Posted: 30 Jan 2018 08:57 PM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
31 ม.ค. 2561 ศาลชั้นต้น จังหวัดพล ขอนแก่น ได้อ่านคำพิพากษาจำคุก 6 วัยรุ่น ชาวอำเภอ ชนบท จ.ขอนแก่นในคดีเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ตามความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และข้อหาเป็นอั้งยี่, เป็นซ่องโจร, ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ของผู้อื่น รวมทั้งสิ้น 10 ปี แต่เนื่องจากจำเลยทั้ง 6 คน ให้การรับสารภาพ จึงให้ลดลงกึ่งหนึ่ง และจำเลยที่ 1,3-6 มีอายุ 18 ปี ไม่เกิน 20 ปี จึงให้ลดอีก 1 ใน 3 เหลือ 2 ปี 16 เดือน ส่วนจำเลยที่ 2 ในขณะที่เกิดเหตุมีอายุครบ 20 ปีแล้ว จึงไม่ได้ลดโทษจากเกณฑ์อายุ
คดีนี้ มีผู้ถูกกล่าวหาทั้งสิ้น 11 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและวัยรุ่น อายุ 14 ปี ถึง 20 ปี
สำหรับกรณีการเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ในจังหวัดขอนแก่น ถูกแยกออกเป็น 3 คดี จาก 3 เหตุการณ์คือ กรณีการเตรียมการวางเพลิงที่ศาลได้ตัดสินไปแล้ว และคดีเผาซุ้มอีก 2 กรณี ซึ่งศาลได้ตัดสินในวันนี้เป็นกรณีแรกโดยมีจำเลย 6 คน ในส่วนของกรณีการเผาในจุดที่สอง มีจำเลย 4 คน ศาลยังไม่ได้ตัดสิน
ในส่วนของเยาวชนอายุ 14 ปี ถูกแยกไปพิจารณาความผิดในฐานที่เป็นเยาวชน เป็นการพิจารณาลับ จึงไม่มีรายงานความคืบหน้าคดีเผยแพร่ในทางสาธารณะ
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้ข้อมูลภูมิหลังของจำเลยทั้ง 6 คนว่า จำเลยที่ 1 อาศัยอยู่กับแม่เพียงคนเดียว เนื่องจากพ่อเสียชีวิตตั้งแต่เขายังเล็ก จำเลยที่ 2, 4 และ 5 พ่อแม่หย่าร้างกันนานมาแล้ว จำเลยที่ 2 และ 4 อยู่กับแม่และน้อง ขณะจำเลยที่ 5 อาศัยอยู่กับยาย และจำเลยที่ 6 อาศัยอยู่อา เนื่องจากพ่อและแม่ไปทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ครอบครัวทั้งหมดมีอาชีพรับจ้างทั่วไป และทำนา มีรายได้ไม่มากนัก ทำให้จำเลยที่ 1 และ 2 ซึ่งจบ ปวช.แล้ว ไม่ได้เรียนต่อ และได้ขวนขวายทำงานเลี้ยงตัวเองและช่วยเหลือครอบครัว โดยจำเลยที่ 1 รับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์อยู่กับบ้าน ส่วนจำเลยที่ 2 เข้ากรุงเทพฯ ทำงานรับจ้างได้ 1 ปี เพิ่งกลับมาบ้านก่อนกระทำผิด ขณะจำเลยที่ 3 ยังเรียน ปวช. อยู่ และจำเลยที่ 4 เพิ่งสมัครเข้าเรียน ปวส. ส่วนจำเลยที่ 5 และ 6 กำลังเรียน กศน.
