ชนเผ่ามานิร้องยูเอ็น หลังถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามจับกุมขณะเข้าร่วมประชุมกับกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้ส่งหนังสือร้องเรียนด่วนถึงองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เรียกร้องให้หามาตรการฉุกเฉินเพื่อยุติการเลือกปฏิบัติต่อชนพื้นเมือง หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นาย เข้าแสดงตัวจับกุมชนเผ่ามานิ หรือที่คนไทยเรียกว่าซาไก ขณะที่กำลังร่วมประชุมในเวทีหารือที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ส.ค. โดยเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองเห็นว่า เป็นการเข้าควบคุมตัวโดยพลการและเป็นการเลือกปฏิบัติ
เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้ส่งหนังสือร้องเรียนด่วนถึงองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) เรียกร้องให้หามาตรการฉุกเฉินเพื่อยุติการเลือกปฏิบัติต่อชนพื้นเมือง หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่ตำรวจ 5 นาย เข้าแสดงตัวจับกุมชนเผ่ามานิ หรือที่คนไทยเรียกว่าซาไก ขณะที่กำลังร่วมประชุมในเวทีหารือที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 ส.ค. โดยเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองเห็นว่า เป็นการเข้าควบคุมตัวโดยพลการและเป็นการเลือกปฏิบัติ
เหตุการณ์จับกุมชนพื้นเมืองเกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 18.00 น. วันที่ 24 ส.ค. ที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่งเครื่องแบบ 1 นาย และนอกเครื่องแบบ 4 นาย เดินทางมาที่โรงแรมบุรีศรีภู บูติกโฮเต็ล ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน โดยมีนายวัส ติงสมิตร ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติเป็นประธานการประชุมและพยายามจะจับกุมตัวนายปอย ไม่มีนามสกุล อายุ 27 ปี ชาวมันนิ หรือที่คนไทยทั่วไปเรียกว่า ซาไก จากจังหวัดสตูลที่พาลูกๆมาร่วมงาน เพื่อบอกเล่าปัญหาชีวิตความเป็นอยู่และการไม่มีสถานะทางกฎหมาย เป็นบุคคลไร้สัญชาติและมักประสบกับความยากลำบากในการเดินทางนอกพื้นที่เนื่องจากมีกฎหมายห้ามอยู่ ในเหตุการณ์นั้นตัวแทนคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้เจรจา และติดต่อประสานงานกับฝ่ายปกครองระดับสูงของจังหวัด เจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 5 นายจึงเดินทางกลับไปแต่ยังคงมีเจ้าหน้าที่ตำรวจนอกเครื่องแบบเฝ้าอยู่ด้านชั้นล่างของโรงแรมที่จัดงาน
นายวิทวัส เทพสง ประธานเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้ ระบุว่า ปัจจุบันมีข้อมูลว่ามีชาวมันนิอาศัยอยู่ในป่าเทือกเขาบรรทัดประมาณ 300 กว่าคนในเขตจังหวัดพัทลุง ตรังและสตูล มีทั้งที่กลุ่มอยู่ในป่าลึก กลุ่มที่เข้าออกระหว่างชายป่าและกลุ่มที่เริ่มออกมาติดต่อกับคนภายนอก ปัญหาที่พบคือเรื่องแหล่งอาหารที่ลดลง และปัญหาสถานะทางทะเบียน ซึ่งเมื่อไม่มีบัตรประชาชนจะทำให้ไม่มีสิทธิในด้านต่างๆ รวมทั้งการรักษาพยาบาล จึงอยากให้ทางยูเอ็นหามาตรการยุติการละเมิดสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองและให้สิทธิในการรักษาพยาบาลต่อกลุ่มชาติพันธุ์มานิที่อยูในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันคนกลุ่มนี้ยังไม่สามารถได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่ เมื่อประสบกับการเจ็บป่วยก็ไม่สามารถรักษาตนเองและไม่ได้รับการบริการจากรัฐ
ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา มีภาพของชนเผ่ามานินั่งกับพื้นของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ในฐานะส่วนหนึ่งของงานประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของ จ.สตูล และภาพดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย โดยนายชุมพล โพธิสารนักวิจัยอิสระที่ศึกษาด้านการพัฒนาของกลุ่มชาติพันธุ์มานิชี้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนปัญหาความไม่เข้าใจและเห็นกลุ่มชาติพันธุ์เป็นเพียงของแปลก ขณะที่การดูแลจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนกลุ่มนี้ยังคงมีอยู่น้อยมาก
ภาพประกอบจากคลังภาพ
นายวิทวัส เทพสง ประธานเครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองภาคใต้ ระบุว่า ปัจจุบันมีข้อมูลว่ามีชาวมันนิอาศัยอยู่ในป่าเทือกเขาบรรทัดประมาณ 300 กว่าคนในเขตจังหวัดพัทลุง ตรังและสตูล มีทั้งที่กลุ่มอยู่ในป่าลึก กลุ่มที่เข้าออกระหว่างชายป่าและกลุ่มที่เริ่มออกมาติดต่อกับคนภายนอก ปัญหาที่พบคือเรื่องแหล่งอาหารที่ลดลง และปัญหาสถานะทางทะเบียน ซึ่งเมื่อไม่มีบัตรประชาชนจะทำให้ไม่มีสิทธิในด้านต่างๆ รวมทั้งการรักษาพยาบาล จึงอยากให้ทางยูเอ็นหามาตรการยุติการละเมิดสิทธิของชนเผ่าพื้นเมืองและให้สิทธิในการรักษาพยาบาลต่อกลุ่มชาติพันธุ์มานิที่อยูในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันคนกลุ่มนี้ยังไม่สามารถได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานและปัจจัยสี่ เมื่อประสบกับการเจ็บป่วยก็ไม่สามารถรักษาตนเองและไม่ได้รับการบริการจากรัฐ
ก่อนหน้านี้เมื่อเดือนก.ค.ที่ผ่านมา มีภาพของชนเผ่ามานินั่งกับพื้นของห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง ในฐานะส่วนหนึ่งของงานประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวของ จ.สตูล และภาพดังกล่าวถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างแพร่หลาย โดยนายชุมพล โพธิสารนักวิจัยอิสระที่ศึกษาด้านการพัฒนาของกลุ่มชาติพันธุ์มานิชี้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นสะท้อนปัญหาความไม่เข้าใจและเห็นกลุ่มชาติพันธุ์เป็นเพียงของแปลก ขณะที่การดูแลจากหน่วยงานภาครัฐและองค์กรด้านสิทธิมนุษยชนต่อประชาชนกลุ่มนี้ยังคงมีอยู่น้อยมาก
ภาพประกอบจากคลังภาพ
แสดงความคิดเห็น