ลาก 'เก้าอี้' มานั่งคุย: 6 ตุลากับคนรุ่นใหม่ ประวัติศาสตร์ถูกทำให้ลืม- ความรุนแรงไม่ถูกจดจำ
Posted: 22 Sep 2016 08:30 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
คนรุ่นใหม่กับประเด็น 40 ปี 6 ตุลา ประวัติศาสตร์ที่รัฐทำให้ลืม ไม่พูดถึง เป็นบาดแผลของสังคมไทย แต่กลับไม่เคยเรียนรู้บทเรียน ความรุนแรงโดยรัฐยังคงเกิดขึ้น พวกเขาและเธอหวังให้ความรุ นแรงเช่นนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก
(แถวบนจากซ้ายไปขวา) อ้อมทิพย์ เกิดผลานันท์ และ พริษฐ์ ชิวารักษ์ (แถวล่างจากซ้ ายไปขวา) ชลธิชา แจ้งเร็ว และ จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา (ที่มาของภาพประกอบ: แฟ้มภาพ/ประชาไท/รายการต่างคนต่ างคิด)
แม้แต่กับคนรุ่นใหม่ที่ สนใจการเมือง 6 ตุลาคม 2519 ก็ยังเป็นประวัติศาสตร์ที่คลุ มเครือ เหตุการณ์ล้อมปราบนักศึกษาที่ เกิดขึ้นในวันนั้นเมื่อ 40 ปีก่อน เป็นความทรงจำลางเลือนที่ไม่ ควรถูกลืม แต่มันก็ถูกทำให้ลืม เป็นความรุนแรงที่ควรเป็นครั้ งสุดท้ายของสังคมไทย แต่กลับไม่ใช่
ในทัศนะของพวกเขา 6 ตุลา เป็นอย่างไร
“ผมมอง 6 ตุลาเป็นการเคลื่อนไหวของคนรุ่ นใหม่ในสมัยนั้น เป็นโศกนาฏกรรมของประเทศไทย เป็นการสังหารหมู่ย่อยๆ ครั้งหนึ่ง สำหรับผม 6 ตุลาเหมือนเป็นบาดแผลที่สั งคมไทยพยายามจะลืมมัน พยายามจะลบมันออกไป พยายามจะมองมันเหมือนการชุนนุ มทางการเมืองธรรมดา ทำให้มันดูเบาลง แล้วหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ มัธยมก็ไม่มีเรื่องพวกนี้เลย มีประมาณหนึ่งย่อหน้าจบ ตอนนี้สิ่งที่ผมพยายามจะทำคื อให้มันเป็นประวัติศาสตร์ที่ไม่ ควรจะเกิดขึ้นอีก ผมเลยจะจัดงานนี้ขึ้นให้คนรุ่ นผมรู้ว่าที่จริงมันเกิดอะไรขึ้ น จุฬาฯ มีส่วนเกี่ยวข้องยังไงกับเหตุ การณ์นี้ คนไม่รู้เลยว่าจุฬาฯ เกี่ยวข้องอย่างไรกับเหตุการณ์ นี้ ทำให้คนมองภาพจุฬาฯ เป็นคอนเซอเวทีฟ
“เราอยากให้คนภายนอกมองภาพจุฬาฯ เปลี่ยนไป เราไม่ได้คอนเซอเวทีฟขนาดนั้นนะ จุฬาฯ มีมุมมองที่คนไม่เห็น รุ่นพี่ผม นิสิตจุฬาฯ ก็ไปร่วมเหตุการณ์และเสียชีวิต หลายคนยังไม่รู้ว่ามีเด็กจุฬาฯ รูปคนที่ถูกแขวนคอ ไม่มีใครรู้เลยว่าเป็นนิสิตจุ ฬาฯ คณะรัฐศาสตร์ หมุดที่รำลึกอยู่ที่ตึกรั ฐศาสตร์ บางคนก็ไม่รู้ เราพยายามทำเป็นมองไม่เห็นมัน
“งานนี้จึงเสนอว่าเหตุการณ์นี้ เกิดขึ้นเพราะอะไร จากมุมมองต่างๆ สื่อเป็นยังไง ผู้คนสมัยนั้นใช้ชีวิตยังไง โดนสังคมเชพมายังไงให้เห็นว่า การที่คนโดนฟาดเป็นเรื่องน่าสนุ ก เป็นสิ่งที่เราอยากให้คนมองเห็น เพื่อให้ในอนาคตจะได้ไม่เกิ ดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีกได้ยั งไง จะร่วมเปลี่ยนประเทศได้ยังไง อาจจะไม่ใช่ออกไปประท้วงเหมื อนนักกิจกรรม แต่อาจจะเข้าไปนั่งในสภา ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ เราสามารถทำได้
