กลุ่มLLTD: การต่อต้านขัดขื นอำนาจและการครอบงำโดยไม่ใช้ ความรุนแรง
Posted: 30 Jan 2017 11:42 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
บทคัดย่อ
รายงานวิจัยชิ้นนี้ต้องการศึ กษาการต่อสู้ ต่อต้านกับ “ความเป็นไทย” ในฐานะที่เป็นวาทกรรมหลักซึ่ งทรงอำนาจนำในสังคมไทย (Hegemonic Discourse) อันเป็นผลผลิตของชีวะอำนาจ (Biopower)ที่แทรกซึม จัดการบริหาร บงการ เรือนร่างและจิ ตใจของคนไทยโดยไม่ใช้ความรุ นแรง(Non-Violence Action)ของกลุ่มธรรมศาสตร์เสรี เพื่อประชาธิปไตย (LLTD) โดยมีกรณีศึกษาการรณรงค์ ประท้วง ต่อต้านประเด็นกฎหมายอาญามาตรา 112 และคดีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ในกิจกรรม FREE SOMYOT : ธรรมศาสตร์ตายแล้วและเสี ยดายสมยศไม่ได้มางานบอล
ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ าการรณรงค์ประท้วงต่อต้านประเด็ นกฎหมายอาญามาตรา 112 ของกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีฯ ทั้งกิจกรรม “ธรรมศาสตร์ตายแล้ว” และ “เสียดายสมยศไม่ได้มางานบอล” เป็นกิจกรรมสร้างการตระหนักรู้ และการรับรู้ (Awareness) เสียดสีการปิดกันเสวนาทางวิ ชาการในมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันก็เป็นการท้าทาย สั่นคลอน บั่นทอน เปิดโปง เผยตัวตนของความเป็นไทยอันเป็ นวาทกรรมซึ่งทรงอำนาจนำในสั งคมไทย (Hegemonic Discourse) ในฐานะที่เป็นผลผลิตของชี วะอำนาจ (Biopower) ของรัฐไทยและมีฐานเป็น “ความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์” ที่ปกปิด ซ้อนเร้นความโหดร้าย เลือดเย็นไว้ภายใต้ความปกติสามั ญ (Normalization) ให้อ่อนกำลังลงและไม่ สามารถทำงานได้อย่างปกติ รวมถึงสถาปนาวาทกรรมตอบโต้ (Counter-Hegemonic Discourse) หรือสร้างวัฒนธรรมซึ่งสอดคล้ องกับคุณค่าและหลัการของเสรี ประชาธิปไตยและยังเป็ นการพยายามสร้างสภาวะภาคปฏิบัติ การปกครองของตัวเอง (Self-Governed practice) ที่อัตบุคคล(Subject) สามารถต่อสู้ ต่อรองขบถ ไม่เชื่อฟัง ไม่ยอมรับ เลิกเชื่อต่อความเป็นไทยที่ กำหนดอัตลักษณ์ ตัวตนของความเป็นคนไทยเอาไว้อย่ างเฉพาะจงเจาะ
หากรายงานวิจัยชิ้นนี้มีส่วนดี ประการใด ผู้เขียนขออุทิศให้แก่กลุ่ มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิ ปไตย นักกิจกรรมการเมืองผู้หาญกล้าทุ กท่านที่ต่อสู้เพื่อความยุติ ธรรม ขอส่วนดีนั้นจงช่วยเสริมสร้างปั ญญาให้สว่างรุ่งโรจน์เพื่อเป็ นปราการป้องกันความตื้นเขิน ความเขลา ความมืดมืด บอดใบ้ เบาปัญญาซึ่งมีอยู่ทั่วทุกหนแห่ งในประเทศสารขัณฑ์แห่งนี้ รวมถึงเป็นกำลังใจบุคคลเหล่านี้ ที่ต่อสู้เพื่อประชาธิ ปไตยและโดยเฉพาะ ไผ่ เพื่อนยากที่ถูกเผด็จการจองจำด้ วยคดีมาตรา 112 จองจำได้แต่ตัวแต่หาได้จองจำจิ ตวิญญาณการต่อสู้ไม่ ขอให้อดทน เข้มแข็งสู้ต่อไปและเป็นกำลั งใจให้เสมอ สักวันประวัติศาสตร์จะเป็ นของพวกเรา…We Shall Over Come
ข้อถกเถียงว่าด้วยการต่อต้ านอำนาจ
งานวิจัยเกี่ยวกับสันติวิธี และปฏิบัติการไร้ความรุนแรงร่ วมสมัยส่วนใหญ่นั้นได้รับอิทธิ พลทางความคิดจาก ยีน ชาร์ป (Gene Sharp) ชาร์ปนั้นถือเป็นบิดาแห่งปฏิบั ติการไร้ความรุนแรงในโลกตะวันตก และได้พัฒนาแนวคิดสันติวิธี มาจากคานที (Gandhi) เขาเสนอสันติวิธีในฐานะที่เป็น “เครื่องมือในการต่อสู้” หรือ “ยุทโธปกรณ์” ในการชิงชัยทางการเมืองเหนือคู่ กรณี กล่าวคือ ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงเป็ นเครื่องมือของผู้คนที่อ่ อนแอกว่าในการต่อสู้กับรั ฐบาลเผด็จการ [2] เพื่อเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ เชิงอำนาจระหว่างผู้ปกครองกับผู้ อยู่ใต้ปกครอง นอกจากนี้ชาร์ปยังเสนอทฤษฎี อำนาจซึ่งทำให้เข้าใจถึงแหล่งที่ มาทางอำนาจของผู้ปกครองซึ่งเป็ นกุญแจที่นำไปสู่ปฏิบัติการไร้ ความรุนแรงเพื่อถอดถอนความยิ นยอมจากรัฐบาล
ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงของชาร์ ปนั้นวางอยู่บนทฤษฎีอำนาจว่าด้ วยความยินยอม (Consent Theory of Power) ชาร์ปอธิบายว่า แหล่งที่มาทางอำนาจของผู้ปกครอง รัฐบาลหรือระบบนั้นไม่ได้ดำรง/ สถิตอยู่ที่ตัวผู้ปกครอง หากแต่ขึ้นอยู่กับความยินยอม การสนับสนุนและความร่วมมื อจากประชาชน กล่าวอย่างถึงที่สุดSharp เห็นว่า “ทุกรัฐบาลนั้นอยู่ บนฐานของความยินยอมเชื่ อใจของประชาชน” [3] ในงานหัวร่อต่ออำนาจของจันจิ รานั้นได้ขยายความกรอบการเข้ าใจอำนาจในงานศึกษาสันติวิธีร่ วมสมัยว่ามาจากแนวคิดว่าด้วย “สัญญาประชาคม” ซึ่งชาร์ปเป็นคนแรกๆที่ผลักดั นแนวคิดดังกล่าวนี้ โดยชี้ให้เห็นว่าผู้ ปกครองโดยเฉพาะทรราชย์ คงอำนาจของตนได้ก็เพราะมี มหาชนเบื้องล่างให้ความยิ นยอมเห็นชอบ (Consent) ซึ่งแหล่งที่มาทางอำนาจของผู้ ปกครองนั้นมีที่มาหลากหลาย เช่น สถาบันทางการเมือง ข้าราชการตำรวจ ทหาร การใช้อำนาจบังคับ (Coercion) และสิทธิอำนาจ (Authority) หรืออีกนัยหนึ่งในภาษาของบูร์ดิ เยอ (Pierre Bourdieu) คือ รัฐเป็นผู้ผูกขาด/ถือครองทุ นทางสัญลักษณ์ (Symbolic Capital) ไว้แต่เพียงผู้เดียว[4] นอกจากนี้ ชาร์ปมองว่าการที่ประชาชนให้ มอบความสนับสนุน ยินยอม เชื่อใจรัฐบาลนั้นส่วนหนึ่งเป็ นเพราะอุดมการณ์ทางความคิดที่ ครอบงำให้ประชาชนมีสำนึกที่จะต้ องเคารพ เชื่อฟังผู้ปกครอง ด้วยเช่นกัน ในเมื่อประชาชนเป็นผู้มอบสั ญญาประชาคมและความไว้วางใจให้กั บผู้ปกครอง ประชาชนก็ย่อมมีอิสรภาพอย่างเต็ มที่เพื่อจะบอกเลิกสั ญญประชาคมนั้นได้[5] และเมื่อแหล่งที่ มาทางอำนาจของผู้ปกครองขึ้นอยู่ กับประชาชนซึ่งเป็นผู้มอบอำนาจ หรือ สัญญาประชาคมนั้น อำนาจดังกล่าวจึงมี ความเปราะบางมาก เพราะขึ้นอยู่กับอำนาจจากกลุ่ มต่างๆดังนั้นประชาชนจึงเป็นผู้ ควบคุมอำนาจของผู้ปกครองหรือรั ฐบาลซึ่งเป็นที่มาอำนาจของผู้ ปกครองนั้นเอง[6]
อาจกล่าวได้ว่าปฏิบัติการไร้ ความรุนแรงของชาร์ปนั้นวางอยู่ บนแนวคิดทฤษฎีอำนาจว่าด้ วยความยินยอมและปฏิบัติการไร้ ความรุนแรงจึงเป็น “ อาวุธทางการเมืองที่ทรงประสิทธิ ภาพ” หรือ กระบวนการในการถอดถอนความยินยอม การสนับสนุน และความร่วมมือของประชาชนที่มี ต่อผู้ปกครองซึ่งสามารถปฏิบัติ ได้จริง กล่าวอย่างถึงที่สุดจุดเริ่มต้ นของปฏิบัติการไร้ความรุนแรงคือ มุ่งถอดถอน ทลายฐานแหล่งที่มาทางอำนาจของผู้ ปกครองเพื่อนำไปสู่การต่อต้าน ขัดขืน ไม่เชื่อฟังต่อความอยุติธรรม รัฐบาลเผด็จการ ทรราชย์ในที่สุด
ปฏิบัติการไร้ความรุนแรงแบบชาร์ ป มองว่าอำนาจอยู่ที่ตัวบุคคลซึ่ งได้รับความสนับสนุน ยินยอมจากประชาชน เมื่อสามารถโค่นล้มตัวบุคคลได้ อำนาจ การกดขี่ ครอบงำต่อประชาชนก็หายไปด้วย กล่าวคือเป็นอำนาจที่กระจุกตั วและมีศูนย์กลางอยู่ที่ตัวบุ คคลหรือองค์อธิปัตย์เท่านั้น แม้ว่าจะสามารถล้มผู้ ปกครองลงได้ แต่ “อำนาจ” ที่ควบคุม สอดส่อง ตรวจตรา บงการชีวิตและเรือนร่างของผู้ คนซึ่งสถาปนาและผลิตซ้ำ “ความรู้” (Knowledge)และ “ความจริง” (Truth) ผ่านสถาบันต่างๆ และถูกทำให้กลายเป็นสิ่งปกติ สามัญ (Normalization) และธรรมชาติจนผู้คนน้อมรับ สวมกอดอำนาจเข้ามาเป็นส่วนหนึ่ งของเรือนร่าง ดังนั้นอำนาจเช่นนี้ไม่ได้ถู กโค่นล้ม ทำลายไปพร้อมกับองค์อธิปัตย์ หากแต่ดำรงอยู่และทำงานอย่างต่ อเนื่องตลอดเวลาซึ่งมีลักษณะที่ แผ่ซ่านและอยู่ทุกหนทุกแห่งในทุ กอณูของสังคม ในขณะเดียวกันการมองอำนาจที่ กระจุกตัวหรือมีศูนย์กลางอยู่ที่ องค์อธิปัตย์นั้นทำให้เรามองไม่ เห็นอำนาจแบบใหม่ ซึ่งอำนาจแบบใหม่นี้มิเชล์ ฟูโกต์ (Michael Foucault) เรียกว่า “ชีวะอำนาจ” หรือ Biopower [7]
นักวิจัยด้านปฏิบัติการไร้ ความรุนแรงซึ่งได้รับอิทธิ พลจากแนวคิดหลังสมัยใหม่อย่าง Stellan Vinthagen ได้วิพากษ์การมองอำนาจแบบชาร์ ปไว้โดยชี้ให้เห็นว่าชาร์ป ละเลยอำนาจที่สอดส่อง ตรวจตรา ควบคุม บงการชีวิตและเรือนร่างซึ่งเป็ นจุดบกพร่ องในการมองอำนาจของชาร์ป[8] ผู้เขียนคิดว่า ชาร์ปนั้นหมกหมุ่นอยู่กั บการพยายามเปลี่ยนแปลง โน้มน้าวความคิด “ฝ่ายตรงข้าม” ให้เปลี่ยนใจและเลิกสนับสนุนรั ฐบาลและไม่ได้ให้ความสนใจให้ การพินิจพิเคราะห์อำนาจดังกล่ าวอย่างจริงจัง
อำนาจแบบฟูโกต์ เป็นอำนาจที่แทรกซึมอยู่ในระดั บสำนึก จิตใจของพลเมืองซึ่งแวดล้อมอยู่ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งอยู่ทั่วทุกอณูของสั งคมและไม่ได้กระจุกตัวหรือมีศู นย์กลางอยู่ที่ตัวบุคคลหรือองค์ อธิปัตย์ ฟูโกต์ได้กล่าวถึงความเปลี่ ยนแปลงของตัวแบบอำนาจในศตวรรษที่ 18 และ 19 ในหนังสือ The History of Sexuality เล่ม 1ว่า ในช่วงก่อนศตวรรษที่ 18 อำนาจอธิปัตย์ หรือ Sovereign Power เป็นผู้ผูกขาดสิทธิ์ในการตัดสิ นชีวิตและความตาย (Right to decide life and death) ผ่านการลงโทษและการฆ่าในพื้นที่ สาธารณะ และในช่วงกลางศตวรรษที่ 18 รูปแบบอำนาจได้เปลี่ยนไปโดยมี เป้าหมายเพื่อดูแลรักษาร่ างกายและชีวิตของพลเมืองมากขึ้น (ชีวิตพลเมืองผูกติดกับความมั่ นคงทางเศรษฐกิจ) รวมถึงต้องการควบคุมบงการเรื อนร่าง (Body) ของพลเมืองผ่านกลไกและสถาบันหลั กทางสังคมเพื่อให้จัดระเบียบ ควบคุมบงการเนื้อตัวร่ างกายของพลเมืองเองซึ่ งในความเห็นของฟูโกต์เรียก อำนาจวินัย หรือ Disciplinary Power [9]
