Posted: 01 Feb 2018 03:49 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)
กรณีกรรมการสิทธิฯ จะตรวจสอบรายงานฮิวแมนไรท์วอทช์ อังคณาแจงไม่ได้มีใบสั่ง แต่ทำตาม รธน.ใหม่ ยันไม่ใช่โฆษกรัฐบาล เมื่อได้รับรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ต้องตรวจสอบข้อเท็จจริง
1 ก.พ. 2561 อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้สัมภาษณ์กรณี กสม. ตั้งคณะกรรมการสอบรายงานขององค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ 2 ฉบับ คือ 1. รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกประจำปี ค.ศ. 2018 และ 2. รายงานสถานการณ์ด้านแรงงานในภาคประมงไทย ว่า เรื่องนี้ระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 247 (4) และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มาตรา 26 (4) และ มาตรา 44 ที่กำหนดให้ กสม. มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงของรายงานด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับประเทศไทย
"กรรมการสิทธิจำเป็นต้องตรวจสอบรายงานทั้งสองฉบับตามที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย แต่กรรมการสิทธิไม่ใช่โฆษกรัฐบาลที่มีหน้าที่ชี้แจงแทนรัฐบาลในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เราจะตรวจสอบในฐานะที่เราเป็นองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อเราได้รับรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน
"ส่วนในเรื่องที่ว่ายังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ และ กสม. ยังไม่ได้ตรวจสอบ เราก็พร้อมที่จะตรวจสอบให้ ถ้าเขาส่งข้อมูลของผู้โดนละเมิดสิทธิมาให้เรา โดย กสม. เองก็มีระเบียบว่าการตรวจสอบจะต้องทำภายในกรอบเวลาไม่เกิน 30 วัน แต่อาจจะขยายได้ถ้ายังไม่แล้วเสร็จ อย่างเช่นในรายงานเบื้องต้นของฮิวแมนไรท์วอชท์ ที่มีการพูดถึงแรงงานประมง ทาง กสม. ก็เคยมีการสัมภาษณ์ลูกเรือประมงที่ถูกละเมิดสิทธิเหมือนกัน ถ้าทางนักวิจัยรู้สึกว่า เขายังคงถูกละเมิดสิทธิอยู่ เราก็อยากให้เขาส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้เราด้วย เพราะข้อมูลที่ปรากฏในตัวรายงาน ไม่ได้มีการระบุชื่อของแหล่งข่าว ทำให้เราไม่สามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ต้องเน้นย้ำว่า กสม. ไม่ได้มีหน้าที่ออกมาชี้แจงแทนรัฐบาล แต่เราจะชี้แจงข้อเท็จจริงในกรณีที่เราตรวจสอบและมีข้อมูลที่ถูกต้องอยู่แล้ว"
ต่อคำถามว่าเหตุใดรายงานสองฉบับนี้ถึงเป็นกรณีแรกที่ กสม. ตั้งคณะกรรมการสอบ อังคณาระบุว่า เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีกฎหมายบังคับ รายงานสองฉบับนี้เป็นกรณีแรกเลยหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 และ พรป. กสม. ถ้ายังจำกันได้ เคยมีรายงานเรื่องการซ้อมทรมาน ของมูลนิธผสานวัฒนธรรม ที่มีผู้เขียนรายงานถูกดำเนินคดีไปสามคน แต่ตอนนั้นเรายังไม่มีกฎหมายประกาศใช้ให้ กสม. ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งทางข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติเขาก็แสดงความกังวลและสอบถามมายัง กสม. เราก็ชี้แจงไปว่า ทาง กสม. เคยให้ความเห็นเรื่อง กฎหมายการซ้อมทรมานต่อรัฐบาลไปก่อนหน้านี้แล้ว และเราก็พร้อมที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงในรายงานฉบับดังกล่าวให้ แต่ในรายงานนั้นเขาไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้ข้อมูล เราก็เลยตรวจสอบไม่ได้ ถ้าคนทำวิจัยส่งรายชื่อมาเราก็ยินดีตรวจสอบให้โดยปกปิดข้อมูลของแหล่งข่าวเป็นความลับ
อังคณา ระบุว่า โดยส่วนตัวก็ไม่ได้กลัวว่าจะต้องพ้นหน้าที่ถ้าเราไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพราะยังไงเราก็ถูกเซ็ตซีโร่อยู่แล้ว เมื่อวานก็ได้คุยกันภายใน กสม. ว่าเราจะพิจารณาในระดับหลักการก่อนว่าจะตรวจสอบอย่างไร โดยเราจะตรวจสอบในฐานะที่เราเป็นองค์กรอิสระ ไม่ใช่การแก้ต่างให้กับรัฐบาล เรื่องนี้ไม่ได้มีใบสั่ง แต่กฎหมายเขียนไว้ ในส่วนของกรรมการสิทธิเองเราก็เคยส่งความเห็นไปให้ กมธ. ว่า เราไม่เห็นด้วยกับมาตรานี้ เพราะมันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องชี้แจง ไม่ใช่ของ กสม. แต่ กรธ. เขาก็คงไว้เอง คือส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วย แต่ในเมื่อมีกฎหมาย และเราเป็น กสม. เราก็ต้องทำ
อังคณา กล่าวต่อว่า กรณีของฮิวแมนไรท์วอชท์ นักวิจัยที่เขาทำรายงานฉบับนี้ก็เป็นคนไทย ถ้าเขาส่งเคส หรือข้อมูลการละเมิดสิทธิให้เราตรวจสอบเราก็ยินดี เพราะเราก็เข้าใจว่าแรงงานประมงเป็นแรงงานที่น่าเห็นใจและเสี่ยงต่อการโดนละเมิดสิทธิ กสม. เคยออกรายงานไปแล้วเรื่องแรงงานประมงและทำข้อเสนอแนะให้รัฐบาลไปแล้วในปี 54 และ 57 ซึ่งรัฐบาลก็ได้ดำเนินการปรับปรุงไปบ้างแล้วบางส่วน อันนี้เป็นส่วนที่เรามีข้อมูลข้อเท็จจริงอยู่แล้ว ส่วนที่เรายังไม่มีข้อมูล ก็คงจะต้องตรวจสอบกันต่อไป
1 ก.พ. 2561 อังคณา นีละไพจิตร กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ให้สัมภาษณ์กรณี กสม. ตั้งคณะกรรมการสอบรายงานขององค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ 2 ฉบับ คือ 1. รายงานสถานการณ์สิทธิมนุษยชนทั่วโลกประจำปี ค.ศ. 2018 และ 2. รายงานสถานการณ์ด้านแรงงานในภาคประมงไทย ว่า เรื่องนี้ระบุอยู่ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 247 (4) และ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) มาตรา 26 (4) และ มาตรา 44 ที่กำหนดให้ กสม. มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงของรายงานด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวกับประเทศไทย
"กรรมการสิทธิจำเป็นต้องตรวจสอบรายงานทั้งสองฉบับตามที่บัญญัติไว้ตามกฎหมาย แต่กรรมการสิทธิไม่ใช่โฆษกรัฐบาลที่มีหน้าที่ชี้แจงแทนรัฐบาลในเรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน แต่เราจะตรวจสอบในฐานะที่เราเป็นองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเมื่อเราได้รับรายงานการละเมิดสิทธิมนุษยชน
