รายงาน: 'ล่องแพในกระแสเชี่ยว' สร้างสรรค์องค์กรทางสังคมท่ ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลง
Posted: 26 Oct 2016 10:38 AM PDT (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ล่องแพในกระแสเชี่ยว เป็นหนังสือที่รวบรวมประสบการณ์ และองค์ความรู้ของคนทำงานทางด้ านสังคมในสหรัฐอเมริกา ทั้งกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน กลุ่มคนผิวดำ กลุ่มคนยากจน คนไร้บ้าน กรรมกร นักเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม ฯลฯ คนทำงานหลากหลายกลุ่มเหล่านี้ ได้มาสรุปบทเรียนร่วมกันทั้ งงานเคลื่อนไหว งานจัดตั้ง ปฏิบัติการไร้ความรุนแรง รวมทั้งการจัดองค์กรแนวระนาบ จนก่อเกิดเป็นหนังสือเล่มนี้
หนังสือเล่มนี้เดิ นทางมายาวนานกว่ าจะออกมาในภาคภาษาไทย และเมื่อคนทำงานทางด้านสั งคมในไทยมีโอกาสได้อ่านก็ชวนกั นมาสนทนาสิ่งที่ได้จาก ล่องแพ เกิดเป็นวงเสวนา “มองบทเรียนการขับเคลื่อนองค์ กรทางสังคมผ่านหนังสือล่ องแพในกระแสเชี่ยว” ขึ้นเมื่อวันที่ 24 ก.ค. ที่ผ่านมา
ชีวิน อริยะสุนทร ผู้จัดการแผนงานเสริมสร้างศั กยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่ อสร้างความเป็นธรรมทางสั งคมและสุขภาพ (นธส.) กล่าวถึงการจัดวงเสวนาครั้งนี้ ว่า “เพื่อเป็นพื้นที่ให้ คนทำงานองค์กรทางสังคมได้ มาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ การทำงานโดยใช้หนังสือ ล่องแพในกระแสเชี่ยว ซึ่งเป็นประสบการณ์การทำงานองค์ กรภาคสังคมในอเมริกามาพูดคุยกัน และมองไปข้างหน้าว่าเราจะมีทิ ศทางเดินไปข้างหน้าเพื่อเปลี่ ยนแปลงสังคมในระดับองค์กรทางสั งคมอย่างไร”
หนังสือเล่มนี้เดิ
ชีวิน อริยะสุนทร ผู้จัดการแผนงานเสริมสร้างศั
ลองมาฟังประสบการณ์ ของคนทำงานองค์กรทางสั งคมในไทยกันบ้างว่าเหมือนหรื อแตกต่างอย่างไร รวมทั้งหลากหลายมุมมองที่ได้ จากการอ่านหนังสือเล่มนี้
วัฒนธรรมอำนาจนิยมในองค์กรทางสั งคม
เราคิดว่าการเปลี่ยนแปลงข้างนอกกับข้างในมันไม่ได้แยกกัน เมื่อไรที่แยกกันแปลว่าเราไม่ เข้าใจ เมื่อไรที่เราเห็นข้างนอกกับข้ างในแยกกัน เรายังไม่เข้าใจเรื่ องการทำงานเพื่อการเปลี่ยนแปลง
- อวยพร เขื่อนแก้ว -
อวยพร เขื่อนแก้ว ศูนย์ผู้หญิงเพื่อสันติ
จอร์จ เลกี้ เขียนหนังสือหลายเล่มเพื่อแบ่
