คณะทำงาน UN ร้องปล่อยตัวนักโทษคดี ม.112 เตือนคุมตัวโดยพลการขัด กม.ระหว่างประเทศ
Posted: 24 Jan 2017 09:39 PM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
คณะทำงานสหประชาชาติว่าด้ วยการควบคุมตัวโดยพลการ ร้อง จนท.ไทยให้ปล่อยตัว 'พงษ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง' ที่ถูกควบคุมตัวในข้อหาหมิ่ นพระบรมเดชานุภาพโดยทันที-อย่ างไม่มีเงื่อนไข ปธ.สหพันธ์เพื่อสิทธิมนุ ษยชนสากล ชี้คดีนี้พุ่งภายใต้รั ฐบาลทหารไทย ทำลายภาพลักษณ์อย่ างหนัก มีโอกาสกลายเป็ นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติหากทำอย่ างเป็นระบบ
25 ม.ค. 2560 สมาพันธ์เพื่อสิทธิมนุษยชนสากล (International Federation for Human Rights: FIDH) ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ กรุงปารีส รายงานว่า ในความเห็นที่เผยแพร่เมื่อวันที่ 21 พ.ย. 2559 คณะทำงานสหประชาชาติว่าด้ วยการควบคุมตัวโดยพลการ (UN Working Group on Arbitrary Detention - WGAD) ได้เรียกร้องให้มีการปล่อยตัว พงษ์ศักดิ์ ศรีบุญเพ็ง โดยทันที พร้อมให้ชดเชยค่าเสี ยหายจากการควบคุมตัวโดยพลการที่ กระทำต่อ พงษ์ศักดิ์ คณะทำงานฯ ยังได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับรู ปแบบของการควบคุมตั วโดยพลการในกรณีข้อหาหมิ่นฯ และเตือนว่า “ในบางสถานการณ์ การแพร่กระจายของการจำคุก หรือการจำคุกเชิงระบบ หรือการลิดรอนเสรีภาพอื่นๆอย่ างรุนแรง ซึ่งทั้งนี้ได้ละเมิดข้อบังคั บของกฎหมายระหว่างประเทศ อาจเป็นการก่ออาชญากรรมต่อมนุ ษยชาติ”
“จำนวนผู้ต้องหาในคดีหมิ่ นพระบรมเดชานุภาพที่ถูกควบคุมตั วโดยพลการที่พุ่งสูงขึ้นภายใต้ รัฐบาลทหารไทย ได้ทำลายภาพลักษณ์ระหว่ างประเทศของไทยอย่างหนัก หากกระแสนี้ยังดำเนินต่อไป การรณรงค์ที่เกินขอบเขตของรั ฐบาลทหารที่จะปกป้องสถาบั นพระมหากษัตริย์มีโอกาสกลายเป็ นอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ” ดิมิทริส คริสโตปุโลส ประธานสหพันธ์เพื่อสิทธิมนุ ษยชนสากล FIDH กล่าว
วันนี้ FIDH และองค์กรสมาชิกอย่างสมาคมสิทธิ เสรีภาพของประชาชน (สสส.) ได้ตอบรับความเห็นของคณะทำงานฯ และเรียกร้องรัฐบาลไทยให้ปล่ อยตัวบุคคลที่ถูกควบคุมตัว หรือจำคุก ในข้อหาหมิ่ นฯตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 (lèse-majesté) โดยทันทีและอย่างไม่มีเงื่อนไข ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ของประเทศไทยกำหนดโทษจำคุกตั้ งแต่สามถึง 15 ปี สำหรับผู้ใดที่หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
คณะทำงานฯ ยืนยันในความเห็นของตนว่า การควบคุมตัว พงษ์ศักดิ์ เป็นการกระทำโดยพลการ เพราะได้ขัดแย้งกับปฏิญญาสากลว่ าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) ข้อ 10, 11, และ 19 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิ ทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 14 และ 19 ซึ่งประเทศไทยเป็นรัฐภาคี ข้อบทของกติกา UDHR และ ICCPR ที่กล่าวไว้ รับรองสิทธิขั้นพื้นฐานที่จะมี เสรีภาพและสิทธิที่จะได้รั บการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม และสิทธิและเสรี ภาพในการแสดงความคิดเห็น
