Atukkit Sawangsuk
คดีหมอเลี๊ยบ มีประเด็นที่ต้องถก 2 ประเด็น
ประเด็นที่ 1 ก่อน การลดสัดส่วนหุ้นชินคอร์ปในไทยคม ใครเสียหาย?
ให้ย้อนไปอ่านคำวินิจฉัยคดียึดทรัพย์ (ด้านล่าง) ลองแยกประเด็นดังนี้
1.ชินคอร์ปไม่ต้องระดมทุนหรือกู้เงินเอง แต่กลับกระจายความเสี่ยงให้นักลงทุนรายย่อย
ผมว่านะ นักเล่นหุ้นสมัยนั้นน่าจะแย่งกันซื้อด้วยความดีอกดีใจมากกว่า ไม่ใช่ "ความเสี่ยง" หรอก
แล้วถ้าชินคอร์ป ชินวัตร มีตังค์ 1,300 ล้านนะ เขาคงไม่กระจายหุ้นหรอก ถือไว้เองดีกว่า มูลค่าเพิ่มเห็นๆ
2. "ลดทอนความมั่นคงและความมั่นใจในการดําเนินโครงการดาวเทียมของบริษัทชินคอร์ปในฐานะผู้ได้รับสัมปทานโดยตรงที่ต้องมีอํานาจควบคุมบริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้... มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความมั่นคงในการกํากับดูแล การประกอบกิจการโทรคมนาคมของรัฐ"
ถามจริง มีผลไหมครับ เรื่องเกิดเมื่อปี 47 หลังจากนั้น ไทยคมก็ทำดาวเทียมไอพีสตาร์ ยิงขึ้นฟ้าให้ใช้กันทุกวันนี้ มีปัญหาความเชื่อมั่นความมั่นใจอะไรไหม
คือเรื่องพวกนี้เป็นคำวิจารณ์กันเมื่อปี 47 (ทีดีอาร์ไอ) กลัวจะมีปัญหา แต่พอกาลเวลาล่วงเลยมาถึงปี 53,59 เราก็เห็นความเป็นจริงว่า ไม่มีผลกระทบอะไรเลย อ้อ ถ้าทักษิณ-ชินคอร์ป ที่ปัจจุบันขายให้สิงคโปร์ ยังมีอำนาจควบคุมเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจนถึงทุกวันนี้สลิ่มก็คงด่ากันขรม
3.รัฐได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์
12 ปีผ่านไป รัฐไม่ได้เสียประโยชน์ซักสตางค์ การที่ไทยคมเพิ่มทุนทำไอพีสตาร์สำเร็จ (ในขณะที่ถ้าไม่ให้เพิ่มทุนก็อาจล่าช้าไปอีก) ได้ทั้งประโยชน์สาธารณะประโยชน์ชาติที่มีดาวเทียมใหม่ และรัฐก็ได้ค่าสัมปทานเพิ่มขึ้น
คือการแก้ไขสัญญาเอกชน ในบางครั้ง มองด้านเดียวก็เหมือนเอกชนได้ประโยชน์ แต่มองอีกด้านรัฐก็ได้ประโยชน์ด้วย ไม่ใช่แค่กรณีนี้ ยกตัวอย่าง ทศท.ลดค่าพรีเพดให้ AIS แล้วต่อมา กสท.ก็ลดให้ทรูและดีแทค ดูเหมือนรัฐเสียประโยชน์ แต่ค่าโทรมือถือลดจากนาทีละ 5 บาทลงมาแข่งกันไม่ถึงบาท ทั้งประชาชนได้ประโยชน์ในการใช้บริการ และมีคนใช้บริการมากขึ้นๆ ในที่สุด ทศท.กสท.ก็ได้ส่วนแบ่งมากขึ้น (แต่กรณีพรีเพดนี้ ศาลก็ตัดสินว่าเอื้อประโยชน์)
.........................................................
