สรยศ ประภาพันธ์
Posted: 20 Dec 2017 11:40 PM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์
‘อวสานซาวด์แมน’ หรือในชื่อภาษาอังกฤษ ‘Death of the Sound Man’ หนังสั้นล่าสุดของ สรยศ ประภาพันธ์ นักทำหนังอิสระและนักบันทึกเสียงในภาพยนตร์อิสระหลายเรื่อง คือหนังที่เดินสายเข้าประกวดในเทศกาลหนังนานาชาติตลอดปี 2560 นี้ ได้รับคัดเลือกให้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส ประเทศอิตาลี ได้รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม ในสายการประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียนยอดเยี่ยม และรางวัล Youth Jury Prize จากเทศกาลภาพยนตร์สิงคโปร์ ได้รางวัลหนังสั้นยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์สั้นนานาชาติ Ekadeshma ประเทศเนปาล ได้รางวัลชมเชยจากเทศกาลหนังสั้นนานาชาติ Kurzfilmtage Winterthur ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และคาดว่าหนังของเขาจะไม่หยุดเดินทางเพียงเท่านี้
ขณะได้รับรางวัลชมเชยที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นธรรมเนียมที่ต้องขึ้นไปกล่าวสปีชบนเวที สรยศเล่าให้ฟังว่า “เราพูดขอบคุณทีมงาน พูดตลกอะไรของเราไป แล้วเราก็บอกว่าเราจะขอพูดซีเรียสบ้าง พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศเรา แล้วเราก็พูดไม่ออก ภาษาอังกฤษเราพัง เลยเอามาเขียนสเตตัสแทน”
สเตตัสเฟสบุ๊กบางส่วนของเขาในวันที่ 14 พ.ย. 60 (แปลจากภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เอ็นจีโอนักทำหนังและนักบันทึกเสียงในหนังคนหนึ่งได้ถูกวิสามัญฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เขาจากไปและมีคนพูดกันว่าเขาเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติด พวกเราขอให้มีการเปิดบันทึกกล้องวงจรปิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่พวกเขาไม่ฟังเสียงของเรา ถ้าหากเรื่องนี้ไม่เกิดขึ้น ผมก็ยังจะทำหนังเรื่องนี้ แต่น่าเศร้าที่มันเกิดขึ้น ดังนั้นผมจึงใส่เสียงปืนเข้าไปในหนังเพื่อเตือนตัวเองว่าพวกเขาทำอะไรกับพวกเรา”
ประชาไทชวนคุยกับ สรยศ ประภาพันธ์ ในวัย 30 ปี ถึงเส้นทางการทำหนังเดินสายประกวดของเขา นับตั้งแต่หนังสั้นเรื่อง ‘บุญเริ่ม’ ‘ดาวอินดี้’ ‘ของฝากจากสวิตเซอร์แลนด์’ จนถึงปีที่แล้วกับ ‘รักษาดินแดน’ และล่าสุด ‘อวสานซาวด์แมน’ คุยเรื่อง “เสียง” ทั้งในฐานะนักบันทึกเสียงในภาพยนตร์และในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่รู้สึกว่า ‘เสียง’ ไม่ค่อยถูกได้ยินนัก ไปจนถึงประสบการณ์ในฐานะที่เขาเดินทางไปหลายประเทศพร้อมกับหนังของเขา
I.
ทำไมต้องเป็นเสียง?
เราเรียนเอกฟิล์มมา อยากเป็นผู้กำกับมาตลอดแต่ก็รู้ว่าทำเป็นงานเลี้ยงชีพไม่ได้ เพราะน้อยคนที่เป็นเด็กจบใหม่แล้วจะทำงานเป็นผู้กำกับได้เลย มันเป็นเรื่องฝีมือด้วย เรื่องคอนเนคชั่นด้วยผสมกัน หรืองานโฆษณา เราก็ไม่ถนัดกับศาสตร์ของงานโฆษณา เคยได้ยินมาด้วยว่าเวลาทำหนังโฆษณาจะต้องใช้เวลากับลูกค้าตั้งแต่ขั้น pre-production (ก่อนเริ่มถ่ายทำ) ไปจนถึงขั้นตัดต่อ ก็ต้องเอาให้ลูกค้าดู มันกินเวลาเยอะ
แต่ในขณะเดียวกันถ้าไปทำงานถ่ายทำ เช่น ทำซาวด์แมนกับกองโฆษณา ทำเช้าตอนเย็นรับเงิน ปวดหัวกับเขาแค่วันเดียว ค่าตัวก็จ่ายแบบแฟร์ๆ เลยคิดว่าถ้าไม่ใช่ผู้กำกับก็เป็นทีมงานในกองถ่ายนี่แหละเลี้ยงชีพได้
ตั้งแต่เรียนก็เลยเริ่มฝึกงานด้านเสียง เพราะพอเริ่มดูหนังเยอะขึ้นก็รู้สึกว่า เฮ้ย ภาพมันก็พอๆ กันหมด มันสวย แต่มู้ดแอนด์โทนมันไม่ออกเท่าเสียง หลับตาแล้วยังได้ยิน นึกภาพว่าเป็นภาพเดียวกันแต่ถอดเสียงออกแล้วใส่เสียงอื่น มู้ดแอนด์โทนมันก็เปลี่ยนไป เสียงมันเป็นตัวกำหนดทิศทางด้วยซ้ำ เช่น ภาพสนามหญ้าสีเขียว เอาเสียงออกก็จะเป็นมู้ดหนึ่ง ถ้าใส่เสียงเพลงก็ใช้เพลงเล่า ถ้าใส่เสียงคนคุยก็จะเป็นเสียงความจริง ณ โลเคชั่นนั้นเล่า มันคือภาพเดียวแต่เสียงมันใช้เล่าความหมายด้วย
ก็เลยไปฝึกงานด้านเสียง เอาจริงเอาจัง ออกกองเป็นคนทำเสียง ขั้น post-production (ขั้นตอนหลังการถ่ายทำ) ก็เป็นคนทำเสียง ไปช่วยกองลุงบุญมีระลึกชาติ (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, 2553) แล้วไปเจอซาวด์แมนของกองนี้ แล้วก็ค่อยๆ เรียนรู้จากพี่เขา บอกเขาว่า เรียกผมไปหน่อยอยากรู้เรื่องด้วย ไปทำงานกับเขาอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ค่อยไปออกกองเอง ไม่เลือกเลย ทำอะไรก็ได้ทั้งหนังทีวี โฆษณา หนังสั้น
เริ่มทำหนังของตัวเองเมื่อไหร่?
