เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียติงการทำงาน กสม.ไทย ทำลายกลไกปกป้องสิทธิมนุษยชน
เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ (ANNI) ออกแถลงการณ์ติติงการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย (กสม.) ว่าไม่มีความคืบหน้าและไม่เป็นกลางตามที่ควรจะเป็น พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลการไต่สวนด้านสิทธิมนุษยชนแก่ กสม.ด้วย
เนื้อหาในแถลงการณ์ของ ANNI ระบุว่า กสม.ของไทยถูกปรับลดสถานภาพไปอยู่ที่ระดับ B ตั้งแต่ปี 2557 และยังไม่ได้รับการปรับสถานะใดๆ จนถึงปัจจุบัน เป็นผลจากความล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ โดยเป็นการอ้างอิงผลประเมินของคณะกรรมการประสานงานนานาชาติแห่งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (GANHRI)
เครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนเอเชียว่าด้วยสถาบันสิทธิมนุษยชนระดับชาติ (ANNI) ออกแถลงการณ์ติติงการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติของไทย (กสม.) ว่าไม่มีความคืบหน้าและไม่เป็นกลางตามที่ควรจะเป็น พร้อมทั้งเรียกร้องให้รัฐบาลไทยให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลการไต่สวนด้านสิทธิมนุษยชนแก่ กสม.ด้วย
เนื้อหาในแถลงการณ์ของ ANNI ระบุว่า กสม.ของไทยถูกปรับลดสถานภาพไปอยู่ที่ระดับ B ตั้งแต่ปี 2557 และยังไม่ได้รับการปรับสถานะใดๆ จนถึงปัจจุบัน เป็นผลจากความล่าช้าในการปฏิบัติหน้าที่ด้านสิทธิมนุษยชนภายในประเทศ โดยเป็นการอ้างอิงผลประเมินของคณะกรรมการประสานงานนานาชาติแห่งสถาบันสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (GANHRI)
ขณะที่ผลงานของ กสม.ในช่วงปีที่ผ่านมาไม่มีความคืบหน้าที่ชัดเจน ทั้งยังถูกวิพากษ์วิจารณ์เรื่องความไม่มีประสิทธิภาพในด้านต่างๆ ได้แก่ กระบวนการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการด้านสิทธิมนุษยชนที่ขาดความโปร่งใส การไต่สวนข้อเท็จจริงไม่เป็นอิสระและไม่เป็นกลาง
คณะอนุกรรมการประเมินรายงานของ GANHRI ย้ำว่าสถานการณ์ภายใต้การประกาศภาวะฉุกเฉินและการรัฐประหาร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนจะต้องยืนกรานคัดค้านและคงความเป็นอิสระเอาไว้ให้ได้ เพราะการปฏิบัติหน้าที่ปกป้องคุ้มครองและตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านสิทธิมนุษยชนเป็นหน้าที่หลักของ กสม. แต่ที่ผ่านมา กสม.ของไทยถูกโจมตีอย่างหนักเรื่องความล่าช้าในการไต่สวนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2553 และ 2556
นอกจากนี้ยังมีรายงานอ้างอิงคำแถลงของประธาน กสม.ซึ่งบ่งชี้รัฐบาลไทยไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ปรากฎในรายงานของ กสม. และทาง ANNI ขอเรียกร้องให้ กสม.จัดทำรายงานชี้แจงรายละเอียดเปิดเผยต่อสาธารณะให้ชัดเจนว่าข้อเสนอหรือมาตรการใดที่รัฐบาลยอมปฏิบัติหรือไม่ยอมปฏิบัติตามคำแนะนำของ กสม.
แถลงการณ์ของ ANNI ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยพิจารณาและตอบสนองต่อข้อเสนอในรายงานของ กสม.เพื่อส่งเสริมให้เกิดปฏิบัติการปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ดีขึ้นในประเทศไทย และย้ำว่ารัฐบาลไทยจะต้องเปิดเผยขั้นตอนต่างๆ ในการร่างหรือบังคับใช้กฎหมายที่เป็นผลจากร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านการลงประชามติเมื่อวันที่ 7 ส.ค. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นไปตามหลักการว่าด้วยสถานะและหน้าที่ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน หรือ หลักการปารีส
(ภาพประกอบจากคลังภาพ: ผู้ชุมนุมเรียกร้องให้ปกป้องสิทธิมนุษยชนที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเมื่อปี 2557)
คณะอนุกรรมการประเมินรายงานของ GANHRI ย้ำว่าสถานการณ์ภายใต้การประกาศภาวะฉุกเฉินและการรัฐประหาร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนจะต้องยืนกรานคัดค้านและคงความเป็นอิสระเอาไว้ให้ได้ เพราะการปฏิบัติหน้าที่ปกป้องคุ้มครองและตรวจสอบข้อเท็จจริงด้านสิทธิมนุษยชนเป็นหน้าที่หลักของ กสม. แต่ที่ผ่านมา กสม.ของไทยถูกโจมตีอย่างหนักเรื่องความล่าช้าในการไต่สวนข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2553 และ 2556
นอกจากนี้ยังมีรายงานอ้างอิงคำแถลงของประธาน กสม.ซึ่งบ่งชี้รัฐบาลไทยไม่ปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่ปรากฎในรายงานของ กสม. และทาง ANNI ขอเรียกร้องให้ กสม.จัดทำรายงานชี้แจงรายละเอียดเปิดเผยต่อสาธารณะให้ชัดเจนว่าข้อเสนอหรือมาตรการใดที่รัฐบาลยอมปฏิบัติหรือไม่ยอมปฏิบัติตามคำแนะนำของ กสม.
แถลงการณ์ของ ANNI ยังได้เรียกร้องให้รัฐบาลไทยพิจารณาและตอบสนองต่อข้อเสนอในรายงานของ กสม.เพื่อส่งเสริมให้เกิดปฏิบัติการปกป้องสิทธิมนุษยชนที่ดีขึ้นในประเทศไทย และย้ำว่ารัฐบาลไทยจะต้องเปิดเผยขั้นตอนต่างๆ ในการร่างหรือบังคับใช้กฎหมายที่เป็นผลจากร่างรัฐธรรมนูญที่เพิ่งผ่านการลงประชามติเมื่อวันที่ 7 ส.ค. เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและเป็นไปตามหลักการว่าด้วยสถานะและหน้าที่ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิมนุษยชน หรือ หลักการปารีส
(ภาพประกอบจากคลังภาพ: ผู้ชุมนุมเรียกร้องให้ปกป้องสิทธิมนุษยชนที่บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเมื่อปี 2557)
แสดงความคิดเห็น