“เล่มนี้แปลเมื่อ 22 ปีที่แล้ว ตอนนั้นแปลแล้วแปลไม่หยุ
“ตอนนั้นเริ่มค้นพบว่
“พอแปลหนังสือเล่มนี้ก็เลยตัดสิ
อวยพรตั้งคำถามสำคัญว่า “ในเมื่อสังคมทุกวันนี้เป็นสั
สังคมปิรามิ
ในฐานะคนจัดกระบวนการเรียนรู้
วัฒนธรรมองค์กรแบบเควกเกอร์
เควกเกอร์สนใจในสัมพันธภาพของมนุษย์ต่อมนุษย์ ความจริงใจ การรับฟังอย่างลึกซึ้ง การไม่สะสมทรัพย์ การลดการบริโภค การจับตัวเป็นองค์ กรของเควกเกอร์เป็นไปเพื่อสร้ างการเปลี่ยนแปลง เพราะเควกเกอร์ตั้งปณิธานไว้ว่ าเขาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสั นติภาพโลก
- ธีรวัฒน์ ตันติวิริมานนท์ -
จากที่อวยพรกล่าวถึงผู้เขียน จอร์จ เลกี้ ว่าเป็นเควกเกอร์นั้น ธีรวัฒน์ ตันติวิริมานนท์ ที่ปรึกษาการบริหารแผนงาน การจัดการโครงการและการพั ฒนาองค์กร ได้ขยายความให้เห็นภาพของ “เควกเกอร์” ผ่านหนังสือเล่มนี้ว่า
“เวลาผมอ่านหนังสือเล่มนี้ ผมมองสมมติตัวเองว่า จอร์จ เลกี้ กำลังเขียนในวัฒนธรรมไหน ผมพบว่าเล่มนี้เขียนในวั ฒนธรรมของเควกเกอร์ แต่เป็นวัฒนธรรมเควกเกอร์ที่เป็ นส่วนหนึ่งของกระแสหลักของวั ฒนธรรมอเมริกัน กล่าวคือวัฒนธรรมอเมริกันส่ วนใหญ่จะเป็นเรื่องของวิ ทยาศาสตร์ วัฒนธรรมอเมริกันจะเน้น performance (ฝีมือ) และ productivity (ผลผลิต) การจัดองค์กรก็จะมุ่งไปที่ตรงนี้ มากและไม่เอาใจใส่สัมพั นธภาพระหว่างบุคคลมากเท่าที่ควร ก็เลยเกิดคำว่า ‘ทุกคนอยู่สุดเอื้อม’ อันนี้เป็นสภาพหลักทั่วไปและอิ งกับวิทยาศาสตร์ แต่เควกเกอร์เป็นอีกอย่างหนึ่ง
“ผมเคยทำงานกับพวกเควกเกอร์ ในลาว องค์กรในฟิลาเดลเฟีย American Friends Service Committee และผมก็ได้สัมผัสกับวั ฒนธรรมของเขา เควกเกอร์สนใจในสัมพั นธภาพของมนุษย์ต่อมนุษย์ ความจริงใจ การรับฟังอย่างลึกซึ้ง การไม่สะสมทรัพย์ การลดการบริโภค การจับตัวเป็นองค์ กรของเควกเกอร์เป็นไปเพื่อสร้ างการเปลี่ยนแปลง เพราะเควกเกอร์ตั้งปณิธานไว้ว่ าเขาเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสั นติภาพโลกจะมาในรูปแบบไหนก็ตาม บางคนเชื่อในรูปแบบของการต่อต้ านสงครามก็เป็น pacifism (นักสันตินิยม) บางคนเชื่อเรื่องการเข้าไปช่ วยเหลือคนที่อยู่ชายขอบก็เป็นนั กพัฒนา แล้วคนพวกนี้จะมีลักษณะเอาตั วเข้าแลก