“หมอเลี้ยบ” ถูกส่งตัวเข้าเรือนจำทันทีหลังศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุก 1 ปี คดีแปลงสัญญาดาวเทียม
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือหมอเลี้ยบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในรัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินว่ามีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จากข้อกล่าวหาว่าแปลงสัญญาโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ไทยคม เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยศาลตัดสินจำคุก 1 ปีไม่รอลงอาญา และ นพ.สุรพงษ์ถูกนำตัวไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทันทีหลังคำตัดสิน
นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือหมอเลี้ยบ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ในรัฐบาลของนายทักษิณ ชินวัตร ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินว่ามีความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ จากข้อกล่าวหาว่าแปลงสัญญาโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ ไทยคม เอื้อประโยชน์ให้กับบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยศาลตัดสินจำคุก 1 ปีไม่รอลงอาญา และ นพ.สุรพงษ์ถูกนำตัวไปยังเรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ทันทีหลังคำตัดสิน
คดีนี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี หรือหมอเลี้ยบ อายุ 59 ปี อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร, นายไกรสร พรสุธี อดีตปลัดกระทรวงไอซีที สมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร และนายไชยยันต์ พึ่งเกียรติไพโรจน์ อดีตผู้อำนวยการสำนักกิจการอวกาศแห่งชาติ และอดีตปลัดกระทรวงไอซีที ในรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 1-3 ตามลำดับ โดยจำเลยที่ 2 และ 3 ศาลตัดสินจำคุก 1 ปี และปรับ 20,000 บาท แต่ให้รอลงอาญาโทษจำคุก
ศาลชี้ว่าจำเลยทั้ง 3 คน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จากการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ฉบับที่ 5) โดยไม่ผ่านการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ต้องถือในบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จากไม่น้อยกว่า 51% เป็นไม่น้อยกว่า 40% ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญของสัญญาสัมปทาน ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากจำเลยทราบดีว่าบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ขอลดสัดส่วนหุ้นเพื่อหาพันธมิตรในการลงทุน
การแก้สัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคมเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2547 ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากฝ่ายที่ต่อต้านรวมถึงถูกนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ชี้ว่าบริษัทไทยคมต้องการเพิ่มทุนเพื่อดำเนินโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึงราว 16,500 ล้านบาท การลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในต้องถือในบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จึงเปิดโอกาสให้บริษัทชินคอร์ป ไม่ต้องระดมทุนหรือกู้ยืมมาซื้อหุ้นเพื่อรักษาสัดส่วนร้อยละ 51 ของตนเองตามที่ถูกกำหนดในสัญญาสัมปทานเดิม
ศาลชี้ว่าจำเลยทั้ง 3 คน มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต จากการอนุมัติแก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการดาวเทียมสื่อสารภายในประเทศ (ฉบับที่ 5) โดยไม่ผ่านการเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ลดสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ต้องถือในบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จากไม่น้อยกว่า 51% เป็นไม่น้อยกว่า 40% ซึ่งถือเป็นสาระสำคัญของสัญญาสัมปทาน ถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เนื่องจากจำเลยทราบดีว่าบริษัทชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ขอลดสัดส่วนหุ้นเพื่อหาพันธมิตรในการลงทุน
การแก้สัญญาสัมปทานดาวเทียมไทยคมเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 27 ต.ค. 2547 ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากฝ่ายที่ต่อต้านรวมถึงถูกนำคดีขึ้นสู่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยผู้ที่วิพากษ์วิจารณ์ชี้ว่าบริษัทไทยคมต้องการเพิ่มทุนเพื่อดำเนินโครงการดาวเทียมไอพีสตาร์ซึ่งจะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึงราว 16,500 ล้านบาท การลดสัดส่วนผู้ถือหุ้นของบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ในต้องถือในบริษัท ชิน แซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) จึงเปิดโอกาสให้บริษัทชินคอร์ป ไม่ต้องระดมทุนหรือกู้ยืมมาซื้อหุ้นเพื่อรักษาสัดส่วนร้อยละ 51 ของตนเองตามที่ถูกกำหนดในสัญญาสัมปทานเดิม
แสดงความคิดเห็น