ศูนย์ทนายฯ ระบุด้วยว่า จากการสอบถามข้อเท็จจริงในคดี จำเลยทั้ง 6 เปิดเผยว่า พวกเขาไม่เคยสนใจเรื่องการเมือง ไม่เคยดูข่าว ที่รับทำงานเพราะแค่อยากได้ค่าจ้าง และถ้าหมู่บ้านจะพัฒนาขึ้นก็ดี แต่ไม่ได้ทำเพราะเห็นคล้อยตามผู้ว่าจ้างที่ชักจูงหว่านล้อมให้พวกเขาทำงานด้วยการโจมตีรัฐบาล คสช. หรือวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ พวกเขากลับเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่เกินตัว จนถึงไร้สาระ และไม่ได้ให้ความสนใจ ส่วนผู้ว่าจ้างนั้นเป็นคนบ้านเดียวกับจำเลยที่ 1-4 เคยเห็นกันมาตั้งแต่เป็นเด็ก แต่ไม่เคยได้พูดคุยกัน มีเพียงจำเลยที่ 1 และ 2 ที่เคยทำงานที่โรงงานผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรของเขาในช่วงสั้นๆ แต่ก็แค่ทักทายกัน ไม่ได้ถึงขั้นพูดคุยสนิทสนม ส่วนจำเลยที่ 5 และ 6 ไม่เคยรู้จักผู้ว่าจ้างเลย
ศูนย์ทนายฯ ตั้งข้อสังเกตว่า คดีทั้งสองนี้ อาจไม่ใช่กรณีที่จำเลยใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสันติ แต่อย่างไรก็ดี หากประมวลเรื่องราวในคดีแล้ว ก็พอจะเห็นได้ว่า นี่เป็นผลพวงของความขัดแย้งทางการเมืองที่คุกรุ่นอยู่ในสังคมไทยอยู่ในปัจจุบัน หากแต่ฝ่ายที่ตรงข้ามกับรัฐ ถูกกดปราบ ปิดกั้น ไม่ได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกอย่างสันติ และเท่าเทียมกับฝ่ายรัฐ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหาร 3 ปีกว่ามานี้ ทำให้คนกลุ่มแรกหันไปเลือกใช้วิธีการที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ซึ่งทำให้ต้องปกปิดการกระทำโดยการใช้ผู้อื่นทำแทน จนนำมาสู่การที่วัยรุ่นกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นวัยที่มีอนาคตและเป็นกำลังในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ต้องถูกดำเนินคดีและคุมขังอยู่ในเรือนจำแทนอย่างน่าเสียดาย
[full-post]
คดีนี้ มีผู้ถูกกล่าวหาทั้งสิ้น 11 คน ส่วนใหญ่เป็นเด็กและวัยรุ่น อายุ 14 ปี ถึง 20 ปี
สำหรับกรณีการเผาซุ้มเฉลิมพระเกียรติ ในจังหวัดขอนแก่น ถูกแยกออกเป็น 3 คดี จาก 3 เหตุการณ์คือ กรณีการเตรียมการวางเพลิงที่ศาลได้ตัดสินไปแล้ว และคดีเผาซุ้มอีก 2 กรณี ซึ่งศาลได้ตัดสินในวันนี้เป็นกรณีแรกโดยมีจำเลย 6 คน ในส่วนของกรณีการเผาในจุดที่สอง มีจำเลย 4 คน ศาลยังไม่ได้ตัดสิน
ในส่วนของเยาวชนอายุ 14 ปี ถูกแยกไปพิจารณาความผิดในฐานที่เป็นเยาวชน เป็นการพิจารณาลับ จึงไม่มีรายงานความคืบหน้าคดีเผยแพร่ในทางสาธารณะ
ศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้ข้อมูลภูมิหลังของจำเลยทั้ง 6 คนว่า จำเลยที่ 1 อาศัยอยู่กับแม่เพียงคนเดียว เนื่องจากพ่อเสียชีวิตตั้งแต่เขายังเล็ก จำเลยที่ 2, 4 และ 5 พ่อแม่หย่าร้างกันนานมาแล้ว จำเลยที่ 2 และ 4 อยู่กับแม่และน้อง ขณะจำเลยที่ 5 อาศัยอยู่กับยาย และจำเลยที่ 6 อาศัยอยู่อา เนื่องจากพ่อและแม่ไปทำงานอยู่ที่กรุงเทพฯ ครอบครัวทั้งหมดมีอาชีพรับจ้างทั่วไป และทำนา มีรายได้ไม่มากนัก ทำให้จำเลยที่ 1 และ 2 ซึ่งจบ ปวช.แล้ว ไม่ได้เรียนต่อ และได้ขวนขวายทำงานเลี้ยงตัวเองและช่วยเหลือครอบครัว โดยจำเลยที่ 1 รับจ้างซ่อมรถจักรยานยนต์อยู่กับบ้าน ส่วนจำเลยที่ 2 เข้ากรุงเทพฯ ทำงานรับจ้างได้ 1 ปี เพิ่งกลับมาบ้านก่อนกระทำผิด ขณะจำเลยที่ 3 ยังเรียน ปวช. อยู่ และจำเลยที่ 4 เพิ่งสมัครเข้าเรียน ปวส. ส่วนจำเลยที่ 5 และ 6 กำลังเรียน กศน.