เขาเอาคอเขาขึ้นเขียงเพื่ออุ ดมการณ์ของเขา ยกตัวอย่างเมื่อครั้งรัฐบาลบุ ชคนพ่อหรือเรแกนสมัยนั้นต้ องการทำสงคราม พวกเควกเกอร์ก็จะไม่เสียภาษีแต่ เขาจะเอาเงินภาษีเก็บเป็นกองทุ นเพื่อทำสันติภาพ รัฐบาลจะจับเขาก็จับแต่เขาเสี ยภาษีนี่ มันก็เกิดภาวะกระอักกระอ่วนขึ้น ถ้าเขาถูกเกณฑ์ไปทำสงครามเขาก็ ไม่ไป แต่ถ้าเขาจำเป็นต้องไปเขาก็ จะไม่ถือปืน แต่ไปขับรถพยาบาล ไปเป็นทหารเสนารักษ์แทน หรือถ้าอเมริกาจะไปทิ้งระเบิดที่ อิรัก เควกเกอร์ก็จะส่งคนไปที่อิรั กไปเป็นโล่ห์มนุษย์
“ฉะนั้นการสร้างองค์กรของเขาเป็ นไปเพื่อช่วยให้เขาทำการเปลี่ ยนแปลงตรงนั้นได้สำเร็จ องค์กรของเขาไม่ได้เป็นไปเพื่ อทำกำไรสูงสุด หรือเพื่อความมั่นคงหรือเป็ นฐานอำนาจให้ตัวเอง เขาเพียงเป็นคนที่มีอุดมการณ์ หรือตั้งปณิธานเพื่อ world peace หรือสันติภาพโลก พวกเขามารวมกันแล้วหาทางปฏิสั มพัทธ์กันเพื่อให้แต่ละคนมี ความสุขที่จะทำงานต่อไปได้ ก็เกิดประเพณีขนบปฏิบัติอันหนึ่ งคือการตัดสินใจ เขาจะปฏิเสธฐานอำนาจโดยสิ้นเชิง คุยกันจนทุกคนตกผลึกผงกหัวยอมรั บแล้วถึงทำ ถ้ามีคนหนึ่งที่ไม่ยอมรับก็จะต้ องคุยกันต่อ บางทีเป็นวัน จนกระทั่งได้ฉันทามติ
“แนวคิดเรื่องเควกเกอร์มีส่ วนคล้ายอย่างมากกับการนับถื อศาสนาพุทธในชุมชนซึ่งมีพิธี กรรมน้อยมาก ผมคิดถึงประเพณีทอดกฐินผ้าป่าซึ่ งไม่มีหัวหน้า แต่ละคนมีปณิธานร่วมกัน แล้วไม่ต้องสั่งการกัน ดูเหมือนว่าทุกคนจะทำสิ่งที่ ขาดโดยไม่จำเป็นต้องมี ใครมาบอกว่าต้องทำอะไร ถ้ามีอะไรผิดพลาดก็หัวเราะกันด้ วยความชื่นมื่น
“สิ่งนี้ทำให้องค์กรเควกเกอร์พิ เศษแตกต่างจากองค์กรกระแสหลั กของอเมริกา และพิเศษต่างจากคัมภีร์พั ฒนาองค์กรในเชิงวิทยาศาสตร์ที่ มองในเชิงผู้สังเกตการณ์ แต่ จอร์จ เลกี้ จะมองมิติของภายในด้วย เขาจะไม่พูดถึงโครงสร้างองค์กร job description การแบ่งอำนาจหน้าที่ การไหลของเอกสารซึ่งเรื่องพวกนี้ ส่วนใหญ่ก็รั บมาจากทางการทหารและอุตสาหกรรม แต่เขาจะดูว่าเงื่อนไขอะไรที่ จะได้ใจคน หลอมใจคน และทำให้คนทำงานมีความสุข นี่คือพูดถึงอำนาจร่วม
“อำนาจร่วมนี้ไม่เพียงแต่ หาโครงสร้างกลไกอำนาจร่วมระหว่ างผู้ปฏิบัติงานกับผู้ปฏิบัติ งาน แต่รวมถึงอำนาจร่วมของปัจเจก ตัวตนของเขาต่ออัตตาของเขาด้วย อย่างที่ในหนังสือเล่มนี้พูดถึ งการจำกัดความเครียดเวลาเกิ ดความขัดแย้งภายในตัวเรา แนวโน้มที่จะคาดคั้นตัวเองทำให้ เราไม่เป็นสุข เป็นต้น