(คำวินิจฉัยปี 53)
"เนื่องจากในกรณีที่บริษัทไทยคมทําการเพิ่มทุนเพื่อดําเนินโครงการใดๆ โดยเฉพาะโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึงจํานวน ๑๖,๕๔๓,๘๐๐,๐๐๐ บาท นั้น บริษัทชินคอร์ปของผู้ถูกกล่าวหาในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทไทยคม จึงไม่ต้องระดมทุนหรือกู้ยืมเงินมาซื้อหุ้นเพื่อรักษาสัดส่วนร้อยละ ๕๑ ของตนเอง ดังจะเห็นได้ว่าในวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๔๗ และวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ บริษัทไทยคมได้ทําการเพิ่มทุน แต่บริษัทชินคอร์ปไม่ต้องซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้น ๘๔,๗๐๖,๘๐๑ หุ้น เป็นเงิน ๑,๒๙๖,๐๑๔,๐๕๕.๓๐ บาท แต่กลับกระจายความเสี่ยงไปให้นักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นลงประมาณร้อยละ ๑๑ ดังกล่าวย่อมเป็นผลให้บริษัทชินคอร์ปได้รับเงินทุนคืนจากการโอนขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปจํานวนดังกล่าวออกไปให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่นด้วย ทั้งการลดสัดส่วนดังกล่าวมีผลเป็นการลดทอนความมั่นคงและความมั่นใจในการดําเนินโครงการดาวเทียมของบริษัทชินคอร์ปในฐานะผู้ได้รับสัมปทานโดยตรงที่ต้องมีอํานาจควบคุมบริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ และต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๑ ในบริษัทไทยคม ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการดาวเทียมตามสัญญาสัมปทาน แม้ว่าบริษัทชินคอร์ปและบริษัทไทยคม จะยังต้องร่วมกันรับผิดตามสัญญาสัมปทานอยู่ แต่การลดสัดส่วนการถือครองหุ้นดังกล่าวก็ย่อมที่จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความมั่นคงในการกํากับดูแล การประกอบกิจการโทรคมนาคมของรัฐ"
http://www.supremecourt.or.th/…/criminal/1-53%20piparksa.pdf
ให้ย้อนไปอ่านคำวินิจฉัยคดียึดทรัพย์ (ด้านล่าง) ลองแยกประเด็นดังนี้
1.ชินคอร์ปไม่ต้องระดมทุนหรือกู้เงินเอง แต่กลับกระจายความเสี่ยงให้นักลงทุนรายย่อย
ผมว่านะ นักเล่นหุ้นสมัยนั้นน่าจะแย่งกันซื้อด้วยความดีอกดีใจมากกว่า ไม่ใช่ "ความเสี่ยง" หรอก
แล้วถ้าชินคอร์ป ชินวัตร มีตังค์ 1,300 ล้านนะ เขาคงไม่กระจายหุ้นหรอก ถือไว้เองดีกว่า มูลค่าเพิ่มเห็นๆ
2. "ลดทอนความมั่นคงและความมั่นใจในการดําเนินโครงการดาวเทียมของบริษัทชินคอร์ปในฐานะผู้ได้รับสัมปทานโดยตรงที่ต้องมีอํานาจควบคุมบริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้... มีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความมั่นคงในการกํากับดูแล การประกอบกิจการโทรคมนาคมของรัฐ"
ถามจริง มีผลไหมครับ เรื่องเกิดเมื่อปี 47 หลังจากนั้น ไทยคมก็ทำดาวเทียมไอพีสตาร์ ยิงขึ้นฟ้าให้ใช้กันทุกวันนี้ มีปัญหาความเชื่อมั่นความมั่นใจอะไรไหม
คือเรื่องพวกนี้เป็นคำวิจารณ์กันเมื่อปี 47 (ทีดีอาร์ไอ) กลัวจะมีปัญหา แต่พอกาลเวลาล่วงเลยมาถึงปี 53,59 เราก็เห็นความเป็นจริงว่า ไม่มีผลกระทบอะไรเลย อ้อ ถ้าทักษิณ-ชินคอร์ป ที่ปัจจุบันขายให้สิงคโปร์ ยังมีอำนาจควบคุมเบ็ดเสร็จเด็ดขาดจนถึงทุกวันนี้สลิ่มก็คงด่ากันขรม
3.รัฐได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์
12 ปีผ่านไป รัฐไม่ได้เสียประโยชน์ซักสตางค์ การที่ไทยคมเพิ่มทุนทำไอพีสตาร์สำเร็จ (ในขณะที่ถ้าไม่ให้เพิ่มทุนก็อาจล่าช้าไปอีก) ได้ทั้งประโยชน์สาธารณะประโยชน์ชาติที่มีดาวเทียมใหม่ และรัฐก็ได้ค่าสัมปทานเพิ่มขึ้น
คือการแก้ไขสัญญาเอกชน ในบางครั้ง มองด้านเดียวก็เหมือนเอกชนได้ประโยชน์ แต่มองอีกด้านรัฐก็ได้ประโยชน์ด้วย ไม่ใช่แค่กรณีนี้ ยกตัวอย่าง ทศท.ลดค่าพรีเพดให้ AIS แล้วต่อมา กสท.ก็ลดให้ทรูและดีแทค ดูเหมือนรัฐเสียประโยชน์ แต่ค่าโทรมือถือลดจากนาทีละ 5 บาทลงมาแข่งกันไม่ถึงบาท ทั้งประชาชนได้ประโยชน์ในการใช้บริการ และมีคนใช้บริการมากขึ้นๆ ในที่สุด ทศท.กสท.ก็ได้ส่วนแบ่งมากขึ้น (แต่กรณีพรีเพดนี้ ศาลก็ตัดสินว่าเอื้อประโยชน์)
.........................................................