เมื่อชีวิตของพลเมืองกลายมาเป็ นสิ่งที่สำคัญในทางการเมือง อำนาจทางการเมืองจึงวางอยู่ บนเทคนิค เทคโนโลยี กลไก จัดการบริหารชีวิตของพลเมืองเป็ นร่างกายที่ว่านอนสอนง่าย ฟูโกต์เรียกมันว่า ชีวะอำนาจ หรือ Biopower กล่าวคือ เป็นอำนาจที่เข้ามาควบคุมและบริ หารจัดการชีวิตของพลเมืองโดยรั ฐซึ่งทำงานผ่านเทคนิค กลไกของรัฐสมัยใหม่ โดยเป้าหมายของชีวะอำนาจคื อการให้พลเมืองรับเอา “วาทกรรม” หรือ Discourse ซึ่งเป็นอำนาจที่มารูปแบบของ “ความรู้” และ “ความจริง” เข้ามาควบคุม จัดระเบียบ สอดส่อง ตวรตราเรือนร่างตัวเองซึ่ งแทรกซึมเข้าไปในระดับสำนึ กและจิตใจของพลเมืองซึ่งไม่ได้ เป็นการใช้อำนาจบังคับทำงานผ่ านสถาบันที่ไม่ได้ผูกติดกับรัฐ เช่น สถาบันทางการเพทย์ สถาบันเสริมความงาม ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ โรงเรียนและมหาวิทยาลัย ฯลฯ [10]
แม้ว่าการวิเคราะห์อำนาจของฟู โกต์นั้นช่วยเผย/เปิดโปงอำนาจอั นแยบยล แทรกซึมไปในชีวิตประจำวั นของพลเมืองและแพร่กระจายไม่ได้ กระจุกตัวอยู่ที่ตัวบุคคลหรื อองค์อธิปัตย์อย่างที่ชาร์ ปมองอำนาจซึ่งวางอยู่ บนฐานของความยินยอม ฟูโกต์ ไม่เพียงแต่ช่วยเปิดโปงอำนาจที่ บริหารจัดการชีวิตของผู้คนแล้ว การวิเคราห์อำนาจของ Foucault ยังมีข้อจำกัดอยู่คือ เขามุ่งวิเคราะห์อำนาจอย่างถึ งรากถึงโคน แต่ เขากลับไม่ได้เสนอและสำรวจวิธี การต่อต้านอำนาจครอบงำอย่างเต็ มที่[11] Mona Lilja และ Stellan สองนักวิจัยด้านปฏิบัติการไร้ ความรุนแรงพยายามก้าวข้ามข้ อจำกัดในศึกษาอำนาจของฟูโกต์ และได้เสนอความเป็นไปได้ในการต่ อต้านอำนาจสามแบบของฟูโกต์ คือ อำนาจอธิปัตย์ (Sovereign power) อำนาจวินัย (Disciplinary power) และท้ายสุด ชีวะอำนาจ (Biopower) โดยในรายงานวิจัยชิ้นนี้จะมุ่ งศึกษาการต่อต้านชีวะอำนาจโดยทั้ งคู่เสนอว่า ชีวะอำนาจเป็นเครื่องมื อในการปลูกฝัง จัดการบริหารเรือนร่างและจิ ตใจของพลเมือง ในขณะเดียวกันก็เป็นเครื่องมื อให้กับกลุ่มต่างๆเพื่อต่อต้ านชีวะอำนาจของรัฐที่พยายามจั ดการบริหารเรือนร่างและจิ ตใจเราด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ต้องมีการสร้างพื้นที่ใหม่ หรือสร้างวาทกรรมชุดใหม่เพื่ อตอบโต้วาทกรรมหลักซึ่ งทรงอำนาจนำในสังคม (Counter-Hegemonic Discourse) หรือป้องกันตัวเองในทางปฏิบัติ เช่น ท้าทายและปลูกฝังแนวคิด คุณค่า วัฒนธรรมย่อยที่แตกต่ างออกไปจากวาทกรรมหลักซึ่ งทรงอำนาจนำในสังคม และ ยังเสนอให้สร้างวัฒนธรรมการต่ อต้านคู่ขนานไปกับชี วะอำนาจและการปกครองแบบชีวญาณ( Governmentality)
จะเห็นได้ว่าการต่อต้านเช่นนี้ อาจท้าทาย สั่นคลอนและทำลายชีวะอำนาจได้ โดยที่ผู้คนตั้งคำถามต่อการบริ หารจัดการ ควบคุม บงการเรือนร่างและจิตใจของตนซึ่ งถูกแทนที่ด้วยวาทกรรมใหม่ซึ่ งเกิดจากการต่อสู้ ต่อรองของผู้คนหรือกลุ่มคน รวมถึงภาคปฏิบัติการที่ปกครองตั วเอง (Self Governed Practices)[12] และทางเลือกอื่นๆ[13] ดังนั้นข้อเสนอการต่อต้านชี วะอำนาจของ Mona Lilja และ Stellan จึงเป็นโอกาสและเพิ่มความเป็ นไปได้ในการต่อต้านกับชี วะอำนาจมากขึ้นและก้าวข้ามการต่ อต้านโดยไม่ใช่ความรุ นแรงแบบชาร์ปซึ่งมองอำนาจโดยมี ฐานทางทฤษฎีจากความยินยอม (Consent) นอกจากนี้ยังเป็นการต่อสู้ในพื้ นที่ของการครอบงำและใช้ประโยชน์ จากการครอบงำนั้นเพื่อท้าทาย ทำลาย บั่นทอน กัดเซาะความศักดิ์สิทธิ์ ของอำนาจ/วาทกรรมหลักซึ่ งทรงอำนาจนำในสังคมให้เสื่อมลง
กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่ อประชาธิปไตย
ภายหลังเหตุการณ์การสลายการชุ มนุมคนเสื้อแดง (Post Cracked Down) โดยเจ้าหน้าที่รัฐในปี 2553 บรรยากาศทางการเมืองถูกปิดตาย ตายไปพร้อมกับประชาชนที่ถูกสั งหารอย่างเลือดเย็นกลางเมื องหลวง กล่าวคือ สังคมถูกปกคลุมเต็มไปด้ วยความกลัว ความตึงเครียด ความขัดแย้งเสื้อสีและความรู้สึ กที่ไม่ได้รับความยุติ ธรรมจากการถูก “ฆ่า” โดยเจ้าหน้าที่รัฐ เหตุการณ์สลายการชุมนุมเป็นจุ ดเริ่มต้นของการทำกิ จกรรมทางการเมืองของกลุ่มนักศึ กษาที่สนใจการเมืองในธรรมศาสตร์
กลุ่มแรกๆที่ออกมาเคลื่อนไหวหลั งการสลายการชุมนุมคือ กลุ่มประชาคมธรรมศาสตร์คัดค้ านอำนาจนอกระบบ (TCAD) ซึ่งเป็นการรวมตัวของนักศึ กษาหลากหลายคณะจากทั้งท่าพระจั นทร์และรังสิต เป็นกลุ่มหลักที่ออกมาเคลื่ อนไหวรำลึกและเรียกร้องให้ปล่ อยนักโทษการเมือง ตั้งคำถามต่อการสลายการชุมนุ มของรัฐบาลอภิสิทธิ์ จนกระทั่งต้นปี 2554 สมาชิกจำนวนหนึ่งของ TCAD ได้แยกตัวออกมากลุ่มเดิมและตั้ งกลุ่มใหม่ในชื่อ กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่ อประชาธิปไตย หรือ League of Liberal Thammasat for Democracy (LLTD) ในวันที่ 20 มกราคม 2554 เพื่อเคลื่อนไหวในแนวทางของตนที่ แตกต่างออกไปจากเดิม ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่มกล่ าวถึงการแยกตัวว่า