“ที่จริงวัฒนธรรมองค์กรเรารั บมาจากต่างประเทศ แล้วเราก็รับเอาส่วนที่เป็นวิ ทยาศาสตร์ ส่วนที่เป็นกระแสหลักมา แล้วเราก็เข้าใจว่ากำไร ประสิทธิภาพ รวมถึงเรื่องฝีมือเป็นเรื่องที่ ต้องใส่ใจมากกว่าเรื่องของคนต่ อคน เราคิดถึงระบบการติ ดตามงานและประเมินผลงาน (M&E / monitor & evaluation)ในลักษณะของการควบคุ มเพื่อให้เป็นไปตามเป้าที่เราต้ องการโดยลืมความเป็นมนุษย์ไป แต่แท้จริง M&E ในงานเปลี่ยนแปลงสังคมเป็นงานที่ หนุนเสริมให้เกิดความสำเร็จ และไปหนุนเสริมคนต่อคน ช่วงอารมณ์จิตใจภายในของเขาเพื่ อให้ได้ผล ส่วนความสำเร็จหรือล้ มเหลวเรามาถอดบทเรียนกัน ตรงนั้นสำคัญกว่า คือเก็บบทเรียนจากการก้าวเดิ นทดลองทดสอบตามสมรภูมินั้นๆ แล้วก็ศึกษาเพื่อว่าอย่างน้ อยเราก็จะได้มีข้อมูลสมรภูมิที่ มันปรับเปลี่ยนแล้วก็ยุทธศาสตร์ ที่มันได้ผลและไม่ได้ผล”
“เวลาผมอ่านหนังสือเล่มนี้
“ผมเคยทำงานกับพวกเควกเกอร์
“ฉะนั้นการสร้างองค์กรของเขาเป็
“แนวคิดเรื่องเควกเกอร์มีส่
“สิ่งนี้ทำให้องค์กรเควกเกอร์พิ
“อำนาจร่วมนี้ไม่เพียงแต่
“ที่จริงวัฒนธรรมองค์กรเรารั
โครงสร้างปิรามิดในองค์กรเอ็นจี โอไทย
ผมคิดว่าจุดเปลี่ยนที่เป็นหัวใจที่จะนำไปสู่การเปลี่ ยนแปลงก็คือโครงสร้างของเอ็นจี โอซึ่งเป็นปิรามิดจะเปลี่ยนได้ มั้ย เป็นเรื่องที่ท้าทาย...ทำอย่ างไรให้เอ็นจีโอสร้างนวั ตกรรมทำงานร่วมกันกับภาคประชาสั งคมคนยากคนจนได้อย่างแท้จริง
- จะเด็จ เชาว์วิไล -
เมื่อมองย้อนกลับมาที่องค์กรเอ็ นจีโอไทย ดังที่อวยพรได้กล่าวไปตอนต้นแล้ วว่าองค์กรที่ทำงานด้านสังคมล้ วนมีวัฒนธรรมอำนาจนิยม องค์กรเอ็นจีโอไทยส่วนใหญ่ก็เช่ นกัน และโครงสร้างองค์กรแบบปิรามิดที่ ใช้กันอยู่ก็ได้กลายเป็นเสาหลั กค้ำจุนวัฒนธรรมนั้นให้ดำรงอยู่ สืบเนื่องมา
ในฐานะคนทำงานและคลุกคลีอยู่ ในแวดวงองค์กรพั ฒนาเอกชนไทยมาหลายปี จะเด็จ เชาว์วิไล มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล สะท้อนมุมมองประเด็นนี้ไว้ว่า
