"หมออั้ม"ยกพระราชดำรัส ตอกย้ำความสำคัญของชาวนา บุญคุณทางอ้อมกับสังคมไทย บนส่วนต่างหยาดเหงื่อของ "รายได้" ที่ไม่สมดุล
.
ก่อนนอนนั่งคิดถึงประโยคๆหนึ่ง มีคนบอกไว้ว่า "ชาวนาไม่ได้มีบุญคุณกับเรา" เขาก็ขายข้าว แลกเงิน เป็นอาชีพหนึ่งเหมือนกัน ก็ค่อนข้างจะพูดได้ว่า คนบอก คิดไม่ลึกพอ และส่วนใหญ่ใจแคบ จะบอกว่า "ชาวนา" ขายข้าวแลกเงิน ก็ไม่ผิดครับ แต่เป็นการ "แลกเงินด้วยหยาดเหงื่อ" ที่ "แทบไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย" โดนเอาเปรียบแทบทุกทาง ตั้งแต่ข้าวออกจากนา ก็ว่าได้..
.
แปลกดีไหม? ข้าวไข่เจียว มีข้าว 1-2 ทัพพี ราคา 25 บาท ข้าวผัดกะเพราะ มีข้าว 1-2 ทัพพี ราคา 30-45 บาท แต่บางยุค ข้าวเปลือกจากท้องนามีราคาเพียงตันละ 6,000-8,000 บาท เท่านั้น ราคาต้นทางของ "ข้าวเปลือก" นั้นมีราคาที่ต่ำ และถูกเสียเหลือเกิน ชาวนา จึงเป็นเสมือน "กระดูกสันหลังของชาติ"ที่ต้องแบกภาระร่างกายส่วนอื่นๆ ตลอดมาและตลอดไป
.
เพราะบ้านเรา มีพื้นที่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม มีภูมิปัญญาชาวบ้าน ตกทอดกันมา เป็นอาชีพในสายเลือด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะทำอุตสาหกรรม หรือจะทำอาชีพอื่น ต่อยอดต่อไปไม่ได้
.
ดังกระแสพระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9เมื่อปี 2536 "..ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อย ๆ ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก.."
.
ที่พี่น้องชาวนา เขามีบุญคุณกับเรา จะบอกว่าเป็นบุญคุณทางอ้อมก็ว่าได้ กว่าจะมาเป็นข้าวทุกๆเม็ด บนจาน กว่าจะมาเป็นอาหาร ตรงหน้าท่านทั้งหลาย
.
"บุญคุณ" จากส่วนต่าง ส่วนต่างของหยาดเหงื่อแรงกาย ที่มลายหายไป บนสัดส่วนของ "รายได้" และคุณภาพชีวิต ที่ไม่สมดุล ไม่เคยได้รับเป็นธรรมอย่างแท้จริง ไม่ว่ายุคสมัยใด
.
พอถึงยุคที่จะลืมตาอ้าปากได้ ด้วยมีรัฐบาลตัวแทนประชาชน ที่เห็นคุณค่าอาชีพ ก็กลับมาถูกการเมืองเล่นงาน ใช้บาลีเข้ายีย่ำ ใช้ความต่ำในใจคน เข้ามาสุมไฟแห่งความบิดเบือน แอบอ้าง ต่อต้าน เสี้ยมเสียด จนล้มพัง เป็นซากปรัก แทบไม่เหลือชิ้นดี แบบที่ต่อไป ก็คงไม่มีใครกล้าคิดจะยื่นมือมาช่วยชาวนาอีก ผลกระทบ จะตามตกมาถึงพวกเราทุกคน ในวันที่ต้องนำเข้า "ข้าว" แบบ 100% ในวันที่แผ่นดิน ไม่มีคำว่า "ชาวนา" อีกต่อไป
.
