Posted: 29 Nov 2017 10:27 AM PST  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

เครือข่ายนักวิชาการภาคใต้ ประณามเจ้าหน้าที่รัฐสลายการชุมนุมกลุ่มค้านโรงไฟฟ้าเทพา ชี้ขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ ร้องแสดงความรับผิดชอบ และไม่ดำเนินคดี-ปล่อยตัวชาวบ้านอย่างไม่มีเงื่อนไข มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ย้ำหยุดการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมของรัฐบาลทหาร


ภาพเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว 16 แกนนำ เพื่อขออำนาจศาล จ.สงขลา ฝากขัง เมื่อช่วงสายของวันที่ 28 พ.ย.60

29 พ.ย.2560 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เครือข่ายนักวิชาการภาคใต้ จำนวน 112 คน ร่วมลงชื่อใน แถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการภาคใต้ กรณีสลายการชุมนุมเกินกว่าเหตุที่กระทำต่อเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน โดยนักวิชาการกลุ่มดังกล่าวได้ประณามการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งไม่มีความชอบธรรมและเป็นไปอย่างอำเภอใจ ขัดกับหลักการสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ และเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ดำเนินคดีต่อชาวบ้าน และปล่อยตัวอย่างไม่มีเงื่อนไข

เครือข่ายนักวิชาการภาคใต้ ยืนยันในเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนโดยการชุมนุมอย่างสงบเปิดเผย และปราศจากอาวุธ ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินจึงมีสิทธิอันชอบธรรมทุกประการในการแสดงออกซึ่งการไม่เห็นด้วยต่อโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ทั้งนี้ ในการชุมนุมโดยการเดินเท้าที่ผ่านมา ทางเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ทุกประการ อีกทั้งการชุมนุมก็เป็นไปอย่างสงบและปราศจากอาวุธ ยืนยันในหลักการพื้นฐานที่สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิด ดังนี้ การปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไขในระหว่างสอบสวนจึงเป็นหลักการที่ต้องยึดถือปฏิบัติ การเรียกหลักประกันหรือการควบคุมตัวระหว่างสอบสวนเป็นเพียงข้อยกเว้นที่ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

เครือข่ายนักวิชาการภาคใต้ ยังเรียกร้องต่อรัฐบาลด้วยว่า ให้ทบทวนการดำเนินการตามนโยบายและโครงการพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้ที่จะส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ละเมิดสิทธิมนุษยชน และหลักมนุษยธรรม ระงับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินในพื้นที่อำเภอเทพาอย่างเร่งด่วนเพื่อระงับความขัดแย้งที่กำลังบานปลาย ทั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง รวมทั้งให้รัฐบาลส่งเสริมและสนับสนุนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้บรรลุ “ภาคใต้แห่งความสุขอย่างยั่งยืน” ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงในชีวิต แหล่งผลิตอาหาร การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น “คืนบรรยากาศประชาธิปไตย ด้วยการเคารพอย่างมั่นคงจริงใจในโรดแมป (Road Map) การเลือกตั้ง และไม่ใช้อำนาจในลักษณะที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพและไม่ใช้อำนาจที่ทำให้เกิดความหวาดกลัว”

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมด้วยว่า มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ออกแถลงการณ์เรื่อง “หยุดการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมของรัฐบาลทหาร” โดยเรียกร้องรัฐบาล 1. ยุติการดำเนินโครงการใหญ่ที่จะก่อปัญหาให้แก่สังคมไม่ว่าทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือชีวิตผู้คนในทุกพื้นที่ทุกโครงการ 2. ยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และปล่อยผู้ถูกจับกุมในกรณีโรงไฟฟ้าเทพาอย่างไม่มีเงื่อนไข และ 3. เอาผิดต่อผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่อพี่น้องประชาชน

รายละเอียดและรายชื่อผู้ร่วมแถลงการณ์ :



แถลงการณ์เครือข่ายนักวิชาการภาคใต้ กรณีสลายการชุมนุมเกินกว่าเหตุที่กระทำต่อเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน

เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินได้ออกเดินเท้าจาก ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา เพื่อยื่นหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดสงขลา เพื่อแสดงเจตจำจงให้ยกเลิกการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินและปกป้องทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ตือโละปาตานี แต่ได้มีการใช้กำลังโดยเจ้าหน้าที่ขัดขวางและสลายการชุมนุมในวันจันทร์ ที่ 27 พฤศจิกายน 2560 เป็นเหตุให้มีผู้บาดเจ็บ และมีผู้ร่วมชุมนุมถูกดำเนินคดีทั้งสิ้น 16 ราย

โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ชายฝั่งตำบลปากบาง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ซึ่งใช้พื้นที่กว่า 2,850 ไร่ เพื่อผลิตไฟฟ้า 2,200 เมกะวัตต์ ถูกอนุมัติตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ปี 2558-2573 หรือ PDP2015 โดยกระทรวงพลังงานและการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ในโลกปัจจุบันซึ่งมุ่งสู่การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียน และส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนระดับชุมชน

การดำเนินการตลอด 4 ปี ที่ผ่านมา มีปัญหามากมาย ทั้งการไม่มีส่วนร่วมของประชาชนอย่างแท้จริงในการรับฟังความคิดเห็นทั้ง 3 ครั้ง กระบวนการศึกษา EHIA มีความบกพร่อง ไม่ครอบคลุม และพบข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงจำนวนมาก นอกจากนี้กระบวนการอนุมัติโครงการมีการแยกส่วนการศึกษา EHIA โดยให้ ครม.อนุมัติสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาก่อนในขณะที่ EHIA ของท่าเรือขนถ่านหินยังไม่ผ่านการพิจารณาและต้องดำเนินการแก้ไข

การพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้แนวทางตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาประเทศไทย 4.0 และประชารัฐ ควรที่จะสอดคล้องกับกระบวนทัศน์การพัฒนาตามมาตรฐานจริยธรรมสากลในการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goal : SDGs) ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นตัวแทนประเทศไทยลงนามไว้ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ และการแก้ไขปัญหาความเดือนร้อน การตอบสนองต่อความต้องการของประชาชน จะต้องกระทำโดยกระบวนการทางการเมืองที่เป็นประชาธิปไตยและไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพและอนามัยของประชาชน

เครือข่ายนักวิชาการภาคใต้ ดังมีรายนามแนบท้าย มีข้อคิดเห็นและข้อเรียกร้องต่อกรณีที่เกิดขึ้น ดังนี้

1. ประณามการใช้กำลังของเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งไม่มีความชอบธรรมและเป็นไปอย่างอำเภอใจ ขัดกับหลักการสิทธิมนุษยชนที่รัฐบาลได้ประกาศให้เป็นวาระแห่งชาติ และเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น ไม่ดำเนินคดีต่อชาวบ้าน และปล่อยตัวอย่างไม่มีเงื่อนไข

2. ยืนยันในเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนโดยการชุมนุมอย่างสงบเปิดเผย และปราศจากอาวุธ ซึ่งได้รับการรับรองโดยรัฐธรรมนูญ เครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินจึงมีสิทธิอันชอบธรรมทุกประการในการแสดงออกซึ่งการไม่เห็นด้วยต่อโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา ทั้งนี้ ในการชุมนุมโดยการเดินเท้าที่ผ่านมา ทางเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.ชุมนุมสาธารณะ พ.ศ.2558 ทุกประการ อีกทั้งการชุมนุมก็เป็นไปอย่างสงบและปราศจากอาวุธ

3. ยืนยันในหลักการพื้นฐานที่สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิด ดังนี้ การปล่อยตัวโดยไม่มีเงื่อนไขในระหว่างสอบสวนจึงเป็นหลักการที่ต้องยึดถือปฏิบัติ การเรียกหลักประกันหรือการควบคุมตัวระหว่างสอบสวนเป็นเพียงข้อยกเว้นที่ต้องใช้เพียงเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