“การแยกตัวออกจากกลุ่มเดิม (กลุ่มประชาคมธรรมศาสตร์คัดค้ านอำนาจนอกระบบ หรือ TCAD) ไปตั้งกลุ่มนักศึกษาใหม่เกิ ดจากแนวคิดการจัดกิจกรรมที่ไม่ ตรงกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจั ดการระเบียบภายในขององค์กร TCAD นั้นมีการแต่งตั้งตำแหน่งต่ างๆในการทำงานอาทิ ที่ปรึกษา เลขาธิการ ฯลฯ ปัญหาที่เกิดขึ้นคือคนมีตำแหน่ งจริงๆไม่ได้ทำงาน แต่สมาชิกใหม่ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ ปีหนึ่งปีสองในตอนนั้นกลับเป็ นคนทำงานหนักที่สุด ต่อมาพอแนวคิดไม่ตรงกัน สมาชิกเดิมที่ส่วนใหญ่เป็นรุ่ นพี่ที่เพิ่งเรียนจบไปก็ใช้ อำนาจตามตำแหน่งมาขัดขวางสิ่งที่ สมาชิกรุ่นใหม่อยากทำ และเมื่อสมาชิกที่ทำงานจริ งๆออกไปตั้งกลุ่มใหม่ TCAD ก็ฝ่อลงและหายไปในที่สุด”[14] ในขณะที่ บาส รัฐพล ศุภโสภณ สมาชิกกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่ อประชาธิปไตยได้กล่าวถึ งการแยกตัวจากกลุ่มเดิมและอิทธิ พลต่อการก่อตั้งกลุ่มว่า “หลังเกิดเหตุการณ์ปี 53 เป็นตัวจุดประกายให้สนใจการเมื อง อินมากกับเหตุการณ์ปี 53 มันกระตุ้นให้สนใจการเมืองอย่ างหนักและอยากทำกิจกรรมการเมื องอย่างมากเพื่อเรียกร้องความยุ ติธรรม ความเท่าเทียมในสังคม ตอนนั้นยังไม่ใช่ LLTD เป็น TCAD ตอนหลังจึงแยกตั วออกไปทำตามแนวทางที่แตกต่ างออกไป เหตุการณ์ปี 53 มีอิทธิพลอย่างแท้จริงต่อการเกิ ดกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีฯ” [15]
ดังนั้นในแง่ของปัจจัยและอิทธิ พลในการตั้งกลุ่ม LLTD ในฐานะกลุ่มการเมืองของนักศึกษา มธ.จึงมาจากเหตุการณ์ปี 53 และการแยกตัวออกจากกลุ่ม TCAD รวมถึง “ความเป็นธรรมศาสตร์”[16]อีกด้ วย
ดังนั้นในแง่ของปัจจัยและอิทธิ
กลุ่ม LLTD นั้นเป็นกลุ่มที่พยายามปฏิเสธ “ความเป็นซ้ายเก่า” และ “จารีตการเคลื่อนไหวแบบเดือนตุ ลา” ที่เรียกร้องในรูปแบบเดิมๆ ติดป้ายประท้วง ออกมาบนท้องถนน และไม่ได้รั บความสนใจจากประชาชน รวมถึงการจัดตั้งรูปแบบองค์กรที่ ไม่เชื่อในองค์กรทางการที่มีอยู่ เดิมและมีข้อจำกัดมากมายอย่ างเช่น องค์การนักศึกษามหาวิทยาลั ยธรรมศาสตร์ (อมธ.) หรือ สนนท. ปฏิเสธการแต่งตั้งตำแหน่ งภายในองค์กร รูปแบบการประชุมแบบเดิมๆ การจัดกิจกรรมแบบเดิมๆ ฟังเพลงเพื่อชีวิตซึ่งเชย ล้าสมัยมาก[17] กลุ่ม LLTD จึงต้องการก้าวข้ามความเป็นซ้ ายเก่าและจารีตแบบเดือนตุลา
กล่าวคือ มีการจัดตั้งองค์กรที่เป็นองค์ กรแนวระนาบ (Horizontal) ไม่มีตำแหน่งหัวหน้าหรือตำแหน่ งสำคัญในกลุ่ม ทุกคนล้วนมีสถานะเป็นสมาชิกกลุ่ มเท่าเทียมกัน[18] มีสถานะเป็นกลุ่มอิสระที่ไม่ขึ้ นตรงต่อมหาวิทยาลัยซึ่งทำให้มี ความอิสระและคล่องตัวในการเคลื่ อนไหวทำกิจกรรมการเมือง ที่สำคัญคือนำแนวคิดการตลาด (Marketing) การทำ Branding กลุ่มกิจกรรมทางการเมืองให้ ความสำคัญกับการวางแผนและเป้ าหมายก่อนดำเนินกิจกรรมเพื่อให้ การดำเนินกิจกรรมมีประสิทธิ ภาพสูงสุดและมีวิธีการระดมทุ นโดยนำเอาวิธี Crowdfunding มาใช้หารายได้ โดยรายได้หลักของกลุ่ มมาจากการขายเสื้อลายการเมืองซึ่ งปฏิเสธการเขียนโครงการขอทุ นจากองค์กรต่างๆเพื่อรั กษาความเป็นอิสระในการเคลื่ อนไหวของกลุ่ม[19] และมีต้องการสร้างพื้นที่ในสื่ อเพื่อให้เป็นที่รับรู้ในวงกว้ างมากขึ้นด้วย ทั้งสื่อกระแสหลักและโซเชียลมี เดีย เช่น Facebook เป็นกลุ่มแรกๆที่ให้ความสนใจกับ Facebook อย่างจริงจังในฐานะเครื่องมื อและช่องทางสื่อสารกิ จกรรมและความคิดของกลุ่มซึ่งมี ผลต่อการรับรู้ของคนอย่างกว้ างขวางมาก[20] มีการซื้อโฆษณาจาก Facebook เพื่อโปรโมทกิจกรรมต่างๆ มีการจัด charity party ใน theme การเมืองเพื่อระดมทุนทำกิ จกรรมของกลุ่ม มีการทำ viral video[21]
กล่าวคือ มีการจัดตั้งองค์กรที่เป็นองค์
นอกจากนี้กลุ่มยังให้ความสนใจกั บ Pop Culture ในฐานะวัฒนธรรมร่วมสมัย LLTD ใช้ Pop Culture มาล้อเลียน เสียดสีในลักษณะที่เป็นแฟลชม็อบ (Flash Mob) และ แฮปเพนนิ่ง (Happening) ซึ่งทำงานอยู่ในพื้นที่ทางวั ฒนธรรมมากกว่าบนท้องถนน โดยกลุ่ม LLTD มีเป้ามหมายคือ สร้างการรับรู้ ตระหนักรู้ (Awareness) รวมถึงการวิพากษ์ในประเด็นทางสั งคม การเมือง วัฒนธรรมออกสู่สาธารณะเพื่อจุ ดประกายให้ผู้คนสนใจและตั้ งคำถาม ถกเถียงจนนำไปสู่การแก้ไขปั ญหามากขึ้น รณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้ นฐานของประชาชน ต่อสู้กับความอยุติธรรม ความเท่าเทียมและรัฐบาลเผด็ จการเพื่อสร้างสังคมที่เป็นเสรี ประชาธิปไตย เป้าหมายที่สำคัญคือพยายามต่อสู้ ตอบโต้ ช่วงชิง ท้าทาย สั่นคลอนวาทกรรมหลักซึ่ งทรงอำนาจนำในสังคม (Hegemonic Discourse) นั่นคือ “ความเป็นไทย” [22] ในฐานะที่เป็นผลผลิตของ “ชีวะอำนาจ” (Biopower) ของรัฐไทยซึ่งเข้าไปกำกับ ควบคุม บงการ บริหารจัดการเรือนร่างและจิ ตใจของผู้คนซึ่งฝังรากลึกมาอย่ างยาวนาน ให้อ่อนกำลัง เสื่อมความศักดิ์สิทธิ์ จนวาทกรรมดังกล่าวไม่ สามารถทำงานได้อย่างปกติ รวมถึงสร้างวาทกรรมใหม่เพื่ อตอบโต้วาทกรรมหลัก (Counter-Hegemonic Discourse) และวัฒนธรรม คุณค่า ค่านิยมใหม่ๆ ซึ่งสอดคล้องกับคุณค่าและหลั กการของเสรีประชาธิปไตย กลุ่ม LLTD ถือเป็นภาคปฏิบัติการจริ งของการต่อสู้ ต่อต้านกับชีวะอำนาจที่แทรกซึม บริหารจัดการเรือนร่างและจิ ตใจของพลเมืองโดยไม่ใช้ความรุ นแรง (Non-Violent Action) ที่เป็นรูปธรรม
FREE SOMYOT : ธรรมศาสตร์ตายแล้วและเสี ยดายสมยศไม่ได้มางานบอล
นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 2475 เป็นต้นมา กษัตริย์มีพระราชอำนาจจำกัด ไม่มีอำนาจอธิปไตย ไม่มีอำนาจควบคุมกองทัพ “พระองค์ทรงมีพระบารมีสูงทางวั ฒนธรรมไทย แต่เดิมทว่ามิได้ทรงมีอำนาจอธิ ปไตยในทางการเมืองการปกครอง” จนกระทั่งหลัง 2490 อำนาจของสถาบันกษัตริย์เพิ่ มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องอันเป็ นผลมาจากความวิริยะอุ ตสาหะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวฯ รัชกาลที่ 9 ซึ่งพยายามสถาปนาพระราชอำนาจนำ (Royal Hegemony) ผ่านกลไกและสถาบันต่างๆของรัฐ[ 23] อันได้แก่ โครงการอันเนื่ องมาจากพระราชดำริ à เครือข่ายผู้จงรักภักดี à พระราชอำนาจนำ à น้อมนำสังคมไทย ทำให้พระองค์ทรงประสบความสำเร็ จอย่างที่สุดในทางการเมืองวั ฒนธรรม คือก้าวจากจุดที่ไร้ซึ่ งพระราชอำนาจนำ มาสู่การสถาปนาพระราชอำนาจนำ และ น้อมนำสังคมไทย พระราชดํารัสเป็นที่ยอมรับโดยดุ ษณีของพสกนิกรชาวไทย ทรงไว้ซึ่งสถานะอันสูงสุดเปรี ยบเสมือนเสาหลักของสังคมไทย เป็นที่รัก เคารพและเป็นศูนย์รวมจิ ตใจของคนไทยทั้งชาติ และพระองค์ทรงเป็นอัครปั ญญาชนสาธารณะแห่งความเป็ นไทยกระแสหลักอย่างแท้จริง[24]
เมื่อพระองค์ทรงประสบความสำเร็ จอย่างที่สุดในทางการเมืองวั ฒนธรรม ทรงไว้ซึ่งสถานะอันสูงสุดเปรี ยบเสมือนเสาหลักของสังคมไทย เป็นที่รัก เคารพและเป็นศูนย์รวมจิ ตใจของคนไทยทั้งชาติ ในแง่นี้ความเป็นไทยจึงรวมถึ งการเคารพ ศักการะ และถวายความจงรักภักดี จากประชาชนคนไทย กล่าวคือ การเป็นคนไทยหรือมีความเป็ นไทยที่สมบูรณ์นั้นคือการเป็นผู้ จงรักภักดีต่อสถาบันกษัตริย์อย่ างสุดใจโดยไม่สงสัยหรือตั้ งคำถาม อาจกล่าวได้ว่าสถาบันกษัตริย์ ได้กลายเป็นใจกลาง เสาหลัก จุดสูงสุดของความเป็นไทย ในแง่นี้ความเป็นไทยจึงเป็ นวาทกรรมซึ่งทรงอำนาจนำในสั งคมไทย (Hegemonic Discourse) ซึ่งเป็นผลผลิตของชีวะอำนาจ( Biopower) และเป็นสิ่งประดิษฐ์ของการเมื องวัฒนธรรมที่ครอบงำ ปกคลุม เข้าจัดการบริหาร บงการเรือนร่างและจิ ตใจของประชาชนชาวไทยให้กลายเป็ นร่างกายใต้บงการน้อมนำ สวมกอดความเป็นไทยเป็นส่วนหนึ่ งของชีวิตและประกอบสร้างอัตลั กษณ์ ตัวตนของความเป็นคนไทยขึ้นมาอย่ างสมบูรณ์
สิ่งซึ่งเป็นคู่ตรงข้ามกั บความเป็นไทยคือ ความไม่เป็นไทยซึ่งเป็นการละเมิ ดและขัดต่อความเป็นไทย ในที่นี้คือ การไม่จงรักภักดี ตั้งคำถาม สงสัย วิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์อั นเป็นใจกลางและจุดสูงสุ ดของความเป็นไทย จนนำไปสู่มาตรการในการจัดการกั บความไม่เป็นไทยเหล่านี้ ลดทอนความเป็นมนุษย์ (Dehumanization) ทำให้กลายเป็นปีศาจ (Demonization) และสร้างความเกลียดชังจนนำไปสู่ การใช้ความรุนแรงทางตรง (Direct action) ดังจะเห็นได้จากเหตุการณ์สั งหารหมู่ที่มหาวิทยาลั ยธรรมศาสตร์ 6 ตุลา 2519 สงครามกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่ งประเทศไทย และเหตุการณ์สลายการชุมนุมปี 2553 เป็นต้น
หลังการสลายการชุมนุมเมื่อปี 53 และการปรากฎตัวของ “ผังล้มเจ้า” ทำให้คนเสื้อแดงอยู่ในฐานะเหยื่ อ ปีศาจ และจำเลยของสังคมไทย คนเสื้อแดงถูกทำให้กลายเป็ นภาพตัวแทน (Representation) ของความไม่เป็นไทย หรือ “พวกล้มเจ้า” ผู้ไม่จงรักภักดี กล่าวคือ คนเสื้อแดง รวมถึงคนที่ตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ต่อสถาบันกษัตริ ย์ซึ่งมีสถานะเป็นเรื่องต้องห้ าม (Taboo) ในสังคมไทย การกระทำเช่นนี้จึงเป็นการละเมิ ดและขัดต่อความเป็นไทยอย่างร้ ายแรง เป็นภัยความมั่นคงต่อราชบัลลั งก์ และยังเป็นการท้าทาย สั่นคลอน บั่นทอนสถานะอันสูงสุ ดของพระมหากษัตริย์ซึ่งเปรี ยบเสมือนเสาหลักของสังคมไทย เป็นที่รัก เคารพและเป็นศูนย์รวมจิ ตใจของคนไทยทั้งชาติซึ่งเรียกร้ องให้ “คนไทย” ต้องเป็นผู้จงรักภักดีต่อสถาบั นกษัตริย์อย่างสุดใจโดยไม่สงสั ยหรือตั้งคำถาม