“ผมทำงานทั้งกับองค์กรที่ ทำงานมานานและมาทำองค์กรใหม่ ก็มีคำถามว่าทำไมโครงสร้างองค์ กรที่มีลักษณะแบบปิรามิดมันถึ งเกิดปัญหา ผมพบว่าวงการเอ็นจีโอไทยขึ้นอยู่ กับคนไม่กี่คน แล้วก็พูดกันวาทกรรมเดิมๆ ว่าผู้นำจะต้องยึดกุมสภาพไปเรื่ อยๆ เพราะน้องๆ ประสบการณ์น้อย ยากมากที่จะเห็นทิศทางในอนาคต ซึ่งเป็นวาทกรรมที่ผมไม่เห็นด้ วย
“จากประสบการณ์ที่ผมเจอมา พอถึงขั้นหนึ่งองค์กรที่ไม่มี กระบวนการมีส่วนร่วม ไม่มีกระบวนการตรวจสอบ มันทำให้คนหลุดออกไปจากขบวน คือพอไม่มีกระบวนการตรวจสอบ มีลักษณะปิรามิดเขาก็มีโอกาสหลุ ดออกไปทั้งจากชื่อเสียงหรื อตำแหน่ง เอ็นจีโอมักคิดว่าเราไม่ใช่นั กการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งเข้ ามาถูกตรวจสอบ เราเป็นคนที่ถูกอุปโลกน์ว่าตั วเองเสียสละทำงานเพื่อสังคม ดังนั้นกระบวนการตรวจสอบเราจึ งมีน้อยมาก นี่คือสิ่งที่ผมคิดว่าเป็นปัญหา
“ผมทำงานมา 31 ปี แรกๆ สิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้ นเพราะตอนนั้นองค์กรพั ฒนาเอกชนไม่ได้รับการยอมรับ ไม่มีใครรู้จัก แต่พอหลังเหตุการณ์พฤษภา 35 บทบาทเอ็นจีโอโดดเด่นมาก ผมคิดว่านั่นเป็นจุดเปลี่ยนสำคั ญที่ทำให้เอ็นจีโอหลายคนเริ่มคิ ดว่าการทำงานเชิงโครงสร้างเป็ นเรื่องสำคัญ สมัยผมทำงานไม่มีเอ็นจี โอคนไหนที่ฐานลอย ทุกคนทำงานกับกรรมกร ทำงานกับชาวไร่ชาวนา ทำงานกับคนสลัม ทำงานกับคนชายขอบ มีทฤษฎีในการทำงานเยอะแยะเต็ มไปหมด เช่นเศรษฐศาสตร์การเมือง สาธารณสุขมูลฐาน เกษตรผสมผสาน ฯลฯ ภาพรวมของเอ็นจีโอที่ผ่ านมาเคยทำงานอยู่กับชาวบ้าน มีอุดมคติช่วยเหลือคนยากคนจน เพราะเราเชื่อว่าถ้าช่วยเหลื อคนยากคนจนแล้วจะนำมาสู่ความเป็ นธรรมทางสังคม ทำให้เกิดความเสมอภาคทางสังคม แต่พอหลังพฤษภา 35 เอ็นจีโอส่วนหนึ่งคิดว่าโครงสร้ างเท่านั้นที่จะนำมาสู่การทำให้ เกิดความเป็นธรรม เลิกทำงานฐาน ซึ่งผมคิดว่ามันผิดในเชิงยุ ทธศาสตร์ และมันก็นำมาสู่การไม่มี กระบวนการตรวจสอบจากขบวนการประช าชน
“สำหรับผม งานฐานเป็นทั้งกลุ่มเป้ าหมายและพื้นที่ ถ้าเรายึดโยงกับคนไม่ได้รั บความเป็นธรรม ผมเชื่อว่าคนทำงานอย่ างพวกเราจะรู้สึกได้ว่าเราไม่ ได้เป็นคนดี ไม่ใช่นางฟ้าไปฉุดเขามาจากนรก แต่เราเป็นคนไม่ต่างจากเขา มันสร้างสำนึกตรงนี้ให้เกิดขึ้ นได้จากการลงไปสัมผัสเชิงลึก เราต้องไปใช้ชีวิตกับเขาเรียนรู้ กินอยู่กับเขา แต่ถ้าเราทำงานโดยขาดตรงนี้มั นก็ทำให้เรามองจากตัวเองโดยไม่ มีกระบวนการตรวจสอบจากเขา ก็จะคิดแต่ว่าตัวเองทำดีอยู่แล้ ว ซึ่งไม่ได้ผิดแต่ผมคิดว่ าในทางจิตวิญญาณมันหายไป ผมห่วงว่าถ้าเอ็นจี โอขาดการทำงานแบบนี้ก็จะทำให้ ไปคิดว่างานเชิงโครงสร้างเท่านั้ นที่แก้ปัญหาซึ่งผมว่าไม่ใช่”