“อย่างตอนปี 2553 ผมยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการเมื องเลย ก็เปิดข่าวมีการประกาศเคอร์ฟิว ห้ามกลับบ้านดึก ตอนนั้นดีใจได้หยุดอยู่บ้าน มองว่าเป็นเหตุการณ์ที่น่ากลัว มีการยิงกัน ตอนนั้นเด็กๆ ก็ยังไม่อะไรมาก ตอน ม.3 ผมยังไม่รู้อะไรเลยเกี่ยวกับ 6 ตุลา ตอนนี้ผมมองว่า 6 ตุลาคือโศกนาฏกรรม ปี 2553 ก็เป็นโศกนาฏกรรมอีกแบบหนึ่ง มีการฆ่ากัน มีการใช้กระสุนจริง เหมือนเหตุการณ์เกิดขึ้นอีกครั้ งหนึ่ง แต่เป็นอีกรูปแบบหนึ่ง มีคนตาย มีการประท้วงทางการเมืองเหมื อนกัน เพียงแต่เรามองไม่เห็นว่ามันเกี่ ยวกันยังไง เราปล่อยให้มันเกิดขึ้นซ้ำแล้ วซ้ำเล่า เราปล่อยให้คนโดนฆ่า ถูกแกนนำบอกให้ไปตาย สุดท้ายความตายของเขาก็ไม่เกิ ดอะไรขึ้นมา”
“6 ตุลาเป็นเรื่องที่ถูกทำให้ลืม คนรุ่นหนูลืม ไปถามใครก็ได้ เราจะรู้แค่ผิวเผิน รู้ว่ามีการฆ่าหมู่จบ แล้วเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นเพราะอะไร เหมือนจะตอบไปไม่ได้มากกว่านั้น ถ้าถูกทำให้ลืมแล้ว มันอาจจะเกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำขึ้ นอีกก็ได้ โดยที่เราไม่ได้เรียนรู้ อะไรจากมันเลย จุดประสงค์การจัดงานครั้งนี้อี กอย่างคือเพื่อทำเรื่องนี้ให้ คนรู้ รู้และเป็นบทเรียน ป้องกัน และหาวิธีอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ต่อไป
“หนูมองในแง่คนภายนอกว่า ทำไมมีเหตุการณ์อย่างในปี 2553 ถึงเกิดขึ้นแล้ว คนที่ไม่ได้สนใจยังรีแอ็กเหมือน 6 ตุลาเหมือนเดิม ที่สะใจที่มีคนไทยถูกฆ่า มันมีกระแสเกิดขึ้นจริงๆ ตอนนั้นแม่กับเพื่อนสนิ ททะเลาะกันอย่างรุนแรง เพื่อนแม่โทษเสื้อแดงว่าทำธุรกิ จพัง เลยมองว่าผ่านไปหลายปี ทำไมคนไทยยังไม่เข้าใจถึ งความเห็นต่างหรือเคารพความเห็ นต่าง เขาไม่ได้เรียนรู้อะไรเลยเหรอ ที่จะอยู่ร่วมกันกับความเห็นต่ างยังไง ทำถึงยังรู้สึกว่าการฆ่าคนที่ เห็นต่างยังเป็นสิ่งที่ไม่ผิด ซึ่งมันไม่ควรเกิดขึ้นแล้ วในศตวรรษนี้”
กษา
"ผมรู้สึกว่า 6 ตุลามันคือรูปธรรมของประวัติ ศาสตร์ที่คนเลือกจะไม่จำ ถ้าถามเรื่อง 6 ตุลากับผมก็จะได้คำตอบอีกอย่ างหนึ่งแต่ถ้าถามกับเยาวชนคนอื่ นๆ ทั่วไปก็จะได้คำตอบอีกอย่างหนึ่ ง ซึ่งก็ไม่น่าแปลกใจเพราะในหนั งสือแบบเรียนก็พูดถึง 6 ตุลาแค่เพียงครึ่งหน้า พูดรวมกับ 14 ตุลา สั้นๆ บางทีก็ไม่พูดถึงเลย เลือกที่จะข้ามไปเลย มันไม่ใช่ว่าเราเรียนประวัติ ศาสตร์แล้วไม่เรียนรู้ เราถึงปล่อยให้มันซ้ำรอยอยู่อย่ างนั้น บางทีมันจะเป็นเพราะเราไม่ได้ เรียนรู้ประวัติศาสตร์เลย