พอเป็นซาวด์แมนไปเรื่องมันก็อยากทำหนังแหละ แต่ไม่อยากใช้เงินตัวเอง ถ้ามูลนิธิหนังไทยมีอะไรให้สมัคร ได้ทุน เราก็สมัครเรื่อยๆ มันก็มีโปรเจกต์ ‘เกี่ยวก้อย’ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เขาให้คนที่เคยมีหนังฉายในโครงการส่งหนังเข้าร่วมได้ ซึ่งตอนนั้นเราบังเอิญทำหนังเรื่องก่อนแล้วได้ฉายในโครงการ เราก็สมัครแล้วก็ได้ ได้ทำเรื่อง ‘บุญเริ่ม’
บุญเริ่ม เป็นชื่อคนรับใช้ที่บ้าน เราเห็นแม่เราจิกใช้เขาตลอดเวลา บางทีก็เราเองด้วยแหละ เราก็เลยทำหนังเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปเลย
แล้วตอนนั้นเราก็เริ่มเอาจริงเอาจังกับการเป็นคนทำหนังอิสระ เห็นพวกพี่ๆ เขามีหนังฉายเทศกาลนู่นนี่ ตอนนั้นได้ไปเวิร์กช็อปต่างประเทศ ลองเอาไปให้เพื่อนต่างชาติดู เขาก็บอกว่า เฮ้ย ได้ เป็นไปได้ ลองส่งเทศกาลดู ก็สมัครไป แล้วก็ได้เรื่อยๆ ก็ได้ฉาย เอาจริงตอนนี้ก็ 40-50 เทศกาลได้ แต่ไม่ได้เงิน ไม่ได้เก็บค่าฉาย
จุดเริ่มต้นของหนัง ‘ดาวอินดี้’
มันมีหนังเรื่องหนึ่งของพี่นุช (พิมผกา โตวีระ) ได้ไปฉายที่ดูไบ มีผู้กำกับคนหนึ่งเห็นแล้วเขาชอบภาพของหนังมากก็เลยอยากทำงานกับทีมงานกลุ่มนี้ เราก็เลยได้ไปในฐานะทีมเสียง ทำแค่เดือนเดียวแต่เหมือนก่อร่างสร้างตัวได้ เหมือนไปค้าแรงงาน (หัวเราะ) พอกลับมาเราเลยกล้าซัดหนังสั้นด้วยเงินตัวเองเรื่องหนึ่งต่อเลย คือเรื่อง ‘ดาวอินดี้’ ฉายที่เทศกาลของมูลนิธิหนังไทยแล้วได้รางวัลชมเชย เกี่ยวกับนักแสดงหนังอิสระหญิงวัยกลางคนคนหนึ่งที่หนังกำลังจะได้ไปฉายต่างประเทศ ผู้กำกับก็ชวน เฮ้ย ป้าไปด้วยกัน แต่นักแสดงคนนี้ไม่เคยมีพาสปอร์ต ก็พูดว่าทำพาสปอร์ตทำวีซ่ายุโรปมันยากยังไง แล้วมันก็เป็นช่วงปีเดียวกับที่มีการประท้วงใหญ่จนมีการปิดสถานที่ทำพาสปอร์ตไปด้วย มันเลยมีเลเยอร์ของปัญหาในประเทศและต่างประเทศ คนยุโรปที่ไม่เคยทำวีซ่าเชงเก้นก็จะไม่เข้าใจว่ามันยากยังไง มีเลเยอร์ของคนจนในประเทศกำลังพัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้ว เราก็แฮปปี้กับผลของมัน ทุนน้อยกว่า ‘บุญเริ่ม’ อีก ถ่ายวันเดียวเสร็จ แต่ได้ไปเทศกาลต่อเนื่องมากขึ้น
‘ของฝากจากสวิตเซอร์แลนด์’
เราส่งตัวเองไปเวิร์กช็อปเรื่อยๆ ตั้งแต่ตอนหนังเรื่อง ‘บุญเริ่ม’ ได้เจอเพื่อนต่างประเทศ พอ ‘ดาวอินดี้’ ได้ไปฉายที่สวิตเซอร์แลนด์ เราก็เห่อเพราะทุกอย่างมันสวยงามไปหมด ก็เลย เอาวะ ถ่ายมั่วๆ ไปก่อน ก็ไปตั้งกล้องใช้ขาตั้งเล็กๆ แล้วก็นั่งไปเรื่อยๆ แต่ละที่ กดเรคคอร์ดสัก 5 นาที ไม่มีการเคลื่อนกล้อง
จนเพื่อนคนหนึ่งที่เจอในเวิร์กช็อปหลังไมค์มาบอกว่า อยู่สวิตเซอร์แลนด์เหรอ เราก็ เออ มันเป็นคนอัฟกานิสถานไม่ใช่เหรอวะ ทำไมมาอยู่สวิตเซอร์แลนด์ จนได้ไปเจอกัน มันก็เล่าให้ฟ้งว่ามันเป็นผู้อพยพ เพราะมันวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลตาลีบัน ก็นั่งคุยกับมันทั้งบ่าย
แล้วหลังจากเทศกาลหนัง เราก็นั่งรถไฟ แล้วอยู่ๆ มันก็คิดออก เราเห็นเป็นภาพวิวของสวิตฯ 7-8 ภาพ แล้วก็มีเสียงเรากลับไปคุยกับเพื่อนคนไทยว่า เฮ้ย กูไปสวิตเซอร์แลนด์มา กูไป Q&A มา คนแม่งขี้เหงาฉิบหาย แม่งแพงว่ะ แล้วอยู่ดีๆ ก็พลิก ถ้าสปอยล์หนังตัวเองก็คือ อยู่ดีๆ (น้ำเสียงเปลี่ยน) เออ กูไปเจอเพื่อนกูมา เพื่อนกูแม่งเป็นผู้อพยพเพราะโดนปัญหาเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกในบ้านตัวเอง เหมือนประเทศแถวไหนเนอะ ก็ว่ากันไป ก็เลยกลายเป็นหนังเรื่องนั้นแล้วได้ไปฉายในเทศกาลเรื่อยๆ อีกเรื่องหนึ่ง ชื่อ ‘ของฝากจากสวิตเซอร์แลนด์’
‘รักษาดินแดน’ (Fat Boy Never Slim)
จนหนังสวิตฯ หยุดเดินทาง เราก็เสี้ยนอยากไปเทศกาลอีกรอบหนึ่งก็เลยกัดฟันใช้เงินทำ ‘Fat Boy Never Slim’ เป็นเรื่องของเด็กอ้วนที่ต้องไปสอบเรียน รด. จิกกัดเสียดสีตามสไตล์เรา ซึ่งจริงๆ เป็นหนังสั้นที่เป็น side project ของหนังยาวของเราเรื่องหนึ่งซึ่งยังพักไว้อยู่
ภาพโดย จักรวาล นิลธำรงค์
II.
‘อวสานซาวด์แมน’ (Death of the Sound Man)
ปีนี้มันประจวบที่ว่า หมดรอบเดินทางของ Fat Boy ก็เลยทำ Sound Man เราอยากทำหนังเกี่ยวกับทีมงานอยู่แล้ว แล้วเราก็ต้องทำซาวด์ดิวะ “ทำหนังเกี่ยวกับเสียงในหนังกันเถอะ” นั่นคือสิ่งแรกที่คิด แล้วเราก็ติดนิสัยต้องใส่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศลงไปด้วย พูดแบบแย่ๆ ก็คือ มันจะได้ไม่เหมือนหนังยุโรปอันอื่น ถ้ามันพูดแต่เรื่องเสียงๆๆ ไปเลย มันก็จะไม่มีเลเยอร์ของการเมือง แต่เราก็เป็นคนรู้สึกกับการเมืองด้วยแหละ ไม่ใช่ไม่รู้สึกเลย แต่มันก็ไม่ใช่สาเหตุหลักให้เราทำหนัง
เสียงเราที่นี่มันไม่ค่อยมีคนฟัง เสียงมีสองแง่ คือเสียงในหนังด้วยกับเสียงที่เราพูดออกมาด้วย เราก็เลยคิดว่ามัน blend กันได้กับกิมมิกการฟัง แล้วก็ได้ไปฉายที่เทศกาลเวนิส เราไม่เคยได้ใหญ่ขนาดนี้
ชื่อหนัง
เราแค่เอาคำมาบิด จากอวสานเซลส์แมนเป็นอวสานซาวด์แมน เพราะมันได้คาแรกเตอร์หนังเราคือกวนตีน อันนี้เลเยอร์หนึ่ง อีกอันคือเราชอบพูดเวลาเราทำพลาด เวลาออกกองแล้วพลาด ลืมอัดซีนสำคัญ วันที่เราท้อ ช่วงที่เป็นวัยรุ่นอยู่ เราชอบกลับมาพิมพ์คำว่า “อวสานซาวด์แมน” แต่ความจริงก็คือเราทำหนังตลก
หนังที่เกี่ยวกับชัยภูมิ
ตอนแรกที่คิดจะทำหนังไม่ได้คิดถึง ตอนเขียนบทเขาก็ยังอยู่ แต่พอเขาตายเราอ่านชื่อเขาแล้วเราก็ เฮ้ย! มันชื่อคนในทีมงานหนังสั้นนี่หว่า แล้วเขาทำเสียงด้วย สุดท้ายก็ตัดสินใจใส่เสียงปืนเข้าไป เพราะมันเกิดขึ้นกับเขาแล้วเขาเป็นซาวด์แมน แค่นั้นแหละ จริงๆ ไม่ได้มีเหตุผลมากกว่านั้น เราไม่ได้อยากพูดว่าเราทำเพราะเขา เราจะทำอยู่แล้ว แต่ที่มันเหี้ยคือเขาเสือกซวยเกิดอะไรขึ้นแบบนั้น เราก็เลยทำส่วนนั้นเพิ่ม
เราเซ็งมาก เขาไม่ควรตาย เราบ่นกับตัวเองมากเลยนะว่าทำไมยังทำหนังการเมือง แต่ก็เพราะประเทศนี้มันยังมีเรื่องให้พูดถึงอยู่ มี material ให้พูดอยู่
แปลว่าถ้าเลือกได้ ไม่อยากทำหนังเกี่ยวกับการเมืองแล้ว?
รู้สึกว่ามันไม่ท้าทายความสามารถเรา ถ้าทำแล้วตัดเรื่องบริบทออก พูดถึงภาษาหนังเพียวๆ เลย สมมติเราไปดูหนังที่มันการเมืองมากๆ ของประเทศอิสราเอลเราก็ไม่เก็ต นึกออกมั้ย แล้วเรารู้สึกอยากขยายผู้ชมของเราให้เขาเก็ต โดยที่ยังเป็นหนังที่ดี แต่จริงๆ มันเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะ เออใช่ หนังมันคือมนุษย์ มนุษย์มันไม่ได้มีชีวิตแค่ในโรงหนัง
ช่วยขยายความเรื่องเสียงในหนังของคุณหน่อย?
