เนเธอร์แลนด์ตั้งกองทุนช่วยสตรี คุมกำเนิด-ทำแท้ง อุดช่องว่างหลัง 'โดนัลด์ ทรัมป์' ตัดงบ
Posted: 26 Jan 2017 12:15 PM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
รัฐบาลเนเธอร์แลนด์ตั้งกองทุนช่ วยเหลือระหว่างประเทศเพื่อให้ ประชาชนในประเทศกำลังพัฒนาเข้ าถึงการคุมกำเนิดและการทำแท้อย่ างปลอดภัย ทดแทนช่องว่างทางนโยบายหลัง 'โดนัลด์ ทรัมป์' ออกคำสั่งห้ามองค์กรต่ างประเทศที่มีประเด็นทำแท้ง รับเงินทุนสนับสนุนจากองค์ กรวางแผนครอบครัวในสหรัฐฯ ขณะที่ออสเตรเลียเล็งอุดหนุนช่ วย
ลิเลียน พลูเมน รมว.กระทรวงพาณิชย์และการพั ฒนาของเนเธอร์แลนด์ ผู้แถลงว่ารัฐบาลเนเธอร์แลนด์ จะตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลื อประเทศกำลังพัฒนาให้เข้าถึ งอนามัยเจริญพันธุ์และการทำแท้ง ทดแทนช่องว่างที่รัฐบาลสหรั ฐอเมริกานำโดย โดนัลด์ ทรัมป์ ก่อไว้ (ที่มา: แฟ้มภาพ/กระทรวงการต่ างประเทศเนเธอร์แลนด์/Flickr)
27 ม.ค. 2560 หนึ่งในประเด็นที่ทำให้โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีคนใหม่ของสหรัฐฯ ถูกวิพากษ์วิจารณ์คือการที่ เขาออกนโยบายในเชิงกีดกันองค์ กรด้านสิทธิอนามัยเจริญพันธุ์ และการวางแผนครอบครัว ด้วยการวางกฎห้ามองค์กรนานาชาติ รับเงินทุนสนับสนุนจากองค์ กรวางแผนครอบครัวในสหรัฐฯ ถ้าหากมีการกล่าวถึงประเด็ นการทำแท้ง ซึ่งองค์กรด้านสิทธิอนามัยเจริ ญพันธุ์ในสหรัฐฯ อย่าง แพลนด์พาเรนฮูด (Planned Parenthood) ระบุว่าการนำกฎนี้กลับมาใช้อี กครั้งเป็นเรื่องโหดร้าย อันตราย ส่งผลต่อชีวิตของผู้หญิง
เรื่องนี้ทำให้รัฐบาลเนเธอร์ แลนด์ตอบโต้ด้วยการเปิ ดเผยแผนการจัดตั้งกองทุ นนานาชาติเพื่อให้ ประชาชนในประเทศกำลังพั ฒนาสามารถเข้าถึงการคุมกำเนิ ดและการทำแท้งได้ ทดแทนช่องว่างที่นโยบายของทรั มป์ก่อไว้
ลิเลียน พลูเมน รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์และการพั ฒนาของเนเธอร์แลนด์กล่ าวในแถลงการณ์ว่า "การสั่งห้ามการทำแท้งไม่ได้ส่ งผลให้การทำแท้งลดลง" แต่จะยิ่งทำให้มีการลักลอบทำแท้ งเถื่อนอย่างไร้ความรับผิ ดชอบเพิ่มมากขึ้น ส่งผลอันตรายมีโอกาสทำให้ผู้หญิ งเสียชีวิตมากขึ้น
องค์การอนามัยโลกประเมินว่ามีผู้ หญิงที่ยังทำแท้งแบบไม่ปลอดภั ยอยู่ราว 22 ล้านคนต่อปี ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลั งพัฒนา มีรายงานเมื่อปี 2551 ขององค์การอนามัยโลกระบุว่ามีผู้ หญิงราว 50,000 คนเสียชีวิตจากการทำแท้งที่ไม่ ปลอดภัยทุกปี