"เรามีเรื่องเราอีกหลายเรื่องที่ ไม่ปรากฏในแบบเรียน เราไม่พูดถึงการตายของจิตร ภูมิศักดิ์ เราไม่พูดถึงกบฏสันติภาพ และเราก็ไม่พูดถึงเรื่องถังแดง ซึ่งทั้งหมดนี้มันเป็นเรื่ องของความรุนแรง เอาจริงๆ ประวัติศาสตร์ไทยไม่มีความรุ นแรง เพราะความรุนแรงมันถูกกวาดเข้ าไปใต้พรมหมดแล้ว แต่ผมก็ยังไม่รู้สึกหมดหวั งไปเสียทีเดียว ที่จะให้สิ่งที่อยู่ใต้พรมมั นปรากฏออกมา
“ผมรู้ว่ารัฐไม่อยากจะพูดถึงสิ่ งเหล่านี้ด้วยตัวของรัฐเอง แต่เราเป็นประชาชน เราสามารถเลือกที่จะพูดสิ่งเหล่ านี้ได้ ซึ่งถ้าเราพูดเท่ากับว่าอย่างน้ อยๆ ในภาคประชาชนเอง เรื่องพวกนี้ก็จะไม่เงียบหายไป คิดว่ามันอาจจะมีรูปแบบใหม่ๆ ออกมาเรื่อยๆ เพื่อที่จะสื่อสารไปยังบุ คคลภายนอก โจทย์ตอนนี้คือเราจะทำให้คนรุ่ นใหม่คนอื่นๆ สนใจเรื่อง 6 ตุลาได้อย่างไร ทำให้เขาคิดว่ามันเกี่ยวโยงกั บปัจจุบันอย่างไร และมันน่าสนใจอย่างไร ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่สำคัญที่ สุด
“ผมให้ความสำคัญกับ 6 ตุลามากกว่า 14 ตุลา เพราะมันเป็นเรื่องที่รั ฐพยายามใช้ความรุนแรงกับนักศึ กษา มันเป็นคนละเหตุผลกับ 14 ตุลาที่จบลงด้วยชัยชนะ ซึ่งผมคิดว่ามันสำคัญกว่าที่ เราจะพูดถึงประวัติศาสตร์ของ 6 ตุลา เพราะมันเป็นเรื่องของความรุ นแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของคนทั่ วไปที่ไม่ได้มีความสนใจเรื่ องการเมืองเป็นหลัก เพื่อที่จะได้ศึกษาสิ่งที่เกิ ดขึ้นในวันนั้นไม่ให้มันเป็นแค่ เรื่องที่เกิดขึ้นและผ่านไป เพราะถ้าเราเลือกที่จะเงียบกั บมัน เลือกที่จะไม่พูดถึงมัน มันจะก็เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
"6 ตุลาก็จะเป็นอีกวันหนึ่งที่ ผมจะออกมาแต่งกลอนรำลึกถึง แต่ว่าสิ่งที่มันสำคัญจริงๆ ก็คือ 6 ตุลามันเตือนเราได้ว่า เมื่อถึงจุดหนึ่ง รัฐก็พร้อมที่จะใช้ความรุนแรงกั บเราได้ทุกเมื่อ"
“มาถึงตอนนี้ มันเข้าใจมากขึ้น ก่อนหน้านี้ก็แค่รู้ว่ามันมี อะไรเกิดขึ้นบ้าง ยุคนั้นมันเป็นเผด็จการ เขาออกมาต่อสู้ ต้องหนี ต้องตาย เราก็แค่อ่านหนังสือ ศึกษาประวัติศาสตร์ เห็นภาพเห็นอะไร แต่ทุกวันนี้เราเข้าใจว่า ความรู้สึกของการถูกใช้ อำนาจในการจัดการกับผู้เห็นต่ างมันเป็นอย่างไร แม้เราจะไม่ถูกยิงเหมือนพวกเขา แต่สิ่งที่เกิดขึ้นเวลานี้มั นทำให้เรารู้สึก และมันก็ถูกแล้วที่เราต้องต่อสู้ แม้ว่าครั้งนี้มันจะเนียนกว่า ไม่ได้มีการใช้อำนาจตรงๆ แบบนั้น แต่มันก็เลวร้ายเท่ากัน อันนี้สำหรับตัวเองนะ
