งงๆ ข่าวสดเปลี่ยนโฉมใหม่ แถมไม่บอกจำนวนคนอ่าน เลยไม่รู้ว่า "แม้ว" ขึ้นหัวรอบนี้จะเรียกเรตติ้งไหม 555
กฎหมาย 7 ชั่วโคตรลดครึ่งเหลือ 3 ชั่วดคตรที่จะเอาผิดกับข้าราชการนักการเมืองนี่ ไม่ใช่ของใหม่ มันคือมาตรา 100 กฎหมาย ปปช.ว่าด้วยผลประโยชน์ทับซ้อน ที่เอาทักษิณติดคุก 2 ปีมาแล้วนั่นเอง
เพียงแต่มาตรา 100 เดิมเอาผิดเฉพาะกรณีคู่สมรส ทำสัญญากับรัฐในหน่วยงานที่ตนมีอำนาจ ของใหม่จะขยายรวมลูก คู่สมรสของลูก พ่อตาแม่ยายพ่อปู่แม่ย่าของลูก และขยายความผิดอีกหลายอย่าง เช่นการบรรจุแต่งตั้งเข้ารับราชการ เลื่อนขั้น โยกย้าย เสนอนโยบายหรือตัดสินใจเอื้อประโยชน์
สนุกละครับ ถ้าร่างจริงใช้จริง ข้อแรก จะตัดสินแบบคดีทักษิณไหม คือไม่ดูเจตนาทุจริตเป็นองค์ประกอบ แค่เซ็นชื่อให้เมีย ประมูลซื้อที่ดิน ก็ถือว่าผิดแล้ว ฝ่าฝืนข้อห้ามก็ติดคุกแล้ว ทั้งๆ ที่ศาลชี้เองว่าไม่ทุจริต (ทุจริตได้ไง ถ้าทุจริตเช่นแอบสั่งให้กองทุนฟื้นฟูช่วยเหลือ หม่อมอุ๋ยก็เข้าปิ้งด้วยสิครับ หม่อมอุ๋ยเป็นประกัน ทักกี้ไม่ได้สั่งหรือขอให้ผู้ว่าแบงก์ชาติช่วยเหลือ)
อันที่จริง ม.100 นี่ถ้าตีความเคร่งๆ ไม่ต้องพิสูจน์ก็ได้นะครับ แค่ส่อเจตนา สมมติเช่นผัวเป็นอธิบดี กรมมีจัดซื้อจัดจ้าง บริษัทเมียเข้าแข่งขัน ผ่านคุณสมบัติ ชนะราคา แม้ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าช่วยเหลือ สั่งการ ก็ถือว่าผิดได้เลย แต่คดีทักกี้ ที่ตุลาการเสียงข้างน้อยแย้ง คือ 1.มันเป็นการ "ประมูลขายทอดตลาด" ซึ่งไม่ต้องกำหนดคุณสมบัติ ไม่มีสเปค ใครก็ยื่นซองได้ เปิดซองมาใครให้ราคามากกว่าก็ได้ไป กรรมการไม่มีอำนาจให้คุณให้โทษใดๆ และ 2.กองทุนฟื้นฟู ว่าที่จริงขึ้นกับแบงก์ชาติแบบมีอิสระระดับหนึ่ง แบงก์ชาติก็แต่งตั้งโดย ครม. (ไม่ใช่นายกฯ) และมีอิสระในการบริหาร เสียงข้างน้อย 4 เสียงจึงเห็นว่าไม่ผิด
ข้อถัดมา เมื่อคุณเอามาขยาย 3 ชั่วโคตร เพิ่มฐานความผิด ที่จริงสนุกนะ น้องประยุทธ์จะเซ็นให้ลูกเข้ารับราชการไม่ได้ แต่ถามว่าถ้าฝากลูกเข้ากระทรวงอื่นเลยล่ะ อธิบดี ก.ฝากลูกเข้ากรม ข. อธิบดี ข.ฝากลูกเข้ากรม ก. คนจะใช้เส้นซะอย่างนี่มันดิ้นได้นะครับ แต่คนที่จะเดือดร้อนคือคนทำหน้าที่ตามปกติ
อ้าว สมมตินะ ผมคนโคราช เป็นข้าราชการโคราช ได้เมียโคราช ครอบครัวเมียทำธุรกิจ ถ้าถึงขนาดไปเป็นกรรมการจัดซื้อจัดจ้าง แล้วเมียเข้าประมูล มันก็น่าผิด แต่ถ้าเป็นเรื่องอื่นๆ ละครับ เรื่องทั่วๆ ไปมีเยอะที่บางทีคิดไม่ถึง เช่นการออกใบอนุญาต จดทะเบียนต่างๆ สมมติเป็นสรรพากรประเมินภาษี สมมติเป็นเจ้าหน้าที่ประเมินความช่วยเหลือ SME (หรือประเมินภัยแล้ง มีที่นาเมียตัวเองด้วย)
วิธีง่ายๆ คือกฎหมายออกเมื่อไหร่ ขอย้ายทันที ไม่งั้นอยู่ดีๆ ติดคุก เพราะระบบราชการนี่มันมีขัดแข้งขัดขา ริษยากัน ถ้าเป็นคนโกงจริงมีเส้นมีสาย ก็ไปอยู่คนละจังหวัดแล้วฝากเพื่อนช่วยเมีย (ไม่เห็นยาก)
แต่ถ้าขึ้นมาระดับอธิบดีละครับ ปลัด หรือพวกส่วนกลางที่มีหน้าที่ดูแลกว้างขวาง สมมติเป็นอธิบดีทางหลวง ตัดถนน 100 เส้นมีเส้นหนึ่งผ่านที่ลูกสะใภ้ จะวินิจฉัยยังไงว่าจงใจหรือมันจำเป็นต้องตัดผ่านตรงนั้นจริง (แต่เหตุการณ์จริงอธิบดีจะดองเรื่องไว้ รอเกษียณปั๊บฝากลูกน้องทำปุ๊บ สบายๆ)
เขียนกฎหมายด้วยความคิดบ้าจี้ก็งี้ละ ไม่ได้บอกว่าไม่ควรมี แต่มีแล้วต้องยืดหยุ่น ไม่ให้เป็นเครื่องมือจับผิดหรือกลั่นแกล้งกัน ที่จริงเรื่องทับซ้อนนี้ถ้าพิสูจน์ทุจริตไม่ได้ ควรเป็นแค่โทษวินัย ไม่ถึงคุก แต่พอบ้าจี้จุ้จี้จุกจิกแบบชาร์จแบตก็ไม่ได้ คอยดูระบบราชการจะยิ่งไม่ทำงาน เพราะกลัวทำอะไรก็ผิด แบบเดียวกับกฎหมายเลือกตั้ง ร่างๆ ไปมีแต่คนไม่อยากลงเลือกตั้งเว้นแต่พวกมีเส้นหรือรู้กัน
อ้อๆ กฎหมาย 7 ชั่วโคตรนี่ยัง "แม้วโมเดล" อีกข้อนะครับคือ ใช้ศาลทุจริต ที่ตั้งใหม่ ใช้ระบบไต่สวน ยึดสำนวน ปปช.เป็นหลัก ขรก.ที่เป็นจำเลย จะนึกว่าเป็นศาลแบบเดิมไม่ใช่แล้วนะ ศาลอาญายึดหลักถ้ายังมีข้อสงสัยก็ยกประโยชน์ให้จำเลย แต่ศาลทุจริต ที่เอามาจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนี่ เมริงแก้ข้อสงสัยไม่ได้ เมริงติดคุก

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.