ซีอีโอ 63% ทั่วโลกกังวหาลูกจ้างตรงกับตำแหน่งงานยาก ที่สหรัฐฯ แม้จะมีตำแหน่งงานว่างเพิ่มขึ้นเท่าแต่พบเกิดการจ้างงานไม่ถึงครึ่ง ไทยขาดแรงงานทักษะสูงส่งผลแข่งขันกับต่างประเทศลำบาก งานวิจัยชี้ตลาดแรงงานไทยต้องการคนจบวิชาชีพมากกว่าปริญญาตรี
ที่มาภาพประกอบ: pexels.com (CC0 License)
แม้ตลาดแรงงานโลกจะเริ่มขยายใหญ่ขึ้นตามสภาพเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ทำให้มีตำแหน่งงานว่างจำนวนมากขึ้นเปิดรองรับผู้ว่างงาน แต่สิ่งที่ผู้ประกอบต้องประสบกลับเป็นการที่ไม่สามารถหาคนที่มีทักษะทำงานได้ในตามตรงตำแหน่งที่ต้องการได้ หรือที่เรียกว่าช่องว่างทักษะ (skills gap) ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่ที่ออกมาสู่ตลาดแรงงานทั่วโลก เมื่อลักษณะการทำงานงานที่เปลี่ยนไป ระบบการศึกษาหรือการฝึกอาชีพที่ทำมีอาจไม่สามารถสร้างทักษะอาชีพที่จำเป็นต่อการทำงานได้
ช่องว่างทักษะปัญหาคนรุ่นใหม่ทั่วโลก
ปัญหาช่องว่างทักษะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมาให้เห็นในทั่วทุกมุมโลก จากการสำรวจ Talent Challenge: Adapting to growth ประจำปี 2560 จัดทำโดยบริษัทตรวจสอบบัญชี PWC ที่ทำการเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและซีอีโอ (CEO) กว่า 1,300 ราย ใน 68 ประเทศ พบว่าร้อยละ 63 มีความกังวลเกี่ยวกับการแคลนลูกจ้างที่มีทักษะตรงกับประเภทงาน เพิ่มขึ้นจากปี 2553 ที่อยู่ที่ร้อยละ 51 แม้ผู้บริหารร้อยละ 50 จะเผยว่ามีแนวโน้มจะมีการจ้างงานเพิ่มในรอบอีก 1 ปีภายหน้า
ในปัจจุบันอัตราการว่างงานของคนวัยหนุ่มสาวพุ่งสูงขึ้น แต่พร้อมกันนั้นกับมีผู้ประกอบการไม่สามารถหาคนเข้าไปเติมในตำแหน่งงานที่ว่างลงได้ ด้วยปัญหาที่คนหนุ่มสาวนั้นไม่มีทักษะฝีมือตรงกับตำแหน่งงาน หรือที่เรียกกันว่า ‘ช่องว่างทักษะ’ จาการสำรวจบริษัทในสหภาพยุโรปพบว่าร้อยละ 50 ต้องเจอปัญหาในการรับคนที่มีการศึกษาสูงเข้าทำงาน ซึ่งปัญหานั้นไม่ได้เป็นเรื่องของคุณสมบัติแต่เป็นปัญหาการขาดทักษะการทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ
ปัญหาใหญ่ในอเมริกา
เช่นเดียวกันพื้นที่อื่น ๆ ในโลก สหรัฐอเมริกาที่ภาวะเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง หลังจะวิกฤตครั้งใหญ่ผ่านพ้นไป โดยตลาดแรงงานได้ขยายตัวขึ้น ในปี 2559 มีตำแหน่งงานเพิ่มมากขึ้นปะประวัติการณ์ ทำให้มีอัตราคนว่างงานต่อตำแหน่งงานที่เปิดอยู่ที่ 1.5 คน ต่อ 1 ตำแหน่งงาน ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับปี 2553 อยู่ที่อยู่ที่ 5 คนต่อ 1 ตำแหน่ง โดยในเดือน มี.ค. 2559 นั้นจากการสำรวจของ Job Openings and Labor Turnover Survey พบว่าในช่วงดังกล่าวมีตำแหน่งงานว่างมากถึง 5.757 ล้านตำแหน่ง แต่ตัวเลขจากสำนักงานสถิติแรงงานของสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่าในขณะที่มีการเปิดตำแหน่งงานใหม่เพิ่มมากขึ้น แต่อัตราการจ้างงานกับสูงขึ้นไม่ถึงครึ่งของตำแหน่งงานที่เปิด ทำให้เห็นว่าไม่มีแรงงานที่มีทักษะมากพอที่สามารถจะเติมเข้าไปในตำแหน่งงานที่ว่างลงได้ ทำให้ระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ประกอบการสามารถหาคนเข้ามาทำงานแทนที่ในตำแหน่งที่ว่างลงนานขึ้นเป็น 26 วัน ในปี 2559 จาก 23 วัน ในปี 2547