นพ.อิราวัต อารีกิจ "หมออั้ม"
ที่มาเฟซบุ๊ก "อั้ม อิราวัต อารีกิจ"
27 ตุลาคม 2559
ก่อนนอนนั่งคิดถึงประโยคๆหนึ่ง มีคนบอกไว้ว่า "ชาวนาไม่ได้มีบุญคุณกับเรา" เขาก็ขายข้าว แลกเงิน เป็นอาชีพหนึ่งเหมือนกัน ก็ค่อนข้างจะพูดได้ว่า คนบอก คิดไม่ลึกพอ และส่วนใหญ่ใจแคบ จะบอกว่า "ชาวนา" ขายข้าวแลกเงิน ก็ไม่ผิดครับ แต่เป็นการ "แลกเงินด้วยหยาดเหงื่อ" ที่ "แทบไม่คุ้มค่าเอาเสียเลย" โดนเอาเปรียบแทบทุกทาง ตั้งแต่ข้าวออกจากนา ก็ว่าได้..
.
แปลกดีไหม? ข้าวไข่เจียว มีข้าว 1-2 ทัพพี ราคา 25 บาท ข้าวผัดกะเพราะ มีข้าว 1-2 ทัพพี ราคา 30-45 บาท แต่บางยุค ข้าวเปลือกจากท้องนามีราคาเพียงตันละ 6,000-8,000 บาท เท่านั้น ราคาต้นทางของ "ข้าวเปลือก" นั้นมีราคาที่ต่ำ และถูกเสียเหลือเกิน ชาวนา จึงเป็นเสมือน "กระดูกสันหลังของชาติ"ที่ต้องแบกภาระร่างกายส่วนอื่นๆ ตลอดมาและตลอดไป
.
เพราะบ้านเรา มีพื้นที่เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม มีภูมิปัญญาชาวบ้าน ตกทอดกันมา เป็นอาชีพในสายเลือด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า จะทำอุตสาหกรรม หรือจะทำอาชีพอื่น ต่อยอดต่อไปไม่ได้
.
ดังกระแสพระราชดำรัส ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9เมื่อปี 2536 "..ข้าวต้องปลูก เพราะอีก 20 ปีประชากรอาจจะ 80 ล้านคน ข้าวจะไม่พอ ถ้าลดการปลูกข้าวไปเรื่อย ๆ ข้าวจะไม่พอ เราจะต้องซื้อข้าวจากต่างประเทศ เรื่องอะไร ประชาชนคนไทยไม่ยอม คนไทยนี้ต้องมีข้าว แม้ข้าวที่ปลูกในเมืองไทยจะสู้ข้าวที่ปลูกในต่างประเทศไม่ได้ เราก็ต้องปลูก.."
.
ที่พี่น้องชาวนา เขามีบุญคุณกับเรา จะบอกว่าเป็นบุญคุณทางอ้อมก็ว่าได้ กว่าจะมาเป็นข้าวทุกๆเม็ด บนจาน กว่าจะมาเป็นอาหาร ตรงหน้าท่านทั้งหลาย
.
"บุญคุณ" จากส่วนต่าง ส่วนต่างของหยาดเหงื่อแรงกาย ที่มลายหายไป บนสัดส่วนของ "รายได้" และคุณภาพชีวิต ที่ไม่สมดุล ไม่เคยได้รับเป็นธรรมอย่างแท้จริง ไม่ว่ายุคสมัยใด
.
พอถึงยุคที่จะลืมตาอ้าปากได้ ด้วยมีรัฐบาลตัวแทนประชาชน ที่เห็นคุณค่าอาชีพ ก็กลับมาถูกการเมืองเล่นงาน ใช้บาลีเข้ายีย่ำ ใช้ความต่ำในใจคน เข้ามาสุมไฟแห่งความบิดเบือน แอบอ้าง ต่อต้าน เสี้ยมเสียด จนล้มพัง เป็นซากปรัก แทบไม่เหลือชิ้นดี แบบที่ต่อไป ก็คงไม่มีใครกล้าคิดจะยื่นมือมาช่วยชาวนาอีก ผลกระทบ จะตามตกมาถึงพวกเราทุกคน ในวันที่ต้องนำเข้า "ข้าว" แบบ 100% ในวันที่แผ่นดิน ไม่มีคำว่า "ชาวนา" อีกต่อไป
.
นพ.อิราวัต อารีกิจ "หมออั้ม"
ที่มาเฟซบุ๊ก "อั้ม อิราวัต อารีกิจ"
27 ตุลาคม 2559
แสดงความคิดเห็น