“แต่ถ้ามองออกไปจากตัวเรา ลองไปเป็นคนอื่น 6 ตุลา ก็อาจจะไม่มีอะไร ไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์ และมันก็เป็นประวัติศาสตร์ที่ถู กทำให้ลืม กระทรวงศึกษาธิการไม่ได้ให้ ความสำคัญกับประวัติศาสตร์การต่ อสู้แบบนี้ ฉะนั้น โดยทั่วไป 6 ตุลา ก็ไม่มีความหมาย เพราะเขาไม่ต้องการให้มันมี ความหมายอยู่แล้ว ถ้าคนเติบโตผ่านประวัติศาสตร์ ได้ศึกษาประวัติศาสตร์เหล่านี้ มันก็จะเห็นเอง คือการศึกษาประวัติศาสตร์โดยตั วมันเอง มันทำให้เราเห็นและเข้าใจสิ่งที่ เกิดขึ้นจริงและก็เห็นอนาคตว่ ามันจะเป็นอย่างไรต่อ
“มันมีบทเรียนให้เราดูแล้ว มันอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ แต่สิ่งเหล่านี้มันเคยเกิดขึ้ นมาแล้ว ทุกวันนี้มันเปลี่ยนไปก็แค่ คำใหม่ คนใหม่ แต่ทุกอย่างก็เหมือนเดิม บรรยากาศของการสร้างความเกลี ยดชังก็ยังเหมือนเดิม บางทีอาจจะหนักกว่าเดิมอีก
“แต่บรรยากาศของจิตสำนึกเรื่ องประชาธิปไตยในยุคนั้น ประชาชนยังตื่นตัวมากว่านี้ แต่พอมาในยุ คเราเขาประสบความสำเร็ จในการทำให้คนเชื่อง แต่ก่อนนักศึกษาตื่นตัว แต่ตอนนี้นักศึกษาก็เชื่อง มันมีความต่างกันอยู่ บรรยากาศตอนนั้นนักศึกษากำลังตื่ นตัว ศึกษาหาความรู้ อยากเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง มันเรียกได้ว่าเป็นยุคเบิกบาน แต่ยุคเราเชื่องกันเกินไปและก็ กลายเป็นนักศึกษากลุ่มน้อยที่ ออกมา ฉะนั้น 6 ตุลา จึงเป็นบทเรียนสำคัญที่คนรุ่ นเราควรจะเรียนรู้ มันไม่ใช่แค่ว่าเราไม่ได้เกิ ดในยุคนั้น แต่เรารู้ว่าโครงสร้างความอยุติ ธรรมมันเป็นอย่างไร และในยุคของเราที่ยังต้องต่อสู้ กับความอยุติธรรม เราจะทำได้อย่างไร คือเราต้องคิดว่าประเทศนี้มั นเป็นของเรา”
“เอาตั้งแต่เรื่องการรับรู้ เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่ถู กรัฐไทยลบเลือนเปลี่ยนแปลงการรั บรู้ ตอนเด็กเราไม่เคยรู้เกี่ยวกั บเหตุการณ์นี้ ในหนังสือเรียนก็จะสอนแต่เหตุ การณ์ 14 ตุลา 2516 แต่ไม่รู้ว่าเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เกี่ยวข้องกันอย่างไร เหมือนมันเป็นบาดแผลอะไรบางอย่ างที่รัฐไทยพยายามลบมัน ด้วยความสนใจของเราที่ชอบประวั ติศาสตร์เราก็ไปค้นหาหนังสือเกี่ ยวกับเหตุการณ์ 6 ตุลาคม จนเกิดคำถามกับเราตั้งแต่ตอนมั ธยมว่า ทำไมในครั้งนั้นคนจำนวนหนึ่งพร้ อมใจกัน ร่วมมือกัน ที่จะฆ่าคนจำนวนหนึ่งด้วยข้ อหาที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิ วนิสต์