เราอยากให้หนังเราพูดมากกว่า ซึ่งหนังเรายังไม่ฉาย (หัวเราะ) มันก็เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ศิลปะมันก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอยู่ และชีวิตประจำวันมันก็เกี่ยวข้องกับการเมือง ไปคุยกับคนทำหนังอียิปต์คนหนึ่ง ทำหนังส่วนตัวนะ เป็นผู้หญิง คนดำเนินรายการก็ถามว่ารู้สึกหนังคุณเป็นหนังการเมืองไหม เขาบอกว่า ไม่ว่าฉันจะกิน จะเข้าห้องน้ำ จะอึ มันก็เป็นการเมืองอยู่ดีแหละ เพราะมันก็คือสิทธิที่พลเมืองได้จากรัฐ คือเขาพูดดีมาก แต่หนังเขาแอ็บสแตรกแบบพูดอะไรไม่รู้ แต่เขาพูดถูกนะ สุดท้ายแล้วมันก็การเมืองในรูปแบบหนึ่งเสมอ
แล้วที่ทำเรื่องนี้ออกมาคาดหวังอะไรบ้าง
พูดจริงๆ ก็คืออยากเป็นคนทำหนังที่ success ในโลกใบนี้ โอเคเราก็อยากทำคอนเทนต์ แต่มันก็ไม่ใช่ทั้งหมด เรารู้สึกว่าเจตนาเราไม่ได้บริสุทธิ์ เป็นนักอุดมการณ์ขนาดนั้น แต่ถ้าตัดเรื่องนั้นทิ้งก็ใช่ เราอยากพูดถึงเสียง เสียงที่บางครั้งเราพูดไปมีคนฟังเหรอวะ และไม่ใช่แค่พูด บางทีเสียงที่ไม่ได้พูด เช่น การแสดงออกอื่นๆ นั่นแหละ มีคนสนใจมันเหรอวะ
การทำหนังของคุณมีความคิดเพื่ออยากเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ไหม?
ไม่นะ แต่เราอยากให้ประเทศนี้เปลี่ยนแปลง เราไม่ได้ทำหนังเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ แต่ถ้าพูดตรงๆ ก็คือทำหนังเพื่อด่าคนที่เราไม่เห็นด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นเป็นภาพต่อภาพ เหมือนได้ตบหน้ามึงแล้ว แต่มึงจะเปลี่ยนแปลงรึเปล่าไม่รู้
มีช่วงที่อึดอัดเกี่ยวกับการทำหนังในประเทศนี้มั้ย?
มีๆ แค่เซ็นเซอร์มันยังไม่ลงตัวเลย ก็เห็นอยู่ว่ามีหนังหลายเรื่องที่ติดกระบวนการเซ็นเซอร์ อย่าง Insects in the Backyard 7 ปี กว่าจะได้ฉาย จนผู้กำกับบางคนเลือกที่จะไม่ส่งหนังให้กองเซ็นเซอร์ ไม่ฉายก็ไม่ฉาย จนกว่าวันหนึ่งที่กูรู้สึกปลอดภัยกูถึงจะโอเค ส่งกองเซ็นเซอร์
การใส่ความเป็นการเมืองเข้าไปเป็นสิ่งที่ทำให้หนังเราได้เปรียบมากขึ้นไหม เหมือนทำให้หนังมีคุณค่ามากขึ้น
เอาจริงๆ คิด แต่ก็ต้องยอมรับว่า ไม่ใช่ว่าใครใส่แล้วคุณจะ success มันต้องใช้วิธีที่จริงใจด้วย วิธีที่เหมาะสมด้วย ไม่อย่างนั้นทุกคนก็แค่ใส่กันฟู่ฟ่าว แล้วก็ไปเดินพรมแดงกันทั่วโลก
แล้วที่คุณใส่เข้าไปในหนังแล้วคนชอบล่ะ มันคือวิธีอะไร
มุกตลก เรามั่นใจว่าเราตลก เราเล่นตลกกับความจริงเยอะ คนที่โดนเหมือนเรา พอผ่านมาได้มันก็มองว่า เชี่ย คนนี้แม่งเลวว่ะ อารมณ์ตลกร้าย
เล่าคร่าวๆ เกี่ยวกับหนัง ‘อวสานซาวด์แมน’ หน่อย
เกี่ยวกับซาวด์แมนสองคนไปอัดเสียง เวลาในกองถ่ายมันก็จะมีทุกตำแหน่ง แต่เวลาขั้น post-production ของแผนกเสียงก็จะมีแค่แผนกเสียงคุยกัน เสียงที่เราได้ยินในหนังมันเป็นเสียงที่เราทำกันใหม่บ้าง มาจากเซ็ตบ้าง เราอยากโชว์ว่า เสียงดูดน้ำเนี่ยมันก็เป็นเสียงที่เราทำกันใหม่ มันเลยเป็นเรื่องตั้งแต่ออกกองจนถึง post-production ติ๊ต่างว่าเป็นเราสมัยไปฝึกงานแล้วคุยกับพี่ที่ฝึกงาน มันก็จะมีคำถามโง่ๆ ว่า พี่ครับเสียงนี้อัดยังไง หนังก็จะคุยกันไปแบบนี้เรื่อยๆ แล้วก็โชว์ว่าอัดกันยังไง ซึ่งไม่อยากสปอยล์เพราะเรามั่นใจว่ามันตลกมาก (ยิ้ม)
คนไทยจะมีโอกาสได้ดูไหม
ได้แน่ๆ ก็คงส่งประกวดมูลนิธิหนังไทยปีหน้า
ภาพจากหนัง Death of the Sound Man
[full-post]
นัชชา ตันติวิทยาพิทักษ์
‘อวสานซาวด์แมน’ หรือในชื่อภาษาอังกฤษ ‘Death of the Sound Man’ หนังสั้นล่าสุดของ สรยศ ประภาพันธ์ นักทำหนังอิสระและนักบันทึกเสียงในภาพยนตร์อิสระหลายเรื่อง คือหนังที่เดินสายเข้าประกวดในเทศกาลหนังนานาชาติตลอดปี 2560 นี้ ได้รับคัดเลือกให้ฉายในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเวนิส ประเทศอิตาลี ได้รางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยม ในสายการประกวดภาพยนตร์สั้นอาเซียนยอดเยี่ยม และรางวัล Youth Jury Prize จากเทศกาลภาพยนตร์สิงคโปร์ ได้รางวัลหนังสั้นยอดเยี่ยมจากเทศกาลภาพยนตร์สั้นนานาชาติ Ekadeshma ประเทศเนปาล ได้รางวัลชมเชยจากเทศกาลหนังสั้นนานาชาติ Kurzfilmtage Winterthur ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และคาดว่าหนังของเขาจะไม่หยุดเดินทางเพียงเท่านี้
ขณะได้รับรางวัลชมเชยที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เป็นธรรมเนียมที่ต้องขึ้นไปกล่าวสปีชบนเวที สรยศเล่าให้ฟังว่า “เราพูดขอบคุณทีมงาน พูดตลกอะไรของเราไป แล้วเราก็บอกว่าเราจะขอพูดซีเรียสบ้าง พูดถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศเรา แล้วเราก็พูดไม่ออก ภาษาอังกฤษเราพัง เลยเอามาเขียนสเตตัสแทน”
สเตตัสเฟสบุ๊กบางส่วนของเขาในวันที่ 14 พ.ย. 60 (แปลจากภาษาอังกฤษ) กล่าวว่า “เมื่อต้นปีที่ผ่านมา เอ็นจีโอนักทำหนังและนักบันทึกเสียงในหนังคนหนึ่งได้ถูกวิสามัญฆาตกรรมโดยเจ้าหน้าที่รัฐ เขาจากไปและมีคนพูดกันว่าเขาเกี่ยวข้องกับขบวนการค้ายาเสพติด พวกเราขอให้มีการเปิดบันทึกกล้องวงจรปิดเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่พวกเขาไม่ฟังเสียงของเรา ถ้าหากเรื่องนี้ไม่เกิดขึ้น ผมก็ยังจะทำหนังเรื่องนี้ แต่น่าเศร้าที่มันเกิดขึ้น ดังนั้นผมจึงใส่เสียงปืนเข้าไปในหนังเพื่อเตือนตัวเองว่าพวกเขาทำอะไรกับพวกเรา”
ประชาไทชวนคุยกับ สรยศ ประภาพันธ์ ในวัย 30 ปี ถึงเส้นทางการทำหนังเดินสายประกวดของเขา นับตั้งแต่หนังสั้นเรื่อง ‘บุญเริ่ม’ ‘ดาวอินดี้’ ‘ของฝากจากสวิตเซอร์แลนด์’ จนถึงปีที่แล้วกับ ‘รักษาดินแดน’ และล่าสุด ‘อวสานซาวด์แมน’ คุยเรื่อง “เสียง” ทั้งในฐานะนักบันทึกเสียงในภาพยนตร์และในฐานะประชาชนคนหนึ่งที่รู้สึกว่า ‘เสียง’ ไม่ค่อยถูกได้ยินนัก ไปจนถึงประสบการณ์ในฐานะที่เขาเดินทางไปหลายประเทศพร้อมกับหนังของเขา
I.
ทำไมต้องเป็นเสียง?
