Posted: 10 Dec 2018 06:38 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท www.prachatai.com)
Submitted on Mon, 2018-12-10 21:38
10 ธ.ค. 2561 เพจ Activists Media รายงานว่าเมื่อเวลา 17.00 น. สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาชนปาตานีและชมรมสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้มีการชูป้ายรณรงค์เนื่องในวันสิทธิมนุษยชนสากล ณ ลานพระบิดามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ โดยกิจกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสื่อสารและให้ความร่วมมือกับประชาคม และเพื่อให้ประชาชนปาตานีตระหนัก สิทธิเสรีภาพของตน สิทธิมนุษยชนคืออะไร นิยามสั้นๆ คือ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่เป็นของพวกเราทุกคนไม่ว่าเราจะเป็นใครหรืออยู่ที่ไหนบนโลกใบนี้ ไม่ว่าคุณจะมีความเชื่ออะไรหรือใช้ชีวิตแบบไหนก็ตาม สิทธิมนุษยชนไม่ว่าใครก็ไม่สามรถพรากไปจากเราได้ และรัฐก็ไม่สามารถเลือกที่จะเคารพสิทธิใดสิทธิหนึ่งได้ สิทธิทุกสิทธิต้องได้รับการเคารพอย่างเท่าเทียมกัน
ทั้งนี้ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) ในปี 2491 หลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 องค์การสหประชาชาติได้กำหนดปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขึ้นเพื่อเป็นกรอบในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ทุกคน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ได้แบ่งสิทธิและเสรีภาพออกเป็น 30 หมวด เช่น สิทธิในการแสวงหาที่ลี้ภัย สิทธิในการมีเสรีภาพจากการทรมาน สิทธิและเสรีภาพการแสดงออก และสิทธิในการศึกษา ไม่มีใครสามารถพรากสิทธิและเสรีภาพนี้ไปจากเราได้ เพราะสิทธิและเสรีภาพนี้เป็นของพวกเราทุกคน ทั้งนี้ยังเพิ่มมาด้วย กติการะหว่างประเทศอีก 2 ฉบับด้วยกัน ได้แก่กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มี.ค. 2519 (ค.ศ.1976) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 3 ม.ค. 2519 (ค.ศ.1976)
ผู้จัดงานระบุว่าพวกเรามักจะไม่ได้ให้ความสำคัญกับสิทธมนุษยชนมากพอ จนทำให้บางครั้งเราอาจถูกละเมิดโดยที่เราไม่ได้มีสิทธิโต้แย้งใดๆ ในโลกนี้ยังมีผู้คนอีกมากที่ไม่ได้รับสิทธิตามที่ควรจะได้ความไม่ยุติธรรมยังคงมีอยู่ทุกที่หากเรายังคงเพิกเฉย ไม่นานเราทุกคนคงไม่มีแม้แต่สิทธิที่จะใช้ชีวิตอย่างอิสระและนั้นก็เป็นสาเหตุที่ว่าทำไมสิทธิมนุษยชนจึงควรถูกคุ้มครองตามกฎหมายเพื่อที่เราจะได้เอาผิดและดำรงความยุติธรรมเมื่อรัฐหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งละเมิดสิทธิมนุษยชน
แสดงความคิดเห็น