(คำวินิจฉัยปี 53)
"เนื่องจากในกรณีที่บริษัทไทยคมทําการเพิ่มทุนเพื่อดําเนินโครงการใดๆ โดยเฉพาะโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึงจํานวน ๑๖,๕๔๓,๘๐๐,๐๐๐ บาท นั้น บริษัทชินคอร์ปของผู้ถูกกล่าวหาในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ในบริษัทไทยคม จึงไม่ต้องระดมทุนหรือกู้ยืมเงินมาซื้อหุ้นเพื่อรักษาสัดส่วนร้อยละ ๕๑ ของตนเอง ดังจะเห็นได้ว่าในวันที่ ๗ มกราคม ๒๕๔๗ และวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๗ บริษัทไทยคมได้ทําการเพิ่มทุน แต่บริษัทชินคอร์ปไม่ต้องซื้อหุ้นเพิ่มทุนเพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้น ๘๔,๗๐๖,๘๐๑ หุ้น เป็นเงิน ๑,๒๙๖,๐๑๔,๐๕๕.๓๐ บาท แต่กลับกระจายความเสี่ยงไปให้นักลงทุนรายย่อยในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นลงประมาณร้อยละ ๑๑ ดังกล่าวย่อมเป็นผลให้บริษัทชินคอร์ปได้รับเงินทุนคืนจากการโอนขายหุ้นบริษัทชินคอร์ปจํานวนดังกล่าวออกไปให้แก่ผู้ถือหุ้นกลุ่มอื่นด้วย ทั้งการลดสัดส่วนดังกล่าวมีผลเป็นการลดทอนความมั่นคงและความมั่นใจในการดําเนินโครงการดาวเทียมของบริษัทชินคอร์ปในฐานะผู้ได้รับสัมปทานโดยตรงที่ต้องมีอํานาจควบคุมบริหารจัดการอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ และต้องเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๕๑ ในบริษัทไทยคม ซึ่งเป็นผู้บริหารโครงการดาวเทียมตามสัญญาสัมปทาน แม้ว่าบริษัทชินคอร์ปและบริษัทไทยคม จะยังต้องร่วมกันรับผิดตามสัญญาสัมปทานอยู่ แต่การลดสัดส่วนการถือครองหุ้นดังกล่าวก็ย่อมที่จะมีผลกระทบต่อความเชื่อมั่นและความมั่นคงในการกํากับดูแล การประกอบกิจการโทรคมนาคมของรัฐ"
http://www.supremecourt.or.th/…/criminal/1-53%20piparksa.pdf
000000
ประเด็นที่ 2 การอนุมัติของหมอเลี๊ยบเป็นความผิดอาญาได้อย่างไร
ข้อนี้ต้องรออ่านคำพิพากษาเต็ม อ่านฉบับสั้นตามข่าวยังมีความเห็นไม่ได้ ได้แต่ตั้งข้อสังเกตตามคำพิพากษาเดิม
คำพิพากษาเดิม+คำแถลงปิดคดีของทนายหมอเลี๊ยบ สรุปได้ว่า หมอเลี๊ยบหารือสำนักงานอัยการสูงสุด ซึ่งมีความเห็นว่าการแก้ไขสัญญาสัมปทานไม่ทำให้รัฐเสียประโยชน์ แต่ตั้งข้อสังเกตให้นำเข้า ครม.