4. ขอให้รัฐบาลทบทวนการดำเนินการตามนโยบายและโครงการพัฒนาในพื้นที่ภาคใต้ที่จะส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ละเมิดสิทธิมนุษยชน และหลักมนุษยธรรม ระงับโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินในพื้นที่อำเภอเทพาอย่างเร่งด่วนเพื่อระงับความขัดแย้งที่กำลังบานปลาย ทั้งนี้เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ภาคใต้เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง

5.ขอให้รัฐบาลส่งเสริมและสนับสนุนวิสัยทัศน์และยุทธศาสตร์การพัฒนาเพื่อให้บรรลุ “ภาคใต้แห่งความสุขอย่างยั่งยืน” ที่ให้ความสำคัญกับการสร้างความมั่นคงในชีวิต แหล่งผลิตอาหาร การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น “คืนบรรยากาศประชาธิปไตย ด้วยการเคารพอย่างมั่นคงจริงใจในโรดแมป (Road Map) การเลือกตั้ง และไม่ใช้อำนาจในลักษณะที่ริดรอนสิทธิเสรีภาพและไม่ใช้อำนาจที่ทำให้เกิดความหวาดกลัว”

เครือข่ายนักวิชาการภาคใต้

29 พฤศจิกายน 2560

รายนามนักวิชาการเครือข่ายนักวิชาการภาคใต้

1. อาจารย์อรชา รักดี คณะรัฐศาสตร์

2. อาจารย์สุไรนี สายนุ้ย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

3. อาจารย์ อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

4. อาจารย์ สายฝน สิทธิมงคล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

5. ดร.เกื้อ ฤทธิบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

6. อาจารย์ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

7. อาจารย์เอกรินทร์ ต่วนศิริ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

8. ผศ.ดร.บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

9. ดร.อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

10. ดร.ปิยวรรณ ปิยะกาญจน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

11. ผศ.ดร.วลักษณ์กมล จ่างกมล คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

12. ผศ.ดร.กุสุมา กูใหญ่ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

13. ดร.สินาด ตรีวรรณไชย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

14. อาจารย์ ธัญญธร สายปัญญา มหาวิทยาแม่ฟ้าหลวง

15. ดร.สุรวุฒน์ ช่อไม้ทอง รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

16. อาจารย์นัจมีย์ หมัดหมาน รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

17. ผศ.ดร.เยาวนิจ กิติธรกุล สถาบันทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่

18. อาจารย์เสาวณีย์ แก้วจุลกาญจน์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

19. นางสาวจิราภรณ์ เรืองยิ่ง นักวิชาการอิสระ

20. อาจารย์ ศุภวีย์ เกลี้ยงจันทร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

21. อาจารย์ นิจนิรันดร์ อวะภาค คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

22. อาจารย์ ดร. พรไทย ศิริสาธิตกิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

23. นายณัฐวุฒิ โชติการ นักวิชาการอิสระ

24. ผศ.ดร.สามารถ ทองเฝือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

25. ผศ.ภีรกาญจน์ ไค่นุ่นนา คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี

26. ดร. ภาสกร อินทุมาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

27. อาจารย์ ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

28. อาจารย์ สัณห์ธวัช ธัญวงษ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

29. รศ.ดร. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

30. อาจารย์ ชัยพงษ์ สำเนียง มหาวิทยาลัย เชียงใหม่

31. ดร. ธนศักดิ์ สายจำปา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

32. รศ.ดร. พวงทอง ภวัครพันธุ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

33. ดร. ชลิตา บัณฑุวงศ์ ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

34. อาจารย์ อลงกรณ์ อรรคแสง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

35. ดร. ดิเรก หมานมานะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

36. อาจารย์ปฐม ตาคะนานันท์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มนุษยศาสตร์

37. นายอดิศร เกิดมงคล นักวิชาการอิสระ

38. ผศ.ดร. สมัย โกรทินธาคม คณะ เศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

39. อาจารย์ ปวลักขิ์ สุรัสวดี มหาวิทยาลัยมหิดล

40. อาจารย์ หทยา อนันต์สุชาติกุล มหาวิทยาลัยแม่โจ้

41. ผศ.ดร.บูฆอรี ยีหมะ อาจารย์ประจำโปรแกรมรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

42. อาจารย์ สุภาพร ฝั่งชลจิตต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

