คืบหน้าคดีค้ามนุษย์โรฮิงญา ศาลอาญาไต่สวนคดีใหญ่ จำเลย 103 คน อีกคดีศาลจังหวัดปากพนังนัดฟังคำพิพากษาพรุ่งนี้
พรุ่งนี้ศาลจังหวัดปากพนัง จ.นครศรีธรรมราชนัดฟังคำพิพากษาคดีลักลอบขนส่งชาวโรฮิงญาจำนวน 98 คน เมื่อต้นปีที่แล้ว ขณะที่ศาลอาญากรุงเทพฯ ไต่สวนคดีค้ามนุษย์คดีใหญ่ที่มีจำเลยรวมกันถึง 103 คนในเดือนนี้ ซึ่งจำเลยบางส่วนเป็นเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจระดับสูง รวมถึงนักการเมืองท้องถิ่น
สำหรับคดีที่ศาลจังหวัดปากพนัง เป็นคดีที่สืบเนื่องจากวันที่ 11 มกราคม 2558 พ.ต.อ.นพดล เพ็ชรขาวเขียว ผู้กำกับ สถานีตำรวจภูธรหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับรายงานว่าจะมีการลักลอบขนชาวโรฮิงญามาจากพื้นที่จังหวัดระนองไปยังจังหวัดสงขลา โดยใช้พื้นที่อำเภอหัวไทร เป็นเส้นทางผ่าน จึงได้สั่งการให้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งจุดตรวจสอบ ถนนสาย 408 นครศรีธรรมราช-หัวไทร กระทั่งพบรถยนต์ ต้องสงสัยจำนวน 5 คัน พบว่ามีชาวโรฮิงญานั่งอยู่ท้ายรถกระบะ รวม 98 คน (ผู้ชาย 30 คน ผู้หญิง 26 คน เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี 42 คน) แต่ละคนอยู่ในสภาพอ่อนพลียอย่างหนัก และในจำนวนดังกล่าว พบชาวโรฮิงญาเสียชีวิตเนื่องจากการขาดอากาศหายใจ ส่วนชาวโรฮิงญาที่รอดชีวิตได้เข้าสู่กระบวนการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ตามประมวลกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานหลักของรัฐในการดูแลผู้เสียหายระหว่างเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
พรุ่งนี้ศาลจังหวัดปากพนัง จ.นครศรีธรรมราชนัดฟังคำพิพากษาคดีลักลอบขนส่งชาวโรฮิงญาจำนวน 98 คน เมื่อต้นปีที่แล้ว ขณะที่ศาลอาญากรุงเทพฯ ไต่สวนคดีค้ามนุษย์คดีใหญ่ที่มีจำเลยรวมกันถึง 103 คนในเดือนนี้ ซึ่งจำเลยบางส่วนเป็นเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจระดับสูง รวมถึงนักการเมืองท้องถิ่น
สำหรับคดีที่ศาลจังหวัดปากพนัง เป็นคดีที่สืบเนื่องจากวันที่ 11 มกราคม 2558 พ.ต.อ.นพดล เพ็ชรขาวเขียว ผู้กำกับ สถานีตำรวจภูธรหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับรายงานว่าจะมีการลักลอบขนชาวโรฮิงญามาจากพื้นที่จังหวัดระนองไปยังจังหวัดสงขลา โดยใช้พื้นที่อำเภอหัวไทร เป็นเส้นทางผ่าน จึงได้สั่งการให้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจตั้งจุดตรวจสอบ ถนนสาย 408 นครศรีธรรมราช-หัวไทร กระทั่งพบรถยนต์ ต้องสงสัยจำนวน 5 คัน พบว่ามีชาวโรฮิงญานั่งอยู่ท้ายรถกระบะ รวม 98 คน (ผู้ชาย 30 คน ผู้หญิง 26 คน เด็กอายุไม่เกิน 15 ปี 42 คน) แต่ละคนอยู่ในสภาพอ่อนพลียอย่างหนัก และในจำนวนดังกล่าว พบชาวโรฮิงญาเสียชีวิตเนื่องจากการขาดอากาศหายใจ ส่วนชาวโรฮิงญาที่รอดชีวิตได้เข้าสู่กระบวนการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ตามประมวลกฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ และกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นหน่วยงานหลักของรัฐในการดูแลผู้เสียหายระหว่างเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