พลูเมนบอกอีกว่าการตัดสิ นใจของทรัมป์เสี่ยงต่ อการทำลายความก้าวหน้าในประเด็ นเรื่องสุขอนามัยสตรี เธอจะยอมให้เรื่องนี้เกิดขึ้ นไม่ได้จึงทดแทนด้วยการจัดตั้ งกองทุนที่ให้รัฐบาล ธุรกิจ และภาคประชาสังคมร่วมบริจาคได้ เพื่อให้ผู้หญิงยังคงมีสิทธิ ในการควบคุมเนื้อตัวร่ างกายของตัวเองได้
สื่อ SBS จากออสเตรเลียสัมภาษณ์รั ฐบาลออสเตรเลียว่าจะร่วมให้ทุ นสนับสนุนในเรื่องนี้ด้วยหรื อไม่ จูลี บิชฮฮป โฆษกกระทรวงต่างประเทศบอกว่ารั ฐบาลออสเตรเลียมีพันธะในการคุ้ มครองและส่งเสริมสิทธิอนามั ยเจริญพันธุ์ของผู้หญิง บิชฮอปกล่าววาการเข้าถึงสิทธิดั งกล่าวได้โดยเฉพาะสิทธิ ในการวางแผนครอบครัวถือเป็นเรื่ องสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้หญิ งมีพลังในตัวเอง ทำให้เกิดความเท่าเที ยมทางเพศมากขึ้น และลดอัตราการเสียชีวิตของแม่ และเด็ก
นโยบายกีดกันอนามัยเจริญพันธุ์ และการวางแผนครอบครัวดังกล่ าวเริ่มมีมาตั้งแต่สมั ยของประธานาธิบดี โรนัลด์ เรแกน ในปี 2527 ที่มีชื่อเล่นว่า "กฎหมายลิดรอนสิทธิ" (gag rule) มีการยกเลิกในสมัยประธานาธิบดี บิล คลินตัน ในปี 2536 กลับมาใช้อีกครั้งในสมัยจอร์จ ดับเบิลยู บุช ปี 2544 และถูกยกเลิกในสมัยบารัก โอบามา เมื่อปี 2552
แพลนด์พาเรนฮูดระบุว่ านอกจากกฎหมายนี้จะลิดรอนสิทธิ์ ในการเลือกของผู้หญิง ทำให้ผู้หญิงไร้ทางเลือกแล้ว ยังลิดรอนเสรี ภาพในการแสดงความคิดเห็ นของหมอและกลุ่มส่งเสริมอนามั ยเจริญพันธุ์ ทำให้ภาคประชาสั งคมโดยรวมในประเทศอ่อนแอลง และเคยมีการศึกษาวิจัยว่า "กฎหมายลิดรอนสิทธิ" เช่นนี้ยังทำให้คนเข้าถึงการคุ มกำเนิดได้ยากขึ้นจนแทนที่จะยิ่ งลดการทำแท้งกลับยิ่งทำให้ การทำแท้งเพิ่มมากขึ้นด้วย
นอกจากนี้ทรัมป์ยังเคยให้สั ญญาว่าจะแต่งตั้งผู้พิ พากษาศาลสูงเพื่อพลิกคดี Roe v. Wade อีกครั้ง ซึ่งก่อนหน้านี้คดีนี้เคยมี การตัดสินในลักษณะเอื้อต่ อการให้คนมีทางเลือกในการทำแท้ง จนส่งผลให้การทำแท้งในสหรัฐฯ เป็นเรื่องถูกกฎหมายตั้งแต่ปี 2516
เรียบเรียงจาก
The Netherlands to Counter Trump's "Global Gag Rule" With International Abortion Fund, Common Dreams, 25-01-2017
Trump Moves to Restrict Access to Reproductive Health Care Worldwide, Planned Parenthood
แสดงความคิดเห็น