยที่ความขัดแย้งมันร้าวลึก แตกขั้ว ความชอบธรรมทางการเมืองก็ไม่มี ถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้ล้มเหลวอีก มีการโกงกันแล้วไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม สังคมไทยก็จะเข้าสู่หลุมดำเลย แล้วจะหาเครื่องมืออะไรที่จะมาตัดสินข้อพิพาทในการขึ้นสู่อำนาจคราวนี้”
ประจักษ์กล่าวถึงประเด็นสิ่งที่ต้องจับตาในการสังเกตการณ์การเลือกตั้ง ขั้นแรกจำเป็นต้องทำความเข้าใจเรื่องบริบทการเลือกตั้งครั้งนี้ก่อนว่าไม่ปกติ การเลือกตั้งเองก็ขาดเสรีภาพ เป็นการเลือกตั้งที่จัดขึ้นในบริบทที่รัฐบาลยังคุมอำนาจได้ผ่านการออกแบบการเลือกตั้งเอง ควบคุมกรรมการ ทำให้การเลือกตั้งเข้าใจยาก และคุมระเบียบการเลือกตั้ง นอกจากนี้ คสช. ยังสามารถเปลี่ยนแปลงกติกาได้ในระหว่างดำเนินการดำเนินการเลือกตั้ง ซึ่งถ้าประชาชนไม่เข้ามามีส่วนร่วมการเลือกตั้งครั้งนี้ก็เป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนผ่านการเมือง
สิ่งที่ต้องจับตาในการเลือกตั้งครั้งนี้คือ กฎระเบียบการเลือกตั้งและ ม.44 ซึ่งไม่มีใครคิดว่าจะมีการใช้มาตรานี้ให้อำนาจกกต. แบ่งเขตเลือกตั้ง การเลือกตั้งและการนับคะแนน การข่มขู่บังคับซึ่งอาจทำต่อนักการเมืองหรือหัวคะแนนซึ่งมีการกระทำกันมาตั้งแต่ก่อนหน้านี้แล้วในช่วงการย้ายพรรค เสรีภาพในการหาเสียงก็ต้องจับตาว่าเท่าเทียมกันหรือไม่ มีการควบคุมจนเหลือข้างเดียวหรือไม่ และประการสุดท้ายที่ต้องระวังคือกลเกมต่างๆ หลังการเลือกตั้งผ่านไปเพราะคสช. ยังอยู่ ม.44 ก็ยังอยู่ ซึ่งจะมีก็ไม่รู้ว่าจะมีการบิดเบือนอะไรอีก กกต. จะกล้าค้านคสช. เมื่อมีข้อพิพาทในการเลือกตั้งหรือไม่
จากบทเรียนของทั่วโลก ประจักษ์กล่าวว่ามีสองตัวแปรชี้ขาดว่าการเลือกตั้งจะนำไปสู่ประชาธิปไตยหรือเป็นแค่เครื่องมือของเผด็จการ ก็คือ กองทัพ ถ้ากองทัพไม่วางตัวเป็นกลางถือว่าอันตราย ส่วนอีกตัวแปรคือประชาชน ประชาชนต้องสังเกตการณ์ จับตามองว่ามีอะไรไม่ชอบมาพากลหรือไม่
ในตอนท้ายประจักษ์ได้กล่าวถึงข้อเสนอของเขาต่อการเลือกตั้งที่จะจัดขึ้นในปี 62 ว่า สังคมควรกดดันคสช. ไม่ให้ใช้ม.44 เพราะถ้าไม่กดดัน อาจมีการใช้ม.44 แบบเดียวกับการให้อำนาจ กกต. แบ่งเขตการเลือกตั้ง ส่วนถ้าพลเอกประยุทธได้รับการเสนอชื่อเป็นผู้สมัครตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ก็ควรจะลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหรือตำแหน่งหัวหน้าคสช. เพื่อสร้างหลักประกันให้สังคมไม่เคลือบแคลง ประการสุดท้ายคือ กระทรวงต่างประเทศควรให้องค์กรสังเกตการณ์ต่างชาติเข้ามาสังเกต เพราะถ้าการเลือกตั้งไม่บริสุทธิ์ พรรคที่ชนะก็ยากจะมีความชอบธรรม ในตอนท้ายประจักษ์กล่าวถึงข้อกังวลว่า
“ในสังคมไทยที่ความขัดแย้งมันร้าวลึก แตกขั้ว ความชอบธรรมทางการเมืองก็ไม่มี ถ้าการเลือกตั้งครั้งนี้ล้มเหลวอีก มีการโกงกันแล้วไม่บริสุทธิ์ยุติธรรม สังคมไทยก็จะเข้าสู่หลุมดำเลย แล้วจะหาเครื่องมืออะไรที่จะมาตัดสินข้อพิพาทในการขึ้นสู่อำนาจคราวนี้”
แสดงความคิดเห็น