"ส่วนในเรื่องที่ว่ายังมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอยู่ และ กสม. ยังไม่ได้ตรวจสอบ เราก็พร้อมที่จะตรวจสอบให้ ถ้าเขาส่งข้อมูลของผู้โดนละเมิดสิทธิมาให้เรา โดย กสม. เองก็มีระเบียบว่าการตรวจสอบจะต้องทำภายในกรอบเวลาไม่เกิน 30 วัน แต่อาจจะขยายได้ถ้ายังไม่แล้วเสร็จ อย่างเช่นในรายงานเบื้องต้นของฮิวแมนไรท์วอชท์ ที่มีการพูดถึงแรงงานประมง ทาง กสม. ก็เคยมีการสัมภาษณ์ลูกเรือประมงที่ถูกละเมิดสิทธิเหมือนกัน ถ้าทางนักวิจัยรู้สึกว่า เขายังคงถูกละเมิดสิทธิอยู่ เราก็อยากให้เขาส่งข้อมูลเพิ่มเติมให้เราด้วย เพราะข้อมูลที่ปรากฏในตัวรายงาน ไม่ได้มีการระบุชื่อของแหล่งข่าว ทำให้เราไม่สามารถตรวจสอบได้ ทั้งนี้ต้องเน้นย้ำว่า กสม. ไม่ได้มีหน้าที่ออกมาชี้แจงแทนรัฐบาล แต่เราจะชี้แจงข้อเท็จจริงในกรณีที่เราตรวจสอบและมีข้อมูลที่ถูกต้องอยู่แล้ว"
ต่อคำถามว่าเหตุใดรายงานสองฉบับนี้ถึงเป็นกรณีแรกที่ กสม. ตั้งคณะกรรมการสอบ อังคณาระบุว่า เพราะก่อนหน้านี้ไม่มีกฎหมายบังคับ รายงานสองฉบับนี้เป็นกรณีแรกเลยหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2560 และ พรป. กสม. ถ้ายังจำกันได้ เคยมีรายงานเรื่องการซ้อมทรมาน ของมูลนิธผสานวัฒนธรรม ที่มีผู้เขียนรายงานถูกดำเนินคดีไปสามคน แต่ตอนนั้นเรายังไม่มีกฎหมายประกาศใช้ให้ กสม. ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ซึ่งทางข้าหลวงใหญ่แห่งสหประชาชาติเขาก็แสดงความกังวลและสอบถามมายัง กสม. เราก็ชี้แจงไปว่า ทาง กสม. เคยให้ความเห็นเรื่อง กฎหมายการซ้อมทรมานต่อรัฐบาลไปก่อนหน้านี้แล้ว และเราก็พร้อมที่จะตรวจสอบข้อเท็จจริงในรายงานฉบับดังกล่าวให้ แต่ในรายงานนั้นเขาไม่ได้ระบุชื่อผู้ให้ข้อมูล เราก็เลยตรวจสอบไม่ได้ ถ้าคนทำวิจัยส่งรายชื่อมาเราก็ยินดีตรวจสอบให้โดยปกปิดข้อมูลของแหล่งข่าวเป็นความลับ
อังคณา ระบุว่า โดยส่วนตัวก็ไม่ได้กลัวว่าจะต้องพ้นหน้าที่ถ้าเราไม่ตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพราะยังไงเราก็ถูกเซ็ตซีโร่อยู่แล้ว เมื่อวานก็ได้คุยกันภายใน กสม. ว่าเราจะพิจารณาในระดับหลักการก่อนว่าจะตรวจสอบอย่างไร โดยเราจะตรวจสอบในฐานะที่เราเป็นองค์กรอิสระ ไม่ใช่การแก้ต่างให้กับรัฐบาล เรื่องนี้ไม่ได้มีใบสั่ง แต่กฎหมายเขียนไว้ ในส่วนของกรรมการสิทธิเองเราก็เคยส่งความเห็นไปให้ กมธ. ว่า เราไม่เห็นด้วยกับมาตรานี้ เพราะมันเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องชี้แจง ไม่ใช่ของ กสม. แต่ กรธ. เขาก็คงไว้เอง คือส่วนตัวก็ไม่เห็นด้วย แต่ในเมื่อมีกฎหมาย และเราเป็น กสม. เราก็ต้องทำ
อังคณา กล่าวต่อว่า กรณีของฮิวแมนไรท์วอชท์ นักวิจัยที่เขาทำรายงานฉบับนี้ก็เป็นคนไทย ถ้าเขาส่งเคส หรือข้อมูลการละเมิดสิทธิให้เราตรวจสอบเราก็ยินดี เพราะเราก็เข้าใจว่าแรงงานประมงเป็นแรงงานที่น่าเห็นใจและเสี่ยงต่อการโดนละเมิดสิทธิ กสม. เคยออกรายงานไปแล้วเรื่องแรงงานประมงและทำข้อเสนอแนะให้รัฐบาลไปแล้วในปี 54 และ 57 ซึ่งรัฐบาลก็ได้ดำเนินการปรับปรุงไปบ้างแล้วบางส่วน อันนี้เป็นส่วนที่เรามีข้อมูลข้อเท็จจริงอยู่แล้ว ส่วนที่เรายังไม่มีข้อมูล ก็คงจะต้องตรวจสอบกันต่อไป
แสดงความคิดเห็น