ปรัชญาในฝรั่งเศสเริ่มจากตั้ งคำถาม ปรัชญาในไทยเริ่มจากจำคำตอบ
Posted: 27 Jan 2017 10:10 PM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
คุยเบาๆ เสาร์อาทิตย์กับคนเคยเรียนปรั ชญาที่ฝรั่งเศส ทำไมคนไทยฮือฮากับการเรียน การสอนปรัชญาให้แก่เด็กๆ ของที่นั่น ตอบปรัชญาในฝรั่งเศสเริ่มจากตั้ งคำถาม รู้จักคำตอบของคนอื่นก่อนหน้า พยายามตอบให้ดีกว่า ทำปรัชญาให้อยู่ในชีวิต ขณะปรัชญาในไทยเริ่มจากจำคำตอบ ถามแบบคนทำมาม่า เป็น Ultra-Pragmatism ซ้ำใช้พุทธศาสนาตอบทุกคำถาม
ถ้าทำโพลล์สำรวจนักศึกษามหาวิ ทยาลัยว่า วิชาพื้นฐานรหัส 101 ตัวไหนที่น่าเบื่อหน่ ายและชวนหาวนอนที่สุด เป็นไปได้ว่า ถ้าปรัชญาไม่ติดอันดับ 1 ก็คงติด 1 ใน 3 ไม่หลุดไปจากนี้ ความน่าเบื่อ ความไม่รู้เรื่อง ความสลับซับซ้อนของทฤษฎีของนั กปรัชญาชื่อจำยาก ความห่างไกลหลายปีแสงจากชีวิ ตเดินดิน ปรัชญาจึงเป็นยาขมต้องกล้ำกลื นผ่านคอ
ปรัชญาเป็นเรื่องของ ‘คำถาม’ ถามว่าปรัชญามันขมหรือการสอนปรั ชญามันฝืด
ไมเคิล เจ. แซนเดล อาจารย์ด้านปรัชญา มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด นักศึกษาแทบจะแย่งกันลงเรี ยนคลาสปรัชญาของเขา ไม่นับหนังสือขายดีของเขา บนแผงหนังสือภาษาอังกฤษ เราเห็นหนังสือปรัชญาหนาเตอะ จนถึงปรัชญาที่หยิบเอาซุปเปอร์ ฮีโร่ ซอมบี้ ความรัก เกย์ ฯลฯ มาสนทนา
หันมองชั้นหนังสือภาษาไทย ไม่ต้องนับการถูกชิงพื้นที่ให้ กับหลวงปู่ครูบาในหมวดศาสนา หนังสือปรัชญาในบ้านเราถือว่ าผลิตกันออกมาน้อยมาก และที่น้อยอยู่แล้วก็ดันเป็ นตำรับตำราเสียมากกว่า
“ช่วงที่ผมอยู่ที่นั่น มีความพยายามที่จะให้เด็กอนุ บาลเรียนปรัชญา ผมได้อ่านหนังสือเล่มหนึ่งของ Roger Pol-Droit ชื่อแปลเป็นไทยประมาณว่า ขอเพียงแต่กล้าพูดปรัชญากับเด็ก สิ่งที่น่าสนใจคือเวลาสอนปรั ชญาให้เด็กหรือพูดเรื่องปรั ชญากับเด็ก มันเป็นเรื่องธรรมชาติอยู่แล้ว เพราะเด็กมีคำถามทางปรัชญาอยู่ แล้ว เช่น เด็กถามคำถามว่าทำไมเราต้ องไปโรงเรียน ทำไมเราต้องกินข้าวบนโต๊ะ ทำไมต้องเชื่อฟัง เราจะเป็นผู้ใหญ่ได้อย่างไร ทำไมต้องมีลูก ทำไมเด็กร้องไห้ ถ้าเราตายแล้วจะเกิดอะไรขึ้น พระเจ้าอยู่ที่ไหน ทำไมมนุษย์ทำร้ายกันเอง นี่เป็นคำถามทางปรัชญาทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นการเรียนการสอนปรั ชญาไม่ได้ทำสิ่งที่ตรงกันข้ามกั บธรรมชาติของเด็ก ตรงกันข้ามถ้าเราไม่สอนเลยจะขั ดกับธรรมชาติของเด็ก”