เราเรียนเอกฟิล์มมา อยากเป็นผู้กำกับมาตลอดแต่ก็รู้ว่าทำเป็นงานเลี้ยงชีพไม่ได้ เพราะน้อยคนที่เป็นเด็กจบใหม่แล้วจะทำงานเป็นผู้กำกับได้เลย มันเป็นเรื่องฝีมือด้วย เรื่องคอนเนคชั่นด้วยผสมกัน หรืองานโฆษณา เราก็ไม่ถนัดกับศาสตร์ของงานโฆษณา เคยได้ยินมาด้วยว่าเวลาทำหนังโฆษณาจะต้องใช้เวลากับลูกค้าตั้งแต่ขั้น pre-production (ก่อนเริ่มถ่ายทำ) ไปจนถึงขั้นตัดต่อ ก็ต้องเอาให้ลูกค้าดู มันกินเวลาเยอะ
แต่ในขณะเดียวกันถ้าไปทำงานถ่ายทำ เช่น ทำซาวด์แมนกับกองโฆษณา ทำเช้าตอนเย็นรับเงิน ปวดหัวกับเขาแค่วันเดียว ค่าตัวก็จ่ายแบบแฟร์ๆ เลยคิดว่าถ้าไม่ใช่ผู้กำกับก็เป็นทีมงานในกองถ่ายนี่แหละเลี้ยงชีพได้
ตั้งแต่เรียนก็เลยเริ่มฝึกงานด้านเสียง เพราะพอเริ่มดูหนังเยอะขึ้นก็รู้สึกว่า เฮ้ย ภาพมันก็พอๆ กันหมด มันสวย แต่มู้ดแอนด์โทนมันไม่ออกเท่าเสียง หลับตาแล้วยังได้ยิน นึกภาพว่าเป็นภาพเดียวกันแต่ถอดเสียงออกแล้วใส่เสียงอื่น มู้ดแอนด์โทนมันก็เปลี่ยนไป เสียงมันเป็นตัวกำหนดทิศทางด้วยซ้ำ เช่น ภาพสนามหญ้าสีเขียว เอาเสียงออกก็จะเป็นมู้ดหนึ่ง ถ้าใส่เสียงเพลงก็ใช้เพลงเล่า ถ้าใส่เสียงคนคุยก็จะเป็นเสียงความจริง ณ โลเคชั่นนั้นเล่า มันคือภาพเดียวแต่เสียงมันใช้เล่าความหมายด้วย
ก็เลยไปฝึกงานด้านเสียง เอาจริงเอาจัง ออกกองเป็นคนทำเสียง ขั้น post-production (ขั้นตอนหลังการถ่ายทำ) ก็เป็นคนทำเสียง ไปช่วยกองลุงบุญมีระลึกชาติ (อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล, 2553) แล้วไปเจอซาวด์แมนของกองนี้ แล้วก็ค่อยๆ เรียนรู้จากพี่เขา บอกเขาว่า เรียกผมไปหน่อยอยากรู้เรื่องด้วย ไปทำงานกับเขาอยู่พักหนึ่ง แล้วก็ค่อยไปออกกองเอง ไม่เลือกเลย ทำอะไรก็ได้ทั้งหนังทีวี โฆษณา หนังสั้น
เริ่มทำหนังของตัวเองเมื่อไหร่?
พอเป็นซาวด์แมนไปเรื่องมันก็อยากทำหนังแหละ แต่ไม่อยากใช้เงินตัวเอง ถ้ามูลนิธิหนังไทยมีอะไรให้สมัคร ได้ทุน เราก็สมัครเรื่อยๆ มันก็มีโปรเจกต์ ‘เกี่ยวก้อย’ เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน เขาให้คนที่เคยมีหนังฉายในโครงการส่งหนังเข้าร่วมได้ ซึ่งตอนนั้นเราบังเอิญทำหนังเรื่องก่อนแล้วได้ฉายในโครงการ เราก็สมัครแล้วก็ได้ ได้ทำเรื่อง ‘บุญเริ่ม’
บุญเริ่ม เป็นชื่อคนรับใช้ที่บ้าน เราเห็นแม่เราจิกใช้เขาตลอดเวลา บางทีก็เราเองด้วยแหละ เราก็เลยทำหนังเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปเลย
แล้วตอนนั้นเราก็เริ่มเอาจริงเอาจังกับการเป็นคนทำหนังอิสระ เห็นพวกพี่ๆ เขามีหนังฉายเทศกาลนู่นนี่ ตอนนั้นได้ไปเวิร์กช็อปต่างประเทศ ลองเอาไปให้เพื่อนต่างชาติดู เขาก็บอกว่า เฮ้ย ได้ เป็นไปได้ ลองส่งเทศกาลดู ก็สมัครไป แล้วก็ได้เรื่อยๆ ก็ได้ฉาย เอาจริงตอนนี้ก็ 40-50 เทศกาลได้ แต่ไม่ได้เงิน ไม่ได้เก็บค่าฉาย
จุดเริ่มต้นของหนัง ‘ดาวอินดี้’
มันมีหนังเรื่องหนึ่งของพี่นุช (พิมผกา โตวีระ) ได้ไปฉายที่ดูไบ มีผู้กำกับคนหนึ่งเห็นแล้วเขาชอบภาพของหนังมากก็เลยอยากทำงานกับทีมงานกลุ่มนี้ เราก็เลยได้ไปในฐานะทีมเสียง ทำแค่เดือนเดียวแต่เหมือนก่อร่างสร้างตัวได้ เหมือนไปค้าแรงงาน (หัวเราะ) พอกลับมาเราเลยกล้าซัดหนังสั้นด้วยเงินตัวเองเรื่องหนึ่งต่อเลย คือเรื่อง ‘ดาวอินดี้’ ฉายที่เทศกาลของมูลนิธิหนังไทยแล้วได้รางวัลชมเชย เกี่ยวกับนักแสดงหนังอิสระหญิงวัยกลางคนคนหนึ่งที่หนังกำลังจะได้ไปฉายต่างประเทศ ผู้กำกับก็ชวน เฮ้ย ป้าไปด้วยกัน แต่นักแสดงคนนี้ไม่เคยมีพาสปอร์ต ก็พูดว่าทำพาสปอร์ตทำวีซ่ายุโรปมันยากยังไง แล้วมันก็เป็นช่วงปีเดียวกับที่มีการประท้วงใหญ่จนมีการปิดสถานที่ทำพาสปอร์ตไปด้วย มันเลยมีเลเยอร์ของปัญหาในประเทศและต่างประเทศ คนยุโรปที่ไม่เคยทำวีซ่าเชงเก้นก็จะไม่เข้าใจว่ามันยากยังไง มีเลเยอร์ของคนจนในประเทศกำลังพัฒนากับประเทศที่พัฒนาแล้ว เราก็แฮปปี้กับผลของมัน ทุนน้อยกว่า ‘บุญเริ่ม’ อีก ถ่ายวันเดียวเสร็จ แต่ได้ไปเทศกาลต่อเนื่องมากขึ้น
‘ของฝากจากสวิตเซอร์แลนด์’
เราส่งตัวเองไปเวิร์กช็อปเรื่อยๆ ตั้งแต่ตอนหนังเรื่อง ‘บุญเริ่ม’ ได้เจอเพื่อนต่างประเทศ พอ ‘ดาวอินดี้’ ได้ไปฉายที่สวิตเซอร์แลนด์ เราก็เห่อเพราะทุกอย่างมันสวยงามไปหมด ก็เลย เอาวะ ถ่ายมั่วๆ ไปก่อน ก็ไปตั้งกล้องใช้ขาตั้งเล็กๆ แล้วก็นั่งไปเรื่อยๆ แต่ละที่ กดเรคคอร์ดสัก 5 นาที ไม่มีการเคลื่อนกล้อง
จนเพื่อนคนหนึ่งที่เจอในเวิร์กช็อปหลังไมค์มาบอกว่า อยู่สวิตเซอร์แลนด์เหรอ เราก็ เออ มันเป็นคนอัฟกานิสถานไม่ใช่เหรอวะ ทำไมมาอยู่สวิตเซอร์แลนด์ จนได้ไปเจอกัน มันก็เล่าให้ฟ้งว่ามันเป็นผู้อพยพ เพราะมันวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลตาลีบัน ก็นั่งคุยกับมันทั้งบ่าย
แล้วหลังจากเทศกาลหนัง เราก็นั่งรถไฟ แล้วอยู่ๆ มันก็คิดออก เราเห็นเป็นภาพวิวของสวิตฯ 7-8 ภาพ แล้วก็มีเสียงเรากลับไปคุยกับเพื่อนคนไทยว่า เฮ้ย กูไปสวิตเซอร์แลนด์มา กูไป Q&A มา คนแม่งขี้เหงาฉิบหาย แม่งแพงว่ะ แล้วอยู่ดีๆ ก็พลิก ถ้าสปอยล์หนังตัวเองก็คือ อยู่ดีๆ (น้ำเสียงเปลี่ยน) เออ กูไปเจอเพื่อนกูมา เพื่อนกูแม่งเป็นผู้อพยพเพราะโดนปัญหาเรื่องเสรีภาพในการแสดงออกในบ้านตัวเอง เหมือนประเทศแถวไหนเนอะ ก็ว่ากันไป ก็เลยกลายเป็นหนังเรื่องนั้นแล้วได้ไปฉายในเทศกาลเรื่อยๆ อีกเรื่องหนึ่ง ชื่อ ‘ของฝากจากสวิตเซอร์แลนด์’
‘รักษาดินแดน’ (Fat Boy Never Slim)
จนหนังสวิตฯ หยุดเดินทาง เราก็เสี้ยนอยากไปเทศกาลอีกรอบหนึ่งก็เลยกัดฟันใช้เงินทำ ‘Fat Boy Never Slim’ เป็นเรื่องของเด็กอ้วนที่ต้องไปสอบเรียน รด. จิกกัดเสียดสีตามสไตล์เรา ซึ่งจริงๆ เป็นหนังสั้นที่เป็น side project ของหนังยาวของเราเรื่องหนึ่งซึ่งยังพักไว้อยู่
II.