กฎหมายอาญามาตรา 112 ในฐานะกลไกและเครื่องมื อของความเป็นไทยถูกใช้เพื่อปกป้ อง พิทักษ์สถาบันกษัตริย์จากผู้ไม่ จงรักภักดี (ความไม่เป็นไทย) ในขณะเดียวกันก็พยายามกลืนกินผู้ คนซึ่งมีความเป็นไทยที่บกพร่ องหรือมีความไม่เป็นไทยนั้นให้ กลายมาเป็นผู้จงรักภักดีและมี ความเป็นไทยที่สมบูรณ์ ซึ่งมาตรา 112 นี้ทำงานและสร้างบนความกลั วของผู้คนในสองลักษณะคือ 1) เพราะความกลัวอันเกิ ดจากบทลงโทษจากตัวกฎหมายซึ่ งนำไปสู่การปิดกั้นตัวเอง (Censorship) 2) เพราะความกลัว(สูญเสีย)อันเกิ ดจากการละเมิดและขัดต่อสถาบั นกษัตริย์ซึ่งเป็นใจกลางและจุ ดสูงสุงของความเป็นไทยของเหล่ าผู้ไม่จงรักภักดีซึ่งนำไปสู่ มาตรการในการจัดการของคนไทยต่ อคนไท(ย) ผู้ไม่จงรักภักดีด้วยการสอดส่อง ตรวจตรา เฝ้าระวังการละเมิดและขัดต่ อความเป็นไทย ทำให้กลายเป็นสังคมที่มืดมิด บอดใบ้ ไร้แสงสว่างเป็นสังคมแห่ งความหวาดกลัวและการจ้องจับผิด ตรวจตรากันเองของคนไทย/ไท(ย)
ในแง่นี้การทำงานของมาตรา 112 จึงเป็นภาคปฏิบัติการของความเป็ นไทยในฐานะวาทกรรมซึ่ งทรงอำนาจนำ (Hegemonic Discourse) และเป็นผลผลิตของชีวะอำนาจ( Biopower) และความเป็นไทยรวมถึงมาตรา 112 ในฐานะกลไกและเครื่องมื อของความเป็นไทยนี้จะถูกใช้ในย่ ามที่เกิดวิกฤตศรัทธาหรือภัยคุ กคามความมั่นคงต่อสถาบัน
ในแง่นี้การทำงานของมาตรา 112 จึงเป็นภาคปฏิบัติการของความเป็
คดีของสมยศ พฤกษาเกษมสุข บก.นิตยสาร Voice of Taksin ซึ่งถูกดำเนินคดีหมิ่ นพระบรมเดชานุภาพฯ มาตรา 112 ได้จุ ดประกายและความสนใจในการออกมาเค ลื่อนไหวเรียกร้องประเด็นมาตรา 112 โดยกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่ อประชาธิปไตย (LLTD) ได้เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ งของคณะรณรงค์แก้ไขเพิ่มเติ มมาตรา 112 (ครก.112) โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความรั บรู้ ตระหนักรู้ในประเด็นมาตรา112 ให้กับประชาชน และแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ในช่วงนั้นการถกเถียง พูดคุยเกี่ยวกับมาตรา112 อันเป็นไปอย่างร้อนแรงและเป็ นประเด็นใหญ่ของสังคม จนกระทั่งมีมติของกรรมการบริ หารมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (กบม.)ในวันที่ 30 มกราคม 2550 ห้ามกลุ่มนิติราษฎร์ใช้สถานที่ ของมหาลัยจัดเสวนาทางวิชาการเกี่ ยวกับมาตรา112 ในวันที่ 2 และ 5 กุมภาพันธ์ 2550 กลุ่ม LLTD จึงได้จัดกิจกรรม “ธรรมศาสตร์ตายแล้ว”[25] มีการวางพวงหรีดที่รูปปั้ นอาจารย์ป๋วยที่รังสิต และอาจารย์ปรีดีที่ท่าพระจันทร์ และมีการส่องไฟใส่โดม เพื่อคัดค้านการห้ามรณรงค์แก้ มาตรา112 และเสียดสีความมืดมิด บอดใบ้ทางวิชาการของธรรมศาสตร์ ซึ่งไม่อาจเป็นสถานที่ซึ่ งแสวงหาแสงสว่างทางปัญญาไม่ได้ อีกต่อไป และเป็นการจำกัดเสรีภาพในมหาวิ ทยาลัยที่มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ วซึ่งเป็นการลดทอน ทำลานมาตราเสรีภาพของมหาวิทยาลั ยให้ต่ำลงจากมาตราที่เป็นอยู่ ต่อมานาย ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข (ไท) ลูกชายของสมยศ นักโทษการเมืองคดี มาตรา112 ได้อดอาหารประท้วงการไม่ให้สิ ทธิในการประกันตัวโดยอดอาหารเป็ นเวลา 112 ชั่วโม งซึ่งทำให้คดีมาตรา 112 เป็นที่สนใจและอยู่ในการรับรู้ ของประชาชนกระหลัก
รูปกิจกรรม”ธรรมศาสตร์ตายแล้ว”
ในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2556 กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีฯ (LLTD) ได้ร่วมกับกลุ่มประชาคมจุฬาเพื่ อประชาชน (CCP) จัดกิจกรรม “เสียดายสมยศไม่ได้มางานบอล” ในงานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์- จุฬา โดยใส่เสื้อดำ หน้ากากสมยศ พร้อมป้ายรณรงค์เกี่ยวกับ มาตรา112 เช่น “ยกเลิก ม.112 แล้วผมจะเล่าให้ฟัง” “สมยศอยู่ไหน? ” “FREE 112 Political Prisoner” และ “FREE SOMYOT” ฯลฯ เดินร่วมไปกับขบวน “ถนนนี้สีชมพู” ของจุฬาซึ่งเต็มไปด้วยนิสิตจุ ฬาที่ใส่เสื้อสีชมพูเพื่อร่ วมงานบอล พร้อมปราศรัยรณรงค์เกี่ยว ม.112 นักโทษการเมืองและสมยศ จากนั้นทั้งสองกลุ่มได้ร่วมกั นกางป้ายผ้าขนาดใหญ่บนอัฒจัรรย์ ในสนามศุภชลาศัยโดยมีข้อความว่า “FREE SOMYOT” ต่อหน้าประรำพิธีซึ่งมีองคมนตรี ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมาร่วมเปิ ดงานบอลฯ กลายเป็นที่จดจำและอยู่ ในความสนใจของผู้คนจำนวนมากเกี่ ยวมาตรา 112 นักโทษการเมืองและสมยศคือใคร ?