คำบอกเล่าของรชฎ สาตราวุธ อาจารย์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้ผ่านการศึกษาประกาศนียบัตรชั้ นสูงด้านปรัชญาจากฝรั่งเศส
ห้วงยามที่ผ่านมา เราเห็นโพสต์และความคิดเห็นเกี่ ยวกับการเรียนการสอนปรัชญาให้ แก่เด็กๆ ในฝรั่งเศส หลายความเห็นต้องการเห็นสิ่งนี้ ในเมืองไทย ต้องการเห็นอุปนิสัยการตั้ งคำถามและมี Critical Mind ในเด็กๆ และเยาวชนไทย ...เรื่องใหญ่กันเลยทีเดียว
เราถึงต้องสนทนากับรชฎ ถามเขาว่าฝรั่งเศสสอนปรัชญากั นอย่างไร ต่างกับในเมืองไทยอย่างไร เขาตอบว่าสังคมไทยเวลาพูดถึงปรั ชญาคือการคิดถึงมันในฐานะทฤษฎี ทฤษฎีอันเป็นคำตอบของคำถาม ซ้ำร้ายคือเป็นคำตอบสุดท้าย เป็นคำตอบที่ถูกต้อง และไม่อนุญาตให้ถามต่อ ตรงข้ามกับฝรั่งเศสที่มองปรั ชญาเป็นคำถาม
คนฝรั่งเศสเริ่มการเรี ยนการสอนปรัชญาด้วยคำถามก่อน รชฎยกตัวอย่างจากหนังสือเกี่ ยวกับศาสนาเล่มหนึ่งที่ชื่นชอบ คำถามของหนังสืออันว่าด้ วยศาสนานี้กลับเริ่มด้วยการท้ าทายศาสนาอย่างแรงว่า ศาสนามีความจำเป็นอย่างไรในเมื่ อวิทยาศาสตร์ตอบคำถามทั้งหมดได้ แล้ว ศาสนาจำเป็นหรือเปล่า จำเป็นอย่างไร หรือมีคำถามใดบ้างที่วิ ทยาศาสตร์ตอบไม่ได้
“ถ้าเริ่มแบบนี้ สนุก แต่ถ้าตำราศาสนาในไทย โดยเฉพาะการเรียนการสอน จะเริ่มต้นว่าวัตถุประสงค์ในวั นนี้ต้องการให้รู้หลักนิพพาน รู้เรื่องศีลห้า ในแง่นี้เราสนใจศาสนาในแง่คำตอบ คำถามไม่สำคัญ สำคัญในแง่ที่ว่าเรามีข้อมู ลคำตอบมากเท่าไหร่
“เวลาถามเรื่องปรัชญาเมือง ฝรั่งเศสถามคำถามว่า ใครควรปกครองหรือเราควรถู กปกครองโดยใคร เราต้องเชื่อผู้ปกครองจริงหรื อเปล่า และที่นั่นจะดูว่าคำถามเหล่านี้ ถูกตอบโดยใคร และให้เราวิจารณ์ว่าคำตอบนั้นถู กหรือเปล่าและเราคิดอย่างไร เราเข้าข้างใคร เราเข้าข้างรุสโซหรือฮอบส์ หรือคนอื่น แต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้ นในประเทศไทย ผมคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ตรงกั นข้าม เราเห็นฮอบส์ รุสโซ เราเห็นนักปรัชญาทุกคน แต่เราเห็นในฐานะคำตอบ เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่มีคำถามเสี ยแล้ว หน้าที่ของเราคือจำว่านักปรั ชญาพูดอะไร แล้วก็มาเขียนตอบ จบ แต่ฝรั่งเศสไม่ใช่อย่างนั้น ฝรั่งเศสเริ่มจากคำถาม แล้วคุณตอบมันอย่างไร ผมคิดว่าตรงนี้สำคัญ”
