Posted: 15 Dec 2017 05:20 AM PST  (อ้างอิงจากอีเมล์ข่าว เว็บไซต์ประชาไท)

องค์กรสิทธิมนุษยชนขอให้ยุติการฟ้องคดีเพื่อปิดปากนักกิจกรรมหรือประชาชนกรณีทนายความ นักกิจกรรมด้านสิทธิเสรีภาพ อานนท์ นำภา


15 ธ.ค.2560 จากกรณีสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้ออกมาหมายเรียก อานนท์ นำภา ทนายความของศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ให้ไปรับทราบข้อกล่าวหาในความผิดฐานดูหมิ่นศาลและความผิดตามพ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 จากกรณีโพสต์เฟซบุ๊กตั้งคำถามกับศาลขอนแก่นนั้น

วันนี้ องค์กรสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม สมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน มูลนิธิศูนย์ข้อมูลชุมชน และมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม ออกแถลงการณ์ ขอให้ยุติการฟ้องคดีดังกล่าว พร้อมแสดงความกังวลว่าการใช้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ ของทางเจ้าหน้าที่ต่อทนายความและนักกิจกรรมอาจเป็นการปิดกั้นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจนเกินสมควร และอาจเป็นปิดกั้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในกิจการสาธารณะ และการตรวจสอบหน่วยงานรัฐและบุคคลสาธารณะ โดยในกรณีนี้อาจถูกกล่าวอ้างว่าการแจ้งความของเจ้าหน้าที่ตำรวจมีวัตถุประสงค์ในการกลั่นแกล้ง คุกคามนักกิจกรรมด้านสิทธิเสรีภาพ เนื่องจาก อานนท์ มีบทบาทในการจัดกิจกรรมด้านส่งเสริมสิทธิเสรีภาพตามหลักการประชาธิปไตยตลอดหลายปีที่ผ่านมา อีกทั้งเป็นทนายความให้ความช่วยเหลือต่อผู้ได้รับผลกระทบการการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมายโดยตรงและอย่างต่อเนื่อง การที่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้อ้างถึงข้อความในการสื่อสารทางสาธารณะด้วยข้อหาดูหมิ่นศาลและความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อาจเข้าข่ายการฟ้องคดีเพื่อปิดปากนักกิจกรรมหรือประชาชน หรือ SLAPPs (Strategic Litigation against public participation) อันถือว่าเป็นการกระทำของรัฐที่ขัดต่อพันธกรณีระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะข้อบทที่ 19 ของกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ระบุว่าบุคคลทุกคนมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากการแทรกแซง

องค์กรสิทธิมนุษยชนที่ร่วมแถลงการณ์ เรียกร้องให้ยุติการดำเนินคดี ต่อ อานนท์ ดังกล่าวอย่างไม่มีเงื่อนไข และขอให้ยุติการใช้การดำเนินคดีที่เข้าข่ายการฟ้องคดีปิดปากต่อนักกิจกรรม นักสิทธิมนุษยชน และทนายความที่ทำหน้าที่ของตนในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนในฐานะนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ต้องได้รับการคุ้มครองตามหลักการในปฏิญญาสากลว่าด้วยนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ

แถลงการณ์ ระบุด้วยว่า คดีนี้ ผู้กล่าวหา คือ พ.ต.ท.สุภารัตน์ คำอินทร์ กล่าวหาว่าทนายอานนท์กระทำความผิด โดย “ดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล โดยทุจริตหรือโดยหลอกลวงนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชนอันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา”

องค์กรสิทธิมนุษยชนที่ร่วมแถลงการณ์ เมื่อเดือน พ.ค. 2560 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฯ มาตรา 14 ที่มีการแก้ไขใหม่ ได้ระบุให้ชัดเจนขึ้นว่า การกระทำที่ถือเป็นความผิดตามมาตรานี้ ต้องเป็นการจงใจ หรือมีเจตนาหลอกลวง นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และทำให้เกิดความเสียหายในเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กรณีการหมิ่นประมาท ซึ่งในคดีที่มีหมายเรียกจากพนักงานสอบสวนเป็นข้อหาดูหมิ่นศาลซึ่งไม่ได้ถูกยกเว้นไว้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับแก้ไขที่มีผลบังคับใช้แล้ว


รายละเอียดเกี่ยวกับข้อเกฎหมายที่ฟ้องในคดีนี้ :

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 198 ผู้ใดดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในการพิจารณาหรือพิพากษาคดี หรือกระทำการขัดขวางการพิจารณาหรือพิพากษาของศาล ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ


พ.ร.บ.ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ[full-post]

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.