สถานการณ์แรงงานประจำสัปดาห์ 15-21 ม.ค. 2560
Posted: 21 Jan 2017 03:39 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ธุรกิจเรือประมงไทยส่ออาการหนัก ขาดแรงงานจอดตายเพียบ-ราคาปลาพุ่ ง 6 เท่าตัว
เรือประมงไทยอาการหนัก แรงงานขาดแคลนต้องจอดเรือกันเพี ยบ ทั้งฝั่งอันดามัน อ่าวไทย และภาคตะวันออก เหตุโทษรุนแรงปรับถึงหัวละ 4 แสนบาท ออกเรือมีจำนวนแรงงานน้อยกว่าที่ แจ้งล่วงหน้ายังถูกดำเนินคดีฟ้ องศาล ขณะที่ ครม.เลื่อนการออกหนังสือ Seabook ให้แรงงานต่างด้าวจาก ม.ค.ไปกลาง มี.ค.นี้มีสิทธิ์ไม่ทันอีก
รายงานข่าวจากสมาคมการประมงแห่ งประเทศไทย เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่าจากการที่กรมประมงได้มีหนั งสือถึงสมาคมการประมงแห่ งประเทศไทย เกี่ยวกับการให้เจ้าของเรื อประมงพาณิชย์ขนาด 30 ตันกรอสขึ้นไป และขนาด 10 ตันกรอสขึ้นไป ที่ใช้เครื่องมืออวนลาก อวนล้อมจับ อวนครอบปลากะตัก และมีแรงงานบนเรือเป็นคนต่างด้ าว ต้องไปยื่นขอมีหนังสื อคนประจำเรือ (Seabook) โดยกำหนดให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน ภายหลังประกาศมีผลบังคับใช้ ซึ่งจะสิ้นสุดภายในเดื อนมกราคมนี้ ทางสมาคมได้รับการร้องเรี ยนจากสมาชิกชาวประมงในหลายจั งหวัด เกี่ยวกับขั้นตอนการขึ้นทะเบี ยนที่มีความล่าช้าและมีขีดจำกัด ซึ่งชาวประมงเกรงว่าแรงงานต่ างด้าวจะได้รับหนังสื อคนประจำเรือ(Seabook) ไม่ทันตามระยะเวลาตามที่ กรมประมงกำหนด เนื่องจากจะเริ่มดำเนินการบังคั บใช้ตามกฎหมายแล้วนั้ นทางสมาคมจึงได้ยื่นหนังสือถึง พล.อ.ฉัตรชัยสาริกัลยะ รัฐมนตรีว่ าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อขอขยายระยะเวลาการมีหนังสื อคนประจำเรือ (Seabook) สำหรับแรงงานต่างด้าวออกไปอีก
รายงานข่าวกล่าวว่า ล่าสุดคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติในหลักการร่ างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง การออกหนังสือคนประจำเรื อตามกฎหมายว่าด้วยการประมง (ฉบับที่...) พ.ศ. ...ตามที่ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่ าการกระทรวงเกษตรฯเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่ างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่ เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเป็นเรื่ องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
โดยสาระสำคัญของร่างประกาศสำนั กนายกรัฐมนตรี ให้ขยายเวลาในการกำหนดให้ คนประจำเรือที่ทำงานอยู่ในเรื อประมง ซึ่งเป็นคนต่างด้าว และยังไม่มีหนังสือคนประจำเรือ ต้องมีหนังสือคนประจำเรือ จากเดิมที่ต้องดำเนินการภายใน 120 วันนับตั้งแต่วันที่ประกาศมี ผลใช้บังคับภายในวันที่ 12 มกราคม 2560 ออกไปเป็นวันที่ 15 มีนาคม 2560
นางอุมาพร พิมลบุตร รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า จากกรณีที่มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 10 มกราคมที่ผ่านมา ให้ขยายระยะเวลาในการกำหนดให้ คนประจำเรือที่ทำงานอยู่ในเรื อประมงซึ่งเป็นคนต่างด้าว และยังไม่มีหนังสือ
คนประจำเรือให้มีหนังสื อคนประจำเรือ (Seaman Book) จากเดิมที่ต้องมีการดำเนิ นการภายใน 120 วัน นับตั้งแต่วันที่มีผลใช้บังคับ (ภายใน 12 มกราคม 2560) เลื่อนออกไปเป็น 15 มีนาคม 2560 นั้น เนื่องจากก่อนหน้านี้ผู้ ประกอบการได้เข้ายื่นหนังสื อมายังรัฐมนตรีว่ าการกระทรวงเกษตรฯถึงปั ญหาในการจดทะเบียน โดยอุปสรรคหลักคือเรื่ องของภาษาในการสื่อสาร ขาดแคลนล่าม จึงทำให้ล่าช้า ทั้งนี้เร็ว ๆ นี้ตามกำหนดการเดิมในเดื อนมกราคมนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กรมประมง ศูนย์บัญชาการแก้ไขปั ญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเดินทางไปยังกรุงบรัสเซลส์ เบลเยียม เพื่อหารือและรายงานความก้าวหน้ าผลการแก้ไขปัญหาประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน ไร้การควบคุม (IUU) ซึ่งจะมีประเด็นความคืบหน้ าผลการบังคับคดีเรือประมงผิ ดกฎหมาย ศูนย์ PIPO การควบคุมจำนวนเรือขนถ่ายเกี่ ยวกับเรื่องนี้ นายมงคล สุขเจริญคณา ประธานสมาคมการประมงแห่ งประเทศไทย เปิดเผยว่า เนื่องจากเรื่องนี้เป็นระบบใหม่ กรมประมงมีการสั่งเครื่องมืออุ ปกรณ์มาทำงานเมื่อเดือนธั นวาคมปีที่ผ่านมา ทำให้ระบบและเจ้าหน้าที่ยังไม่ พร้อม สามารถออกหนังสือ Seabook ให้แรงงานต่างด้าวได้เฉลี่ยวั นละ 40-50 คน วันที่ 12 มกราคมนี้ไม่ทันอย่างแน่นอน และคาดว่าวันที่ 15 มีนาคมศกนี้ก็คงไม่เรียบร้อยเช่ นกัน
สถานการณ์ของเรือประมงไทยขณะนี้ อาการหนักมาก ต้องมีเอกสารไว้ยื่นกับหลายหน่ วยงาน ทั้งกรมประมง กรมเจ้าท่ากรมสวัสดิการและคุ้ มครองแรงงาน ศูนย์ตรวจสอบเรือเข้า-ออก (PIPO) และทหารเรือ กอปรกับไม่มีแรงงานใหม่ลงเรือ ทำให้เรือประมงต้องจอดตายนับร้ อยลำที่ อ.กันตัง จ.ตรัง และอีกจำนวนมากที่สงขลา ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย และภาคตะวันออก เพราะหากถูกจับเรื่องแรงงานผิ ดกฎหมายจะถูกปรับถึงรายละ 4 แสนบาท ล่าสุด เรืออวนล้อมปลากะตัก นำแรงงานผิดกฎหมาย 14 คนจับปลาถูกจับที่ภาคตะวั นออกรวมแล้วถูกปรับคิดเป็นเงิ นกว่า 5.6 ล้านบาทหรือหากแจ้งล่วงหน้าต่อ PIPO ว่าจะมีแรงงานบนเรือประมงออกจั บปลา 15 คน เมื่อออกไปจับจริงแรงงานบนเรื อเหลือ 12 คน เพราะแรงงานมีการโยกย้ายบ่อยมาก ก็จะจับดำเนินคดีส่งฟ้องศาล ทำให้เรือประมงสุดจะอดกลั้นในปั ญหาที่ถาโถมเข้ามาจำนวนมาก ในขณะที่การจ่ายค่าชดเชยการซื้ อเรือคืนของภาครัฐก็ค่อนข้างช้า
ส่วนราคาสินค้าประมงก็ขยับขึ้ นสูงมาก ปลาทูจากที่เคยซื้อตัวละ 5 บาท ก่อนแก้ IUU ขณะนี้ตัวละ 20-30 บาทแล้วแต่ขนาดปลาสด จากเดิม กก.ละ 60-70 บาท ก็ขยับเป็น กก.ละ 150 บาท เพราะเรือประมงไม่ ออกทะเลจำนวนมาก ทำให้ห้องเย็นและโรงงานแปรรูปส่ งออกในไทยต้องนำเข้าสัตว์น้ำ จากมาเลเซียและอินเดียแทน
กสร.แนะนายจ้างตั้ง "สหกรณ์ออมทรัพย์" ช่วยลูกจ้างออม ป้องกันกู้หนี้นอกระบบ
นายสุเมธ มโหสถ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้ มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ใช้แรงงานจำนวนมากมี รายได้ไม่เพียงพอต่อรายจ่ ายและกู้เงินนอกระบบ มีหนี้สินจนส่งผลกระทบต่อการงาน ขณะที่ผู้ประกอบการเองก็ประสบปั ญหาการขาดแคลนแรงงาน จากปัญหาดังกล่าว พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้กำชับให้ กสร.เร่งดำเนินการส่งเสริมให้ผู้ ใช้แรงงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้ที่เพียงพอต่อรายจ่าย กสร.จึงได้น้อมนำแนวพระราชดำริ เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภู มิพลอดุลยเดช ที่ได้พระราชทานแก่ ปวงชนชาวไทยนำมาเป็นหลักในการส่ งเสริมให้สถานประกอบการจัดสวั สดิการด้านเศรษฐกิจให้กับผู้ใช้ แรงงาน ผ่านโครงการส่งเสริมให้จัดตั้ งสหกรณ์ออมทรัพย์ ในสถานประกอบการ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ แรงงาน ในการสร้างเสริมวินัยในการใช้จ่ าย รู้จักพอประมาณ ความมีเหตุผลและมีภูมิคุ้มกันด้ วยการออม ในกรณีที่มีความขัดสนเรื่องค่ าใช้จ่ายลูกจ้างก็สามารถจะกู้ยื มเงินผ่านสหกรณ์ออมทรัพย์ ในสถานประกอบกิจการ โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์มาค้ำ ประกันและเสียดอกเบี้ยในอัตราถู ก ซึ่งจะเป็นหนทางในการป้องกันปั ญหาการกู้ยืมเงินนอกระบบของลู กจ้าง
นายสุมเธ กล่าวว่า กสร.มีกองทุนเพื่อผู้ใช้ แรงงานวงเงิน 260 ล้านบาท ไว้ให้บริการแก่สหกรณ์ออมทรัพย์ ในสถานประกอบการกู้ยืมเพื่อเป็ นทุนหมุนเวียนในอัตราดอกเบี้ยต่ำ นายจ้างเจ้าของสถานประกอบการที่ สนใจสอบถามได้ที่ กองสวัสดิการแรงงาน กสร. หรือโทร.สายด่วน 1546 อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างให้ความสำคัญกับการจั ดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ ในสถานประกอบการแล้ว ลูกจ้างเองก็ต้องให้ความสำคั ญและตั้งใจที่จะแก้ปัญหาหนี้สิ นของตนเอง พร้อมน้อมนำแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง ไปปฎิบัติใช้ในชีวิตประจำวันให้ เกิดเป็นนิสัยจนสามารถปลดหนี้ และมีชีวิตที่ดียิ่งขึ้ นตามศาสตร์พระราชา
ประกันสังคมเตือนนายจ้างแจ้งเข้ า-ออกลูกจ้างตรงเวลาที่กำหนด
สำนักงานประกันสังคมจังหวัดแพร่ แจ้งเตือนให้นายจ้างแจ้งขึ้ นทะเบียนลูกจ้างทุกครั้ง ที่ลูกจ้างมีการเข้าทำงานภายใน 30 วัน และแจ้งออกจากงาน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยส่งข้อมูลผ่าน www.sso.go.th เพื่อความสะดวก รวดเร็วแก่นายจ้าง
นางนาฏน้อย เอิบสุขสิริ ประกันสังคมจังหวัดแพร่ เปิดเผยว่า ปัจจุบันสำนักงานประกันสั งคมพบว่ามีสถานประกอบการหลายแห่ งรับลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกั นตนเข้าทำงาน หรือมีผู้ประกั นตนออกจากงานไปแล้ว แต่ไม่ได้เนินการแจ้งขึ้นทะเบี ยนหรือแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ ประกันตนต่อสำนักงานประกันสั งคมภายในระยะเวลาที่กำหนด ทำให้ฐานข้อมูลผู้ประกันตนซึ่ งเป็นข้อมูลหลักที่ใช้ในการปฏิ บัติงานไม่ถูกต้องเป็นปัจจุบัน ส่งผลกระทบให้ผู้ประกันตนไม่มี สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนหรื อได้รับประโยชน์ทดแทนล่าช้า หรือเป็นเหตุให้สำนักงานประกั นสังคมจ่ายประโยชน์ทดแทนเกินสิ ทธิของผู้ประกันตน