รูปกิจกรรมเดินขบวน “เสียดายสมยศไม่ได้มางานบอล” ในถนนนี้สีชมพู
รูปกิจกรรมกางป้ายผ้า FREE SOMYOT
จะเห็นได้ว่าการรณรงค์ประท้วงต่ อต้านประเด็นกฎหมายอาญามาตรา 112 ของกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีฯ ทั้งกิจกรรม “ธรรมศาสตร์ตายแล้ว” และ “เสียดายสมยศไม่ได้มางานบอล” เป็นกิจกรรมที่สร้างการตระหนั กรู้และการรับรู้ (Awareness) ต่อปัญหาการใช้ ม.112 อย่างกว้างขวางซึ่งทำให้สั งคมในระดับมหาวิทยาลัยและระดั บชาติหันมาสนใจและถกเถียงประเด็ นม.112 อย่างจริงจังมากขึ้นและยังชี้ ให้เห็นปัญหาในตัวของ ม.112 เอง ในฐานะที่เป็นกลไกและเครื่องมื อของความเป็นไทยที่ใช้อย่างพร่ำ เพื่อปกป้อง พิทักษ์สถาบันกษัตริย์อันเป็ นใจกลางและจุดสูงสุดของความเป็ นไทยจากกลุ่มคนที่ถูกนิยามว่ าเป็นคน “ล้มเจ้า” หรือผู้ไม่ความจงรักภักดี ตั้งคำถาม วิพากษ์วิจารณ์ต่อสถาบันกษัตริ ย์ซึ่งกลายเป็น “ผู้ที่ละเมิดและขัดต่อความเป็ นไทยอย่างร้ายแรง” รวมถึงยังเป็นได้เปิดพื้นที่สร้ างแสงสว่างทางปัญญาด้วยการถกเถี ยง วิพากษ์วิจารณ์ ตั้งคำถาม และสร้างการรับรู้ต่อความเป็ นไทยในประเด็นดังกล่าวซึ่ งเคยเป็นเรื่องต้องห้ามในสั งคมให้มาตรฐานทางเสรีภาพในการพู ด คิด แสดงออกสูงและเป็นไปได้มากขึ้ นทั้งในระดับมหาวิทยาลั ยและในระดับชาติ
นอกจากนี้ยังกลุ่มธรรมศาสตร์ เสรีฯ เสียดสีการปิดกั้นการเสวนาทางวิ ชาการในมหาวิทยาลัยซึ่งสะท้ อนความมืดมิด บอดใบ้ทางวิชาการของธรรมศาสตร์ ที่ไม่อาจทำหน้าที่เป็นสถานที่ ซึ่งแสวงหาแสงสว่างทางปัญญาอั นเป็นการจำกัดและทำให้ มาตรฐานทางเสรี ภาพของธรรมศาสตรตกต่ำ ลดลงอย่างที่ควรจะเป็น หากพินิจพิเคราะห์อย่างถี่ถ้ วนจะเห็นได้ว่ากลุ่มธรรมศาสตร์ เสรีฯ นั้นเป็นส่วนหนึ่งของความเป็ นธรรมศาสตร์ซึ่งมีอิทธิพลต่ อการก่อตัวของกลุ่มกิจกรรมนักศึ กษาในมหาวิทยาลัย ในขณะเดียวกันกลุ่มธรรมศาสตร์ เสรีฯ ก็ใช้ความเป็นธรรมศาสตร์ที่มี อยู่นั้นต่อสู้ ช่วงชิง กำกับ ควบคุม เรียกร้อง ต่อต้านการใช้อำนาจโดยมิ ชอบของมหาวิทยาลัยที่ขัดหรื อละเมิดต่อความเป็นธรรมศาสตร์นั้ นเสียเอง รวมถึงทำให้มาตรฐานทางเสรี ภาพในมหาวิทยาลัยลดลง ในแง่นี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีฯต่างก็ ฉวยใช้และผลิตซ้ำความเป็ นธรรมศาสตร์นี้อยู่ตลอดเวลา
ในขณะเดียวกันประท้วง ต่อต้านของกลุ่มธรรมศาสตร์เสรีฯ ในประเด็น ม.112 ก็เป็นการท้าทาย สั่นคลอน บั่นทอนพลังของความเป็นไทยอั นเป็นวาทกรรมซึ่งทรงอำนาจนำในสั งคมไทย (Hegemonic Discourse) ในฐานะที่เป็นผลผลิตของชี วะอำนาจ (Biopower) ของรัฐไทย ทั้งยังเปิดโปง เผยตัวตนของความเป็นไทยที่เป็ นวาทกรรมซึ่งทรงอำนาจนำและมี ฐานเป็น “ความรุนแรงเชิงสัญลักษณ์” ที่ปกปิด ซ้อนเร้นความโหดร้าย เลือดเย็นไว้ภายใต้ความปกติสามั ญ (Normalization) ให้อ่อนกำลังลงและไม่ สามารถทำงานได้อย่างปกติ หนำซ้ำการใช้ ม.112 อย่างพร่ำเพื่อนั้นยังทำให้รั ฐบาลไทยถูกกดดันจากองค์กรระหว่ างประเทศ[26] และทำให้มาตรฐานด้านสิทธิมนุ ษยชนของไทยตกต่ำ
ดังนั้นการประท้วงต่อต้านของกลุ่ มธรรมศาสตร์เสรีฯ ที่นอกจากจะพยายามเปิดพื้นที่ สร้างการรับรู้ การถกเถียง การตั้งคำถาม วิพากษ์ การขบถที่ท้าทาย สั่นคลอน บั่นทอนความเป็นไทย รวมถึงสถาปนาวาทกรรมตอบโต้ (Counter-Hegemonic Discourse) หรือสร้างวัฒนธรรมซึ่งสอดคล้ องกับคุณค่าและหลักการของเสรี ประชาธิปไตย ยังเป็นการพยายามสร้ างสภาวะภาคปฏิบัติ การปกครองของตัวเอง (Self Governed practice) ที่อัตบุคคล(Subject) สามารถต่อสู้ ต่อรอง ขบถ ไม่เชื่อฟัง ไม่ยอมรับ เลิกเชื่อต่อความเป็นไทยซึ่งมี ปัญหาและขัดขวาง ฉุดรั้งคุณค่าและหลักการของเสรี ประชาธิปไตยอันเป็นวาทกรรมซึ่ งทรงอำนาจนำในสังคมไทยและเป็ นผลผลิตของชีวะอำนาจที่ครอบงำ จัดการบริหารเรือนร่างและจิ ตใจของประชาชนด้วยการต่อสู้ ต่อรองกับความเป็นไทยอันเป็ นการต่อต้านชีวะอำนาจโดยไม่ใช้ ความรุนแรง (NonViolence Action) ที่ก้าวข้ามการต่อต้านโดยไม่ใช่ ความรุนแรงแบบ Sharp ซึ่งมองอำนาจโดยมีฐานทางทฤษฎี จากความยินยอม (Consent) และอำนาจกระจุกตัวอยู่ที่องค์ อธิปัตย์และผู้คน/สถาบันต่างๆที่ ให้การสนับสนุนซึ่งละเลยอำนาจที่ แทรกซึมเข้าไปจัดการบริหาร บงการเรือนร่างและจิตใจของพลเมื อง
ดังนั้นการประท้วงต่อต้านของกลุ่
เชิงอรรถ
[1] นักศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รหัสนักศึกษา 5603680033
[2] จันจิรา สมบัติพูนศิริ,2556, ทบทวนวรรณกรรมปฏิบัติการไร้ ความรุนแรง (nonviolent action) ในโลกตพวันตก : กระแสหลักการ ปฏิบัติ และทฤษฎี , รัฐศาสตร์สาร ปีที่ 34 ฉบับที่ 2,น.75-100
[3] Gene Sharp ,1973,The Politics of Non-Violent Action, Boston : Extending Horizons Books, Poter Sargent Publishes.p.28
[4] วีระ สมบูรณ์, 2553,รัฐ-ชาติ ชาติพันธุ์ : ข้อสังเกตบางประการว่าด้ วยความเป็นชาติความเป็นรัฐและปั ญหาชาติพันธุ์ ,กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สมมติ,น.1-118
[5] จันจิรา สมบัติพูนศิริ,2558,หัวร่อต่ ออำนาจ อารมณ์ขันและการประท้วงด้วยสั นติวิธี,กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มติชน ,น.43-44
[6] Stellan Vinthagen,2006,Power as Subordination and Resistance as Disobedience :Non-Violent Movement and the Management of Power, Asian Journal of Social Science ,Vol.34,No.1,p.5-6 , https://www.jstor.org/stable/ 23654397 (สืบค้นเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2559)