‘อวสานซาวด์แมน’ (Death of the Sound Man)
ปีนี้มันประจวบที่ว่า หมดรอบเดินทางของ Fat Boy ก็เลยทำ Sound Man เราอยากทำหนังเกี่ยวกับทีมงานอยู่แล้ว แล้วเราก็ต้องทำซาวด์ดิวะ “ทำหนังเกี่ยวกับเสียงในหนังกันเถอะ” นั่นคือสิ่งแรกที่คิด แล้วเราก็ติดนิสัยต้องใส่สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศลงไปด้วย พูดแบบแย่ๆ ก็คือ มันจะได้ไม่เหมือนหนังยุโรปอันอื่น ถ้ามันพูดแต่เรื่องเสียงๆๆ ไปเลย มันก็จะไม่มีเลเยอร์ของการเมือง แต่เราก็เป็นคนรู้สึกกับการเมืองด้วยแหละ ไม่ใช่ไม่รู้สึกเลย แต่มันก็ไม่ใช่สาเหตุหลักให้เราทำหนัง
เสียงเราที่นี่มันไม่ค่อยมีคนฟัง เสียงมีสองแง่ คือเสียงในหนังด้วยกับเสียงที่เราพูดออกมาด้วย เราก็เลยคิดว่ามัน blend กันได้กับกิมมิกการฟัง แล้วก็ได้ไปฉายที่เทศกาลเวนิส เราไม่เคยได้ใหญ่ขนาดนี้
ชื่อหนัง
เราแค่เอาคำมาบิด จากอวสานเซลส์แมนเป็นอวสานซาวด์แมน เพราะมันได้คาแรกเตอร์หนังเราคือกวนตีน อันนี้เลเยอร์หนึ่ง อีกอันคือเราชอบพูดเวลาเราทำพลาด เวลาออกกองแล้วพลาด ลืมอัดซีนสำคัญ วันที่เราท้อ ช่วงที่เป็นวัยรุ่นอยู่ เราชอบกลับมาพิมพ์คำว่า “อวสานซาวด์แมน” แต่ความจริงก็คือเราทำหนังตลก
หนังที่เกี่ยวกับชัยภูมิ
ตอนแรกที่คิดจะทำหนังไม่ได้คิดถึง ตอนเขียนบทเขาก็ยังอยู่ แต่พอเขาตายเราอ่านชื่อเขาแล้วเราก็ เฮ้ย! มันชื่อคนในทีมงานหนังสั้นนี่หว่า แล้วเขาทำเสียงด้วย สุดท้ายก็ตัดสินใจใส่เสียงปืนเข้าไป เพราะมันเกิดขึ้นกับเขาแล้วเขาเป็นซาวด์แมน แค่นั้นแหละ จริงๆ ไม่ได้มีเหตุผลมากกว่านั้น เราไม่ได้อยากพูดว่าเราทำเพราะเขา เราจะทำอยู่แล้ว แต่ที่มันเหี้ยคือเขาเสือกซวยเกิดอะไรขึ้นแบบนั้น เราก็เลยทำส่วนนั้นเพิ่ม
เราเซ็งมาก เขาไม่ควรตาย เราบ่นกับตัวเองมากเลยนะว่าทำไมยังทำหนังการเมือง แต่ก็เพราะประเทศนี้มันยังมีเรื่องให้พูดถึงอยู่ มี material ให้พูดอยู่
แปลว่าถ้าเลือกได้ ไม่อยากทำหนังเกี่ยวกับการเมืองแล้ว?
รู้สึกว่ามันไม่ท้าทายความสามารถเรา ถ้าทำแล้วตัดเรื่องบริบทออก พูดถึงภาษาหนังเพียวๆ เลย สมมติเราไปดูหนังที่มันการเมืองมากๆ ของประเทศอิสราเอลเราก็ไม่เก็ต นึกออกมั้ย แล้วเรารู้สึกอยากขยายผู้ชมของเราให้เขาเก็ต โดยที่ยังเป็นหนังที่ดี แต่จริงๆ มันเป็นไปไม่ได้หรอก เพราะ เออใช่ หนังมันคือมนุษย์ มนุษย์มันไม่ได้มีชีวิตแค่ในโรงหนัง
ช่วยขยายความเรื่องเสียงในหนังของคุณหน่อย?
เราอยากให้หนังเราพูดมากกว่า ซึ่งหนังเรายังไม่ฉาย (หัวเราะ) มันก็เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน ศิลปะมันก็เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันอยู่ และชีวิตประจำวันมันก็เกี่ยวข้องกับการเมือง ไปคุยกับคนทำหนังอียิปต์คนหนึ่ง ทำหนังส่วนตัวนะ เป็นผู้หญิง คนดำเนินรายการก็ถามว่ารู้สึกหนังคุณเป็นหนังการเมืองไหม เขาบอกว่า ไม่ว่าฉันจะกิน จะเข้าห้องน้ำ จะอึ มันก็เป็นการเมืองอยู่ดีแหละ เพราะมันก็คือสิทธิที่พลเมืองได้จากรัฐ คือเขาพูดดีมาก แต่หนังเขาแอ็บสแตรกแบบพูดอะไรไม่รู้ แต่เขาพูดถูกนะ สุดท้ายแล้วมันก็การเมืองในรูปแบบหนึ่งเสมอ
แล้วที่ทำเรื่องนี้ออกมาคาดหวังอะไรบ้าง
พูดจริงๆ ก็คืออยากเป็นคนทำหนังที่ success ในโลกใบนี้ โอเคเราก็อยากทำคอนเทนต์ แต่มันก็ไม่ใช่ทั้งหมด เรารู้สึกว่าเจตนาเราไม่ได้บริสุทธิ์ เป็นนักอุดมการณ์ขนาดนั้น แต่ถ้าตัดเรื่องนั้นทิ้งก็ใช่ เราอยากพูดถึงเสียง เสียงที่บางครั้งเราพูดไปมีคนฟังเหรอวะ และไม่ใช่แค่พูด บางทีเสียงที่ไม่ได้พูด เช่น การแสดงออกอื่นๆ นั่นแหละ มีคนสนใจมันเหรอวะ
การทำหนังของคุณมีความคิดเพื่ออยากเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ไหม?
ไม่นะ แต่เราอยากให้ประเทศนี้เปลี่ยนแปลง เราไม่ได้ทำหนังเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศ แต่ถ้าพูดตรงๆ ก็คือทำหนังเพื่อด่าคนที่เราไม่เห็นด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นเป็นภาพต่อภาพ เหมือนได้ตบหน้ามึงแล้ว แต่มึงจะเปลี่ยนแปลงรึเปล่าไม่รู้
มีช่วงที่อึดอัดเกี่ยวกับการทำหนังในประเทศนี้มั้ย?
มีๆ แค่เซ็นเซอร์มันยังไม่ลงตัวเลย ก็เห็นอยู่ว่ามีหนังหลายเรื่องที่ติดกระบวนการเซ็นเซอร์ อย่าง Insects in the Backyard 7 ปี กว่าจะได้ฉาย จนผู้กำกับบางคนเลือกที่จะไม่ส่งหนังให้กองเซ็นเซอร์ ไม่ฉายก็ไม่ฉาย จนกว่าวันหนึ่งที่กูรู้สึกปลอดภัยกูถึงจะโอเค ส่งกองเซ็นเซอร์
การใส่ความเป็นการเมืองเข้าไปเป็นสิ่งที่ทำให้หนังเราได้เปรียบมากขึ้นไหม เหมือนทำให้หนังมีคุณค่ามากขึ้น
เอาจริงๆ คิด แต่ก็ต้องยอมรับว่า ไม่ใช่ว่าใครใส่แล้วคุณจะ success มันต้องใช้วิธีที่จริงใจด้วย วิธีที่เหมาะสมด้วย ไม่อย่างนั้นทุกคนก็แค่ใส่กันฟู่ฟ่าว แล้วก็ไปเดินพรมแดงกันทั่วโลก
แล้วที่คุณใส่เข้าไปในหนังแล้วคนชอบล่ะ มันคือวิธีอะไร
มุกตลก เรามั่นใจว่าเราตลก เราเล่นตลกกับความจริงเยอะ คนที่โดนเหมือนเรา พอผ่านมาได้มันก็มองว่า เชี่ย คนนี้แม่งเลวว่ะ อารมณ์ตลกร้าย
เล่าคร่าวๆ เกี่ยวกับหนัง ‘อวสานซาวด์แมน’ หน่อย
เกี่ยวกับซาวด์แมนสองคนไปอัดเสียง เวลาในกองถ่ายมันก็จะมีทุกตำแหน่ง แต่เวลาขั้น post-production ของแผนกเสียงก็จะมีแค่แผนกเสียงคุยกัน เสียงที่เราได้ยินในหนังมันเป็นเสียงที่เราทำกันใหม่บ้าง มาจากเซ็ตบ้าง เราอยากโชว์ว่า เสียงดูดน้ำเนี่ยมันก็เป็นเสียงที่เราทำกันใหม่ มันเลยเป็นเรื่องตั้งแต่ออกกองจนถึง post-production ติ๊ต่างว่าเป็นเราสมัยไปฝึกงานแล้วคุยกับพี่ที่ฝึกงาน มันก็จะมีคำถามโง่ๆ ว่า พี่ครับเสียงนี้อัดยังไง หนังก็จะคุยกันไปแบบนี้เรื่อยๆ แล้วก็โชว์ว่าอัดกันยังไง ซึ่งไม่อยากสปอยล์เพราะเรามั่นใจว่ามันตลกมาก (ยิ้ม)
คนไทยจะมีโอกาสได้ดูไหม
ได้แน่ๆ ก็คงส่งประกวดมูลนิธิหนังไทยปีหน้า
III.