ดังนั้น เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามที่ กฎหมายกำหนดอันเป็นการคุ้ มครองสิทธิให้แก่ผู้ประกั นตนและไม่ให้เกิดความผิ ดพลาดการจ่ายเงินกองทุนประกันสั งคม กรณีการรับลูกจ้างเข้าทำงาน ขอให้นายจ้างแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ ประกันตน ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้ าทำงาน ส่วนกรณีลูกจ้างออกจากงาน ให้นายจ้างแจ้งการสิ้นสุ ดความเป็นผู้ประกันตน ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป หากพบว่านายจ้างรายใดมีเจตนาแจ้ งเข้าออกล่าช้า จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติ ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดื อนหรือปรับไม่เกินสองหมื่ นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ทั้งนี้ เพื่อความสะดวกรวดเร็ว นายจ้างสามารถส่งข้อมูลงานทะเบี ยนโดยทำรายการผ่านทาง www.sso.go.th หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติ มได้ที่ สำนักงานประสังคมจังหวัดแพร่ หมายเลขโทรศัพท์ 0 5452 2231-2 ต่อ 117-119 หรือ โทรสายด่วนประกันสังคม 1506
ก.แรงงาน ไฟเขียว 90 ล้าน จ้างงานเร่งด่วนออก กม.จ่ายเงินทดแทนเยียวยาลูกจ้ างภายหลังน้ำลด
นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน แถลงว่าที่ประชุมกระทรวงเห็ นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้ประสบอุ ทกภัยของกระทรวงแรงงานในการฟื้ นฟูภายหลังน้ำลด ซึ่ง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้ทุกหน่วยงานระดมสรรพกำลั งในการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภั ยใน 12 จังหวัดภาคใต้ โดย พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ติดตามสถานการณ์และให้ สำรวจข้อมูลสถานประกอบกิจการที่ ได้รับผลกระทบ ซึ่งพบว่า มีสถานประกอบกิจการในพื้นที่ 12 จังหวัด 42,330 แห่ง ลูกจ้าง 1,094,360 คน สถานประกอบการได้รับผลกระทบ 8,753 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบ 127,018 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 15 ม.ค.60)
นายอนันต์ชัย กล่าวต่อว่า มาตรการช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ ประสบอุทกภัยภายหลังน้ำลด ประกอบด้วย 1) บริการการซ่อมแซมเครื่องใช้ไฟฟ้ า เครื่องปรับอากาศ รถจักรยานยนต์ เครื่องมือทางการเกษตร โดยทีมช่าง จะให้บริการซ่อมฟรีที่สถาบัน/ศู นย์พัฒนาฝีมือแรงงานแต่ละจังหวั ด 2) การฝึกอบรมให้กับลูกจ้าง ประชาชนเพื่อให้สามารถนำความรู้ ไปซ่อมแซมอุปกรณ์ไฟฟ้า และปรับปรุงสภาพแวดล้อมบ้านเรื อนของตนเองได้ อาทิ การก่ออิฐ ฉาบปูน การปูกระเบื้อง โดยเป็นหลักสูตรระยะสั้น 3-5 วัน ผู้เข้ารับการอบรมจะได้รับเบี้ ยเลี้ยงวันละ 100 บาท 3) การจ้างงานเร่งด่วน โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูบ้านเรื อนหรือชุมชนในการปรับปรุ งสภาพแวดล้อมของชุมชนภายหลังน้ำ ลด ซึ่งดำเนินการตามความต้ องการของชุมชน โดยมีค่าตอบแทนให้คนละ 150 บาท สำหรับการทำงาน 4 ชั่วโมง ทั้งนี้ได้จัดสรรงบประมาณไว้แล้ วรวม 90 ล้านบาท
มาตรการที่ 4) คณะกรรมการประกันสังคมมีมติเมื่ อวันที่ 11 ม.ค. 60 ให้นายจ้างจ่ายสมทบ 3% และลูกจ้างจ่ายสมทบ 3 % จากเดิม 5 % เป็นเวลา 3 เดือน (ม.ค.-มี.ค.60) ส่วนลูกจ้างที่เป็นผู้ประกั นตนตามมาตรา 39 ซึ่งออกจากงานไปแล้ว แต่ยังอยู่ในระบบประกันสั งคมจะจัดเก็บเงินสมทบในอัตราเดื อนละ 288 บาท นอกจากนี้ ยังขยายเวลาการจ่ายเงิ นสมทบโดยไม่เสียค่าปรับ ในกรณีที่ไม่สามารถนำส่งได้ทั นกำหนด รวมทั้งการจ่ายเงินทดแทนการว่ างงานให้กับผู้ประกันตน เตรียมออกกฎหระทรวง ให้สามารถจ่ายเงินทดแทนกรณีว่ างงานด้วยเหตุสุดวิสัย จนต้องหยุดกิจการชั่วคราว จะจ่ายเงินให้ลูกจ้างในอัตราร้ อยละ 50 บาทไม่เกิน 180 วัน โดยจ่ายให้ตามจริงกับวันที่ สถานประกอบการหยุดงาน ขณะนี้ พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล
รมว.แรงงานได้ ลงนามในกฎกระทรวงแล้ว อยู่ระหว่างการประกาศในราชกิ จจานุเบกษา ก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ 5) การให้กู้เงินฟื้นฟู สถานประกอบการกู้เพื่อฟื้นฟู ความปลอดภัยวงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาท ดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี ผ่อนชำระไม่เกิน 5 ปี 6) ตรวจสอบความปลอดภั ยในสถานประกอบการ เพื่อแนะนำให้ปรับปรุงแก้ไขถู กต้องและปลอดภัยก่อนเริ่มใช้งาน 7) มาตรการสำรวจผลกระทบ ความต้องการประกอบอาชีพ โดยมีรถโมบายยูนิตไปสำรวจในพื้ นที่ประสบภัย เพื่อจัดอบรมฝึกอาชีพอิ สระระยะสั้นให้มีรายได้เลี้ยงดู ตนเองได้
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการ ลูกจ้าง ประชาชนทั่วไป สามารถขอรับบริการความช่วยเหลือ โดยสามารถติดต่อหน่วยงานในสังกั ดกระทรวงแรงงาน ได้ที่สำนักงานแรงงานจังหวัด สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานสวัสดิการและคุ้ มครองแรงงานจังหวัด สถาบัน/ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจั งหวัด และสำนักงานประกันสังคมทุกจั งหวัดทั่วประเทศ หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ สายด่วนกรมการจัดหางาน 1694 สายด่วนประกันสังคม 1506 และสายด่วนกรมสวัสดิการและคุ้ มครองแรงงาน 1546
กลุ่มแรงงานพม่าร้องเรียนจั ดหางานเชียงใหม่ โวยถูกนายหน้าหลอกเงิน-วอนช่วย
(16 ม.ค. 60) ที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มแรงงานสัญชาติพม่า 18 คน นำโดยนางมิ้น (ไม่มีนามสกุล) รวมตัวเข้ายื่นหนังสือร้องเรี ยนและขอความช่วยเหลือต่อสำนั กงานจัดหางานจังหวัดเชียงใหม่ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีที่ถูกนายศรีวรรณ (ไม่มีนามสกุล) สัญชาติพม่า ที่เป็นอ้างตัวว่าเป็นนายหน้ าจากบริษัทรับเหมาก่อสร้างแห่ งหนึ่ง หลอกให้จ่ายเงินคนละ 16,000 บาท เพื่อให้ได้สถานะการนำเข้ าแรงงานด่างด้าวตามเอ็มโอยู แต่ไม่สามารถดำเนินการได้ตามนั้ น อยากขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้ องช่วยตรวจสอบและดำเนินการลงโทษ พร้อมกับเรียกเงินคืนให้กั บแรงงานที่ถูกหลอก โดยมีนายจักรี หุ่นโพธิ์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ เป็นตัวแทนรับมอบหนังสือดังกล่ าว
ทั้งนี้ นายสายทิพย์ อาวัน เจ้าหน้าที่มูลนิธิสิทธิมนุ ษยชนและการพัฒนา เปิดเผยว่า การยื่นหนังสือในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่ก่อนหน้านี้ กลุ่มนางมิ้นพร้อมด้วยแรงงานสั ญชาติพม่าอีก 17 คน เป็นชาวพม่าที่ได้ถือบัตรสีชมพู ที่ทางรัฐบาลผ่อนผันให้เข้ ามาทำงานในราชอาณาจักรไทย บางคนถือบัตรพาสปอร์ตสีม่วง มีวีซ่า หากออกนอกประเทศไทยโดยไม่มี การแสตมป์อย่างถูกต้องจะไม่ สามารถกลับเข้าประเทศไทยได้อีก
ดังนั้น จึงอยากที่จะทำงานอยู่ในไทยอย่ างถูกต้องในระยะยาว ซึ่งนายศรีวรรณได้อ้างตัวว่าเป็ นนายหน้าจากบริษัทรับเหมาก่อสร้ างแห่งหนึ่งว่าสามารถดำเนิ นการในการนำเข้าแรงงานอย่างถู กกฎหมาย และจะต่ออายุทุก 4 ปีได้ ดังนั้นจึงได้ติดต่อว่าจ้ างนายศรีวรรณให้ดำเนิ นการประสานงานเพื่อให้กลุ่ มของนางมิ้นได้สถานะการนำเข้ าแรงงานด่างด้าวตามเอ็มโอยู โดยทางบริษัทได้คิดค่าดำเนิ นการคนละ 16,000 บาท ทางกลุ่มของนางมิ้นจึงได้ตัดสิ นใจจ่ายให้นายศรีวรรณเพื่อต้ องการที่จะเข้ ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้ องตามกฎหมาย
ทั้งนี้ หลังจากที่ชำระเงินเสร็จสิ้น ต่อมาเมื่อวันที่ 6 ม.ค. 60 นายศรีวรรณได้นำแรงงานทั้ งหมดเดินทางไปทำหนังสือเดิ นทางที่เมืองเชียงตุง รัฐฉาน ประเทศพม่า ส่วนนางมิ้นได้เดินทางกลั บมาทำงานยังจังหวัดเชียงใหม่
จากนั้นภายหลังนางมิ้นได้รับแจ้ งจากกลุ่มเพื่อนแรงงานว่าได้มี แรงงานสัญชาติพม่าอีก 12 คนซึ่งได้ประสานงานกับนายศรี วรรณ เพื่อดำเนินการให้ได้ สถานะแรงงานนำเข้าตามเอ็มโอยู โดยได้จ่ายเงินจำนวนเดียวกัน และนายศรีวรรณได้พาไปทำหนังสื อเดินทางที่เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า แต่ถูกนายศรีวรรณปล่อยทิ้งไว้ ในย่างกุ้งโดยไม่มีเงินเหลือติ ดตัว จึงได้พยายามติดต่อบริษัทดังกล่ าวเพื่อจะสอบถามถึงเหตุการณ์ดั งกล่าว และจะสอบถามความคืบหน้ าของการขอวีซ่าและใบอนุญาต แต่ไม่สามารถติดต่อได้และได้ พยายามติดต่อนายศรีวรรณก็ไม่ สามารถติดต่อได้เช่นกัน จึงเชื่อว่าน่าจะถูกหลอก และได้ติดต่อประสานให้ทางมูลนิ ธิสิทธิมนุษยชนและการพัฒนาช่ วยเหลือดังกล่าว
ด้านนายจักรี หุ่นโพธิ์ นักวิชาการแรงงานชำนาญการ สำนักงานจัดหางานจังหวัดเชี ยงใหม่ เปิดเผยว่า เบื้องต้นทางหน่วยงานที่เกี่ ยวข้องจะรับหนังสือดังกล่ าวและจะได้มีการสอบถามข้อมู ลจากผู้เสียหายเพิ่มเติม รวมถึงตรวจสอบข้อมูลให้แน่ชั ดเพื่อที่จะได้ดำเนิ นการตามกฎหมายต่อไป