“เมื่อโครงสร้างองค์กรแบบปิรามิ ดที่มีปัญหาเพราะไม่มี กระบวนการตรวจสอบ พอมาบวกกับลักษณะความหวังดี ความเป็นปัญญาชน เราก็เลยมีความเชื่อว่าเราคิดถู ก ในหนังสือเล่มนี้ก็มีตัวอย่างชั ดเจนที่ว่าองค์กรผู้หญิงบางส่ วนที่เป็นปัญญาชนคนชั้นกลางใช้ ประเด็นตัวเองไปครอบผู้หญิ งยากจน ผู้หญิงยากจนเขาต้องการการแก้ปั ญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ แต่พอปัญญาชนคนชั้นกลางเข้ าไปทำงานก็พูดเรื่องโน้นเรื่ องนี้ซึ่งมันไม่ได้แก้ปั ญหาความยากจน ซึ่งในเมืองไทยก็มี การเอาความหวังดี ของเราไปครอบเขา นี่คือลักษณะของปัญญาชนคนชั้ นกลางที่คิดว่าตัวเองติดดี
“ผมออกมาทำงานกับคนรุ่นใหม่ๆ เพราะผมเชื่อว่าต้องกล้าที่จะท้ าทายเปลี่ยนโครงสร้าง การใช้อำนาจร่วมมันอาจจำเป็นแล้ วสำหรับขบวนการในสังคมที่มี ความสลับซับซ้อนต้องการความคิ ดเห็นร่วม หมดยุควีรชนเอกชนแล้ว ถ้าจะอยู่ในสังคมที่สลับซับซ้ อนคุณต้องฟังคนหลากหลาย ผมคิดว่าจุดเปลี่ยนที่เป็นหั วใจที่จะนำไปสู่การเปลี่ ยนแปลงก็คือโครงสร้างของเอ็นจี โอซึ่งเป็นปิรามิดมันจะเปลี่ ยนได้มั้ย เป็นเรื่องที่ท้าทาย และหนังสือเล่มนี้น่าจะเป็ นแรงบันดาลใจที่จะเป็นเครื่องมื อให้คนรุ่นใหม่ๆ ได้มีพื้นที่ เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะเป็นจุ ดเปลี่ยนของภาคประชาสั งคมเพราะมันตอบโจทย์หลายอย่าง”
จะเด็จกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “สุดท้ายผมไม่อยากให้เอ็นจี โอฐานลอย ทำอย่างไรให้เอ็นจีโอสร้างนวั ตกรรมทำงานร่วมกันกับภาคประชาสั งคมคนยากคนจนได้อย่างแท้จริง”
ในฐานะคนทำงานและคลุกคลีอยู่
“ผมทำงานทั้งกับองค์กรที่
“จากประสบการณ์ที่ผมเจอมา พอถึงขั้นหนึ่งองค์กรที่ไม่มี
“ผมทำงานมา 31 ปี แรกๆ สิ่งเหล่านี้ไม่เกิดขึ้
“สำหรับผม งานฐานเป็นทั้งกลุ่มเป้
“เมื่อโครงสร้างองค์กรแบบปิรามิ
“ผมออกมาทำงานกับคนรุ่นใหม่ๆ เพราะผมเชื่อว่าต้องกล้าที่จะท้
จะเด็จกล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า “สุดท้ายผมไม่อยากให้เอ็นจี