แล้วตอนนี้ทำอะไรอยู่บ้างนอกจากทำหนัง
ตอนนี้มีสอนหนังสือบ้าง ส่วนงานซาวด์แมนช่วงนี้ไม่ค่อยได้ทำ เพราะไม่มีคนเรียกไปทำ (หัวเราะ) แต่จริงๆ ที่เราได้ทำหนังเพราะเราว่าง พอเราว่างเราก็ทำหนัง เราไม่ใช่ซาวด์แมนที่ต้องทำงานเดือนละ 25 วัน เราไม่ฮอตขนาดนั้น เราอยู่ได้เพราะอะไรก็ไม่รู้ จริงๆ เราอยู่ได้เพราะเราเกาะพ่อแม่ (หัวเราะ) ไม่ๆ ไม่ขนาดนั้น ไม่แย่ขนาดนั้น แต่ก็ต้องยอมรับแหละ เรามีบ้านในกรุงเทพฯ เราได้เปรียบหลายๆ คน ค่าใช้จ่ายเราประหยัดได้เยอะ ต่อให้เราไม่มีงานเราก็มีความปลอดภัยในบางอย่าง เราก็เลยทำหนังได้เรื่อยๆ
ส่วนว่าทำอะไรต่อ ก็ว่าจะเลิกทำหนังสั้นแล้วทำหนังยาวให้ได้ แต่ชอบพูดอย่างงี้แหละ รู้อีกทีก็ เปรี้ยง หนังสั้นอีกเรื่อง
ตอนนี้สอนที่ไหน
ที่มหาวิทยาลัยหนึ่ง เป็นอาจารย์พิเศษ สอนแค่วิชาเดียวแหละ แต่สิ่งที่เจอคือนักเรียนเราไม่ขยันดูหนัง และมันยากมากที่จะเป็นคนทำหนังที่เก่งแล้วไม่ดูหนัง ไม่มี archive มันก็เลยน่าเสียดาย แต่จริงๆ เราก็ว่าเขาไม่ได้ ตอนเป็นนักเรียนเราก็ไม่ขยันดูหนัง เราก็มาผันตัวเองทีหลังเหมือนกัน
แล้วอะไรที่ทำให้มาขยันดูหนัง ทำหนังส่งเทศกาล
ตอนทำใหม่ๆ หนังเราก็เป็นหนังซ้ำๆ กับนักศึกษาไทยทั่วไป แต่พอจบมามันรู้แล้วว่า อ๋อ สุดท้ายวิธีการเปิดโลกทัศน์ที่ดีที่สุดก็คือการดูหนัง เราอาจจะคิดว่าเราดูหนังเยอะ เป็นนักเรียนหนัง ดูหนังไทย หนังฮอลลิวู้ด แต่จริงๆ แล้วเราลืมดูหนังอิหร่านมาตลอด เราลืมดูหนังจีนอินดี้มาตลอด เราดูแต่จีนพันธมิตรพากย์ เราไม่เคยดูหนังบราซิลกันด้วยซ้ำ เราก็เริ่มค่อยๆ ดู แล้วก็ค่อยๆ ติด แล้วก็โอ้โห ว้าว เราก็เลยอยากทำหนังตามเขา ไม่อยากทำหนังตามฮอลลิวู้ด เราอาจจะไม่มีปัญญาด้วย แล้วก็ไม่ได้รู้สึกกับมันเยอะด้วย
ติดใจเพราะอะไร
เราว่ามันเรียลลิสติกมากกว่า เราว่าบางทีดูโรโบคอปแล้วมันไกลตัวไป ถึงวันนี้กูก็ไม่ได้รู้จักหุ่นยนต์สักตัว แต่ดูหนังพวกนี้มันจินตนาการได้ว่า อ๋อ มันก็เกิดอยู่ข้างบ้านเรานี่เอง สมมติดูหนังบราซิล มันก็เกิดขึ้นที่ถนนนี้เอง มันดูแล้วมันเห็นวัฒนธรรม มันเหมือนเราได้ไปเที่ยวนะดูหนังเนี่ย อ๋อ เขาพูดกันแบบนี้ ทำแบบนี้
ตอนไปสเปนสนุกมาก มีเพื่อนผู้หญิงอิหร่านได้รางวัลหนังสั้นที่หนึ่ง เขาไม่ได้ใส่ฮิญาบ แต่วินาทีแรกที่เขาได้เขาเอาขึ้นมาคลุมเลย เขาบอกว่าไม่ได้เลยนะ ภาพหลุดไปเขาจะซวยมาก เนี่ยมันก็คือการเห็นโลกอีกอย่างหนึ่ง ทั้งการทำหนังและได้ไปเทศกาล
ทำไมคุณถึงกระหายที่จะส่งหนังไปเทศกาล อยากเจอโลกกว้างเหมือนตอนดูหนัง?
ใช่และไม่ใช่ อีกแง่หนึ่งคือเรารู้สึกว่าเราไม่ค่อย success กับเรื่องอะไร นอกจากทำหนังแล้วเราก็ทำอะไรไม่ค่อยเป็น แล้วเราก็รู้สึกพวกนี้มันชอบกู กูก็ขอเอาเรื่อยๆ ก็เสพติดเหมือนกัน โอ้ วันนี้มีคนเลือกหนังเราโว้ย อะไรแบบนี้ มันก็รู้สึกว่าอันนี้คุณค่าของเรา
อันที่ดีใจมากๆ เลยคือ หนังเรื่องของฝากจากสวิตฯ เราทำหนังเรื่องนั้นตอนปี 2557 แล้วเพิ่งมาเจอกับเพื่อนอัฟกันรอบนี้ปี 2560 มันเพิ่งได้พาสปอร์ต บอกว่าที่ได้พาสปอร์ตเพราะหนังเรา เราดีใจมาก เรื่องนี้เราดีใจมาก เพราะมันส่งเรื่องขอพาสปอร์ต แล้วก็ส่งหนังเราแนบไปด้วย บอกไปว่าได้รับเลือกให้ฉายกี่ที่ๆ เขาก็เลย เออว่ะ คนนี้ควรสนับสนุน เพราะเรื่องนี้มันกระจายไปตามเทศกาล ไปตามต่างประเทศ ถ้าให้พาสปอร์ตก็ทำให้ภาพลักษณ์สวิตฯ ดีขึ้นด้วยว่ารับผู้อพยพ มันก็เลยได้พาสปอร์ตส่วนหนึ่งเพราะหนังเรา แม้เหมือนเราจะเอาผลประโยชน์จากเขา เอาเรื่องเขามาทำหนัง แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งให้เขาได้
ระบบซีเนียริตี้ในสังคมฟิล์ม
เราปฏิเสธไม่ได้ เพราะเราก็อยู่กับระบบนี้ และเราว่ามันก็อบอุ่น ในเชิงที่ว่าสมมติเราเข้าไปใหม่ เราจน ก็จะมีพี่แบบ เฮ้ย ยศ มาๆ กูเลี้ยงข้าวมึง แล้วเราก็แฮปปี้ที่ได้ส่งต่อเรื่องพวกนี้ แต่จริงๆ ถึงไม่มีก็อาจจะเลี้ยงข้าวกันเองได้อยู่ดี
แล้วพอเขียนแนะนำตัวหรือเล่าอะไรสักอย่างเป็นภาษาอังกฤษ เราจะชอบบอกว่า เคยมีรุ่นพี่บอกยังงั้นยังงี้ เราจะชอบเขียนว่า senior friends แล้วฝรั่งก็จะถามว่าอะไรคือ senior friends วะ friends ก็คือ friends เราก็บอก เพื่อนที่แก่กว่าไง เขาก็บอก ไม่เห็นต้องบอกเลยว่าแก่กว่า มันก็จะเป็นการใช้ภาษาผิด ผิดวัฒนธรรม เพราะศัพท์ไทยเป็นแบบนั้น ขนบไทยเป็นแบบนั้น
แต่ที่ไม่โอเคกับระบบนี้ก็คือตอนที่เราอยากเถียงแล้วก็จะมีว่า (เปลี่ยนเสียง) ฉันแก่กว่าเธอนะ เธอเป็นใคร เราก็อยากเถียง แต่ส่วนที่โอเคก็คือมันซัพพอร์ตกัน รุ่นนี้ทำดีก็ส่งให้รุ่นต่อไป มันก็อาจจะไม่ต้องเป็นระบบซีเนียริตี้ก็ได้ แต่มันก็เกิดขึ้นกับประเทศเรา และเราก็อุ่นใจเวลาไปขอคำปรึกษากับรุ่นพี่ มันก็มีความอบอุ่น แต่มันก็แยกยากว่านี่คือซีเนียริตี้รึเปล่า สุดท้ายมันอาจจะไม่จำเป็น เออ จริงๆ ไม่ได้คิดเรื่องนี้เยอะขนาดนั้น