“ตอนที่เราเป็นเด็ก อ่านหนังสือหนูก็ยังไม่รู้ว่ าทำไมคำว่าคอมมิวนิสต์ มันเลวร้ายขนาดนั้น ทำไมสังคมไทยถึงกล้าฆ่ าคนจำนวนหนึ่งได้ แล้วเราจะเห็นจากรูป จากในหน้าหนังสือพิมพ์ เหตุการณ์นี้มันเหมือนหลุ มดำในหน้าประวัติศาสตร์ เรามักจะข้ามเหตุการณ์นี้ ไปและไปพูดถึง 14 ตุลาคม 2516 ว่าประเทศไทยมีการเรียกร้ องประชาธิปไตยอย่างนั้นอย่างนี้ แต่ถัดจากนั้นมาแค่ 3 ปี เขาก็เลือกที่จะปิดกั้นการรับรู้ 6 ตุลา 19 ถ้าเราไม่ได้แสวงหาการรับรู้ เองเราก็ไม่คงไม่มีความคิดเกี่ ยวกับเหตุการณ์อย่างวันนี้
“ถ้าถามเกดตอนนี้ เกดมองว่าจริงๆ เหตุการณ์ 6 ตุลา ประชาชนจะต้องเรียนรู้ เราไม่ควรจะต้องมีการสูญเสียชี วิตจำนวนมากของประชาชน เราไม่ควรต้องมีบทเรียนนี้ ในประวัติศาสตร์ เราสามารถฆ่าคนคนหนึ่งได้โดยไม่ รู้จักเขาเลย แค่เพียงอุดมการณ์ทางการเมื องแตกต่างกัน แค่เพียงข่าวลือที่สร้างขึ้ นมาในยุคนั้น มันเป็นบทเรียนที่เกิดขึ้นที่ ไม่อยากมองในฐานะบทเรียน เพราะสังคมไทยไม่ได้เรียนรู้ อะไรจากเหตุการณ์เหล่านี้เลย สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่กล้ าเผชิญหน้ากับความขัดแย้ งและเราเลือกที่จะใช้ความรุ นแรงในการจัดการปัญหาต่างๆ มาตลอด
“หลังจากปี 2519 ก็จะมีเหตุการณ์ ปี 2535 ม็อบพันธมิตรฯ เหตุการณ์ปี 2553 ฯลฯ เรารู้สึกว่าเหตุการณ์ต่างๆเหล่ านี้เราไม่เคยเรียนรู้ อะไรเลยจากเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เราไม่เคยเรียนรู้ที่จะอยู่ด้ วยกันบนความแตกต่างทางความคิด เอาเข้าจริงๆ สังคมไทยพร้อมที่จะใช้ความรุ นแรงและอำนาจพิเศษทุกรูปแบบที่ จะจัดการปัญหา และชนชั้นนำไทยก็เป็นอีกปัจจั ยสำคัญที่จะทำทุกอย่างเพื่อปกป้ องผลประโยชน์ของตนเองไว้โดยที่ ไม่สนใจวิธีการเลย ถึงได้มีการยอมรับให้มีการฆ่ าหรือทำร้ายคนที่มีความเห็นต่าง
“มันมีเหตุการณ์ครั้งหนึ่งเรื่ องตรวจสอบอุทยานราชภักดิ์ที่ เราไปรวมกันที่สถานีรถไฟบ้านโป่ ง เป็นเหตุการณ์ที่เรากลัวที่สุ ดตั้งแต่ทำกิจกรรมและไม่เคยร้ องไห้ต่อหน้าสาธารณะชนมาก่อน ตอนนั้นเรากล้าที่จะร้องไห้ มันเกิดจากการกลัวคนจำนวนมากที่ เขามาชุมชนุมต้านเราทำกิจกรรม เขาตะโกนด่าว่าพวกหนักแผ่นดิน ให้ไปตายซะ ให้ออกไปนอกประเทศ เขาพยายามขว้างปาข้าวของที่ จะทำร้ายเรา ขว้างใส่เรา แนวกำแพงที่ทหารตำรวจกั้นไว้ก็ พยายามจะพังมาทำร้ายเรา จาก 6 ตุลาฯ จนมาถึงปี 57-58 เราไม่ได้เดินไปข้างหน้า การที่ประชาชนมาสู้กันเอง โดยรัฐไทยเองเข้ามาควบคุมและปลู กฝังความเชื่อทางความคิดและสร้ างความชอบธรรมในการใช้ความรุ นแรงและบ่มเพาะความเกลียดชั งในสังคม”