43. ผศ.ดร. ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

44. ดร.พิชญา บุญศรีรัตน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

45. อับดุลอาซิส อับดุลวาฮับ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

46. ผู้ช่วยศาสตราจารย์มูฮัมหมัดรอฟีอี มูซอ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

47. ดร. ปริลักษณ์ กลิ่นช้าง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

48. อาจารย์ ฮัมบาลี เจะมะ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่

49. อาจารย์ วิโรจน์ อาลี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

50. ผศ.ดร. อนุสรณ์ อุณโณ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

51. อาจารย์ ธรรมศาสตร์ โสตถิพันธุ์ สถาบันสันติศึกษา

52. อาจารย์ ถนอม ชาภักดี คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

53. อาจารย์ อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

54. อาจารย์ ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

55. ปราการ กลิ่นฟุ้ง นักวิจัยอิสระ

56. อาจารย์ ว่องวิช ขวัญพัทลุง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

57. อาจารย์ ศุภกาญจน์ บัวทิพย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

58. ผศ.ดร.เก่งกิจ กินิเรียงลาภ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

59. ผศ.นุกูล รัตนดากุล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

60. อาจารย์สมศักดิ์ บัวทิพย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

61. วิริยะ สว่างโชติ นักวิชาการอิสระ

62. ผศ.ดร.บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

63. ซะการีย์ยา อมตยา กวีซีไรท์ (2553) และบรรณาธิการ The Melayu Review

64. ดร.โดม ไกรปกรณ์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

65. ผศ. บุญส่ง ชัยสิงห์กานานนท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

66. ดร. ชุมพล แก้วสม อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

67. ดร.อนิรุต หนูปลอด อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

68. ดร.ปาริชาติ เบ็ญฤทธิ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

69. ดร. กรวิทย์ เกาะกลาง อาจารย์สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้-ชุมพร

70. ผศ.ดร.สิทธิศักดิ์ จันทรัตน์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

71. ดร. สร้อยมาศ รุ่งมณี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

72. ผศ.ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ ปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

73. ดร.อารยา สุขสม อาจารย์ประจำโปรแกรมรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

74. อาจารย์ อามีนี สะอีดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

75. ผศ.ดร.วันวิสาข์ ธรรมานนท์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

76. ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุทธิศักดิ์ ดือเระ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

77. ดร.พิเชตวุฒิ นิลละออ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

78. อาจารย์พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

79. อาจารย์พศุตม์ ลาศุขะ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

80. ผศ. มงคล มาลยารม คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

81. ณัฐดนัย นาจันทร์ นักวิชาการอิสระ

82. ผศ.ดร.มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง คณะรัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง

83. รศ.ดร.อดิศร ศักดิ์สูง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

84. ผศ.เปรมสิรี ศักดิ์สูง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

85. ผศ.บัญชา สำเร็จกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

86. ผศ.ดร.อาฟีฟี ลาเต๊ะ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

87. ดร.ซัมซู สาอุ วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

88. ดร. สมพร ช่วยอารีย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

89. ผศ.ดร.ณัฐธิดา รักกะเปา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสหกรรม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี

90. ผศ. พุทธพล มงคลวรวรรณ คณะมุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

91. อาจาร์ ฮามีด๊ะ มูสอ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตตานี

92. อาจารย์ วัสสา คงนคร ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

93. อาจารย์ สุรางคนา ตรังคานนท์ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

94. มาเรียนา แนกาบาร์ นักวิชาการอุดมศึกษา สำนักส่งเสริมและการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

95. อาจารย์ นฤมล​ กล้าทุกวัน​ สำนักวิชาศิลปศาสตร์​ มหา​วิทยาลัย​วลัย​ลักษณ์

96. รุ่งรวี เฉลิมศรีภิญโญรัช นักวิชาการอิสระ

97. ผศ. จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

98. ผศ. ผจญ คงเมือง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

99. อาจารย์ อริศ หัสมา วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

100.ดร. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฬงกรณ์มหาวิทยาลัย

101.อาจารย์ อนุสรณ์ ติปยานนท์ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

