กมธ.ปฏิรูปสื่อฯ ยันร่างพ.ร.บ.สื่อฯ ไม่ใช่การเข้าแทรกแซงสื่อ

Posted: 30 Jan 2017 08:46 AM PST  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)

30 ม.ค. 2560 จากกรณีวานนี้ ตัวแทนองค์กรวิชาชีพสื่อสารมวลชน 30 องค์กร ร่วมกันออกแถลงการณ์คัดค้าน ร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริม จริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ. .. โดยเห็นตรงกันว่า ร่างกฎหมายฉบับดังกล่าว มีเนื้อหาสาระที่เน้นการควบคุมสื่อมวลชน โดยใช้อำนาจรัฐเข้ามาแทรกแซงการทำหน้าที่โดยอิสระของสื่อมวลชน สวนทางกับหลักการของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับที่ผ่านการลงประชามติ ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้สื่อมวลชนกำกับดูแลกันเอง (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม)

วันนี้ เว็บไซต์วิทยุรัฐสภา รายงานว่า พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร ประธานคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวถึง กรณีนี้ว่า การกำหนดให้โครงสร้างคณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน จำนวน 13 คน ที่แบ่งเป็นตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล 4 คน ตัวแทนจากสื่อมวลชน 5 คนและผู้แทนจากบุคคลภายนอก 4 คนนั้น แม้ในคณะกรรมการชุดดังกล่าวจะมีตัวแทนจากภาครัฐ แต่มีเพื่อทำงานด้านบริหารงบประมาณและสวัสดิการให้เหมาะสม ซึ่งไม่ใช่การเข้าแทรกแซงสื่อ เพราะตัวแทนจากสื่อมวลชนยังคงเป็นเสีย­งข้างมากที่สามารถขับเ­คลื่อนการทำงานได้ อีกทั้งในร่าง พ.ร.บ. นี้ ยังได้กำหนดไว้อย่าง­ชัดเจน ว่าประธานคณะกร­รมการสภาวิชาชีพสื่อมว­ลชนแห่งชาติจะต้องมาจา­กสื่อมวลชนเท่านั้น

พล.อ.อ.คณิต กล่าวด้วยว่า ขอยืนยันว่า กฎหมายฉบับดังกล่าวไม่มีวาระซ่อนเร้น หรือประโยชน์ทับซ้อน อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะเสนอรายงานและร่างกฎหมายดังกล่าว ต่อวิป สปท.ในวันพฤหัสบดีนี้ เพื่อนำเข้าสู่การพิจารณาของ ที่ประชุมสปท. และหากได้รับความเห็นชอบ ก็จะส่งต่อคณะรัฐมนตรี และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ต่อไป
พล.อ.อ.คณิต ยังได้กล่าวถึงที่หลายฝ่ายกังวลเกี่ยวกับใบอนุญาตผู้ประกอบวิชาชีพสื่อว่า ใบประกอบวิชาชีพมีความ­สำคัญเพื่อคัดกรองสื่อ­มวลชนที่จะมาทำหน้าที่­ตามกฎหมาย โดยเบื้องต้นกำหนดให้คณะกรรมการสภาวิชาชีพสื่อมวลชน เป็นผู้พิจารณากำหนดคุณสมบัติผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนรุ่นใหม่ ซึ่งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ส่วนผู้ที่ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนอยู่แล้ว อาจไม่ต้องสอบใหม่ เพียงแต่ต้องเข้ารับการอบรมตามหลักเกณฑ์เท่านั้น อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอดังกล่าวยังไม่ได้ข้อยุติ เพราะต้องผ่านการพิจารณาในหลายขั้นตอน

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.