ผลวิจัยชีวิตวาฬเพชฌฆาต อาจช่วยเผยความลับเรื่องการหมดประจำเดือนในมนุษย์
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์และมหาวิทยาลัยยอร์คของอังกฤษ ติดตามศึกษาวาฬเพชฒฆาตฝูงหนึ่งที่นอกชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกทางตอนเหนือมาเป็นเวลานานกว่า 40 ปี เพื่อศึกษาพฤติกรรมการขยายพันธุ์และการรวมกลุ่มเป็นครอบครัวในระยะยาว ที่อาจบ่งชี้ถึงความเป็นมาทางวิวัฒนาการที่ทำให้เกิดการหมดประจำเดือนในเพศเมีย ซึ่งเป็นลักษณะที่พบได้ในสัตว์เพียง 3 ชนิดเท่านั้น
ทั้งนี้ มีเพียงมนุษย์ วาฬนำร่องครีบสั้น และวาฬเพชฌฆาตเท่านั้น ที่เพศเมียมีอาการหมดประจำเดือน และหยุดการตั้งครรภ์ในช่วงกลางของชีวิต ส่วนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมประเภทอื่นเช่นช้างหรือลิงชิมแปนซี ไม่มีลักษณะเช่นนี้ โดยนักวิทยาศาสตร์ยังไม่สามารถอธิบายได้ว่า เหตุใดการหมดประจำเดือนจึงพบได้เพียงในมนุษย์และวาฬบางชนิดเท่านั้น ในเบื้องต้นสันนิษฐานว่า อาจเกี่ยวข้องกับความเป็นมาของวิวัฒนาการ หรืออาจเป็นลักษณะเฉพาะที่เกิดขึ้นจากการที่มนุษย์มีชีวิตยืนยาว
ศาสตราจารย์ดาร์เรน ครอฟท์ จากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์บอกว่า วาฬเพชฌฆาตจะหมดประจำเดือนและตกลูกตัวสุดท้ายในช่วงอายุราว 30-40 ปี แต่ยังสามารถมีชีวิตยืนยาวต่อไปได้ถึงราว 80-90 ปี หรือแม้กระทั่งร้อยปี โดยลูกวาฬตัวผู้จะติดตามแม่ของมันไปตลอดชีวิต ส่วนวาฬเพชฌฆาตตัวเมียนั้นแม้จะหมดประจำเดือนแล้ว แต่ก็ยังคงมีบทบาทสำคัญในฝูงในการช่วยเหลือวาฬตัวอื่น รวมทั้งใช้ประสบการณ์ที่มากขึ้นตามวัยช่วยเหลือฝูงในการหาอาหารและหลบภัย ‪#‎KillerWhale‬ ‪#‎Orca‬‪#‎Menopause‬


แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.