สมาพันธ์การค้าเสรีแห่งชาติ (National Federation of Independent Business : NFIB) เผยว่าธุรกิจขนาดเล็กร้อยละ 45 ไม่สามารถ หาลูกจ้างในตำแหน่งงานที่กำลังเปิดใหม่ได้ โดยประเภทงานที่ขาดแคลนที่สุดจะเป็นงานค่าจ้างระดับกลาง เช่น พยาบาล ผู้เชี่ยวชาญด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นักพัฒนาเว็บไซต์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัย ส่งผลให้เป็นตัวแปรในการชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาว
มีการคาดการว่าอีก 3 ปี ข้างหน้าสหรัฐฯ จะต้องการแรงงานฝีมือเพิ่มอีก 10 ล้านคน และในจำนวนนั้นจะมีตำแหน่งงานที่ไม่สามารถหาแรงงานเข้ามาเติมเต็มถึงร้อยละ 52 เนื่องจากคนรุ่นใหม่นั้นไม่มีทักษะการทำงานที่เข้ากับลักษณะงานที่เปลี่ยนไปในปัจจุบัน (ดูเพิ่มเติม: U.S. Skills Gap)
นอกจากนี้ในบทความ America has to close workforces skills gap ได้เสนอวิธีการลดช่องว่างทักษะ โดยการเพิ่มการเข้าถึงการฝึกทักษะในท้องถิ่นด้วยการให้ผู้นำด้านธุรกิจสร้างความร่วมมือกับองค์กรท้องถิ่น เช่น โรงเรียนไปจนถึงวิทยาลัยในพื้นที่ในการสร้างหลักสูตรที่สร้างทักษะตรงตามตำแหน่งงานที่เปิดรับ ซึ่งเป็นหน้าที่ขององค์กรในชุมชนที่ต้องกระตุ้นเตือนให้คนเห็นถึงความสำคัญในการสร้างทักษะที่นำไปใช้ได้ในโลกปัจจุบัน
ไทยขาดแรงงานทักษะ คนจบปริญญาเสี่ยงตกงาน
ผลสำรวจ Talent Challenge: Adapting to growth ยังพบว่าผู้บริหารและซีอีโอในกลุ่มประเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร้อยละ 54 ให้ข้อมูลว่าจะมีจ้างงานเพิ่มมากในอีก 12 เดือนข้างหน้ามากที่สุดเป็นรองแค่กลุ่มประเทศตะวัน ร้อยละ 71 โดยกลุ่มธุรกิจที่ต้องการเพิ่มจำนวนพนักงานมากที่สุด ได้แก่ อุตสาหกรรมประเภทธุรกิจบริการร้อยละ 51 ประกันภัยร้อยละ 49 และเทคโนโลยีร้อยละ 46 ส่วน ข้อมูลจากบริษัท PWC ประเทศไทย ระบุถึงสถานการณ์แรงงานไทยที่มีจำนวนอยู่ 38 ล้านคน ในจำนวนดังกล่าวมีเพียงร้อยละ 10-15 เท่านั้นที่เป็นแรงงานทักษะสูง เมื่อตลาดแรงงานของโลกที่ขยายใหญ่ขึ้นทั่วโลกจะทำช่องว่างทักษะที่กว้างขึ้น บรรดาบริษัทข้ามชาติหลายแห่งหันมาหาบุคลากรหรือเด็กจบใหม่จากจีนและอินเดียเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งประเทศเพื่อนบ้านอย่าง อินโดนีเซีย เวียดนาม และฟิลิปปินส์ การขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะของไทยมีแนวโน้มขยายผลไปสู่การแย่งชิงบุคลากร อาจนำไปสู่การไหลออกของความการลงทุนที่ต้องการแรงงานเพิ่ม
จากรายงาน Human Capital Report 2016 ที่จัดทำโดย World Economic Forum พบว่าประเทศไทยที่มีสัดส่วนของแรงงานฝีมือเพียงร้อยละ 14.4 ซึ่งเป็นตัวเลขที่ต่ำเมื่อเทียบในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างเยอรมัน 43.3หรือสวีเดนที่สูงถึงร้อยละ 49.2 ส่วน งานวิจัยสถานการณ์ตลาดแรงงานในกลุ่มจังหวัด 18 กลุ่ม เผยว่าตลาดแรงงานไทยกำลังต้องการแรงงานที่จบศึกษาสายวิชาชีพที่มีทักษะในการทำงานจำนวนมากกว่ากลุ่มที่มีใบปริญญา ซึ่งแรงงานที่จบศึกษาสายวิชาชีพจะเป็นกลุ่มที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต ส่วนผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีในปี 2559 ตกงานสูงถึง 1.79 แสนคน
แสดงความคิดเห็น