การจัดรูปองค์กรเครือข่ ายแบบปลาดาว
การทำงานเครือข่ายในลักษณะที่มีอำนาจจากศูนย์กลางควบคุมสั่ งการไปสู่พื้นที่ แล้วพื้นที่ก็ทำเหมือนกันหมด นี่คือแบบแมงมุม มีแมงมุมตรงกลางมันชักใยไปทั่ว ซึ่งผมคิดว่ามันถึงทางตันแล้ว แต่ถ้าเป็นแบบปลาดาว ปลาดาวมันไปโตแต่ละที่ อย่างน้อยเสี้ยวหนึ่งที่หักไปมั นก็ไม่ตายมันไปโตต่อได้ เพราะบริบทพื้นที่ไม่เหมือนกัน
- องอาจ พรหมมงคล -
องอาจ พรหมมงคล เครือข่ายองค์กรงดเหล้าภาคใต้ กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ว่า “มันเข้ามาสู่ช่วงที่ผมมี
เขาเล่าถึงประสบการณ์
“ความเป็นเครือข่ายงดเหล้ามันซั
“ตอนปี 56 ผมก็เริ่มไปก่อตั้งองค์
“การทำงานแบบเครือข่าย การมีอำนาจจากศูนย์กลางในการถ่
อำนาจร่วมคื อคำตอบของขบวนการเปลี่ยนแปลงสั งคม
ประเด็นอำนาจร่วมเป็นทั้งโจทย์ใหญ่และคำตอบให้กับขบวนการขั บเคลื่อนทางสังคมที่จะเปลี่ ยนแปลงไปสู่สังคมในรูปแบบใหม่ ต้องสร้างอำนาจร่วมให้เกิดขึ้น เป็นจริง และประยุกต์ใช้ได้ ผมว่าความล้มเหลวของสังคมนิยมก็ มาจากรากปัญหานี้
- สามารถ สระกวี -
สามารถ สระกวี เครือข่ายเกษตรฯ จ.สงขลา กล่าวถึงหนังสือเล่มนี้ว่า “รู้สึกเสียดายที่หนังสือเล่มนี้
“ล่องแพ เป็นประสบการณ์ตรงของคนทำงาน แล้วเราก็เป็นคนทำงาน พออ่านไปมันก็ซึมซับระหว่างเรื่
“ประเด็นที่น่าจะเป็นประเด็
“เห็นชัดว่าผู้เขียนพยายามเชื่
“ผมมองว่าล่องแพเป็นหนังสือที่
ในวงเสวนาครั้งนี้ผู้เข้าร่
หมายเหตุ: เก็บความจากวงเสวนา “มองบทเรียนการขับเคลื่อนองค์ กรทางสังคมผ่านหนังสือล่ องแพในกระแสเชี่ยว” จัดโดย แผนงานเสริมสร้างศักยภาพผู้ นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อสร้ างความเป็นธรรมทางสังคมและสุ ขภาพ (นธส.) โดยการสนับสนุนของสำนักสนับสนุ นสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้ างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สำนักพิมพ์ของเรา (protestista) เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2559 ณ ห้องประชุมชั้น 8 ศูนย์ศึกษาสยามคอมเพล็กซ์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน อาคารสภาคริสตจักรในประเทศไทย ดำเนินรายการโดย กิตติชัย งามชัยพิสิฐ สำนักพิมพ์ของเรา
แสดงความคิดเห็น