สำหรับสถานะการนำเข้าแรงงานด่ างด้าวตามเอ็มโอยู เกิดจากการที่รัฐบาลไทยและพม่ าได้มีการลงนามในบันทึกความเข้ าใจ หรือเอ็มโอยู เรื่องความร่วมมือในการจ้ างงานแรงงานข้ามชาติชาวพม่าที่ เดินทางเข้ ามาทำงานในประเทศไทยอย่างไม่ถู กต้องตามกฎหมาย ให้ทำการเข้าสู่กระบวนการพิสู จน์สัญชาติเพื่อที่จะทำให้ พวกเขาได้มีสถานะเป็นแรงงานที่ ถูกต้องตามกฎหมาย ถือได้ว่าเป็นกรอบการดำเนิ นการที่ จะทำให้แรงงานด่างด้าว สามารถเดินทางเข้ ามาทำงานในประเทศไทยได้อย่างถู กต้องตามกฎหมาย
กนร.เห็นชอบให้ต่ออายุใบอนุ ญาตทำงานแรงงานต่างด้ าวประมงทะเลและแปรรูปสัตว์น้ำที่ จะหมดอายุ
นายสิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวว่า วันนี้ (๑๖ มกราคม ๒๕๖๐) ได้มีการประชุ มคณะกรรมการนโยบายการจัดการปั ญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุ ษย์ด้านแรงงาน (กนร.) ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นประธานการประชุม ณ ห้องประชุม ศ. นิคม จันทรวิทุร ชั้น ๕ อาคารกระทรวงแรงงาน นั้น ที่ประชุมได้พิจารณาปั ญหาการตรวจสัญชาติของแรงงานในกิ จการประมงทะเลที่ใบอนุ ญาตทำงานจะหมดอายุในวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๖๐ และแรงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ ที่ใบอนุญาตทำงาน จะหมดอายุในวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ มีมติเห็นชอบให้ ขยายระยะเวลาการอนุญาต ให้อยู่ในราชอาณาจักรและการอนุ ญาตทำงานของแรงงานต่างด้าวในกิ จการประมงทะเลและแรงงานในกิ จการแปรรูปสัตว์น้ำที่เป็ นแรงงานคนเดิมออกไปอีกถึงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เพื่อให้สอดคล้องกับการตรวจสั ญชาติของประเทศต้นทาง ทั้งนี้ ให้รวมถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุ ตรของแรงงานต่างด้าวที่อายุ ไม่เกิน ๑๘ ปี กรณีเกิน ๑๘ ปี อนุญาตให้ทำงานได้ตามที่ กฎหมายกำหนด ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้แรงงานที่อายุเกิน 55 ปีทำงาน โดยให้ดำเนินการ ณ สถานที่ตั้งของแต่ละหน่วยงาน หรือดำเนินการในลักษณะศูนย์บริ การจดทะเบียนแรงงานต่างด้ าวแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service) โดย ๒๒ จังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้ บริหารจัดการตามความเหมาะสม สำหรับกรุงเทพมหานครให้ผู้ว่ าราชการกรุงเทพมหานครบริหารจั ดการ ทั้งนี้ ให้เริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วั นที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐ และสิ้นสุดการดำเนินการในวันที่ ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๐ และให้ใบอนุญาตทำงานหมดอายุในวั นที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ เท่ากัน เพื่อให้ดำเนินการตรวจสัญชาติ ให้แล้วเสร็จ สำหรับแรงงานที่ผ่านการตรวจสั ญชาติให้ขอรับการตรวจลงตรา (Visa) และขออนุญาตทำงานโดยเร็ว
กรณีแรงงานประมงทะเลที่ไม่ สามารถเข้าฝั่งได้ทั นภายในระยะเวลาที่กำหนด ให้นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่ อแรงงานต่างด้าวดังกล่าว ณ สำนักงานจัดหางานจังหวัด ๒๒ จังหวัดที่มีพื้นที่ติ ดทะเลภายในกำหนดก่อน และเมื่อแรงงานต่างด้าวเดิ นทางเข้าฝั่งเมื่อใดให้ไปตรวจสุ ขภาพ ประกันสุขภาพ รายงานตัว และขออนุญาตทำงานภายใน ๓๐ วัน สำหรับแรงงานในกลุ่ มประมงทะเลและแปรรูปสัตว์น้ำ ซึ่งใบอนุญาตทำงานหมดอายุก่อนวั นที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ และได้รับอนุญาตให้เปลี่ยน/เพิ่ มการทำงานในตำแหน่ง ช่างเครื่องยนต์ในเรือประมงทะเล และตำแหน่งผู้ประสานงานด้ านภาษากัมพูชา ลาว เมียนมา อนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจั กรและอนุญาตให้ทำงานได้ต่ อไปจนถึงวันที่ ๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๐ โดยให้ดำเนินการยื่นบัญชีรายชื่ อ ตรวจสุขภาพ ประกันสุขภาพ จัดทำทะเบียนประวัติ และขออนุญาตทำงานเช่นเดียวกั บแรงงานในกลุ่มประมงทะเล และแรงงานในกลุ่มแปรรูปสัตว์น้ำ
รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ได้สั่งการเพิ่มเติม ดังนี้
1.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้ องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ตามแนวทางที่คณะกรรมการเห็นชอบ โดยให้กระทรวงแรงงานเป็นหน่ วยงานหลักในการประสานหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริหารจั ดการแรงงานต่างด้าวเป็นไปอย่ างมีประสิทธิภาพ
2.การขยายระยะเวลาการอยู่ ในราชอาณาจั กรและการทำงานของแรงงานในกิ จการประมงทะเล และแรงงานในกิจการแปรรูปสัตว์น้ำ เป็นการดำเนินการกับแรงงานต่ างด้าวสัญชาติกัมพูชา ลาว เมียนมา ที่เคยทำงานในประเทศไทยให้ ทำงานต่อไปได้ ไม่ใช่การเปิดจดทะเบียนแรงงานต่ างด้าวรายใหม่ ขอให้หน่วยงานด้านความมั่ นคงดำเนินการตรวจสอบ ปราบปราม จับกุมดำเนินคดีกับนายจ้าง ผู้นำพาแรงงานต่างด้าวที่ลั กลอบเข้ามาทำงานอย่างเคร่งครัด
3.ขอให้ประชาสัมพันธ์ สร้างความรับรู้ให้นายจ้างที่มี ความต้องการแรงงานให้นำเข้ าแรงงานย่างถูกกฎหมายตาม MOU ซึ่งปัจจุบันมีกฎหมายเฉพาะที่ กำหนดการควบคุมตรวจสอบ ห้องกันการหลอกลวงจากสาย นายหน้า และกำหนดอัตราค่าบริการจากบริษั ทนำเข้าแรงงานอย่ างเหมาะสมและเป็นธรรม
นอกจากนั้น ให้มีการจัดให้แรงงานต่างด้าวมี ที่พักที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน เพื่อป้องกันและแก้ไขการถูกกล่ าวหาว่ามีการละเลยต่อแรงงานต่ างด้าว ซึ่งมีผลกระทบต่อภาพลักษณ์ ของประเทศและอาจสุ่มเสี่ยงต่อปั ญหาการค้ามนุษย์
จ๊อบส์ ดีบี ชี้ธุรกิจผลิตอาหารสุขภาพ บริการการแพทย์ สื่อดิจิทัล ท่องเที่ยว ต้องการแรงงานสูง
บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) ระบุว่า ในปีนี้ธุรกิจผลิตอาหารสุขภาพ บริการการแพทย์ สื่อดิจิทัล และท่องเที่ยว ยังต้องการแรงงานสูง ยกเว้นสิ่งพิมพ์ น.ส.นพวรรณ จุลกนิษฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัท จัดหางาน จ๊อบส์ ดีบี (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ปีนี้คาดมี 4 กลุ่มธุรกิจซึ่งมีแนวโน้มต้ องการแรงงานเข้าสู่ตลาดมากที่สุ ด ได้แก่ ธุรกิจผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ การให้บริการทางการแพทย์ ธุรกิจเกี่ยวกับสื่อดิจิทัล และท่องเที่ยว ส่วนกลุ่มที่แนวโน้มความต้ องการแรงงานไม่สดใส คือ ธุรกิจสิ่งพิมพ์ และตัวแทนรับจองตั๋วโดยสารหรื อทัวร์
สำหรับธุรกิจผลิตอาหารเพื่อสุ ขภาพ ต้องการแรงงานมากเพราะกระแสรั กษาสุขภาพมาแรง คนคำนึงถึงการบริโภคอาหารที่มี ประโยชน์ต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจนี้โตได้ดี ไม่ว่าจะเป็นอาหาร เครื่องดื่ม หรืออาหารเสริม ส่วนธุรกิจให้บริการทางการแพทย์ ต้องการแรงงานสูงเนื่องจากโรคภั ยต่างๆ ทวีความรุนแรงขึ้นกว่าเมื่อก่อน และยังมีโรคภัยที่เกิดจากพฤติ กรรม การใช้ชีวิตของคนบางกลุ่มสมัยนี้ เช่น ออฟฟิศซินโดรม โรคเครียด กรดไหลย้อน อีกทั้งการใช้บริการการแพทย์เพื่ อการป้องกันโรค ฟื้นฟูสุขภาพ และเพื่อความสวยงามก็ได้รั บความนิยมต่อเนื่อง โดยเฉพาะเทคโนโลยีทางการแพทย์ ในการศัลยกรรมความงาม
ด้านธุรกิจเกี่ยวกับสื่อดิจิทัล ต้องการแรงงานมากเพราะการรับข้ อมูลและข่าวสารผ่านสื่อดิจิทั ลนิยมแพร่หลาย ตามการเติบโตของเทคโนโลยี และการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ผู้ผลิตสื่อแบบดั้งเดิม ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หรือสิ่งพิมพ์ต้องปรับตัวก้ าวมาผลิตสื่อดิจิทัลมากขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการผู้บริ โภค และให้สอดรับกับการเปลี่ ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เพื่อให้ธุรกิจยังดำเนินต่อได้ ส่วนธุรกิจท่องเที่ยว ต้องการแรงงานมากเพราะเป็นธุรกิ จมีแนวโน้มเติบโตดี จากการสนับสนุนของรัฐบาล ทั้งด้านคนไทยเที่ยวไทย และต่างชาติเที่ยวไทย
นอกจากนี้ ยังเป็นผลจากการคมนาคมสะดวกขึ้น มีสายการบินต้นทุนต่ำเกิดมาก ทำให้คนไทยนิยมเที่ยวในวันหยุ ดมากขึ้น ส่งเสริมให้อุตสาหกรรมเกี่ยวข้ องกับการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม ร้านอาหาร และบริการทัวร์เติบโตตาม ขณะที่กลุ่มธุรกิจที่แนวโน้ มความต้องการแรงงานลดลง เช่น สิ่งพิมพ์ เพราะอินเทอร์เน็ตเติบโต และการใช้สมาร์ทโฟนรับสื่อ บริโภคข่าวสารในชีวิตประจำวั นมากขึ้น ส่วนตัวแทนรับจองตั๋วโดยสารหรื อทัวร์ ต้องการแรงงานลดลง เนื่องจากธุรกิจนี้ค่อยๆ ถูกแทนที่ด้วยบริการออนไลน์
ก.แรงงานจัดทำแบบทดสอบวัดบุคลิ กภาพเตรียมแรงงานพร้อมสู่ตลาด
อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เผยถึงการที่กรมการจัดหางานได้ จัดทำแบบทดสอบบุคลิกภาพ IQ และ EQ เพื่อประมวลผลและศักยภาพของกลุ่ มนักเรียน นักศึกษา และผู้ว่างงาน ผ่านระบบออนไลน์ รองรับการเตรียมความพร้ อมของตลาดแรงงาน พบมีผู้ใช้บริการวัดบุคลิ กภาพเพื่อเลือกการศึกษาต่ อและอาชีพมากกว่า 4 แสนคน จากผู้ใช้บริการมากกว่า 1 ล้านคน
นายสิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2558 ให้เตรียมความพร้อมแก่กำลั งแรงงานก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน โดยกรมการจัดหางานได้เปิดให้บริ การระบบบริการด้านการส่งเสริ มการมีงานทำ (VGNEW e-Services) ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยบันทึ กการวางแผนอาชีพ และบริการทดสอบต่างๆ ได้แก่ การวัดบุคลิกภาพเพื่อการศึกษาต่ อและการเลือกอาชีพ การทดสอบ IQ และ EQ เพื่อตอบรับนโยบายของรัฐบาล
ทั้งนี้ จากเดิมที่รัฐบาลได้กำหนดให้มี การแนะแนวการศึกษาและอาชีพก่ อนสำเร็จการศึ กษาตามกระบวนการแนะแนวกับทุ กคนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.3) ถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.6) ครั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับการเตรี ยมความพร้อมรองรับตลาดแรงงาน
ทางกระทรวงแรงงานจึงได้จั ดทำแบบทดสอบศักยภาพครบทุกขั้ นตอนตั้งแต่ทดสอบไปจนถึงประมวล โดยให้บริการผ่านทางเว็บไซต์เพื่ อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย อย่างนักเรียน นักศึกษา และผู้ว่างงาน และยังเป็นการช่ วยอำนวยความสะดวกให้แก่อาจารย์ ที่นำไปใช้ได้ง่ายขึ้น
อธิบดีกรมการจัดหางานกล่าวต่อว่ า ระบบบริการด้านการส่งเสริมการมี งานทำจะช่วยให้ผู้ผ่ านการทดสอบได้ทราบถึงบุคลิกภาพ และความถนัดของตนเอง โดยสามารถนำไปใช้ ในการวางแผนการศึกษาต่อ หรือประกอบอาชีพในอนาคต ช่วยเพิ่มโอกาสการมีงานทำอย่ างมีความสุขและยั่งยืน รวมทั้งลดอัตราการว่ างงานในอนาคต
โดยบริการดังกล่าวได้มีการเปิ ดใช้ระบบเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558-31 ธันวาคม 2559 และมีผู้ใช้บริการ 1,429,584 คน เป็นผู้ใช้บริการแบบวัดบุคลิ กภาพเพื่อการศึกษาและเลือกอาชีพ 467,618 คน โดยแบ่งเป็นชาย 163,756 คน หญิง 303,834 คน จังหวัดและหน่วยงานที่มีผู้ใช้ บริการสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ขอนแก่น กองส่งเสริมการมีงานทำ นครราชสีมา และบุรีรัมย์
นอกจากนี้ ปัจจุบันกรมการจัดหางานยังได้ เพิ่มแบบสำรวจเพื่อนำข้อมู ลของผู้ผ่านการทดสอบในระดับ ม.3 และ ม.6 มาวิเคราะห์แนวโน้มการศึกษาต่ อและการเข้าสู่ตลาดแรงงานเพื่ อเป็นประโยชน์ในการวางแผนด้ านกำลังแรงงานต่อไป
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้บริ การระบบทดสอบสามารถทดสอบได้ ทางเว็บไซต์ www.doe.go.th/VGNEWe-Services ระบบบริการด้านการส่งเสริมการมี งานทำ ของกรมการจัดหางาน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด สำนักงานจัดหางานกรุ งเทพมหานครพื้นที่ หรือสายด่วนกรมการจัดหางาน โทร. 1694
กรมจัดหางานพักชำระหนี้ 6 เดือนลูกหนี้เงินกองทุนผู้รั บงานไปทำที่บ้าน
นายสิงหเดช ชูอำนาจ อธิบดีกรมการจัดหางาน เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการบริ หารกองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่ บ้าน เมื่อวันที่ 17 ม.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มีมติช่วยเหลือลูกหนี้กองทุนเพื่ อผู้รับงานไปทำที่บ้านที่ ประสบอุทกภัยใน 12 จังหวัดภาคใต้ คือ พัทลุง นราธิวาส ยะลา สงขลา ปัตตานี ตรัง นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี ชุมพร ระนอง กระบี่ และประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งจากข้อมูลของกรมสวัสดิ การและคุ้มครองแรงงาน พบว่ามีสถานประกอบการได้รั บผลกระทบจากน้ำท่วมจำนวน 8,753 แห่ง และลูกจ้างได้รับผลกระทบจำนวน 127,018 คน โดยจังหวัดที่ได้รั บผลกระทบมากที่สุดคือ นครศรีธรรมราช ซึ่งมีสถานประกอบการได้รั บผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นจำนวน 4,419 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบเป็นจำนวน 52,319 คน รองลงมาคือจังหวัดชุมพร มีสถานประกอบการได้รั บผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นจำนวน 2,678 แห่ง ลูกจ้างได้รับผลกระทบเป็นจำนวน 31,597 คน
ดังนั้นจากผลกระทบดังกล่าว พล.อ.ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้มีนโยบายให้หน่วยงานในสังกั ดกระทรวงแรงงานหามาตรการช่ วยเหลือและเยียวยาผู้ประสบอุ กทกภัยเป็นการเร่งด่วน ซึ่งในส่วนของกรมการจัดหางานได้ มีมาตรการพักชำระหนี้แก่ลูกหนี้ เงินกองทุนผู้รับงานไปทำที่บ้ านเป็นระยะเวลา 6 เดือน และไม่คิดดอกเบี้ยในระหว่ างการพักชำระหนี้ ซึ่งจากเดิมคิดดอกเบี้ยในอั ตราร้อยละ 3 ต่อปี โดยเบื้องต้นพบว่าผู้ประสบภั ยในภาคใต้ส่วนหนึ่งเป็นสมาชิ กของกลุ่มผู้รับงานไปทำที่บ้ านโดยมีกลุ่มผู้รับงานไปที่บ้ านประสบปัญหา จำนวน 23 กลุ่ม
อนึ่ง กองทุนเพื่อผู้รับงานไปทำที่บ้ าน เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2548 มีผลการดำเนินการปล่อยกู้ไปแล้ว จำนวน 303 กลุ่ม เป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 27,261,000 บาท และในปี 2560 กองทุนฯได้ประมาณการปล่อยกู้ไว้ จำนวน 50 กลุ่ม เป็นวงเงินที่สามารถปล่อยกู้ได้ รวม 5,000,000 บาท ทั้งนี้ อาจมีการขยายระยะเวลาการพั กชำระหนี้ได้ซึ่งขึ้นอยู่กั บสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวอีกว่า ผู้ประสบภัยที่ว่างงานและต้ องการรับงานไปทำที่บ้านสามารถติ ดต่อและลงทะเบียนหรือสอบถามข้ อมูลเกี่ยวกับการรับงานไปทำที่ บ้านได้ที่ สำนักงานจัดหางานจังหวัด หรือโทรสายด่วนกรมการจัดหางาน 1694 สำหรับลูกจ้างที่ประสบภั ยสอบถามข้อมูลการได้รับความคุ้ มครองตามกฎหมายได้ที่ สายด่วนกรมสวัสดิการและคุ้ มครองแรงงาน
เด็กรุ่นใหม่ชอบฟรีแลนซ์! ซิสโก้ห่วงคนไอทีขาดตลาด หนุนสถานศึกษาปั้นแรงงาน
นางสาวแซนดี้ วอลช์ ผู้อำนวยการด้านการส่งเสริมกิ จกรรมเพื่อสังคม ซิสโก้ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า นอกจากการขยายธุรกิจและรายได้ ซิสโก้ยังให้ความสำคัญกับเรื่ องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ 1.การเร่งสร้างแรงงานคน 2.การพัฒนาสู่ภาคอุตสาหกรรม 3.การช่วยเหลือสังคม ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถลดปั ญหาการขาดแคลนทรัพยากรบุคลากรด้ านไอทีของประเทศไทย และเสริมสร้างศักยภาพแก่บุ คลากรได้
ในระยะเวลากว่า 18 ปีที่ผ่านมา ซิสโก้มีความร่วมมือกับพันธมิ ตรสถาบันการศึกษาในไทยกว่า 56 แห่ง ในโครงการซิสโก้ เน็ตเวิร์กกิ้ง อะคาเดมี่ เพื่ออบรมและพัฒนาศักยภาพนักศึ กษาสำหรับเตรียมความพร้อมสู่ การเป็นบุคลากรในอุตสาหกรรมไอที ซึ่งสามารถผลิตบุคลากรไปแล้วกว่ า 41,000 คน ควบคู่กับการพัฒนาหลักสูตรให้ สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุ ตสาหกรรมและนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของภาครัฐอีกด้วย"
ทั้งนี้ ซิสโก้ยังได้เพิ่มเติมหลักสู ตรในโครงการต่างๆ เพื่อเสริมศักยภาพบุ คลากรในสายไอทีให้รองรับเทรนด์ การใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ก รวมถึงหลักสูตรอื่นๆ ให้มีความหลากหลาย อาทิ หลักสูตรลีนุกซ์ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ IoT (Internet of Things) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกั บการเป็นผู้ประกอบการ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนบุ คลากรในสายงานไอทีอีก 30,000 คน ภายใน 5 ปีจากนี้
นายวัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นประเทศแรกๆ ในกลุ่มภูมิภาคอาเซียนที่มี การปรับใช้หลักสูตรใหม่เกี่ยวกั บ IoT โดยปัจจุบันมีนักศึกษาราว 120 คน ที่จบหลักสูตรความรู้เบื้องต้ นเกี่ยวกับ IoT ขณะเดียวกันซิสโก้ได้ร่วมมือกั บมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เปิดหลักสูตรด้าน IoT ในช่วงปลายเดือนมกราคมนี้
อย่างไรก็ตาม ซิสโก้วางแผนขยายหลักสู ตรในการอบรมและพัฒนาศักยภาพนั กศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสู่สายอาชี พด้านไอทีมากกว่าการขยายความร่ วมมือกับสถาบันการศึกษา เนื่องจากต้องการให้หลักสูตรต่ างๆ มีความสอดคล้องกับความต้ องการของตลาดและอุตสาหกรรม ขณะเดียวกัน ก็มีการสนับสนุนให้เพิ่มจำนวนบุ คลากรผู้หญิงในอุตสาหกรรมไอที ให้มากขึ้นด้วย
"ความร่วมมือระหว่างซิสโก้ และสถานศึกษานั้นยังไม่เพี ยงพอต่อการพัฒนาบุคลากรด้านไอที บริษัทอยากให้ภาครัฐ สถานศึกษา และภาคอุตสาหกรรม ให้ความสนใจและร่วมกันสนับสนุ นให้เกิดการพัฒนาอย่างแท้จริง อาทิ สนับสนุนการลงทุน เพิ่มความเข้มข้นในหลักสูตรด้ านไอที เป็นต้น เพื่อนำไปสู่ความสำเร็ จตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีต่ อทุกสายอาชีพ"
นายพิสิษฐ์ ชาญเกียรติก้อง คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า ในปี 2559 งานด้านไอทีถือเป็นอาชีพที่มี การจ้างงานสูงเป็นอันดับที่ 3 รองจากงานขายและบัญชี โดยสายงานด้านวิศวกรซอฟต์แวร์ และด้านวิทยาศาสตร์ข้อมูลถือเป็ นสายงานที่มีความต้องการจ้ างงานมากที่สุด แต่ปัจจุบันประเทศไทยกลับอยู่ ในภาวะขาดแคลนบุคลากรด้านไอที และทักษะด้านดิจิตอล
