รายงานคัดสรร 2559: 10 เรื่องที่อยากให้อ่าน
Posted: 31 Dec 2016 03:13 AM PST (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เวบไซท์ประชาไท)
ก่อนปีนี้จะผ่านไป 'ประชาไท' ชวนอ่านรายงานที่ กอง บ.ก. คัดสรรมา 10 เรื่อง บางชิ้นผู้อ่านอาจเห็นผ่านตาแล้ วแต่ยังไม่ได้อ่าน หรือหลายคนอาจจะเคยคลิกเข้ ามาแล้ว แต่ยังอ่านไม่จบ เราถือโอกาสวันหยุดยาว ขอเชิญชวนอ่านอีกครั้ง (คลิกที่ชื่อเรื่องเพื่ออ่าน)
1. รำลึก 10 ปี 19 กันยาใต้รัฐบาล คสช. รู้จัก ‘ทหาร’ ให้มากขึ้นกับ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์
งานชิ้นนี้ออกมาในวาระ 10 ปี 19 กันยา 2549 หรือรัฐประหารคราวก่อน หากแต่เนื้อหาโดยรวม ชวนย้อนกลับไปถึง 2430 ในยุคก่อร่างสร้างตั วของระบบทหารเลยทีเดียว ในห้วงเวลาที่เรายังไม่รู้ว่า ประเทศไทยจะออกจากอำนาจการปกครอ งของทหารทั้งทางตรงและทางอ้ อมเมื่อใดเช่นนี้ จึงขอเชิญชวนผู้อ่านทำความรู้จั ก 'ทหาร' ให้มากขึ้น
2. ลาก ‘เก้าอี้’ มานั่งคุย: กนกรัตน์ เลิศชูสกุล #1 The Rise of the Octobrists
"คือมันสอดรับกับความสำเร็
หนึ่งในรายงานชุด "ลาก ‘เก้าอี้’ มานั่งคุย" ในวาระ 40 ปี 6 ตุลา 2519 อธิบายการเกิดขึ้น ดำรงอยู่ และตกต่ำของคนเดือนตุลาในสั งคมไทยปัจจุบัน ทำไมพวกเขาจึงอยู่ในทุกวงการ ทำไมพวกเขาจึงเป็นผู้ขีดเขี ยนความหมายของคำว่าประชาธิ ปไตยของไทยมาเนิ่นนาน
3. “เรียกรายงานตัวอีกครั้งก็ยั งจะอารยะขัดขืน” คำเบิกความ 'รุ่งศิลา' กวีหลังกรงขัง
ที่มาภาพ: ปรับแต่งจาก iLaw
ที่มาที่ไปของกวีหนุ่มใหญ่วัย 53 ปี 'รุ่งศิลา' ผู้ไม่ไปรายงานตัวตามประกาศของ คสช. ไม่กี่วันหลังรัฐประหาร ปัจจุบัน แม้ศาลจะตัดสินให้เขามีความผิ ดฐานฝ่าฝืนคำสั่ง คสช. โดยให้จำคุก 1 ปี ปรับ 18,000 บาท ก่อนจะลดโทษให้หนึ่งในสามเหลื อโทษจำคุก 8 เดือน ปรับ 12,000 บาท และให้รอลงอาญา 2 ปี แต่ตอนนี้ เจ้าตัวยังอยู่ในเรือนจำ เฝ้ารอที่จะสู้คดี 112 ในศาลทหารอีกคดี
“เป็นความซ้ำซาก ย้อนแย้งและล้าหลัง ผมคิดว่าประเทศนี้มีอาการเจ็บป่ วยอย่างหนักหนาเหลือเกิน” เขาเคยบอกไว้
4. ภาวะกลับไม่ได้ ไปไม่ถึง: ประชากรย้ายถิ่นจากรั ฐฉานและนโยบายสัญชาติ
เมื่อประเทศไทย ไม่ได้มีแค่คนที่มีบัตรประชาชน สำรวจความฝันและความเป็นอยู่ ของประชากรย้ายถิ่นจากรัฐฉานที่ พำนักอยู่ในประเทศไทย หลายครอบครัวยังหวังกลับไปพร้ อมหน้าพร้อมตาที่บ้านเกิด แต่ก็มีอีกหลายครอบครัวหวังเริ่ มต้นชีวิตใหม่ที่นี่ ขณะที่ลูกหลานของพวกเขาเติบโตขึ้ นในสังคมไทยพร้อมความรู้สึกว่ าที่นี่ก็คือบ้าน พร้อมติดตามนโยบายด้านสัญชาติ และสถานะบุคคลของรัฐไทย และแนวโน้มการปรับตัวเพื่ อตอบโจทย์ประชากรข้ามแดน และภาวะสังคมผู้สูงอายุ
5. รายงานพิเศษ: ภาษามลายู-รัฐไทยนิยม การกลืนชาติทางภาษา แกะปมขัดแย้งชายแดนใต้
แกะปมขัดแย้ง ‘ภาษามลายู’ สามจังหวัดชายแดนใต้ เมื่อรัฐไทยพยายามกลืนความเป็ นปาตานีผ่านภาษา หนึ่งในชนวนความรุนแรง ที่ก่อให้เกิดความกังวลว่าอัตลั กษณ์ปาตานีจะสิ้นสูญ