ระหว่างพิจารณาคดีโดยลับ วันที่ 7 ส.ค. 2558 พงษ์ศักดิ์ อายุ 49 ปี อดีตมัคคุเทศก์ ได้ถูกศาลทหารกรุงเทพตัดสินจำคุ ก 60 ปี ข้อหาหมิ่นฯ จากการกระทำผิด 6 กรรม ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 จำคุกกรรมละ 10ปี แต่เนื่องจาก พงษ์ศักดิ์ ให้การรับสารภาพ ศาลจึงลดโทษลงกึ่งหนึ่ง เหลือโทษจำคุก 30 ปี คดีของ พงษ์ศักดิ์ มีอยู่ในรายงานร่วมของ FIDH และ สสส. 36 and counting - Lèse-majesté imprisonment under Thailand’s military junta (อ่าน 36 และที่ต้องนับต่อไป การคุมขังตามกฎหมายหมิ่ นพระบรมเดชานุภาพภายใต้รั ฐบาลทหารไทย)
คณะทำงานฯ พบว่า พงษ์ศักดิ์ ถูกควบคุมตัว “เพียงเพราะใช้สิทธิและเสรี ภาพในการแสดงความคิดเห็นอย่างสั นติ” คณะทำงานฯ ยังพบว่าความคิดเห็นของ พงษ์ศักดิ์บนสื่อสังคม (social media) ที่เกี่ยวข้องกับสมาชิ กของพระราชวงศ์ไทยได้อยู่ ในขอบเขตของความคิดเห็ นและการแสดงออกที่รับรองโดยปฏิ ญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (UDHR) ข้อ 19 และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิ ทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 19 คณะทำงานฯกล่าวอีกว่า รัฐบาลไทยได้ล้มเหลวในการอธิ บายว่าข้อจำกัดใดได้นำไปใช้กั บกรณีของพงษ์ศักดิ์ ว่าด้วยเรื่องของการใช้สิทธิ และเสรีภาพในการแสดงออกภายใต้ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิ พลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 19 (3)
คณะทำงานฯยังตัดสินอีกว่าสิทธิ ในการพิจารณาคดีด้วยความเป็ นธรรมของ พงษ์ศักดิ์ ไม่ได้รับการเคารพ หน่วยงานของสหประชาชาติค้นพบ "การละเมิดอย่างร้ายแรงต่างๆ" ต่อหลักการระหว่างประเทศว่าด้ วยการใช้สิทธิในการพิจารณาคดีด้ วยความเป็นธรรม ประการแรก คณะทำงานฯกล่าวว่าศาลทหารกรุ งเทพไม่ได้จัดทำ "ประชาพิจารณ์" ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิ ทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 14 (1) ในประการที่สอง คณะทำงานฯได้เน้นความสำคัญว่า ศาลทหารกรุงเทพฯไม่ได้มี มาตรฐานของ "อำนาจศาลที่เป็นอิสระและเป็ นกลาง" ตามที่กำหนดไว้ในกติการะหว่ างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมื องและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 14 (1) และประการสุดท้าย คณะทำงานฯได้ให้ข้อสังเกตว่า การที่ไม่มีสิทธิยื่นอุทธรณ์เป็ นการละเมิดสิทธิของ พงษ์ศักดิ์ ที่จะได้รับการตรวจสอบคำพิ พากษาของศาลยุติธรรมลำดับชั้นที่ สูงกว่า ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิ ทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ข้อ 14 (5) การพิจารณาคดีของพลเรื อนโดยศาลทหารฝ่าฝืนกติการะหว่ างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมื องและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) และกฎหมายจารีตประเพณีระหว่ างประเทศ ซึ่งย้ำโดยคณะทำงานฯ เนื่องจากศาลทหารมีอำนาจที่จะพิ จารณาคดีของบุคลากรทางทหารสำหรั บความผิดวินัยทหารเท่านั้น