"คนรุ่นใหม่มีค่านิยมประกอบอาชี พอิสระ ทำให้มีการเลือกเรียนในสายไอที น้อยลง ประกอบกับหลักสูตรด้านไอที ในสถาบันการศึกษาหลายๆ แห่งยังไม่ได้มาตรฐาน โดยผลการสำรวจจาก TDRI (สถาบันวิจัยเพื่อการพั ฒนาประเทศไทย) ระบุว่าไทยสามารถผลิตบัณฑิตที่ มีคุณภาพไม่ได้เกิน 2,000 คนต่อปี ซึ่งอาจทำให้ทั่วโลกเกิ ดภาวะขาดแคลนบุคลากรด้านไอทีราว 2 ล้านตำแหน่ง ภายในปี 2566 ตามที่ IDC คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าความร่วมมือระหว่ างสถาบันฯ กับซิสโก้ จะสามารถเพิ่มโอกาสเข้าสู่ สายอาชีพในอุตสาหกรรมไอทีแก่นั กศึกษาที่ผ่านโครงการและหลักสู ตรดังกล่าวได้เป็นอย่างดี"
ส.อ.ท.-นิด้าโพล เผยผล CEO Survey มองแนวโน้มศก.-ทิศทางภาคอุตฯ ปี 60 ยังทรงตัว ชี้เอกชนยังขาดความเชื่อมั่น
นายกำพล ปัญญาโกเมศ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริ การวิชาการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้าโพล) เผยผลสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกั บทิศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปี 2560 จากผู้บริหารระดับสูง (CEO Survey) ส่วนใหญ่ 48.98% ชี้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2560 ยังอยู่ในภาวะทรงตัว รองลงมา 34.69% เชื่อว่ามีแนวโน้มขยายตัว ส่วนที่เหลืออีก 16.33% เชื่อว่าหดตัว
ในจำนวนผู้บริหารระดับสูงที่เชื่ อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2560 จะขยายตัวนั้น ส่วนใหญ่ 70.59% ระบุว่าจะขยายตัว 1-5% ตามด้วย 5.88% ระบุว่าจะขยายตัว 6-10%, 5.88% ระบุว่าจะขยายตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป และอีก 17.65% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงที่เชื่ อแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2560 จะหดตัวนั้น ส่วนใหญ่ 37.50% ระบุว่าจะหดตัว 1-10% ตามด้วย 25.00% ระบุว่าจะหดตัว 11-20%, 12.50% ระบุว่าจะหดตัวมากกว่า 20% ขึ้นไป และอีก 25.00% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ขณะที่การคาดการณ์ของผู้บริ หารระดับสูงต่อแนวโน้มของภาคอุ ตสาหกรรมในปี 2560 นั้น ส่วนใหญ่ 46.94% คาดว่าจะทรงตัว รองลงมา 30.61% คาดว่าจะขยายตัว ส่วนที่เหลืออีก 22.45% คาดว่าหดตัว
ในจำนวนผู้บริหารระดับสูงที่ คาดการณ์แนวโน้มของภาคอุ ตสาหกรรมในปี 2560 จะขยายตัวนั้น ส่วนใหญ่ 66.67% ระบุว่าจะขยายตัว 1-5% ตามด้วย 13.33% ระบุว่าจะขยายตัว 6-10%, 13.33% ระบุว่าจะขยายตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป และอีก 6.67% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ ขณะที่ผู้บริหารระดับสูงที่เชื่ อของภาคอุตสาหกรรมในปี 2560 จะหดตัวนั้น ส่วนใหญ่ 45.45% ระบุว่าจะหดตัว 1-10% ตามด้วย 27.28% ระบุว่าจะหดตัว 11-20%, 9.09% ระบุว่าจะหดตัวมากกว่า 20% ขึ้นไป และอีก 18.18% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับปัจจัยบวกที่เป็นแรงขั บเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในปี 2560 นั้น ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ 57.14% ระบุว่าเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้ นฐานด้านคมนาคม รองลงมา 51.02% ระบุว่าเป็นมาตรการกระตุ้ นเศรษฐกิจต่างๆ ของภาครัฐ ตามด้วย 38.78% ระบุว่าเป็นภาคการท่องเที่ยว, 30.61% ระบุว่าเป็นนโยบายส่งเสริ มการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้ าหมายและการส่งเสริมการลงทุ นในเขตเศรษฐกิจพิเศษ, 26.53% ระบุว่าเป็นสถานการณ์ทางการเมื อง, 20.41% ระบุว่าเป็นการฟื้นตั วของเศรษฐกิจโลก กำลังซื้อในประเทศดีขึ้น และอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ และ 12.24% ระบุอื่นๆ ได้แก่ ภาคการส่งออกขยายตัว การลงทุนด้านภาคการเกษตร ราคาพืชผลทางการเกษตร และค่าแรงสูงขึ้น
ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิ ดความกังวลในการดำเนินกิ จการในปี 2560 ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ 42.86% ระบุว่าเป็นการฟื้นตั วของเศรษฐกิจโลก รองลงมา 40.82% ระบุว่าเป็นการชะลอตั วของเศรษฐกิจจีน ความผัวผวนของตลาดเงิ นจากความไม่แน่นอนของนโยบายสหรั ฐฯ และกระบวนการในการออกจากการเป็ นสมาชิกสหภาพยุ โรปของสหราชอาณาจักร รวมถึงกำลังซื้อในประเทศฟื้นตั วแบบค่อยเป็นค่อยไป ตามด้วย 34.69% ระบุว่าเป็นความเข้มงวดในการปล่ อยสินเชื่อของธนาคาร, 32.65% ระบุว่าเป็นการขาดแคลนแรงงานฝี มือ, 30.61% ระบุว่าเป็นปัญหาสภาพคล่องของกิ จการ, 24.49% ระบุว่าเป็นการขาดเทคโนโลยี การผลิตและการพัฒนานวัตกรรม, 22.45% ระบุว่าเป็นสถานการณ์ทางการเมื อง และ 18.37% ระบุอื่นๆ ได้แก่ นโยบายของภาครัฐ ปัจจัยการนำเข้าและส่งออก ต้นทุนการผลิต ค่าแรงขั้นต่ำ อัตราดอกเบี้ย ค่าเงินบาท และการก้าวเข้าสู่ Thailand 4.0
โดยผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ 91.84% ระบุว่ามีการวางแผนและมี แนวทางรับมือ ส่วนที่เหลือ 8.16% ระบุว่ายังไม่มีการปรับเปลี่ ยนแผนมากนักจากช่วงครึ่งหลั งของปี 2559 และในจำนวนผู้บริหารระดับสูงที่ ระบุว่ามีการวางแผนและมี แนวทางรับมือนั้นส่วนใหญ่ 44.44% ระบุว่ามีการวางแผนปรับปรุ งเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต รองลงมา 37.78% ระบุว่ามีการพัฒนาศักยภาพแรงงาน ตามด้วย 28.89% ระบุว่ามีการขยายตลาดทั้ งในและต่างประเทศ, 26.67% ระบุว่าชะลอการลงทุน, 24.44% ระบุว่ามีการเจาะตลาด Niche Market, 20.00% ระบุว่ามีการเพิ่มการลงทุนด้ านการวิจัยและพัฒนา, 15.56% ระบุว่าเป็นการขยายการลงทุน, 11.11% ระบุว่ามีการขยายฐานการผลิตไปต่ างประเทศ, 6.67% ระบุว่ามีการลดการจ้างงาน, 2.22% ระบุว่าเพิ่มการจ้างงาน และ 15.56% ระบุอื่นๆ ได้แก่ การปรับตัวให้เข้ากั บภาวะเศรษฐกิจโลก การลดต้นทุนการผลิต การหาหุ้นส่วนเพิ่มเติม
สาเหตุการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ ขยายตัวได้มากเท่าที่ควรนั้น ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ 64.58% ระบุว่าขาดความเชื่อมั่นต่ อเศรษฐกิจภายในประเทศ รองลงมา 45.83% ระบุว่าขาดความเชื่อมั่นต่ อภาวะเศรษฐกิจโลก ตามด้วย 39.58% ระบุว่าภาคการส่งออกหดตัวต่อเนื่ อง, 29.17% ระบุว่าสิทธิประโยชน์ด้ านการลงทุน นโยบายกระตุ้นและเร่งรัดการลงทุ นยังไม่เอื้ออำนวยเพียงพอ, 22.92% ระบุว่าภาคเอกชนยังมีกำลั งการผลิตเพลือค่อนข้างมาก และ 18.75% ระบุอื่นๆ ได้แก่ กำลังซื้อในประเทศ สถาบันการเงินไม่ตอบสนองเรื่ องการลงทุนของเอกชน, สถานการณ์ทางการเมื องภายในประเทศ
สำหรับข้อเสนอแนะของผู้บริ หารระดับสูงเพื่อให้การลงทุ นภาคเอกชนสามารถขยายตัวได้ดี ได้แก่ 1.รัฐบาลควรพัฒนาเทคโนโลยีหรื อนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และก้าวเข้าสู่ Industries 4.0 2.หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนภาคอุ ตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นนโยบายจากภาครัฐ การส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ความยืดหยุ่นของการปล่อยสินเชื่ อของสถาบันการเงินและอั ตราดอกเบี้ย รวมถึงการส่งเสริมการวิจั ยและการพัฒนาสำหรับผู้ประกอบการ 3.รัฐบาลควรเร่งพั ฒนาวางระบบโครงสร้างพื้ นฐานและการคมนาคม
สิ่งที่ผู้บริหารระดับสูงต้ องการให้ภาครัฐเร่งดำเนินการเพื่ อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิ จปี 2560 ผู้บริหารส่วนใหญ่ 71.43% ระบุว่า ภาครัฐควรมีมาตรการกระตุ้ นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องเพื่ อสนับสนุนการขยายตัวของอุปสงค์ ภายในประเทศ รองลงมา 48.98% ระบุว่า ภาครัฐควรเร่งรัดการลงทุ นโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ตามด้วย 40.82% ระบุว่า ภาครัฐควรสนับสนุ นการขยายตลาดเข้าสู่หัวเมื องรองในกลุ่มประเทศ CLMV เพื่อขยายฐานลูกค้าและกระจายสิ นค้าให้มากขึ้น, 32.65% ระบุว่า ภาครัฐควรเร่งเจรจาการค้ากั บประเทศที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อขยายตลาด ลดอุปสรรคทางการค้าและมาตรการกี ดกันสินค้าที่มิใช่ภาษี และเพิ่มช่องทางการส่งออก, 30.61% ระบุว่า ภาครัฐควรพัฒนาการค้าและการขนส่ งชายแดนและผ่านแดนเพื่อเพิ่มมู ลค่าการค้าตามแนวชายแดน และ 24.49% ระบุอื่น ๆ ได้แก่ การเพิ่มช่องทางตลาดใหม่ๆ, การคงอัตราค่าแรงขั้นต่ำ, การปรับปรุงกฎหมายที่ซ้ำซ้อน, การสนับสนุนนโยบายจากภาครัฐ, การสร้างความเชื่อมั่นให้กับนั กลงทุนและภาคเอกชน, และการพัฒนาศักยภาพของผู้ ประกอบการ SMEs
ด้านความคิดเห็นของผู้บริ หารระดับสูงต่อทิ ศทางภาวะเศรษฐกิจโลก ภายหลังจากผลการเลือกตั้ งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่นายโดนัลด์ ทรัมป์ ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ งประธานาธิบดี คนที่ 45 ของสหรัฐฯ พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่ 40.82% ระบุว่าจะทรงตัว รองลงมา 22.45% ระบุว่าจะขยายตัว 26.53% ระบุว่าจะหดตัว ส่วนที่เหลืออีก 10.20% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ โดยในจำนวนผู้ที่ระบุว่าทิ ศทางภาวะเศรษฐกิจโลกจะขยายตัวนั้ น 45.45% ระบุว่าจะขยายตัว 1-5%, 9.09% ระบุว่า ขยายตัว 6-10%, 18.18% ระบุว่าจะขยายตัวมากกว่า 10% ขึ้นไป และ 27.28% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจว่าจะขยายตั วเท่าใด ส่วนผู้ที่ระบุว่าทิ ศทางภาวะเศรษฐกิจโลกจะหดตัวนั้น 30.77% ระบุว่า หดตัว 1-10%, 23.08% ระบุว่าจะหดตัว 11-20% และ 46.15% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจว่าจะหดตัวเท่ าใด