สังคมเมืองนอก
ถ้าในเอเชียก็จะเป็นอีกแบบ ถ้าในยุโรปก็จะต่างในแบบที่เราชอบกว่า ถ้าเราไปยุโรปตอนแรกเราจะแบลงก์ มันเชี่ยอะไรวะไอ้พวกนี้มันคุยกันจัง แต่พอรู้ อ้าว มันเพิ่งรู้จักกันในวงนี้ บางทีคุยกันไปเป็นชั่วโมง อ๋อ มึงชื่ออะไรนะ คนแก่คนเด็ก กวนตีนกันได้หมด แต่ถ้าเป็นเอเชียมันต้องแนะนำตัว ผมชื่อนี้ คุณชื่อนี้ แล้วก็จะเห็นเขาโค้งกันไปมา ก้มหัวทุกครั้งที่คุยกับคนแก่
แต่เอาจริงตอนอยู่ยุโรปเราก็สนิทกับเพื่อนเอเชียมากกว่า แต่มันชอบมากกว่าตอนอยู่เอเชีย เหมือนว่าในยุโรปถ้าเป็นเอเชียเจอหน้ากันก็จะทักทายแล้วกลายเป็นเพื่อนสนิทกันเสมอ เพราะเราอาจจะมีเรื่องภาษาด้วย เราฟังไม่เก่งขนาดนั้น พอเป็นสำเนียงเอเชียเราฟังง่ายกว่า และน่าจะมีเรื่องเด๋อๆด๋าๆ ที่ทุกคนรู้อยู่แล้วด้วย เช่นอย่างไปยุโรป ไปยืนรอข้ามถนนแล้วมึงไม่ข้ามสักที มึงข้ามได้เลย เขาเบรกให้มึงอยู่แล้ว เราก็เชี่ยลืม ซึ่งเราว่ามันดีนะ คนเดินถนนแม่งมีพาวเวอร์จังเลย อยู่เมืองไทยเดินฟุตบาธก็ลำบาก ลงถนน คนขับก็บีบไล่ ทุกคนเลยอยากมีรถ เพราะมันหลีกหนีเรื่องพวกนี้ไปได้ อยู่ที่นู่นมันคือ กูมีตีน ศักดิ์ศรีกูสูงสุด
สายตาของคนต่างประเทศที่มองหนังของคุณและมองประเทศไทย
มันจะมีสองประเภท คือเราพูดอะไรก็เชื่อหมด กับอีกประเภทที่มันรู้สึกว่ามันรู้ แต่มันก็เกี่ยวกับว่ามันมาเมืองไทยแล้วเพื่อนสนิทมึงเป็นใคร แนวคิดการเมืองยังไง ถ้าแนวคิดมันคนละทางมันก็กล้าเถียงเรา แต่ถ้ามาทางเดียวกันก็สบายเลย ไหลได้ แต่จะมีทั้งครั้งที่คุยและไม่คุย รอบที่เพิ่งไปมาก็คุย ก็ซัดกันมันดี ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเดิมๆ แหละ เขาก็บอกมันคอร์รัปชันนะ เราก็บอกว่ามันคอร์รัปชันทั้งคู่อยู่แล้ว แต่จะเอาแบบไม่มีสิทธิมีเสียง หรือมีสิทธิมีเสียงได้ล่ะ มันก็เงียบไป
แต่ไม่มีครั้งที่เถียงกันแล้วได้มุมมองหรอก เราขี้เกียจอธิบายเยอะ เรารำคาญ ยิ่งถ้าเป็นพับลิกเราจะไม่อธิบายเยอะ แต่ถ้าเป็นหลังไมค์เดินมานอกโรง เป็นคนที่อยากรู้อยากคุยจริงๆ ก็จะคุย
อย่างคนสวิสฯ มันดูน่าเบื่อ ทุกอย่างมันดีมันสงบไปหมดเลย อะไรก็ได้ที่เกิดขึ้นมันตื่นตาตื่นใจไปหมดเลย ชีวิตมันง่ายไปหมดมั้ง แค่เห็นคนไทยเอากระเทียมไปหั่นมันยังมีความสุขเลย แบบ โห ครัวเราได้ใช้หั่นกระเทียม
แล้วตอนนี้ทำอะไรอยู่บ้างนอกจากทำหนัง
ตอนนี้มีสอนหนังสือบ้าง ส่วนงานซาวด์แมนช่วงนี้ไม่ค่อยได้ทำ เพราะไม่มีคนเรียกไปทำ (หัวเราะ) แต่จริงๆ ที่เราได้ทำหนังเพราะเราว่าง พอเราว่างเราก็ทำหนัง เราไม่ใช่ซาวด์แมนที่ต้องทำงานเดือนละ 25 วัน เราไม่ฮอตขนาดนั้น เราอยู่ได้เพราะอะไรก็ไม่รู้ จริงๆ เราอยู่ได้เพราะเราเกาะพ่อแม่ (หัวเราะ) ไม่ๆ ไม่ขนาดนั้น ไม่แย่ขนาดนั้น แต่ก็ต้องยอมรับแหละ เรามีบ้านในกรุงเทพฯ เราได้เปรียบหลายๆ คน ค่าใช้จ่ายเราประหยัดได้เยอะ ต่อให้เราไม่มีงานเราก็มีความปลอดภัยในบางอย่าง เราก็เลยทำหนังได้เรื่อยๆ
ส่วนว่าทำอะไรต่อ ก็ว่าจะเลิกทำหนังสั้นแล้วทำหนังยาวให้ได้ แต่ชอบพูดอย่างงี้แหละ รู้อีกทีก็ เปรี้ยง หนังสั้นอีกเรื่อง
ตอนนี้สอนที่ไหน
ที่มหาวิทยาลัยหนึ่ง เป็นอาจารย์พิเศษ สอนแค่วิชาเดียวแหละ แต่สิ่งที่เจอคือนักเรียนเราไม่ขยันดูหนัง และมันยากมากที่จะเป็นคนทำหนังที่เก่งแล้วไม่ดูหนัง ไม่มี archive มันก็เลยน่าเสียดาย แต่จริงๆ เราก็ว่าเขาไม่ได้ ตอนเป็นนักเรียนเราก็ไม่ขยันดูหนัง เราก็มาผันตัวเองทีหลังเหมือนกัน
แล้วอะไรที่ทำให้มาขยันดูหนัง ทำหนังส่งเทศกาล
ตอนทำใหม่ๆ หนังเราก็เป็นหนังซ้ำๆ กับนักศึกษาไทยทั่วไป แต่พอจบมามันรู้แล้วว่า อ๋อ สุดท้ายวิธีการเปิดโลกทัศน์ที่ดีที่สุดก็คือการดูหนัง เราอาจจะคิดว่าเราดูหนังเยอะ เป็นนักเรียนหนัง ดูหนังไทย หนังฮอลลิวู้ด แต่จริงๆ แล้วเราลืมดูหนังอิหร่านมาตลอด เราลืมดูหนังจีนอินดี้มาตลอด เราดูแต่จีนพันธมิตรพากย์ เราไม่เคยดูหนังบราซิลกันด้วยซ้ำ เราก็เริ่มค่อยๆ ดู แล้วก็ค่อยๆ ติด แล้วก็โอ้โห ว้าว เราก็เลยอยากทำหนังตามเขา ไม่อยากทำหนังตามฮอลลิวู้ด เราอาจจะไม่มีปัญญาด้วย แล้วก็ไม่ได้รู้สึกกับมันเยอะด้วย
ติดใจเพราะอะไร
เราว่ามันเรียลลิสติกมากกว่า เราว่าบางทีดูโรโบคอปแล้วมันไกลตัวไป ถึงวันนี้กูก็ไม่ได้รู้จักหุ่นยนต์สักตัว แต่ดูหนังพวกนี้มันจินตนาการได้ว่า อ๋อ มันก็เกิดอยู่ข้างบ้านเรานี่เอง สมมติดูหนังบราซิล มันก็เกิดขึ้นที่ถนนนี้เอง มันดูแล้วมันเห็นวัฒนธรรม มันเหมือนเราได้ไปเที่ยวนะดูหนังเนี่ย อ๋อ เขาพูดกันแบบนี้ ทำแบบนี้
ตอนไปสเปนสนุกมาก มีเพื่อนผู้หญิงอิหร่านได้รางวัลหนังสั้นที่หนึ่ง เขาไม่ได้ใส่ฮิญาบ แต่วินาทีแรกที่เขาได้เขาเอาขึ้นมาคลุมเลย เขาบอกว่าไม่ได้เลยนะ ภาพหลุดไปเขาจะซวยมาก เนี่ยมันก็คือการเห็นโลกอีกอย่างหนึ่ง ทั้งการทำหนังและได้ไปเทศกาล
ทำไมคุณถึงกระหายที่จะส่งหนังไปเทศกาล อยากเจอโลกกว้างเหมือนตอนดูหนัง?