ตลอดเวลาหลายพันปี ของอารยธรรมมนุษย์ พูดกันว่าคำถามพื้นฐานต่างๆ มีคนตั้ งคำถามและพยายามหาคำตอบกั นมาหมดแล้ว คนฝรั่งเศสจึงเชื่อว่าสิ่งที่ เราถาม ไม่ใช่เราคนเดียวที่ถาม ดังนั้น เราต้องกลับไปดูคำตอบของคนอื่นๆ ก่อนหน้า และพยายามตอบให้ดีกว่าที่คนอื่ นๆ เคยตอบ จะรู้คำตอบในอดีต วิชาประวัติศาสตร์และประวัติ ศาสตร์ปรัชญาจึงขาดไม่ได้
สังคมไทยเวลาพูดถึงปรัชญาคือการคิดถึงมันในฐานะทฤษฎี ทฤษฎีอันเป็นคำตอบของคำถาม ซ้ำร้ายคือเป็นคำตอบสุดท้าย เป็นคำตอบที่ถูกต้อง และไม่อนุญาตให้ถามต่อ ตรงข้ามกับฝรั่งเศสที่มองปรั ชญาเป็นคำถาม คนฝรั่งเศสเริ่มการเรี ยนการสอนปรัชญาด้วยคำถามก่อน
อีกหนึ่งข้อสำคัญ รชฎบอกว่า ปรัชญาในฝรั่งเศสไม่ได้ตั ดขาดจากเรื่องอื่นๆ ในชีวิต
“ยกตัวอย่าง ถ้าเราพูดถึงแนวคิดเรื่องเสรี ภาพของนักปรัชญาอย่างฌอง ปอล ซาร์ต จะมีคนจำนวนหนึ่งที่ไม่มีทางเข้ าใจปรัชญาของซาร์ต สิ่งที่ซาร์ตทำคือเขียนบทละครที่ เกี่ยวกับปรัชญาของเขา ที่อ่านแล้วเข้าใจได้ และทรงอิทธิพล สื่อสารปรัชญากับสาธารณะด้ วยวรรณคดี ดังนั้น คนฝรั่งเศสจะมีความชื่ นชอบวรรณคดีสูงมาก
“ขณะที่ในประเทศไทยจะมี ความสามารถในการจัดประเภทที่ชั ดเจน อันนี้เป็นปรัชญา ต้องอ่านอันนี้เท่านั้น อันอื่นไม่ใช่ปรัชญา ทิ้ง ถามว่ามีข้อดีข้อเสียหรือไม่ ก็คุยกันได้ แต่ของเรามีความชัดในการจั ดประเภท และเราลืมไปว่ามีของหลายอย่ างในโลกที่จัดประเภทไม่ได้”
บทสนทนาชักพาสู่คำถามว่า หรือสังคมไทยเป็นประเภท Pragmatism ปฏิบัตินิยม รชฎบอกว่าไม่ใช่ แต่เป็น Ultra-Pragmatism ที่เห็นคำตอบเป็นที่ตั้งและเป็ นคำตอบเดียวที่ถูก นอกจากจะตอบได้แล้ว ยังต้องปฏิบัติได้ด้วย ของที่ปฏิบัติไม่ได้ ไม่ใช่คำตอบของสังคมไทย
“สำหรับผม ผมคิดว่าความรู้ทุกอย่ างในประเทศไทย คนไทยถือเป็นสิ่งหลุดลอยไปหมด คงไม่ใช่แค่ปรัชญาเท่านั้น เพราะเราถามคำถามว่ามันใช้ได้ หรือเปล่า เราถามคำถามของคนทำมาม่า เราไม่ได้ถามความจริงของมัน คำถามที่เราถามมันสะท้อนจริ ตในการเข้าใจความรู้ของเรา
“ยกตัวอย่าง ภาคใต้มีปัญหาเรื่องราคายาง ผมยกคำถามนี้ขึ้นมาในคลาสปรั ชญาการเมืองที่ผมสอน คำถามที่คนไทยถามคือจะทำอย่ างไรให้ราคายางขึ้น แต่ถ้าฝรั่งเศสจะถามว่ าราคายางขึ้นยุติธรรมหรือเปล่า คำถามเกี่ยวกับราคายางคื อคำถามเรื่องความยุติธรรม ไม่ใช่เรื่องราคายางขึ้นหรื อเปล่า และคำถามเรื่องความยุติธรรมเป็ นคำถามเชิงปรัชญา”