สำหรับความคิดเห็นของผู้บริ หารระดับสูงต่อนโยบายของนายโดนั ลด์ ทรัมป์ ที่ภาคอุตสาหกรรมมีความกังวลว่ าจะส่งผลกระทบต่อการขยายตั วเศรษฐกิจไทย พบว่า ผู้บริหารระดับสูงส่วนใหญ่ 63.04% ระบุว่า เป็นนโยบายการกีดกันทางการค้ าสำหรับสินค้านำเข้าจากจีน และเม็กซิโก ที่จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่ การผลิตและปริมาณการค้าโลก รองลงมา 50.00% ระบุว่า เป็นการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้ าจากจีนเป็นร้อยละ 45 และดึงการลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ กลับไปผลิตในสหรัฐฯ เพื่อสร้างการจ้างงานในสหรัฐฯ ให้เพิ่มขึ้น จะกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย, 34.78% ระบุว่า เป็นการสนับสนุนกฎหมายเพื่ อลดการจ้างงานแรงงานผิดกฎหมาย และผลักดันแรงงานผิดกฎหมายกว่า 11 ล้านคน ออกนอกประเทศ หากนโยบายดังกล่าวมีการนำมาใช้ จริงอาจจะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ และเศรษฐกิจโลกชะลอตัวได้ ขณะที่ 2.17% ระบุว่า ไม่มีความกังวลต่อนโยบายใดๆ ของนายโดนัลด์ ทรัมป์
ด้านผลกระทบต่อภาคการส่ งออกของไทยจากนโยบายเรื่องการค้ าที่ว่า นายโดนัลด์ ทรัมป์ จะกีดกันการค้าจากจีน พบว่า 48.98% ระบุว่า ส่งผลปานกลาง, 22.45% ระบุว่า ส่งผลมาก, 18.37% ระบุว่า ส่งผลน้อย, 4.08% ระบุว่า น่าจะส่งผลกระทบต่อภาคการส่ งออกของไทยมากที่สุด, 4.08% ระบุว่า ส่งผลน้อยที่สุด และ 2.04% ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับทิ ศทางเศรษฐกิจอุตสาหกรรมปี 2560 ได้แก่ 1.ผู้ประกอบการต้องเข้าใจและปรั บตัวให้ทันกับความเปลี่ ยนแปลงของเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ ของโลก โดยเฉพาะ Thailand 4.0 ที่จะทำให้ผู้ประกอบการตื่นตั วมากขึ้น 2.ส่งเสริมการลงทุนในเครื่องจั กรและอุปกรณ์ เพื่อกระตุ้นการลงทุ นของภาคเอกชน 3.สนับสนุนสินเชื่อเพื่อให้ผู้ ประกอบการ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ มากขึ้น รวมทั้งมีมาตรการที่เกี่ยวกั บการลดภาษีเพื่อสร้างแรงจู งใจในการลงทุนให้กับภาคเอกชน 4.เร่งรัดการลงทุนโครงสร้างพื้ นฐานในปี 2560 รวมทั้ง การเบิกจ่ายงบประมาณกระตุ้ นเศรษฐกิจระดับจังหวัดวงเงิน 1 แสนล้านบาท ตามนโยบายประชารัฐสร้ างไทยของภาครัฐ และ 5.ต้องการให้วิเคราะห์ และหาทางแก้ไขอุปสรรคที่จะเพิ่ มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การออกสิทธิบัตร อุตสาหกรรมเครื่องจักรกล การควบคุมคุณภาพสินค้านำเข้า การส่งเสริมอุตสาหกรรม Automation
"ผลสำรวจครั้งนี้สะท้อนมุ มมองของผู้บริหารระดับสูงที่มี ต่อเศรษฐกิจเป็นไปในทิศทางที่ดี ขึ้นกว่าการสำรวจความคิดเห็ นของผู้บริหารระดับสูง 2 ครั้งในปีที่ผ่านมา ซึ่งคาดหวังว่าผลสำรวจนี้จะถู กนำไปใช้เทียบเคียงกับตั วเลขเศรษฐกิจอื่น ถ้าทุกอย่างเป็นไปในทิศทางเดี ยวกันก็จะเป็นการคอนเฟิร์มว่าทุ กคนมีความมั่นใจมากขึ้น"
นายกำพล กล่าวว่า นิด้ าโพลจะพยายามทำผลสำรวจความคิ ดเห็นให้หลากหลายมากขึ้นจากเดิ มที่เน้นสำรวจความคิดเห็นด้ านการเมือง ซึ่งความร่วมมือกับ ส.อ.ท.ในครั้งนี้จะมีระยะเวลา 3 ปี โดยหวังว่าจะเป็นเครื่องมือที่ จะสะท้อนความต้องการของผู้ ประกอบการภาคอุตสาหกรรมที่ภาครั ฐสามารถนำไปประกอบการตัดสิ นใจในเรื่องต่างๆได้
"เรายังพร้อมจะร่วมมือกับส.อ.ท. ทำการสำรวจความคิดเห็นในประเด็ นที่เป็นผลกระทบต่างๆ เช่น ผลกระทบจากภัยน้ำท่วมที่มีต่ อเศรษฐกิจ รวมถึงในอนาคตอาจจะมี การสำรวจความคิดเห็นเป็นภาคอุ ตสาหกรรมด้วย"
ประกันสังคม แจงผู้ป่วยมะเร็งฯรับการรั กษาแล้ว รพ.เดิมช่วยเหลือทั้งหมด
เมื่อวันที่ 18 ม.ค. 60 นางลักขณา บุญสนอง รองเลขาธิการ รักษาการเลขาธิการสำนักงานประกั นสังคม ออกมาชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกั บกรณีดังกล่าว ดังนี้
1. ผู้ประกันตนชื่อ นายนพพร บุญสุข อายุ 55 ปี เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศิ ครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลตามบัตรรั บรองสิทธิฯ ด้วย Case CA Head of pancreas C liver metastasis แต่โรงพยาบาลศิครินทร์ ไม่สามารถรักษาได้ จึงส่งผู้ประกันตนไปรักษาที่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติทั้งหมด 12 ครั้ง โดยให้คีโม 12 เข็ม (วันที่ 30 มีนาคม 2559 ถึงวันที่ 21 กันยายน 2559)
2. เมื่อประมาณเดือนกันยายน 2559 โรงพยาบาลศิครินทร์ได้ให้การรั กษาผู้ประกันตน เนื่องจากมีความพร้อมในการรักษา โดยให้คีโมเข็มที่ 13 แต่ผู้ประกันตนมีอาการทรุด มีโรคแทรกซ้อน เป็นลิ่มเลือดอุดตัน ทำให้ปวดท้อง
3. เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2560 เวลา 16.00 น. ผู้ประกันตนเข้ารับการรักษาด้ วยอาการปวดท้องรุนแรง ท้องเสีย พบแพทย์อายุรกรรม แจ้งว่าอาการปกติ กลับบ้านได้ และให้กลับมาพบแพทย์เฉพาะทางอี กครั้งในวันที่ 11 มกราคม 2560 บุตรสาวจึงขอประวัติการรั กษาของผู้ประกันตน เพื่อจะไปรักษาที่สถาบันมะเร็ง แต่โรงพยาบาลศิครินทร์ไม่ดำเนิ นการให้ ซึ่งแพทย์ได้ตรวจเลือด อุจจาระ และเอกซเรย์ปอด ผลปรากฏว่าเกล็ดเลือดปกติ อุจจาระไม่พบการติดเชื้อ ไม่มีไข้สูงหรืออาการอ่อนเพลีย ไม่มีอาการเกี่ยวกั บฐานของโรคมะเร็ง จึงไม่ได้ให้แอดมิท
4. บุตรสาวผู้ประกันตนแจ้งว่า ได้รับการติดต่อจากโรงพยาบาลศิ ครินทร์ ว่าผู้ประกันตนสามารถเข้ารั บการรักษาที่โรงพยาบาลฯ ได้ โดยจะดูแลเป็นอย่างดี และได้ออกหนังสือส่งตัวให้ผู้ ประกันตนไปรักษาที่โรงพยาบาลจุ ฬาภรณ์ ตั้งแต่วันที่ 6 มกราคม 2560 และหากผู้ประกันตนไปรักษาที่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โรงพยาบาลศิครินทร์ จะไม่รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาล เนื่องจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ไม่เข้าร่วมโครงการ ในปี 2560
5. เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2560 เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสั งคมประสานโรงพยาบาลศิครินทร์ ได้รับแจ้งว่า ผู้ประกันตนจะเข้ารับการรักษาที่ โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ โดยโรงพยาบาลศิครินทร์ รับผิดชอบค่ารักษาพยาบาลให้ทั้ งหมด
รมว.แรงงาน ไม่ปลื้มพิสูจน์ 3 สัญชาติ 1.3 ล้านคนล่าช้า จี้กกจ.เร่งแก้ไข หวั่นต้องนำเข้าแรงงานทดแทน
นายอนันต์ชัย อุทัยพัฒนาชีพ ผู้ตรวจราชการกระทรวงแรงงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่าในการประชุ มกระทรวงแรงงาน ครั้งที่ 1/2560 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2560 พลเอก ศิริชัย ดิษฐกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ติดตามผลการดำเนินงานของทุ กหน่วยงานในสังกัดกระทรวงแรงงาน รวมทั้ง เรื่องบริหารจัดการแรงงานต่างด้ าว 3 สัญชาติ ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา ที่ได้ กำหนดกรอบระยะเวลาของกระบวนการต่ างๆ กับประเทศต้นทาง ไว้ร่วมกัน เพื่อให้การเดินทางเข้ ามาทำงานของแรงงานจากประเทศเพื่ อนบ้านเป็นไปอย่างถูกต้ องตามกฎหมาย
"ซึ่งพบว่า กระบวนการตรวจสัญชาติ ซึ่งเป็นการดำเนิ นการของประเทศต้นทางที่ตรวจพิสู จน์สัญชาติแรงงานของตน มีความล่าช้ามาตั้งแต่ ปี 2557 จึงรู้สึกไม่พอใจต่อการดำเนิ นการในส่วนนี้และให้กรมการจั ดหางานเร่งรัดประสานการตรวจพิสู จน์สัญชาติกับประเทศเพื่อนบ้ านโดยด่วน หากพ้นระยะเวลาผ่อนผันให้ ทำงานแล้วยังไม่สามารถดำเนิ นการได้แล้วเสร็จจะต้ องนำแรงงานจากแหล่งอื่นเข้ ามาทดแทน"โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าว
โฆษกกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ แรงงานที่จะต้องเข้ารั บการตรวจสัญชาติ มีอยู่ประมาณ 1.3 ล้านคน ได้แก่ แรงงานที่จดทะเบียนระหว่างวันที่ 1 เมษายน – 29 กรกฎาคม 2559 จำนวน 1.2 ล้านคน ซึ่งระยะเวลาการผ่อนผันจะสิ้นสุ ดในวันที่ 31 มีนาคม 2561 และแรงงานในกิ จการประมงทะเลแรงงานในกิ จการแปรรูปสัตว์น้ำอีกประมาณ 1 แสนคน ซึ่งระยะเวลาการผ่อนผันจะสิ้นสุ ดในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 โดยมีการดำเนินการ ดังนี้
1. เมียนมา ทางการเมียนมาแจ้งว่าจะเข้ ามาตรวจสัญชาติโดยออกเอกสารรั บรองบุคคล (Certificate of Identity)ให้กับแรงงานที่ ไปตรวจสัญชาติทุกคน ซึ่งจะตั้งศูนย์ตรวจสัญชาติ ในอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรสาคร 2 แห่ง อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ 1 แห่ง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก และอำเภอเมือง จังหวัดระนอง จังหวัดละ1 แห่ง โดยมีค่าใช้จ่ายในการทำเอกสารรั บรองบุคคล (Certificate of Identity)จำนวน 400 บาท ซึ่งจะได้รับเอกสารรับรองบุ คคลภายใน 1 วัน และสามารถชำระค่าใช้จ่ายได้ที่ Counter Serviceคิดค่าบริการ 10 บาท ทั้งนี้ กำหนดวันเริ่มดำเนินการเมื่อมี ความชัดเจนจากทางการเมียนมาเมื่ อใดจะแจ้งให้ทราบต่อไป