ใช่และไม่ใช่ อีกแง่หนึ่งคือเรารู้สึกว่าเราไม่ค่อย success กับเรื่องอะไร นอกจากทำหนังแล้วเราก็ทำอะไรไม่ค่อยเป็น แล้วเราก็รู้สึกพวกนี้มันชอบกู กูก็ขอเอาเรื่อยๆ ก็เสพติดเหมือนกัน โอ้ วันนี้มีคนเลือกหนังเราโว้ย อะไรแบบนี้ มันก็รู้สึกว่าอันนี้คุณค่าของเรา
อันที่ดีใจมากๆ เลยคือ หนังเรื่องของฝากจากสวิตฯ เราทำหนังเรื่องนั้นตอนปี 2557 แล้วเพิ่งมาเจอกับเพื่อนอัฟกันรอบนี้ปี 2560 มันเพิ่งได้พาสปอร์ต บอกว่าที่ได้พาสปอร์ตเพราะหนังเรา เราดีใจมาก เรื่องนี้เราดีใจมาก เพราะมันส่งเรื่องขอพาสปอร์ต แล้วก็ส่งหนังเราแนบไปด้วย บอกไปว่าได้รับเลือกให้ฉายกี่ที่ๆ เขาก็เลย เออว่ะ คนนี้ควรสนับสนุน เพราะเรื่องนี้มันกระจายไปตามเทศกาล ไปตามต่างประเทศ ถ้าให้พาสปอร์ตก็ทำให้ภาพลักษณ์สวิตฯ ดีขึ้นด้วยว่ารับผู้อพยพ มันก็เลยได้พาสปอร์ตส่วนหนึ่งเพราะหนังเรา แม้เหมือนเราจะเอาผลประโยชน์จากเขา เอาเรื่องเขามาทำหนัง แต่ก็เป็นส่วนหนึ่งให้เขาได้
ระบบซีเนียริตี้ในสังคมฟิล์ม
เราปฏิเสธไม่ได้ เพราะเราก็อยู่กับระบบนี้ และเราว่ามันก็อบอุ่น ในเชิงที่ว่าสมมติเราเข้าไปใหม่ เราจน ก็จะมีพี่แบบ เฮ้ย ยศ มาๆ กูเลี้ยงข้าวมึง แล้วเราก็แฮปปี้ที่ได้ส่งต่อเรื่องพวกนี้ แต่จริงๆ ถึงไม่มีก็อาจจะเลี้ยงข้าวกันเองได้อยู่ดี
แล้วพอเขียนแนะนำตัวหรือเล่าอะไรสักอย่างเป็นภาษาอังกฤษ เราจะชอบบอกว่า เคยมีรุ่นพี่บอกยังงั้นยังงี้ เราจะชอบเขียนว่า senior friends แล้วฝรั่งก็จะถามว่าอะไรคือ senior friends วะ friends ก็คือ friends เราก็บอก เพื่อนที่แก่กว่าไง เขาก็บอก ไม่เห็นต้องบอกเลยว่าแก่กว่า มันก็จะเป็นการใช้ภาษาผิด ผิดวัฒนธรรม เพราะศัพท์ไทยเป็นแบบนั้น ขนบไทยเป็นแบบนั้น
แต่ที่ไม่โอเคกับระบบนี้ก็คือตอนที่เราอยากเถียงแล้วก็จะมีว่า (เปลี่ยนเสียง) ฉันแก่กว่าเธอนะ เธอเป็นใคร เราก็อยากเถียง แต่ส่วนที่โอเคก็คือมันซัพพอร์ตกัน รุ่นนี้ทำดีก็ส่งให้รุ่นต่อไป มันก็อาจจะไม่ต้องเป็นระบบซีเนียริตี้ก็ได้ แต่มันก็เกิดขึ้นกับประเทศเรา และเราก็อุ่นใจเวลาไปขอคำปรึกษากับรุ่นพี่ มันก็มีความอบอุ่น แต่มันก็แยกยากว่านี่คือซีเนียริตี้รึเปล่า สุดท้ายมันอาจจะไม่จำเป็น เออ จริงๆ ไม่ได้คิดเรื่องนี้เยอะขนาดนั้น
สังคมเมืองนอก
ถ้าในเอเชียก็จะเป็นอีกแบบ ถ้าในยุโรปก็จะต่างในแบบที่เราชอบกว่า ถ้าเราไปยุโรปตอนแรกเราจะแบลงก์ มันเชี่ยอะไรวะไอ้พวกนี้มันคุยกันจัง แต่พอรู้ อ้าว มันเพิ่งรู้จักกันในวงนี้ บางทีคุยกันไปเป็นชั่วโมง อ๋อ มึงชื่ออะไรนะ คนแก่คนเด็ก กวนตีนกันได้หมด แต่ถ้าเป็นเอเชียมันต้องแนะนำตัว ผมชื่อนี้ คุณชื่อนี้ แล้วก็จะเห็นเขาโค้งกันไปมา ก้มหัวทุกครั้งที่คุยกับคนแก่
แต่เอาจริงตอนอยู่ยุโรปเราก็สนิทกับเพื่อนเอเชียมากกว่า แต่มันชอบมากกว่าตอนอยู่เอเชีย เหมือนว่าในยุโรปถ้าเป็นเอเชียเจอหน้ากันก็จะทักทายแล้วกลายเป็นเพื่อนสนิทกันเสมอ เพราะเราอาจจะมีเรื่องภาษาด้วย เราฟังไม่เก่งขนาดนั้น พอเป็นสำเนียงเอเชียเราฟังง่ายกว่า และน่าจะมีเรื่องเด๋อๆด๋าๆ ที่ทุกคนรู้อยู่แล้วด้วย เช่นอย่างไปยุโรป ไปยืนรอข้ามถนนแล้วมึงไม่ข้ามสักที มึงข้ามได้เลย เขาเบรกให้มึงอยู่แล้ว เราก็เชี่ยลืม ซึ่งเราว่ามันดีนะ คนเดินถนนแม่งมีพาวเวอร์จังเลย อยู่เมืองไทยเดินฟุตบาธก็ลำบาก ลงถนน คนขับก็บีบไล่ ทุกคนเลยอยากมีรถ เพราะมันหลีกหนีเรื่องพวกนี้ไปได้ อยู่ที่นู่นมันคือ กูมีตีน ศักดิ์ศรีกูสูงสุด
สายตาของคนต่างประเทศที่มองหนังของคุณและมองประเทศไทย
มันจะมีสองประเภท คือเราพูดอะไรก็เชื่อหมด กับอีกประเภทที่มันรู้สึกว่ามันรู้ แต่มันก็เกี่ยวกับว่ามันมาเมืองไทยแล้วเพื่อนสนิทมึงเป็นใคร แนวคิดการเมืองยังไง ถ้าแนวคิดมันคนละทางมันก็กล้าเถียงเรา แต่ถ้ามาทางเดียวกันก็สบายเลย ไหลได้ แต่จะมีทั้งครั้งที่คุยและไม่คุย รอบที่เพิ่งไปมาก็คุย ก็ซัดกันมันดี ซึ่งมันก็เป็นเรื่องเดิมๆ แหละ เขาก็บอกมันคอร์รัปชันนะ เราก็บอกว่ามันคอร์รัปชันทั้งคู่อยู่แล้ว แต่จะเอาแบบไม่มีสิทธิมีเสียง หรือมีสิทธิมีเสียงได้ล่ะ มันก็เงียบไป
แต่ไม่มีครั้งที่เถียงกันแล้วได้มุมมองหรอก เราขี้เกียจอธิบายเยอะ เรารำคาญ ยิ่งถ้าเป็นพับลิกเราจะไม่อธิบายเยอะ แต่ถ้าเป็นหลังไมค์เดินมานอกโรง เป็นคนที่อยากรู้อยากคุยจริงๆ ก็จะคุย
อย่างคนสวิสฯ มันดูน่าเบื่อ ทุกอย่างมันดีมันสงบไปหมดเลย อะไรก็ได้ที่เกิดขึ้นมันตื่นตาตื่นใจไปหมดเลย ชีวิตมันง่ายไปหมดมั้ง แค่เห็นคนไทยเอากระเทียมไปหั่นมันยังมีความสุขเลย แบบ โห ครัวเราได้ใช้หั่นกระเทียม
แสดงความคิดเห็น