ศูนย์ทนายฯ ระบุด้วยว่า จากการสอบถามข้อเท็จจริงในคดี จำเลยทั้ง 6 เปิดเผยว่า พวกเขาไม่เคยสนใจเรื่องการเมือง ไม่เคยดูข่าว ที่รับทำงานเพราะแค่อยากได้ค่าจ้าง และถ้าหมู่บ้านจะพัฒนาขึ้นก็ดี แต่ไม่ได้ทำเพราะเห็นคล้อยตามผู้ว่าจ้างที่ชักจูงหว่านล้อมให้พวกเขาทำงานด้วยการโจมตีรัฐบาล คสช. หรือวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ พวกเขากลับเห็นว่าเป็นเรื่องใหญ่เกินตัว จนถึงไร้สาระ และไม่ได้ให้ความสนใจ ส่วนผู้ว่าจ้างนั้นเป็นคนบ้านเดียวกับจำเลยที่ 1-4 เคยเห็นกันมาตั้งแต่เป็นเด็ก แต่ไม่เคยได้พูดคุยกัน มีเพียงจำเลยที่ 1 และ 2 ที่เคยทำงานที่โรงงานผลิตเครื่องดื่มสมุนไพรของเขาในช่วงสั้นๆ แต่ก็แค่ทักทายกัน ไม่ได้ถึงขั้นพูดคุยสนิทสนม ส่วนจำเลยที่ 5 และ 6 ไม่เคยรู้จักผู้ว่าจ้างเลย
ศูนย์ทนายฯ ตั้งข้อสังเกตว่า คดีทั้งสองนี้ อาจไม่ใช่กรณีที่จำเลยใช้เสรีภาพในการแสดงออกโดยสันติ แต่อย่างไรก็ดี หากประมวลเรื่องราวในคดีแล้ว ก็พอจะเห็นได้ว่า นี่เป็นผลพวงของความขัดแย้งทางการเมืองที่คุกรุ่นอยู่ในสังคมไทยอยู่ในปัจจุบัน หากแต่ฝ่ายที่ตรงข้ามกับรัฐ ถูกกดปราบ ปิดกั้น ไม่ได้รับการส่งเสริมให้แสดงออกอย่างสันติ และเท่าเทียมกับฝ่ายรัฐ โดยเฉพาะในช่วงหลังรัฐประหาร 3 ปีกว่ามานี้ ทำให้คนกลุ่มแรกหันไปเลือกใช้วิธีการที่ไม่ได้อยู่ในกรอบของกฎหมาย ซึ่งทำให้ต้องปกปิดการกระทำโดยการใช้ผู้อื่นทำแทน จนนำมาสู่การที่วัยรุ่นกลุ่มหนึ่ง ซึ่งเป็นวัยที่มีอนาคตและเป็นกำลังในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ต้องถูกดำเนินคดีและคุมขังอยู่ในเรือนจำแทนอย่างน่าเสียดาย
แสดงความคิดเห็น