[7] ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร,2556,ภาษากั บการเมือง/ความเป็นการเมือง (Language and Politics/The Political),กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิภาษา,น.171-184 และ อานันท์ กาญจณพันธุ์,2555,คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์คิดอย่างวิพากษ์ จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุ ดเปลี่ยนของอัตตา,เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,น.72-78
[8] Stellan Vinthagen,2006,lbid,p.1-26 อ้างถึงใน จันจิรา สมบัติพูนศิริ,2556,เรื่องเดี ยวกัน
[9] เก่งกิจ กิติเรียงลาภและกาญจนานนท์ สันติสุข,2558,การเมืองชีวิต : ความสัมพันธ์ของการเมืองและชีวิ ตในงานของ Foucault,Agamben และ Deleuze ,Asean Annual Review อาเซียนปริทัศน์,น.84-90
[10] เรื่องเดียวกัน,น.90
[11] Mona Lilja and Stellan Vinthagen,2014, Sovereign power, disciplinary power and biopower: resisting what power with what resistance?, Journal of Political Power,Vol.7,No. 1,p.107-108
[12] Self Governed Practices นี่ไม่ได้มีนัยยะเหมือนกับการถู กจัดการบริหารเรือร่างโดยชี วะอำนาจ(Biopower)หรื อการปกครองแบบชีวญาณ (Governmenltality) หากแต่เป็นอัตตา (Self) ที่ตระหนักรู้ถึงอำนาจ/ วาทกรรมต่างๆที่ครอบงำเราอยู่ และสามารถต่อสู้ ต่อรองเพื่อปรับเปลี่ยนความสั มพันธ์เชิงอำนาจกับวาทกรรมนั้ นๆและเพื่อให้หลุดพ้นหรือไม่ จำเป็นต้องอยู่ภายใต้ การครอบงำของอำนาจ/วาทกรรมนั้ นอีกต่อไป
[13]lbid,p.120
[14] สัมภาษณ์ ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ ,30 ธันวาคม พ.ศ.2559
[15] สัมภาษณ์ นาย รัฐพล ศุภโสภณ,30 ธันวาคม พ.ศ.2559
[16] ความเป็นธรรมศาสตร์ ได้แก่ ความทรงจำร่วม ประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยซึ่ งเป็นประวัติศาสตร์แห่งการต่อสู้ ของนักศึกษาและเป็นผลผลิ ตของการปฏิวัติ 2475 เช่น การทวงคืนมหาลัยจากจอมพล.ป ในปี 2494 การเรียกร้องยกเลิกบังคับใส่ชุ ดนักศึกษา เหตุการณ์ 14 และ 6 ตุลา การร่วมชุมนุมในปี 2534 ภายใต้การนำของสนนท.โดยมีอ.ปริ ญญา เทวานฤมิตรกุลเป็น เลขาธิการ เป็นต้น มีความเป็นการเมือง และมีวาทกรรมต่างๆในมหาลัยซึ่ งเอื้อต่อการเคลื่ อนไหวทางการเมืองของนักศึกษา เช่น ธรรมศาสตร์มีเสรีภาพทุกตารางนิ้ ว ธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน ปลายทางที่เล่าเรียนคือรับใช้ ประชาชน เป็นต้น ดังนั้นผู้เขียนจึงคิดว่ าความเป็นธรรมศาสตร์นั้นเป็นส่ วนหนึ่งที่ทำให้เกิดกลุ่มกิ จกรรมการเมืองในธรรมศาสตร์ โดยนักศึกษาก็ฉวยใช้ความเป็ นธรรมศาสตร์เป็ นความชอบธรรมทางประเพณี ในการเคลื่อนไหวการเมืองขณะเดี ยวกันนักศึกษาก็ต่อสู้ ต่อรอง ช่วงชิงความเป็นธรรมศาสตร์นี้ เพื่อต่อต้านการละเมิดสิทธิเสรี ภาพของนักศึกษาอันทำให้ มาตรฐานเสรีภาพในมหาลัยลดลง รวมถึงการใช้อำนาจโดยมิชอบของผู้ บริหารมหาลัยซึ่งอาจขัดแย้ง ขัดขวาง ฉุดรั้งคุณค่าและหลักการของเสรี ประชาธิปไตย
[17] สัมภาษณ์ ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ ,30 ธันวาคม พ.ศ.2559
[18] กลุ่ม LLTD มีจุดร่วมกันคือ เห็นว่าเสรีภาพในการแสดงความคิ ดเห็น การแสดงออกทางการเมืองเป็นสิ่ งสำคัญและให้ความสำคัญกับสิทธิ เสรีภาพของปัจเจกซึ่งวางอยู่เป็ นแนวคิดเสรีนิยม (Liberalism) โปรดดูคำประกาศก่อตั้งกลุ่ มในเพจ กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่ อประชาธิปไตย https://www.facebook.com/LLTD. TU/
[19] สัมภาษณ์ ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ ,30 ธันวาคม พ.ศ.2559
[20] สัมภาษณ์ นาย รัฐพล ศุภโสภณ,30 ธันวาคม พ.ศ.2559
[21] สัมภาษณ์ ปราบ เลาหะโรจนพันธ์ ,30 ธันวาคม พ.ศ.2559
[22] ความเป็นไทยคือ ประดิษฐ์กรรมทางการเมืองวั ฒนธรรม (cultural political construct) เชื้อมูลที่ประกอบสร้างเอกลั กษณ์ความเป็นคนไทย โดยมีนัยยะถึงอัตลักษณ์ที่บ่ งบอกสถานะ ตัวตนของพลเมืองที่อยู่ ในประเทศไทย ในรายงานวิจัยชิ้นนี้สนใจในแง่ ที่เป็นวัฒนธรรม คุณค่า ค่านิยม จารีต ประเพณี พิธีกรรมที่ก่อร่างอัตลักษณ์ ตัวตน หรือ อัตตา (Self) ของคนไทยซึ่งความเป็นไทยนี้ขั ดแย้ง ขัดขวาง ฉุดรั้งและเป็นปฏิปักษ์ต่ อการสถาปนาระบอบเสรีประชาธิปไตย
[23] โปรดดู ชนิดา ชิตบัณฑิตย์,2550,โครงการอันเนื่ องมาจากพระราชดำริ : การสถาปนาพระราชอำนาจนำ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว, กรุเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์
[24] เกษียร เตชะพีระ,2548,บทวิจารณ์การสร้ าง “ความเป็นไทย” กระแสหลักฯ,ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 3 (ฉบับที่ 4)
[25] โปรดดู MGR Online,กลุ่ม มธ.เสรีฯ วางหรีดถูกปิดกั้นแก้ ม.112 นัดป่วน 5 ก.พ.อีก,ผู้จัดการ Manager, http://www.manager.co.th/ Politics/ViewNews.aspx?NewsID= 9550000015297 สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2559 และ อัษนัย ปัญญามัง,มธ.รังสิตวางพวงหรีดค้ านห้ามชุมนุม, voicetv , http://news.voicetv.co.th/ thailand/29744.html สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2559
[26] โปรดดูเพิ่มเติมใน วรางคณาง อุ๊ยนอก, 2013,แอมเนสตี้เปิ ดรายงานประจำปี ชี้ ม.112 ติดปัญหาสิทธิไทย 5 อันดับแรก,ประชาไท, http://prachatai.com/journal/ 2013/05/46878 สืบค้นเมื่อ 1 มกราคม 2560 และ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล,2013, รายงานประจำปี 2556 แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลสถานการณ์สิ ทธิมนุษยชนทั่วโลก,amnesty,http s://www.amnesty.org/download/ Documents/16000/ pol100012013th.pdf สืบค้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2560
หมายเหตุ: กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่
แสดงความคิดเห็น