หมอเลี๊ยบเสนอ ครม. บวรศักดิ์มีหนังสือส่งคืน ว่าไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องเข้า ครม. แต่ต่อมาไปให้การว่า บันทึกเสนอเรื่องไม่ชัดเจน+ทักษิณมีผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่สมควรเสนอ ครม.
หมอเลี๊ยบถามกลับไปที่สำนักงานอัยการสูงสุดอีกที ซึ่งตอบกลับมาว่าทำได้ และอันที่จริงรายละเอียดในคดี ก็มีข้อโต้แย้งว่าทำได้ ไม่จำเป็นต้องเข้า ครม.ก็ได้ โดยมีความเห็นผู้เกี่ยวข้องรับรอง
แต่ศาลปี 53 ยืนยันว่า ต้องเข้า ครม. เมื่อหมอเลี๊ยบซึ่งเป็นลูกพรรคลงนามเอง ก็ถือว่าลงนามมิชอบ เป็นการเอื้อประโยชน์
คำถามคือ เมื่อหมอเลี๊ยบมีหลักฐานเอกสารทั้งจากสำนักงานอัยการสูงสุด ทั้ง 2 ครั้ง และหนังสือส่งคืนจากเลขาธิการ ครม. เหตุใดจึงผิดอาญา
ตามข่าวบอกแต่ว่า "แม้จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้ส่งหนังสือหารือถึงอัยการสูงสุด แต่ก็ปกปิดความจริงที่เลขาธิการครม.ปฏิเสธการรับเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม เนื่องจากนายทักษิณชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เป็นคู่สัญญา ทำให้มีผลประโยชน์ทับซ้อน"
ศาลวินิจฉัยอย่างไรว่าปกปิดความจริง? นี่ละที่ต้องรออ่านให้ชัด
นี่รวมทั้งคดี ตั้งบอร์ด ธปท. ซึ่งหมอเลี๊ยบมีคำปรึกษานิติกร ปรึกษากฤษฎีกา มีความเห็นว่าตั้งได้ ไม่ได้ใช้อำนาจพลการ เหตุใดจึงผิดรอลงอาญา
หมอเลี๊ยบถามกลับไปที่สำนักงานอัยการสูงสุดอีกที ซึ่งตอบกลับมาว่าทำได้ และอันที่จริงรายละเอียดในคดี ก็มีข้อโต้แย้งว่าทำได้ ไม่จำเป็นต้องเข้า ครม.ก็ได้ โดยมีความเห็นผู้เกี่ยวข้องรับรอง
แต่ศาลปี 53 ยืนยันว่า ต้องเข้า ครม. เมื่อหมอเลี๊ยบซึ่งเป็นลูกพรรคลงนามเอง ก็ถือว่าลงนามมิชอบ เป็นการเอื้อประโยชน์
คำถามคือ เมื่อหมอเลี๊ยบมีหลักฐานเอกสารทั้งจากสำนักงานอัยการสูงสุด ทั้ง 2 ครั้ง และหนังสือส่งคืนจากเลขาธิการ ครม. เหตุใดจึงผิดอาญา
ตามข่าวบอกแต่ว่า "แม้จำเลยที่ 1 อ้างว่าได้ส่งหนังสือหารือถึงอัยการสูงสุด แต่ก็ปกปิดความจริงที่เลขาธิการครม.ปฏิเสธการรับเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม เนื่องจากนายทักษิณชินวัตร นายกรัฐมนตรีขณะนั้น เป็นคู่สัญญา ทำให้มีผลประโยชน์ทับซ้อน"
ศาลวินิจฉัยอย่างไรว่าปกปิดความจริง? นี่ละที่ต้องรออ่านให้ชัด
นี่รวมทั้งคดี ตั้งบอร์ด ธปท. ซึ่งหมอเลี๊ยบมีคำปรึกษานิติกร ปรึกษากฤษฎีกา มีความเห็นว่าตั้งได้ ไม่ได้ใช้อำนาจพลการ เหตุใดจึงผิดรอลงอาญา
แสดงความคิดเห็น