2.กัมพูชา ทางการกัมพูชาเข้ามามอบหนังสื อเดินทาง (Passport)หรือเอกสารเดิ นทางคนงานกัมพูชา (Travel Document)ให้กับแรงงานที่ตรวจสั ญชาติไว้แล้วแต่ยังไม่ได้รับหนั งสือเดินทางหรือเอกสารใดๆ โดยแรงงานจะต้องเข้ าตรวจสอบรายชื่อในเว็บไซด์ และส่งข้อมูลให้ทางการกัมพู ชาทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E – mail)หรือทางไปรษณีย์ไปยั งสถานทูตกัมพูชา หลังจากนั้นทางการกัมพูชาจะแจ้ งวัน เวลา ให้มารับหนังสือเดินทางภายใน 14 วันทำการ ค่าธรรมเนียม 950 บาท ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้ งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 สำหรับการตรวจสัญชาติจะเริ่ มดำเนินการเมื่อมอบหนังสือเดิ นทางฯ ให้กับแรงงานจำนวนหนึ่งแล้ว
3. ลาว อยู่ระหว่างประสานการดำเนินการ อนึ่ง หากมีข้อสงสัยสอบถามรายละเอี ยดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน 1694
กรมบัญชีกลาง พร้อมจ่ายตรงเงินเดือนและค่าจ้ างประจำให้แก่ข้าราชการและลูกจ้ างประจำของ สพฐ. ในเดือนมกราคม 2560 จำนวนเงินทั้งสิ้นกว่า 15,619 ล้านบาท
นางสาวอรนุช ไวนุสิทธิ์ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบการเงิ นการคลัง ในฐานะโฆษกกรมบัญชีกลาง เปิดเผยว่า กรมบัญชีกลาง พร้อมจ่ายเงินเดือนและค่าจ้ างประจำจากกรมบัญชีกลางเข้าบั ญชีเงินฝากธนาคารให้แก่ข้ าราชการและลูกจ้างประจำของสำนั กงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้ นฐาน (สพฐ.) เริ่มเดือนมกราคม 2560 เป็นเดือนแรก จำนวน 420,125 ราย รวมเป็นเงินกว่า 15,619 ล้านบาท
ทั้งนี้โครงการจ่ายตรงเงินเดื อนและค่าจ้างประจำ ดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2546 โดยเริ่มจากส่วนราชการที่มี ความพร้อมเข้าร่วมโครงการก่อน จนถึงปัจจุบันมีส่วนราชการเข้ าร่วมแล้ว 224 ส่วนราชการ ซึ่ง สพฐ. เป็นหน่วยงานสุดท้ายที่เข้าร่ วมโครงการฯ นี้ นอกจากนี้ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 50 ให้ส่วนราชการผู้จ่ายเงินได้พึ งประเมินตามมาตรา 40 หักภาษีเงินได้ทุกคราวที่จ่ ายเงินได้พึงประเมิน (เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จบำนาญ) ดังนั้น ในกรณีนี้จึงดำเนินการหักภาษี ไว้ เช่นเดียวกับส่วนราชการอื่นที่ เข้าร่วมโครงการมาก่อนหน้านี้
โฆษกกรมบัญชีกลาง กล่าวต่อว่า โครงการจ่ายตรงเงินเดือนและค่ าจ้างประจำ ที่ดำเนินการในส่วนของ สพฐ.จะทำให้บุคลากรของ สพฐ. ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และเงินวิทยฐานะผ่านบัญชีเงิ นฝากธนาคารตรงตามระยะเวลาที่ กรมบัญชีกลางกำหนดทุกเดือน ช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน ลดค่าใช้จ่ายในการจั ดทำเอกสารขอเบิก และการโอนเงินและทำให้มีฐานข้ อมูลบุคลากรภาครัฐเต็มรูปแบบเพื่ อใช้ในการบริหารบุ คลากรและงบประมาณได้
สำหรับหนังสือรับรองภาษีหัก ณ ที่จ่าย ในปี พ.ศ. 2559 ส่วนราชการแต่ละแห่งจะจัดส่งหนั งสือดังกล่าวให้ข้าราชการ ลูกจ้าง ผู้รับเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญโดยตรง นอกจากนี้กรมบัญชีกลางได้เพิ่ มช่องทางการให้บริการของผู้รั บเบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ โดยสามารถเข้าไปที่ www.cgd.go.th ในหัวข้อบำเหน็จบำนาญ/บำเหน็จค้ำ ประกัน ซึ่งผู้รับบำนาญที่ยังไม่ เคยลงทะเบียนเพื่อตรวจสอบข้อมู ลการเบิกจ่ายเงินด้วยตนเองผ่ านระบบ E-Filing สามารถลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 4 ม.ค. 2560 เป็นต้นไป และพิมพ์หนังสือรับรองดังกล่าว ได้ตั้งแต่วันที่ 9 ม.ค. 2560 เป็นต้นไป
"กรมบัญชีกลาง ในฐานะหน่วยงานกลาง ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมดู แลการใช้จ่ายเงินของแผ่นดิ นและของหน่วยงานภาครัฐให้เป็ นไปอย่างถูกต้อง มีวินัย คุ้มค่า โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ โดยความสำเร็จของโครงการนี้ เกิดจากรัฐบาลและกระทรวงการคลั งมีนโยบายที่จะผลักดันการใช้จ่ ายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ แทนการใช้เงินสดตามโครงการ National e-Payment เพื่อลดการใช้ธนบัตรและช่ วยอำนวยความสะดวกให้กับทุกภาคส่ วน ทั้งภาคประชาชน ภาคธุรกิจ ด้วยการใช้ระบบ e-Payment เพื่อเป็นกลไกสำคัญของการทำธุ รกรรมทางการเงินในการขับเคลื่ อนเศรษฐกิจ ให้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ งจากเลขาธิการ สพฐ." นางสาวอรนุช กล่าว
ปลัดสธ. ลงนามประกาศกระทรวงฯจ่ายค่ าตอบแทนสหวิชาชีพ 10 สาขา กลุ่ม ‘รพช.-รพ.สต.’
เมื่อวันที่ 19 มกราคม นพ.โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 17มกราคม 2560 ที่ผ่านมา ตนได้ลงนามในหนังสือถึงอธิบดี กรมทุกกรม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ผู้ตรวจราชการ สธ. สาธารณสุขนิเทศก์ ผู้ช่วยผู้ตรวจฯ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตสุขภาพทั้ ง 12 เขต นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด ผอ.รพ.ทุกระดับ และหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลั ดสธ. รวมทั้งนิติกรสำนักงานสาธารณสุ ขจังหวัด(สสจ.)ทุกแห่ง ให้รับทราบถึ งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องรายชื่อสาขาวิชาชี พและรายชื่อสายงานที่สามารถรั บค่าตอบแทนตามหลักเกณฑ์ และวิธีการและเงื่อนไขการจ่ ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ ปฏิบัติงานซึ่งออกมาก่อนหน้านี้ โดยเพิ่มสายงานสหสาขาวิชาชีพ อย่างกลุ่มนักวิชาการสาธารณสุข เพิ่มเติมล่าสุดรวมเป็น10 สาขา เพื่อให้มีความชัดเจนในการปฏิบั ติงานมากขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับประกาศดังกล่าวได้ กำหนดรายชื่อสาขาวิชาชีพที่ สามารถเบิกค่าตอบแทนในอัตราสหวิ ชาชีพ ประกอบด้วย 10 สาขา คือ 1.นักกายภาพบำบัด 2.นักเทคนิคการแพทย์ 3.แพทย์แผนไทย 4.นักวิชาการสาธารณสุข 5.นักกิจกรรมบำบัด 6.นักรังสีการแพทย์ 7.นักจิตวิทยาคลินิก 8.นักเวชศาสตร์การสื่อความหมาย 9.นักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอก และ10. นักกายอุปกรณ์ โดยประกาศดังกล่าวได้เพิ่มสหวิ ชาชีพขึ้นมาใหม่อีก 3 สาขา คือ นักวิชาการสาธารณสุข แพทย์แผนไทย และนักกายอุปกรณ์
อนึ่ง สำหรับหลักเกณฑ์ เงื่อนไขและวิธีการเบิกจ่ายค่ าตอบแทนกำลังคนที่ปฏิบัติงานให้ กับหน่วยบริ การของกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับ11 และ 12) ในโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่ งเสริมสุขภาพตำบล มีหลักเกณฑ์สำคัญ 4 ประเด็น คือ 1.ใช้หลักเกณฑ์พื้นที่ 6 ระดับ เหมือนกันทุกวิชาชีพ 2.ใช้หลักเกณฑ์อายุราชการ 3 ช่วงอายุ ได้แก่ ปีที่ 1-3 ปีที่ 4-10 ปีที่ 11 ขึ้นไป เหมือนกันทุกวิชาชีพ 3.เพิ่มกลุ่มสายงานส่งเสริมสุ ขภาพ ควบคุมป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพและคุ้มครองผู้ บริโภค 4.ช่องว่างค่าตอบแทนระหว่างวิ ชาชีพลดลง
โดยสหสาขาวิชาชีพ กำหนดอัตราค่าตอบแทนรายเดือน ดังนี้ ในพื้นที่ชุมชนเมือง หากทำงานปีที่1-ปีที่ 3 ได้ 2,000 บาทต่อเดือน หากทำงานปีที่ 4-ปีที่ 10 ได้ 2,600 บาท ทำงานปีที่ 11 ขึ้นไป ได้2,800 บาท แต่หากทำงานพื้นที่ปกติซึ่งแบ่ งเป็นพื้นที่ 2.3 ภาระงานปานกลาง ปีที่ 1-ปีที่ 3 ได้2,000 บาท ปีที่ 4-ปีที่ 10 ได้ 2,600 บาท และปีที่ 11 ขึ้นไป ได้ 2,800 บาท พื้นที่ 2.2 ภาระงานมาก ปีที่ 1-ปีที่ 3 ได้ 2,200 บาท ปีที่ 4-ปีที่ 10 ได้ 2,800 บาท ปีที่ 11 ขึ้นไป ได้ 3,000 บาท พื้นที่ระดับ 2.1 ภาระงานหนักมาก ปีที่ 1-ปีที่ 3 ได้ 2,200 บาท ปีที่ 4-ปีที่ 10 ได้ 2,800 บาท ปีที่ 11 ขึ้นไปได้ 3,000 บาท ส่วนพื้นที่เฉพาะกลุ่ม ซึ่งเป็นพื้นที่ทุรกันดาร กรณีทุรกันดารมาก อยู่ตามเกาะ หรืออยู่ตามชายแดน หากทำงานปีที่ 11 ขึ้นไป ได้ 4,500 บาท เป็นต้น
สมาคมธนาคารไทยจับมือ “กาชาด – มูลนิธินวัตกรรมทางสังคม” ครั้งแรก! จ้างงาน-สร้างอาชีพคนพิการครั้ งใหญ่ 900 อัตรา 76 จังหวัดทั่วประเทศ
สมาคมธนาคารไทย ร่วมมือ สภากาชาดไทยและมูลนิธินวั ตกรรมทางสังคมตั้ง "โครงการสมาคมธนาคารไทยส่งเสริ มและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ" ประเดิมจ้างงานและสนับสนุนอาชี พคนพิการครั้งแรก และครั้งใหญ่ 900 อัตรา กระจาย 76 จังหวัดทั่วประเทศ มุ่งส่งเสริม-พัฒนาคุณภาพชีวิ ตคนพิการ ได้ทำงานเหมาะสม ใกล้บ้าน ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม
นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า "โครงการสมาคมธนาคารไทยส่งเสริ มและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ" เป็นความร่วมมือระหว่ างสมาคมธนาคารไทย สภากาชาดไทย และมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมครั้ งแรกซึ่งได้รับการสนับสนุนอย่ างดียิ่งจากภาครัฐทั้ งกระทรวงแรงงาน และกระทรวงพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ให้มีงานทำ และได้ทำงานในชุมชนที่อาศัยอยู่ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม
"สมาชิกของสมาคมธนาคารไทยซึ่ งประกอบด้วยธนาคารพาณิชย์ 14 สถาบัน ส่วนใหญ่ปฏิบัติตาม มาตรา 34 ของพระราชบัญญัติส่งเสริมและพั ฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 ด้วยการส่งเงินสมทบกองทุนส่ งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิ การของกระทรวงการพัฒนาสั งคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นจำนวน 109;500 บาท/คน/ปี เนื่องจากติดข้อจำกัดที่ไม่ สามารถจ้างงานคนพิการในอัตราร้ อยละ 1 ของจำนวนพนักงานขององค์กร ตามข้อกำหนดในมาตรา 33 ได้ ด้วยสาเหตุบางประการ เช่น จัดหาคนพิการในพื้นที่ มาทำงานตรงตามพื้นที่นั้นๆ ไม่ได้ และบางครั้งตำแหน่งงานไม่ เหมาะกับคุณสมบัติของคนพิการ ส่งผลให้ยอดสะสมในกองทุนฯ เพิ่มขึ้นทุกปี ทางสมาคมฯ จึงมองหาความเป็นไปได้ที่ จะนำเงินซึ่งใช้สมทบทุกๆ ปี มาสร้างประโยชน์ให้กับคนพิ การโดยตรง ด้วยการสร้างโอกาส งานและอาชีพ ที่เหมาะสมกับความสามารถ ซึ่งมาตรา 35 เปิดโอกาสให้มีการจัดจ้ างเหมางานให้คนพิ การไปทำงานในสถานประกอบการอื่ นได้โดยรวมถึงองค์กร สาธารณกุศลเพื่อสังคม ประกอบกับสมาคมฯ ได้พันธมิตรอย่างสภากาชาดไทยกั บมูลนิธินวัตกรรมทางสังคมเข้าร่ วมแสดงความจำนงครั้งนี้อย่ างลงตัว ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นครั้ งแรกที่ธนาคารพาณิชย์ทั้ง 14 สถาบันภายใต้ สมาคมธนาคารไทยลงมติเป็นทิ ศทางเดียวกันที่จะสนับสนุนการจ้ างงานและสร้างอาชีพแก่คนพิ การประมาณ 900 คน เพื่อให้คนพิการได้ ทำงานตรงตามความถนัด และสามารถเลี้ยงดูตนเองได้และยั งสามารถทำงานในหน่วยงานที่สร้ างประโยชน์ต่อประเทศชาติอี กทางหนึ่งด้วย" นายปรีดีกล่าว
ด้าน คุณหญิงชฏา วัฒนศิริธรรม เหรัญญิก สภากาชาดไทย กล่าวว่า สภากาชาดไทยมีความยินดีเป็นอย่ างยิ่งที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้ โดยมุ่งหวังว่าการเปิดโอกาสให้ คนพิการเข้ามาทำงานกั บสภากาชาดไทยซึ่งเป็นองค์กรที่ มีเกียรติ มีชื่อเสียง และเป็นองค์กรที่ทำคุณประโยชน์ เพื่อสังคม จะเสริมสร้างความภูมิใจ และการมีส่วนร่วมในสังคมให้กั บคนพิการ โดยจำนวนคนพิการที่ สภากาชาดไทยจะรับเข้ าทำงานตามโครงการนี้มีทั้งสิ้น 676 คน (จากจำนวนประมาณ 900 คน) โดยจะเข้าไปช่วยทำงานในสำนั กงานเหล่ากาชาดจังหวัด 76 แห่งในทุกจังหวัด และกิ่งกาชาดอำเภออีก 240 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานอื่นๆ ของสภากาชาดไทยซึ่งจั ดสรรไปตามภูมิลำเนาของผู้พิการ
นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารกิ จการเหล่ากาชาด สภากาชาดไทย กล่าวว่า การทำประโยชน์เพื่อคนพิการถื อเป็นพันธกิ จของสภากาชาดไทยประการหนึ่ง โดยในส่วนของการทำงานกั บโครงการฯ สภากาชาดไทยได้ร่วมศึ กษาและออกแบบโครงการจ้ างเหมางานคนพิการกับมูลนิธินวั ตกรรมทางสังคม ตลอดจนกำหนดคุณสมบัติ เสาะหา และคัดเลือกคนพิการที่เหมาะสม จัดสรรตำแหน่งงาน รวมถึงจัดหาวิทยากรและการอบรมที่ จำเป็นให้ด้วย อาทิ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้ นฐาน ทักษะด้านมนุษย์สัมพันธ์ และเสริมสร้างทัศนคติเพื่อให้ การทำงานในสำนักงานของคนพิ การเป็นไปอย่างราบรื่น
นายอภิชาติ การุณกรสกุล ประธานมูลนิธินวัตกรรมทางสังคม กล่าวว่า ในส่วนของคนพิการที่ไม่ได้ ทำงานกับสภากาชาดไทย มูลนิธินวัตกรรมทางสังคมได้ ประสานไปยังหน่วยงานต่างๆ ในเครือข่าย อาทิ โรงพยาบาลส่งเสริมสุ ขภาพตำบลในจังหวัดต่างๆ นอกเหนือจากนี้ยังมีการส่งเสริ มอาชีพอิสระด้วย นับเป็นขวัญและกำลังใจสำคัญที่ ทำให้คนพิการรู้สึกภาคภูมิใจที่ ได้ทำงาน สามารถพึ่งพาตัวเองได้ อีกทั้งยังคงได้รับการพัฒนาทั กษะด้านอาชีพเพื่อตรงตามความต้ องการในสายอาชีพนั้นๆ ต่อไปด้วย
"โครงการสมาคมธนาคารไทยส่งเสริ มและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ นับเป็นปรากฏการณ์การจ้ างงานคนพิการจากกลุ่มธุรกิจเดี ยว ที่มีจำนวนมากที่สุดเท่าที่ เคยมีมานับแต่พระราชบัญญัติส่ งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิ การ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้และยังเป็นการรั บคนพิการเข้าทำงานในหน่ วยงานสาธารณประโยชน์ในประเทศไทย และหน่วยงานกาชาดทั่วโลกที่มี จำนวนมากที่สุดในครั้งเดียวด้วย นอกจากนี้รูปแบบความร่วมมือดั งกล่าวยังเป็นการสร้างตัวอย่ างความร่วมมือในการจ้ างเหมางานคนพิการตามมาตรา 35 ที่ภาคธุรกิจและหน่วยงานอื่นๆ สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบได้ ซึ่งตอนนี้การส่งเสริมคนพิ การให้มีอาชีพ มีงานทำได้ถูกยกระดับไปเป็นเป้ าหมายของคณะทำงานประชารัฐเพื่ อสังคม ส่งผลให้มีการขยายเวลาดำเนิ นงานตามมาตรา 35 ไปจนถึง 31 มี.ค. 2560 นับเป็นข่าวดีที่หน่ วยงานเอกชนต่างๆ ที่ยังส่งเงินเข้ากองทุน ได้มีทางเลือกในการจ้ างงานและสนับสนุนอาชีพคนพิการ โดยหน่วยงานที่สนใจสามารถติดต่ อได้ที่มูลนิธินวัตกรรมทางสั งคม" นายอภิชาติ กล่าว
สวทน. ดันโครงการโรงเรียนในโรงงาน บุกเหนือและอีสาน ปั้นเด็กเก่งป้อน หลังพบภาคอุตสาหกรรม – บริษัทยักษ์ใหญ่ขอรับส่งเสริ มลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจกว่า 20,000 ล้านบาท
ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ เลขาธิการสำนั กงานคณะกรรมการนโยบายวิ ทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.) กล่าวว่า สวทน. เป็นหน่วยงานที่ริเริ่ มโครงการบูรณาการการเรียนกั บการทำงาน “วิล” (Work-integrated Learning :WiL) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพั ฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงช่วยเหลือเด็กด้ อยโอกาสให้ได้รับการศึกษา ซึ่ง สวทน. ได้ร่วมมือกับภาคอุ ตสาหกรรมและสถาบันการศึกษา รับสมัครนักเรียนที่เรียนจบชั้ นมัธยมศึกษาสายสามัญ จากโรงเรียนในชนบทมาเข้าโครงการ ซึ่งเด็กที่เข้าร่วมโครงการนี้ นอกจากจะได้เรียนจนสำเร็จวุฒิ การศึกษาเหมือนนักศึกษาในสถาบั นการศึกษาทั่วไปแล้ว ระหว่างที่เรียนยังจะได้รั บประสบการณ์จริง จากการทำงานในสายการผลิ ตของภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ เข้าร่วมโครงการ มีการนำเอาความรู้จากงานที่ ทำเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของบทเรี ยน ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่ างถ่องแท้ และยังได้รับค่าแรงเป็นรายได้ ระหว่างเรียนอีกด้วย
เลขาธิการฯ สวทน. กล่าวต่อว่า โครงการวิลจัดต่อเนื่องมาเป็นปี ที่ 5 แล้ว โดยในปีนี้มีบริษัทขนาดใหญ่ หลายแห่ง สนใจเข้าร่วมโครงการ ทั้ง บริษัทโซนี่ ที่ต้องการกำลังคนที่มีความรู้ ด้านอิเล็คทรอนิกส์ บริษัทมิชลิน และบริษัทกู๊ดเยียร์ ผู้ผลิตยางรถยนต์ยักษ์ใหญ่ที่ต้ องการกำลังคนทางด้านเทคนิ คและเทคโนโลยี รวมถึงบริษัทชินเอทสึ บริษัทผู้ผลิตซิลิโคนชั้ นนำจากญี่ปุ่น ก็มาเข้าร่วมโครงการกับเราด้วย ทั้งนี้บริษัทที่เข้าร่ วมโครงการวิล จะสามารถขอรับสิทธิประโยชน์ จากนโยบายและมาตรการส่งเสริ มการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจในรู ปแบบคลัสเตอร์ ในการขอรับสิทธิประโยชน์ การยกเว้นภาษี ซึ่งเป็นคลัสเตอร์สำหรับกิ จการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสู งและเป็นอุตสาหกรรมแห่งอนาคต โดยในปีนี้ บริษัทมิชลิน, กู๊ดเยียร์ และ บริษัทชินเอทสึ ได้เข้าร่วมขอรับสิทธิ์ดังกล่ าวกับทาง สวทน. ซึ่งมีมูลค่าการลงทุน มากถึง 20,986 ล้านบาท
สำหรับปีนี้โครงการวิล ได้เปิดรับสมัครเด็กที่ต้ องการศึกษาในระดับประกาศนียบั ตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) โดยเริ่มจากภาคเหนือ แล้วขยายมายังภาคอีสาน ซึ่งทาง สวทน. และภาคอุตสาหกรรมที่เข้าร่ วมโครงการได้ลงพื้นที่ ร่วมกันเฟ้นหาเด็กซึ่งมีความรู้ ความสามารถ เหมาะที่จะเข้าร่วมโครงการ ผ่านการสอบข้อเขียน การสอบปฏิบัติและการสอบสัมภาษณ์ โดยมีเป้าหมายว่าในปี 2560 นี้ จะมีเด็กเข้าร่วมโครงการทั้งสิ้ นประมาณ 300 คน
ทั้งนี้พบว่าปัจจุบัน ความต้องการกำลังคนด้านวิ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในประเทศไทยมีสูงมาก แต่เด็กที่เรียนจบและมีความเชี่ ยวชาญเฉพาะทางในเรื่องดังกล่าว ยังมีไม่เพียงพอที่จะป้อนสู่ สายการผลิตในภาคอุตสาหกรรม โครงการนี้จึงเข้ามาตอบโจทย์ ในเรื่องการพัฒนากำลังคน ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ เป็นอย่างดี รวมถึงยังช่วยให้เด็กในชนบทซึ่ งเรียนดีแต่ยากจน ได้มีโอกาสเรียนและทำงานไปด้ วยในเวลาเดียวกัน ส่วนภาคอุตสาหกรรมก็ได้กำลั งคนที่เชี่ยวชาญและทำงานได้จริง อีกทั้งยังขอรับสิทธิประโยชน์ จากนโยบายและมาตรการส่งเสริ มการลงทุนเขตพัฒนาเศรษฐกิจในรู ปแบบคลัสเตอร์ได้อีกด้วย ดร.กิติพงค์ กล่าวทิ้งท้าย
แสดงความคิดเห็น