รชฎไม่ได้เรียกร้องให้เร่งรี บสอนปรัชญาให้กับเด็กไทย เพียงเพราะอยากทำตามฝรั่งเศส แต่ควรเริ่มจากคำถาม (คำถามอีกแล้ว) ก่อนว่า เราอยากได้อะไรจากปรัชญา เราอยากให้เด็กถามคำถามอะไร และอะไรทำให้ฝรั่งเศสตัดสิ นใจสอนปรัชญาให้แก่เด็กๆ ฝรั่งเศสเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่ างไร เขาบอกข้อควรระวังว่า สังคมไทยไม่ควรเด็ดยอดโดยไม่รู้ ที่มาที่ไป เพราะมันอันตราย
“ถามว่าจะต้องสอนปรัชญาอย่ างไรให้แก่เด็ก สิ่งที่ห้ามทำคือห้ ามเอาคำถามทางปรัชญาไปใส่เด็ กโดยทันที แต่พัฒนาคำถามที่เด็กถามให้เป็ นคำถามเชิงปรัชญา ตรงนี้สำคัญ อย่าทำให้คำถามทางปรัชญาเป็ นคำถามยิ่งใหญ่ แล้วเหวี่ยงใส่หัวเด็ก ให้เด็กตอบคำถามนี้โดยพลัน แต่ต้องทำให้เด็กเห็นว่าคำถามที่ เขาถามนั่นแหละเป็นคำถามเชิงปรั ชญา แล้วเขาจะตอบมันอย่างไร ใครตอบอะไรไว้แล้วบ้าง”
รชฎทิ้งคำถามหักมุมไว้ด้วยว่า
“เผอิญผมได้คุยกับเพื่ อนชาวเดนมาร์ก เขาพูดน่าสนใจว่า เขาไม่เห็นด้วยกับการที่เด็กต้ องเรียนปรัชญา เพราะในสแกนดิเนเวียเด็กไม่ต้ องเรียนปรัชญา เด็กไปโรงเรียนเพื่อไปเล่นอย่ างเดียว คำถามคือการศึกษาในสแกนดิเนเวี ยดีกว่าในฝรั่งเศสใช่หรือไม่ ใช่ แต่ไม่แน่ใจว่าดีกว่าในแง่ไหน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการศึ กษาของฝรั่งเศสไม่ดี เขาก็มีดีของเขา แต่ถ้าเราพยายามจะทำให้เด็กเป็ นผู้ใหญ่เร็วที่สุดด้วยปรัชญา นี่คือคำถามที่เพื่อนชาวเดนมาร์ กถามผม ทำไมเราต้องรีบให้เด็กเป็นผู้ ใหญ่ด้วย”
นอกจากควรหาคำตอบของคำถามข้างต้ นให้เจอก่อนเริ่มสร้างการเรี ยนรู้ปรัชญาแก่เด็กๆ แล้ว ยังมีกำแพงอุปสรรคที่สูงใหญ่กว่ านั้นและน่าจะยากกว่ าการตอบคำถาม ข้อแรก-จะทำอย่างไรให้สั งคมไทยเห็นประโยชน์ของสิ่งที่ ใช้ไม่ได้ หรือเดินออกจากแนว Ultra-Pragmatism ข้อสอง-ซึ่งยากเย็นยิ่งกว่าข้ อแรกเป็นทวีคูณ...
“ในสังคมไทยมีวิธีคิดที่มี คำตอบรออยู่แล้วสำหรับคำถามเชิ งปรัชญาคือศาสนาพุทธ ศาสนาพุทธกลายเป็ นคำตอบของคำถามเชิงปรั ชญาไปหมดแล้ว ทำอย่างไรให้เราเห็นคำตอบอื่นที่ ไม่ใช่พุทธ”
แต่เดี๋ยวก่อน คำถามสุดท้ายของสุดท้ายจริ งของการสนทนาที่รชฎถาม ซึ่งเผลอๆ อาจเป็นคำถามที่เป็นจุดพลิกผั นของทุกคำถามของการเริ่มต้นสร้ างอุปนิสัยการตั้งคำถามและ Critical Mind ก็คือ
“จะทำยังไงให้ผู้ใหญ่ในสั งคมเราที่ยังเป็นเด็กให้กลายเป็ นผู้ใหญ่เสียที”
แสดงความคิดเห็น