วันที่ 12 ก.ย. 2559 รัฐบาลทหารไทยหรือคณะรั กษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่ง 55/2559 เพื่อยกเลิกการใช้ศาลทหารพิ จารณาคดีของพลเรือน อย่างไรก็ดี คำสั่งนี้มีผลเฉพาะกับคดีที่ตั ดสินหลังจากวันที่ 12 ก.ย. 2559 ซึ่งไม่รวมกับคดีในอดีต หรือคดีที่อยู่ในอำนาจพิ จารณาของศาลทหาร ตั้งแต่รัฐประหารวันที่ 22 พ.ค. 2557 ผู้ต้องหาคดีหมิ่นฯ 27 คน ถูกศาลทหารตัดสินจำคุกระยะยาว ขณะนี้อย่างน้อย 31 คดีหมิ่นฯยังคงอยู่ภายใต้ อำนาจของศาลทหาร
คณะทำงานฯเรียกร้องให้รั ฐบาลไทยปรับมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญาของไทยให้ สอดคล้องกับพันธสัญญาของไทยต่ อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่ างประเทศ และกล่าวว่า ยินดีที่จะมีโอกาสได้มาเยื อนประเทศ ”เพื่อช่วยเหลือเกื้อกู ลในกระบวนการนี้”
“การแก้ไขมาตรา 112 ที่ไม่ต่อเนื่องของรัฐบาลไทยได้ ถูกเปิดเผยโดยหลายหน่วยงานด้ านสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เป็นเรื่องที่เห็นได้ชัดว่ าการบังคับใช้มาตราดังกล่าวอย่ างเมินเฉยนั้นไม่ได้สอดคล้องกั บพันธสัญญาของไทยที่มีต่ อกฎหมายสิทธิมนุษยชนระหว่ างประเทศ รัฐบาลทหารต้องหยุดดำเนินการจั บกุมโดยพลการด้วยมาตรา 112 และปฏิรูปกฎหมายเพื่อให้สอดคล้ องกับมาตรฐานสากล พร้อมทั้งปล่อยผู้ต้องหาคดีหมิ่ นพระบรมเดชานุภาพ” ดร.จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร ประธาน สสส.
รายงานของ FIDH ยังระบุด้วยว่า พงษ์ศักดิ์ เป็นผู้ต้องหาคดีหมิ่ นพระบรมเดชานุภาพคนที่สี่ที่ ประกาศโดยคณะทำงานฯว่าถูกลิ ดรอนอิสรภาพโดยพลการ และสามคนที่คณะทำงานฯได้กำหนดว่ าถูกลิดรอนอิสรภาพโดยพลการคือ สมยศ พฤกษาเกษมสุข วันที่ 30 ส.ค. 2554 นักศึกษากิจกรรม ปติวัฒน์ สาหร่ายแย้ม (แบงค์) วันที่ 19 พ.ย. 2557 และ ภรณ์ทิพย์ มั่นคง (กอล์ฟ) วันที่ 2 ธ.ค. 2558 คณะทำงานฯ ได้ร้องขอรัฐบาลไทยให้ปล่อยตั วทั้งสามคนและยินยอมการชดเชย
ปติวัฒน์ ได้ถูกปล่อยตัวจากเรือนจำพิ เศษกรุงเทพเมื่อวันที่ 12 ส.ค. 2559 หลังจากได้รับพระราชทานอภัยโทษ เนื่องในโอกาสสมเด็จพระนางเจ้ าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงมีพระชนมายุ ครบ 84 พรรษา และเนื่องในโอกาสเดียวกัน ภรณ์ทิพย์ได้รับการถูกปล่อยตั วจากทัณสฑทานหญิงกลาง กรุงเทพ สมยศ ยังคงถูกคุมขังที่เรือนจำพิ เศษกรุงเทพตามกำหนดโทษจำคุก 10 ปี ด้วยมาตรา 112
ภายใต้การปกครองของคสช. จำนวนบุคคลที่ถูกควบคุมตัว และคุมขังด้วยมาตรา 112 ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากรัฐประหาร วันที่ 22 พ.ค. 2557 ได้มีการจับกุมตัวบุคคลอย่างน้ อย 90 คน ด้วยมาตรา 112 มี 43 คน ได้ถูกตัดสินจำคุกถึง 30 ปี ณ วันที่ 25 ม.ค. 2560 อย่างน้อย 61 คน กำลังจำคุก หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาคดีข้ อกล่าวหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในช่วงรัฐประหารวันที่ 22 พ.ค. 2557 บุคคลที่จำคุกจากข้อกล่าวหมิ่ นพระบรมเดชานุภาพมีแค่หกคน
แสดงความคิดเห็น