102.อาจารย์ วรรณภา ลีระศิริ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

103.ผศ.ดร.ภมรี สุรเกียรติ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

104.อาจารย์ วีรพงษ์ ยศบุญเรือง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

105.รศ.ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

106.สมัชชา นิลปัทม์ คณะวิทยาการสื่อสาร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

107.ดร.สมฤดี คงพุฒ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

108.อาจารย์จริยภัทร บุญมา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

109.อาจารย์ปพิชญา แซ่ลิ่ม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

110.อาจารย์ซากีย์ พิทักษ์คุมพล สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

111. นายวิโรจน์ จิเหม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี

112.ผศ.ดร.นัฐ ตัณศิลา คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่


แถลงการณ์มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน เรื่อง “หยุดการใช้อำนาจที่ไม่ชอบธรรมของรัฐบาลทหาร”

การใช้ความรุนแรงและมาตรการทางกฎหมายกับชาวบ้านเครือข่ายคนสงขลา – ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน ที่เดินทางขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 แยกไม่ออกจากกระบวนการดำเนินตามนโยบายบังคับให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมของรัฐบาลภายใต้อำนาจนำของทหารชุดนี้ นโยบายบังคับให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจนี้ซึ่งไม่แตกต่างไปจากนโยบายบีบบังคับคนพื้นเมืองในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้เปลี่ยนแปลงระบบการผลิตในสมัยการล่าอาณานิคมก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งก่อให้เกิดความเดือดร้อนไปทั่วทุกหย่อมหญ้า

รัฐบาลทหารที่ไม่ได้เป็นตัวแทนของประชาชนได้วางแผนและใช้กำลังความรุนแรงบีบบังคับให้เกิดความเปลี่ยนแปลงการใช้พื้นที่อันจะมีผลต่อชีวิตผู้คนไม่ใช่เพียงเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้เท่านั้น การใช้อำนาจในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในทุกพื้นที่ ผ่านการผลักดันโครงการและนโยบายต่างๆ ทั้งในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก ภาคกลาง การขึ้นมามีอำนาจโดยปราศจากการยึดโยงกับพี่น้องประชาชน ทำให้การตัดสินใจทางการเมืองเศรษฐกิจในโครงการต่างๆ ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่ออนาคตพี่น้องประชาชน ดังกรณีการเดินหน้าโรงไฟฟ้าเทพาก็เป็นประจักษ์พยานอันชัดเจนในภาคใต้ที่เกิดขึ้นโดยไม่ให้ความสำคัญต่อความเห็นของผู้คนเลยแม้แต่น้อย เฉกเช่นเดียวกับการกระทำต่อประชาชนในพื้นที่ต่างๆ

การถูกริบอำนาจการตัดสินใจในอนาคตของตนเองเช่นนี้จะก่อให้เกิดปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนอย่างรุนแรง ดังนั้น รัฐบาลทหารจึงต้องสำนึกตนเองว่าปราศจากความชอบธรรมทางการเมืองและไม่สมควรอย่างยิ่งที่จะก่อให้เกิดปัญหายุ่งยากต่ออนาคตอย่างไม่รับผิดชอบเช่นนี้

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืนขอเรียกร้องต่อสังคมให้ช่วยกันกดดันรัฐบาลทหารไม่ให้ใช้อำนาจอันปราศจากความชอบธรรมในการกระทำใดๆ ที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชน และร่วมกันกดดันให้รัฐบาลดำเนินการต่อไปนี้

1. ยุติการดำเนินโครงการใหญ่ที่จะก่อปัญหาให้แก่สังคมไม่ว่าทางด้านสิ่งแวดล้อมหรือชีวิตผู้คนในทุกพื้นที่ทุกโครงการ

2. ยุติโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพา และปล่อยผู้ถูกจับกุมในกรณีโรงไฟฟ้าเทพาอย่างไม่มีเงื่อนไข

3. เอาผิดต่อผู้บังคับบัญชาในพื้นที่ที่ทำให้เกิดการใช้ความรุนแรงต่อพี่น้องประชาชน

​​​​​​29 พฤศจิกายน 2560

มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.