(แถวบนจากซ้ายไปขวา) อ้อมทิพย์ เกิดผลานันท์ และ พริษฐ์ ชิวารักษ์ (แถวล่างจากซ้
แม้แต่กับคนรุ่นใหม่ที่
ในทัศนะของพวกเขา 6 ตุลา เป็นอย่างไร
000
วิกรานต์ จรรยาภรณ์
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายสวัสดิการงาน 6 ตุลา จุฬาไม่ลืม“ผมมอง 6 ตุลาเป็นการเคลื่อนไหวของคนรุ่
“เราอยากให้คนภายนอกมองภาพจุฬาฯ เปลี่ยนไป เราไม่ได้คอนเซอเวทีฟขนาดนั้นนะ จุฬาฯ มีมุมมองที่คนไม่เห็น รุ่นพี่ผม นิสิตจุฬาฯ ก็ไปร่วมเหตุการณ์และเสียชีวิต หลายคนยังไม่รู้ว่ามีเด็กจุฬาฯ รูปคนที่ถูกแขวนคอ ไม่มีใครรู้เลยว่าเป็นนิสิตจุ
“งานนี้จึงเสนอว่าเหตุการณ์นี้
“อย่างตอนปี 2553 ผมยังไม่รู้อะไรเกี่ยวกับการเมื
000
อ้อมทิพย์ เกิดผลานันท์
คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประชาสัมพันธ์งาน 6 ตุลา จุฬาไม่ลืม“6 ตุลาเป็นเรื่องที่ถูกทำให้ลืม คนรุ่นหนูลืม ไปถามใครก็ได้ เราจะรู้แค่ผิวเผิน รู้ว่ามีการฆ่าหมู่จบ แล้วเกิดอะไรขึ้น เกิดขึ้นเพราะอะไร เหมือนจะตอบไปไม่ได้มากกว่านั้น ถ้าถูกทำให้ลืมแล้ว มันอาจจะเกิดเหตุการณ์นั้นซ้ำขึ้
“หนูมองในแง่คนภายนอกว่า ทำไมมีเหตุการณ์อย่างในปี 2553 ถึงเกิดขึ้นแล้ว คนที่ไม่ได้สนใจยังรีแอ็กเหมือน 6 ตุลาเหมือนเดิม ที่สะใจที่มีคนไทยถูกฆ่า มันมีกระแสเกิดขึ้นจริงๆ ตอนนั้นแม่กับเพื่อนสนิ
000
พริษฐ์ ชิวารักษ์
นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึ"ผมรู้สึกว่า 6 ตุลามันคือรูปธรรมของประวัติ
"เรามีเรื่องเราอีกหลายเรื่องที่
“ผมรู้ว่ารัฐไม่อยากจะพูดถึงสิ่
“ผมให้ความสำคัญกับ 6 ตุลามากกว่า 14 ตุลา เพราะมันเป็นเรื่องที่รั
"6 ตุลาก็จะเป็นอีกวันหนึ่งที่
000
จตุภัทร์ บุญภัทรรักษา
คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น“มาถึงตอนนี้ มันเข้าใจมากขึ้น ก่อนหน้านี้ก็แค่รู้ว่ามันมี
“แต่ถ้ามองออกไปจากตัวเรา ลองไปเป็นคนอื่น 6 ตุลา ก็อาจจะไม่มีอะไร ไม่ได้สนใจประวัติศาสตร์ และมันก็เป็นประวัติศาสตร์ที่ถู
“มันมีบทเรียนให้เราดูแล้ว มันอาจจะไม่เหมือนกันก็ได้ แต่สิ่งเหล่านี้มันเคยเกิดขึ้
“แต่บรรยากาศของจิตสำนึกเรื่
000
ชลธิชา แจ้งเร็ว
ขบวนการประชาธิปไตยใหม่“เอาตั้งแต่เรื่องการรับรู้ เหตุการณ์ 6 ตุลา เป็นช่วงเวลาประวัติศาสตร์ที่ถู
“ตอนที่เราเป็นเด็ก อ่านหนังสือหนูก็ยังไม่รู้ว่
“ถ้าถามเกดตอนนี้ เกดมองว่าจริงๆ เหตุการณ์ 6 ตุลา ประชาชนจะต้องเรียนรู้ เราไม่ควรจะต้องมีการสูญเสียชี
“หลังจากปี 2519 ก็จะมีเหตุการณ์ ปี 2535 ม็อบพันธมิตรฯ เหตุการณ์ปี 2553 ฯลฯ เรารู้สึกว่าเหตุการณ์ต่างๆเหล่
“มันมีเหตุการณ์ครั้งหนึ่งเรื่
แสดงความคิดเห็น