จากนั้นอัยการเป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนายนายสุนนท์ หรือโกมิตร แสงทอง นายสุริยา ยอดรัก และนายวราชัย ชฎาทอง เป็นจำเลยฐานการค้ามนุษย์ สนับสนุนการกระทำความผิดฐานค้ามนุษย์ ตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ.2551 กระทำความผิดที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพ เพื่อจะเอาคนลงเป็นทาสหรือให้มีฐานะคล้ายทาส ตามประมวลกฎหมายอาญา นำพาคนต่างด้าวเข้ามา ให้อาศัย หรือซ่อนเร้น ในราชอาณาจักรไทยโดยฝ่าฝืน พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 และกระทำความผิดฐานมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ.2556 โดยมีผู้เสียหายที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 15 ปี บุคคลอายุเกิน 15 ปีแต่ไม่ถึง 18 ปี และบุคคลตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป และศาลได้มีคำสั่งอนุญาตให้ทนายความของเหยื่อเข้าเป็นโจทก์ร่วมได้
อีกความเคลื่อนไหวในเรื่องคดีค้ามนุษย์เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ ช่วงวันที่ 16, 19 และ 23-26 ส.ค. ที่ผ่านมาศาลไต่สวนคดีค้ามนุษย์โรฮิงญาซึ่งอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง จำเลยรวม 103 คนในความผิดฐานค้ามนุษย์ ซึ่งกระบวนการไต่สวนกระทำผ่านล่ามภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์โรฮิงญา เบงกาลี และภาษาพม่า สำหรับจำเลยที่ไม่เข้าใจภาษาไทย
ในการไต่สวนรอบนี้มีพยานทั้งสิ้น 17 คน โดยมีพยาน 2 คนให้การผ่านการประชุมระยะไกล หรือเทเลคอนเฟอร์เรนซ์จากศาลอื่น มีเอกสารพยานฝ่ายโจทก์ 1,387 ชิ้น และ 2 ชิ้นจากโจทก์ร่วมซึ่งเป็นฝ่ายเหยื่อค้ามนุษย์ โดยฝ่ายจำเลยมีเอกสารหลักฐาน 31 ชิ้น
กรณีนี้มีการจับกุมและทยอยฟ้องจำเลยที่เกี่ยวข้องในการกระทำผิดร่วมกัน จนกระทั่งมีสำนวนฟ้องอยู่ถึง 11 สำนวน และประธานศาลฎีกามีคำสั่งเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2558 ให้รวมสำนวนที่เกี่ยวข้องกันทั้งหมดมาพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน ซึ่งขณะนี้มีจำเลยรวมทั้งสิ้น 103 คน ในจำนวนนี้มีสมาชิกระดับสูงขององค์กรปกครองท้องถิ่น 7 คน เจ้าหน้าที่รัฐ 2 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 นาย ทหาร 2 นาย และนางพยาบาล 1 คน สำหรับกระบวนการไต่สวนคดีนี้ นัดถัดไปคือวันที่ 6 ก.ย. ที่ห้อง 704 ศาลอาญารัชดา
ภาพประกอบจากคลังภาพ
อีกความเคลื่อนไหวในเรื่องคดีค้ามนุษย์เกิดขึ้นที่กรุงเทพฯ ช่วงวันที่ 16, 19 และ 23-26 ส.ค. ที่ผ่านมาศาลไต่สวนคดีค้ามนุษย์โรฮิงญาซึ่งอัยการเป็นโจทก์ฟ้อง จำเลยรวม 103 คนในความผิดฐานค้ามนุษย์ ซึ่งกระบวนการไต่สวนกระทำผ่านล่ามภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์โรฮิงญา เบงกาลี และภาษาพม่า สำหรับจำเลยที่ไม่เข้าใจภาษาไทย
ในการไต่สวนรอบนี้มีพยานทั้งสิ้น 17 คน โดยมีพยาน 2 คนให้การผ่านการประชุมระยะไกล หรือเทเลคอนเฟอร์เรนซ์จากศาลอื่น มีเอกสารพยานฝ่ายโจทก์ 1,387 ชิ้น และ 2 ชิ้นจากโจทก์ร่วมซึ่งเป็นฝ่ายเหยื่อค้ามนุษย์ โดยฝ่ายจำเลยมีเอกสารหลักฐาน 31 ชิ้น
กรณีนี้มีการจับกุมและทยอยฟ้องจำเลยที่เกี่ยวข้องในการกระทำผิดร่วมกัน จนกระทั่งมีสำนวนฟ้องอยู่ถึง 11 สำนวน และประธานศาลฎีกามีคำสั่งเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2558 ให้รวมสำนวนที่เกี่ยวข้องกันทั้งหมดมาพิจารณาเป็นคดีเดียวกัน ซึ่งขณะนี้มีจำเลยรวมทั้งสิ้น 103 คน ในจำนวนนี้มีสมาชิกระดับสูงขององค์กรปกครองท้องถิ่น 7 คน เจ้าหน้าที่รัฐ 2 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจ 4 นาย ทหาร 2 นาย และนางพยาบาล 1 คน สำหรับกระบวนการไต่สวนคดีนี้ นัดถัดไปคือวันที่ 6 ก.ย. ที่ห้อง 704 ศาลอาญารัชดา
ภาพประกอบจากคลังภาพ
แสดงความคิดเห็น