6. เราจะไปทางไหน#6: เกษียร เตชะพีระ ‘Deep state ปะทะ Deep society’ สู้อย่างไรในศึกยาว
บทสัมภาษณ์ชิ้นปิดท้ายในชุด "เราจะไปทางไหน" ที่สำรวจหน้าตาการเมืองไทยหลั งร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ - เกษียร เตชะพีระ พาเราวิเคราะห์ให้เห็นเส้ นทางประชาธิปไตยขึ้นๆ ลงๆ ยาวนานในประวัติศาสตร์การเมือง โดยใช้กรอบ ‘รัฐพันลึก’ หรือ Deep state เพื่อให้เห็นรากของปัญหา และยังมีส่วนที่เขาคิดต่อ นั่นคือ Deep society ที่ปะทะขัดแย้งกับ Deep state มายาวนาน ชวนมองศึกนี้ในระยะยาวและรั กษาหลักบางอย่างเพื่อให้สั งคมไทยสู้กันในนานโดยไม่ต้องสู ญเสียเพิ่มเติมอีก
7. รายงานพิเศษ: ‘หญิงพิการ(1)’ ชีวิตที่ถูกกระทำซ้ำซ้อน ข่มขืน-ทำหมัน
ขณะที่ปัญหาของคนไม่พิการกับเรื่ องเพศยังไม่เคยจบสิ้น คู่ขนานกันไป คนพิการหลายคนก็ไม่เคยเรียนรู้ เรื่องเพศ บ้างโดนกีดกันให้อยู่ห่าง บ้างหวาดกลัวเพราะความไม่รู้ จนทำให้คนพิการและครอบครั วจำนวนมากเลือกที่จะปกปิดและขุ ดหลุมฝังเรื่องเหล่านี้ให้ลึกที่ สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และมีจำนวนไม่น้อยที่หลีกหนีปั ญหาด้วยการ ‘ทำหมัน’
รายงานชิ้นนี้ จะฉายภาพคนพิการ-ครอบครัว แท้จริงแล้วคนพิการไร้เพศหรือสั งคมพยายามผลักให้คนพิการไร้เพศ อะไรทำให้มุมมองเรื่ องเพศของคนพิการถูกมองข้าม จนหญิงพิการหลายคนถูกจับทำหมั นไม่รู้ตัวและจมอยู่กับความคิ ดเรื่องการถูกล่วงละเมิดทางเพศ
8. Sex in Jails: เรื่องเซ็กส์ในที่ลึก แต่ไม่ลับในเรือนจำชาย
เปิดเรื่องเซ็กส์ในแดนสนธยาอย่ างเรือนจำ ปัญหาการล่วงละเมิดทางเพศยั งคงมีอยู่ และการมีเพศสัมพันธ์มีให้เห็ นเป็นปกติในเรือนจำชาย ทั้งมีพิธีการแต่งงานและทะเบี ยนสมรส แต่พบปัญหาการเข้าถึงถุ งยางอนามัยเป็นเรื่ องยากในบางเรือนจำ
คุณภาพชีวิต สิทธิมนุษยชน กระบวนการยุติธรรม การค้าบริการทางเพศ การเข้าถึงถุงยางอนามัย สิทธิทางเพศ มารวมอยู่ด้วยกันในรายงานชิ้นนี้
9. รายงาน: รัฐไทยกับโลกออนไลน์ อดีต ปัจจุบัน อนาคต(อันน่าสะพรึง)
ภาพโดย Thomas Leuthard (CC BY 2.0)
ย้อนดูความพยายามของรั ฐบาลไทยในการเข้ามาควบคุม สอดส่อง การใช้อินเทอร์เน็ ตของประชาชนอย่างต่อเนื่อง พร้อมคุยกับ อาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล ผู้ประสานงานเครือข่ายพลเมื องเน็ต ที่ติดตามมอนิเตอร์นโยบายรัฐต่ อโลกออนไลน์มาตลอด ถึงข้อเสนอต่อแนวทางที่ควรจะเป็ น
10. เมื่อ ‘รัฐไทย’ จัดระเบียบความเศร้า (มานุษยวิทยาของความเศร้าโศก)
10. เมื่อ ‘รัฐไทย’ จัดระเบียบความเศร้า (มานุษยวิทยาของความเศร้าโศก)
บทสัมภาษณ์นักมานุษยวิทยา ที่ชวนมองความพยายามของ ‘รัฐไทย’ ในการจัดระเบี ยบการแสดงออกความเศร้าให้เหมื อนกัน ขณะที่ความโกรธคือรูปแบบหนึ่ งของความเศร้าและใช้กับผู้ที่ เป็นปฏิปักษ์กับความเศร้าของตน สะท้อนวิธีคิดแบ่งขั้วดี- เลวในสังคมไทย
แสดงความคิดเห็น