โพลล์ชี้รัฐบาลส่งเสริมความกินดีอยู่ดีของประชาชนดีขึ้น แต่ต้องแก้ปัญหาเศรษฐกิจเพิ่ม
ศูนย์เชี่ยวชาญการตลาดภูมิภาคเอเชีย (AMEC) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แถลงผลสำรวจความกินดีอยู่ดีของคนไทยในรอบ 2 ปีของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา วันนี้ (28 ส.ค.) อ้างอิงการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มตัวอย่าง อายุตั้งแต่ 18-60 ปี รวม 4,000 คน จาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่ารัฐบาลมีคะแนนการทำงานด้านการส่งเสริมความกินดีอยู่ดีของประชาชนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผลสำรวจการทำงานของรัฐบาลในรอบ 1 ปี 6 เดือนซึ่งเผยแพร่ไปเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
ศูนย์เชี่ยวชาญการตลาดภูมิภาคเอเชีย (AMEC) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แถลงผลสำรวจความกินดีอยู่ดีของคนไทยในรอบ 2 ปีของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา วันนี้ (28 ส.ค.) อ้างอิงการตอบแบบสอบถามความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มตัวอย่าง อายุตั้งแต่ 18-60 ปี รวม 4,000 คน จาก 25 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่ารัฐบาลมีคะแนนการทำงานด้านการส่งเสริมความกินดีอยู่ดีของประชาชนเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผลสำรวจการทำงานของรัฐบาลในรอบ 1 ปี 6 เดือนซึ่งเผยแพร่ไปเมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมา
ผู้ตอบแบบสอบถามมากกว่าครึ่งระบุว่ามีความกินดีอยู่ดีเพิ่มขึ้น เพราะปัญหาต่างๆ เริ่มคลี่คลาย ทั้งเรื่องปัญหาภัยแล้งและปัญหาผลผลิตทางการเกษตร ทำให้รัฐบาลมีคะแนนเฉลี่ย 6.65 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นจาก 5.75 คะแนนที่ได้จากการสำรวจเมื่อเดือน มี.ค. แต่กลุ่มประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามระบุด้วยว่าปัญหาที่อยากให้รัฐบาลแก้ไขมากที่สุด ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองภายในประเทศ การส่งออก ค่าครองชีพ และราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ
วันเดียวกัน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือกรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ความเชื่อมั่นประเทศไทยหลังผ่านการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ” อ้างอิงการประเมินผลการตอบแบบสอบถามประชาชน 1,215 คนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่าประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเฉลี่ย 5.41 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา 0.42 คะแนน
ผลตอบแบบสอบถามบ่งชี้ด้วยว่าประชาชนเชื่อมั่นต่อศักยภาพของรัฐบาลด้านการเมืองมากที่สุด 5.59 คะแนน รองลงมาคือด้านเศรษฐกิจ 5.38 คะแนน ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม 5.27 คะแนน ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น 5.03 คะแนน ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ด้านความรักและความสามัคคีของคนในชาติ 4.93 คะแนน
วันเดียวกัน ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ หรือกรุงเทพโพลล์ เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ความเชื่อมั่นประเทศไทยหลังผ่านการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ” อ้างอิงการประเมินผลการตอบแบบสอบถามประชาชน 1,215 คนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ พบว่าประชาชนให้คะแนนความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของประเทศไทยเฉลี่ย 5.41 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน) เพิ่มขึ้นจากผลสำรวจเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา 0.42 คะแนน
ผลตอบแบบสอบถามบ่งชี้ด้วยว่าประชาชนเชื่อมั่นต่อศักยภาพของรัฐบาลด้านการเมืองมากที่สุด 5.59 คะแนน รองลงมาคือด้านเศรษฐกิจ 5.38 คะแนน ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม 5.27 คะแนน ด้านการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่น 5.03 คะแนน ส่วนด้านที่ได้คะแนนน้อยที่สุดคือ ด้านความรักและความสามัคคีของคนในชาติ 4.93 คะแนน
แสดงความคิดเห็น